กรุงเทพ--19 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่าง ประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถาม ในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. พิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 ณ บ้านบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส กับบ้านบูกิตบุหงา รัฐกลันตัน มาเลเซีย
ในวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2550 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพันเอกหญิงท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยา พร้อมด้วยนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะ จะเดินทางไปยังอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส เพื่อร่วมในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 เชื่อมบ้านบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส กับบ้านบูกิตบุหงา รัฐกลันตัน โดยมีดาโต๊ะ ซรี อับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย พร้อมภริยา และคณะร่วมในพิธีเปิดสะพานดังกล่าวด้วย
สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งนี้ เป็นหนึ่งในความร่วมมือในแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) โดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลมาเลเซียได้ร่วมลงนามความ ตกลงเพื่อดำเนินโครงการ่กอสร้างสะพานฯ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547 โดยสะพานดังกล่าวมีความยาว 120 เมตร กว้าง 16.9 เมตร และมี 2 ช่องทางจราจร ซึ่งจะเปิดให้บริการต่อผู้สัญจรระหว่างเวลา 08.00-17.00 น. ในฐานะจุดผ่อนปรนชั่วคราว (ประชาชนสามารถเดินทางข้ามชายแดนไปยังพื้นที่ที่จำกัด) ซึ่งหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องของไทยและมาเลเซียกำลังหารือในรายละเอียดเพื่อยกสถานะให้สะพานฯ เป็นจุดผ่านแดนถาวรต่อไป ทั้งนี้ สะพานดังกล่าวยังจะเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพระหว่างไทยและมาเลเซีย เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและมาเลเซีย
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและคณะ มีกำหนดการเดินทางโดยเครื่องบินของกองทัพอากาศ
จากท่าอากาศยานทหาร (กองบิน 6) กรุงเทพฯ ไปยังท่าอากาศยานจังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 21 ธันวาคม 2550 และจะเดินทางไปยังจุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกฯ เมื่อเดินทางถึงบริเวณเชิงสะพานฝั่งไทย นายกรัฐมนตรีและภริยาจะพบปะกับชุมชนชาวไทยที่รอต้อนรับ ก่อนที่จะเดินไปยังเต๊นท์ประธาน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกลางสะพาน ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีมาเลเซียและภริยาจะเดินทางจากเชิงสะพานฝั่งมาเลเซียมายังเต๊นท์ประธาน เพื่อร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดสะพานดังกล่าว
หลังจากพิธีเปิดสะพานฯ เสร็จสิ้น นายกรัฐมนตรีและภริยาพร้อมด้วยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียและภริยาจะเดินทางโดยรถยนต์จากสะพานฯ ไปยังโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นราธิวาส ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปจากอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน และเยี่ยมชมกิจการการเรียนการสอนของโรงเรียนด้วย (รายละเอียดพิธีเปิดสะพานฯ ปรากฏตามข่าวสารนิเทศเรื่องนี้)
2. การแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา (สนธิสัญญาโอนตัวนักโทษ)
วันที่ 19 ธันวาคม 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายอ้วน พมมะจัก เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวประจำประเทศไทย ได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นตามคำพิพากษาในคดีอาญา โดยสนธิสัญญาฯ ดังกล่าวได้มีการลงนามฯ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2547 ณ เมืองปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
การแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารจะทำให้สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับทันที ตามความ ในข้อ 12 ของสนธิสัญญาฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกมิติของความพยายามระหว่างกันที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือในด้านกระบวนการยุติธรรมระหว่างสองประเทศ โดยประเทศไทยมีพระราช บัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาในคดีอาญา พ.ศ. 2527 เป็นกฎหมายรองรับสนธิสัญญาฯ ฉบับนี้
วัตถุประสงค์หลักในการจัดทำสนธิสัญญาดังกล่าวคือ การมุ่งที่จะช่วยให้ผู้ต้องคำพิพากษาสามารถปรับตัวกลับคืนสู่สังคมของตนได้ สนธิสัญญาฯ นี้ได้กำหนดมาตรการต่างๆ ที่อนุญาตให้ผู้ต้องคำพิพากษาได้รับการโอนตัวกลับไปยังประเทศของตนเพื่อรับโทษที่เหลือภายหลังจากที่ผู้ต้องคำพิพากษาได้รับโทษจำคุกเป็นเวลาขั้นต่ำสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายของรัฐผู้โอนแล้ว ดังนั้น สนธิสัญญาฯ ฉบับนี้จึงเป็นเสมือนกรอบความร่วมมือที่จะช่วยเสริมสร้างให้ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายและการบริหารงานกระบวนการยุติธรรมระหว่างไทยกับลาวมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
3. การลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานว่าด้วยความร่วมมือในการโอนตัวผู้กระทำผิดและการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา
ในวันที่ 20 ธันวาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และพลโท Khateer Hasan Khan (ขะตีร์ ฮัสซัน ข่าน) เอกอัครราชทูตฯ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประจำประเทศไทย จะได้ลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานว่าด้วยความร่วมมือในการโอนตัวผู้กระทำผิดและการบังคับให้เป็นตามคำพิพากษาในคดีอาญา ณ ห้องบัวแก้ว กระทรวงการต่างประเทศ
วัตถุประสงค์หลักในการจัดทำความตกลงดังกล่าวซึ่งมุ่งที่จะช่วยให้ผู้กระทำผิดสามารถปรับตัวเพื่อกลับคืนสู่สังคมของตนได้ โดยความตกลงดังกล่าวได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่อนุญาตให้ผู้กระทำผิดได้รับการโอนตัวกลับไปยังประเทศของตนเพื่อรับโทษที่เหลือภายหลังจากที่ผู้กระทำผิดได้รับโทษจำคุกเป็นเวลาขั้นต่ำสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายของรัฐผู้โอน ซึ่งในภายหลังจากที่รัฐบาลของประเทศทั้งสองได้มีการลงนามความตกลงฯ แล้ว ก็จะได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารความตกลงฯ ในโอกาสแรกเพื่อการมีผลใช้บังคับต่อไป
4. กระทรวงการต่างประเทศมอบเงินสนับสนุนแก่มูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมอบเงิน สนับสนุนให้แก่นายมนัสพาสน์ ชูโต ประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2550 อนุมัติเพิ่มวงเงินสนับสนุนของรัฐบาลไทยสำหรับมูลนิธิฟุลไบรท์ จาก 5 ล้านบาทต่อปีเป็น 15 ล้านบาทต่อปีตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 เป็นต้นไป
มูลนิธิฯ ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเป็น ผู้จัดสรรเงินสนับสนุนด้านการศึกษาที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาสหรัฐฯ โดยในปี 2549 และปี 2550 มูลนิธิฯ ได้รับเงินสนับสนุนจากสหรัฐฯ จำนวน 770,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 27 ล้านบาทต่อปี
สำหรับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย นับตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา มูลนิธิฯ ได้รับเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งจากรัฐบาลไทยผ่านสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ขณะเดียวกัน มูลนิธิฯ ยังได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน อาทิ บริษัทเอสโซ่ สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลนส์ นอร์ธเวสต์แอร์ไลนส์ ตลอดจนสถาบันการศึกษาและศิษย์เก่าฟุลไบรท์ด้วย
ทั้งนี้ การเพิ่มเงินสนับสนุนของรัฐบาลไทยให้แก่มูลนิธิฯ สะท้อนถึงความสำคัญที่รัฐบาลไทยให้กับมูลนิธิและความพยายามที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯ ในระดับประชาชนให้แน่นแฟ้นขึ้น รวมถึงการตอกย้ำความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐฯ
ความร่วมมือด้านการศึกษาและการแลกเปลี่ยนนักเรียนและนักวิจัยระหว่างไทย — สหรัฐฯ ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ เสมอมา ปัจจุบัน มีนักเรียนไทยศึกษาอยู่ในสหรัฐฯ ประมาณ 9,000 คน โดยมูลนิธิฯ มีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาระหว่างทั้งสองประเทศ
ปัจจุบัน มูลนิธิฯ ได้มอบทุนการศึกษาและการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการวิจัยสำหรับคนไทย อาทิ ทุนการศึกษาสำหรับผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโท/ เอก (Fulbright Open Competition Program) ทุนการศึกษาสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทหรือเอก โดยให้ความสำคัญในลำดับต้นแก่สถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคของไทย (University Staff Development Program) ทุนการศึกษาสำหรับนักวิชาการระดับกลางที่โดดเด่น ไปศึกษาหรือฝึกอบรมโดยไม่รับปริญญา (Hubert H. Humphrey Fellowship Program) นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังได้มอบทุนการศึกษาสำหรับชาวอเมริกัน อาทิ ทุนสำหรับนักศึกษามาทำการวิจัยในประเทศไทย (U.S. Student Program) ทุนสำหรับเยาวชนอเมริกันสอนการสนทนาภาษาอังกฤษในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในชนบทของไทยและเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมไทย (English Teaching Assistant Program) เป็นต้น
5. โครงการมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ดำเนินโครงการมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ โดยสำหรับปีงบประมาณ 2551 กระทรวงการต่างประเทศได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้จำนวน 50 ล้านบาท
โครงการมอบทุนการศึกษานี้เป็นความคิดริเริ่มของกระทรวงการต่างประเทศ ด้วยตระหนักว่า มีนักศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนมากที่มีความต้องการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ และส่วนใหญ่ได้ไปศึกษาต่อด้วยทุนของตนเองหรือจากทุนจากรัฐบาลต่างประเทศ จึงเห็นว่ารัฐบาลไทยควรเพิ่มโอกาสและเพิ่มทางเลือกให้แก่นักศึกษาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้แก่นักศึกษาและเพื่อให้นักศึกษาเหล่านี้กลับมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศไทยในอนาคต
ประเทศเป้าหมายที่รัฐบาลจะสนับสนุนให้นักศึกษารับทุน มีอาทิเช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย มาเลเซีย สิงคโปร์ อียิปต์ และอินเดีย โดยวิธีบริหารงบประมาณดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศจะโอนงบประมาณที่ได้รับไปให้กระทรวง ศึกษาธิการบริหาร โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งคณะกรรมการบริหารทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาไทยมุสลิมในต่างประเทศ ที่มีผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศร่วมเป็นกรรมการ เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้แล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะเสนอรายละเอียดของการจัดสรรทุนให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
อนึ่ง นอกจากโครงการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าวแล้ว กระทรวงการต่างประเทศโดยสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่หลายแห่งทั่วโลกก็ยังคงให้การสนับสนุนและดูแลนักศึกษามุสลิมในประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่องต่อไป อาทิ นักศึกษาในอียิปต์ ปากีสถาน ซูดาน ซาอุดีอาระเบีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
6. สรุปผลการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกราชอาณาจักร 2550
นายธีรกุล นิยม อธิบดีกรมการกงสุล ได้ร่วมแถลงข่าวเกี่ยวกับผลการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกราชอาณาจักร 2550 ดังนี้
การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกราชอาณาจักร 2550 มีขึ้น ในระหว่างวันที่ 3 -16 ธันวาคม 2550 โดยสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ 90 แห่ง ใน 65 ประเทศ เป็นผู้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งดังกล่าว
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกราชอาณาจักรได้เสร็จสิ้นลงแล้ว
โดยสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ฯ จำนวน 90 แห่ง ได้รายงานผลการลงคะแนนเลือกตั้งฯ มายังศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร กรมการกงสุล กระทรวงการ
ต่างประเทศ ปรากฏผลว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งฯ 58,807 คน จากผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งฯ 80,161 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 73.36 โดยประเทศที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งฯ
มากใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สหรัฐฯ (6,354 คน ) 2) เยอรมนี (5,115 คน) 3) สิงคโปร์ (4,916 คน) 4) จีน (4,257 คน) และ 5) สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (3,330 คน)
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งฯ ครั้งนี้สูงมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
นอกราชอาณาจักร จำนวน 5 ครั้งที่ผ่านมา (ระหว่างปี 2543 - 2549) ซึ่งมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งฯ โดยเฉลี่ยอยู่ที่อัตราเพียงร้อยละ 35
สำหรับการที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งฯ ในครั้งนี้สูงมากน่าจะมาจากเหตุผลโดยสรุปดังนี้
(1) การตื่นตัวทางการเมืองของคนไทยในต่างประเทศ
(2) การให้ความสำคัญต่อการรณรงค์ด้านการประชาสัมพันธ์ ทั้งจากส่วนกลาง และจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ฯ
(3) สื่อมวลชนให้ความสำคัญต่อการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรมากขึ้น
ในส่วนของบัตรเลือกตั้งฯ ที่ได้มีการลงคะแนนเลือกตั้งฯ แล้วจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ฯ 90 แห่ง ได้ทะยอยส่งกลับมายังประเทศไทยทางถุงเมล์การทูตพิเศษตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2550 โดยถุงเมล์ฯ แห่งสุดท้ายจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา กำหนดจะถึงประเทศไทยในช่วงบ่ายของวันนี้ (19 ธันวาคม 2550) ซึ่งคณะทำงาน (กระทรวงการต่าง ประเทศ สนง.กกต. และบริษัทไปรษณีย์ไทยฯ) ได้นำถุงเมล์ฯ ที่ได้รับแล้วไปรวบรวมเก็บรักษาที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทไปรษณีย์ไทยฯ และได้ทำการเปิดถุงเมล์ฯ เพื่อคัดแยกและมอบบัตรเลือกตั้งฯ ให้แก่เจ้าหน้าที่ของบริษัทไปรษณีย์ไทยฯ ทำการจัดส่งต่อไปยังเขตเลือกตั้งต่างๆ ในประเทศ เพื่อนับคะแนนรวมกับบัตรเลือกตั้งฯ ที่ลงคะแนนในวันที่ 23 ธันวาคม 2550
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่าง ประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถาม ในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. พิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 ณ บ้านบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส กับบ้านบูกิตบุหงา รัฐกลันตัน มาเลเซีย
ในวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2550 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพันเอกหญิงท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยา พร้อมด้วยนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะ จะเดินทางไปยังอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส เพื่อร่วมในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 เชื่อมบ้านบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส กับบ้านบูกิตบุหงา รัฐกลันตัน โดยมีดาโต๊ะ ซรี อับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย พร้อมภริยา และคณะร่วมในพิธีเปิดสะพานดังกล่าวด้วย
สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งนี้ เป็นหนึ่งในความร่วมมือในแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) โดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลมาเลเซียได้ร่วมลงนามความ ตกลงเพื่อดำเนินโครงการ่กอสร้างสะพานฯ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547 โดยสะพานดังกล่าวมีความยาว 120 เมตร กว้าง 16.9 เมตร และมี 2 ช่องทางจราจร ซึ่งจะเปิดให้บริการต่อผู้สัญจรระหว่างเวลา 08.00-17.00 น. ในฐานะจุดผ่อนปรนชั่วคราว (ประชาชนสามารถเดินทางข้ามชายแดนไปยังพื้นที่ที่จำกัด) ซึ่งหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องของไทยและมาเลเซียกำลังหารือในรายละเอียดเพื่อยกสถานะให้สะพานฯ เป็นจุดผ่านแดนถาวรต่อไป ทั้งนี้ สะพานดังกล่าวยังจะเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพระหว่างไทยและมาเลเซีย เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและมาเลเซีย
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและคณะ มีกำหนดการเดินทางโดยเครื่องบินของกองทัพอากาศ
จากท่าอากาศยานทหาร (กองบิน 6) กรุงเทพฯ ไปยังท่าอากาศยานจังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 21 ธันวาคม 2550 และจะเดินทางไปยังจุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกฯ เมื่อเดินทางถึงบริเวณเชิงสะพานฝั่งไทย นายกรัฐมนตรีและภริยาจะพบปะกับชุมชนชาวไทยที่รอต้อนรับ ก่อนที่จะเดินไปยังเต๊นท์ประธาน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกลางสะพาน ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีมาเลเซียและภริยาจะเดินทางจากเชิงสะพานฝั่งมาเลเซียมายังเต๊นท์ประธาน เพื่อร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดสะพานดังกล่าว
หลังจากพิธีเปิดสะพานฯ เสร็จสิ้น นายกรัฐมนตรีและภริยาพร้อมด้วยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียและภริยาจะเดินทางโดยรถยนต์จากสะพานฯ ไปยังโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นราธิวาส ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปจากอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน และเยี่ยมชมกิจการการเรียนการสอนของโรงเรียนด้วย (รายละเอียดพิธีเปิดสะพานฯ ปรากฏตามข่าวสารนิเทศเรื่องนี้)
2. การแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา (สนธิสัญญาโอนตัวนักโทษ)
วันที่ 19 ธันวาคม 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายอ้วน พมมะจัก เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวประจำประเทศไทย ได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นตามคำพิพากษาในคดีอาญา โดยสนธิสัญญาฯ ดังกล่าวได้มีการลงนามฯ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2547 ณ เมืองปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
การแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารจะทำให้สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับทันที ตามความ ในข้อ 12 ของสนธิสัญญาฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกมิติของความพยายามระหว่างกันที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือในด้านกระบวนการยุติธรรมระหว่างสองประเทศ โดยประเทศไทยมีพระราช บัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาในคดีอาญา พ.ศ. 2527 เป็นกฎหมายรองรับสนธิสัญญาฯ ฉบับนี้
วัตถุประสงค์หลักในการจัดทำสนธิสัญญาดังกล่าวคือ การมุ่งที่จะช่วยให้ผู้ต้องคำพิพากษาสามารถปรับตัวกลับคืนสู่สังคมของตนได้ สนธิสัญญาฯ นี้ได้กำหนดมาตรการต่างๆ ที่อนุญาตให้ผู้ต้องคำพิพากษาได้รับการโอนตัวกลับไปยังประเทศของตนเพื่อรับโทษที่เหลือภายหลังจากที่ผู้ต้องคำพิพากษาได้รับโทษจำคุกเป็นเวลาขั้นต่ำสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายของรัฐผู้โอนแล้ว ดังนั้น สนธิสัญญาฯ ฉบับนี้จึงเป็นเสมือนกรอบความร่วมมือที่จะช่วยเสริมสร้างให้ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายและการบริหารงานกระบวนการยุติธรรมระหว่างไทยกับลาวมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
3. การลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานว่าด้วยความร่วมมือในการโอนตัวผู้กระทำผิดและการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา
ในวันที่ 20 ธันวาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และพลโท Khateer Hasan Khan (ขะตีร์ ฮัสซัน ข่าน) เอกอัครราชทูตฯ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประจำประเทศไทย จะได้ลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานว่าด้วยความร่วมมือในการโอนตัวผู้กระทำผิดและการบังคับให้เป็นตามคำพิพากษาในคดีอาญา ณ ห้องบัวแก้ว กระทรวงการต่างประเทศ
วัตถุประสงค์หลักในการจัดทำความตกลงดังกล่าวซึ่งมุ่งที่จะช่วยให้ผู้กระทำผิดสามารถปรับตัวเพื่อกลับคืนสู่สังคมของตนได้ โดยความตกลงดังกล่าวได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่อนุญาตให้ผู้กระทำผิดได้รับการโอนตัวกลับไปยังประเทศของตนเพื่อรับโทษที่เหลือภายหลังจากที่ผู้กระทำผิดได้รับโทษจำคุกเป็นเวลาขั้นต่ำสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายของรัฐผู้โอน ซึ่งในภายหลังจากที่รัฐบาลของประเทศทั้งสองได้มีการลงนามความตกลงฯ แล้ว ก็จะได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารความตกลงฯ ในโอกาสแรกเพื่อการมีผลใช้บังคับต่อไป
4. กระทรวงการต่างประเทศมอบเงินสนับสนุนแก่มูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมอบเงิน สนับสนุนให้แก่นายมนัสพาสน์ ชูโต ประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2550 อนุมัติเพิ่มวงเงินสนับสนุนของรัฐบาลไทยสำหรับมูลนิธิฟุลไบรท์ จาก 5 ล้านบาทต่อปีเป็น 15 ล้านบาทต่อปีตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 เป็นต้นไป
มูลนิธิฯ ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเป็น ผู้จัดสรรเงินสนับสนุนด้านการศึกษาที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาสหรัฐฯ โดยในปี 2549 และปี 2550 มูลนิธิฯ ได้รับเงินสนับสนุนจากสหรัฐฯ จำนวน 770,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 27 ล้านบาทต่อปี
สำหรับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย นับตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา มูลนิธิฯ ได้รับเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งจากรัฐบาลไทยผ่านสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ขณะเดียวกัน มูลนิธิฯ ยังได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน อาทิ บริษัทเอสโซ่ สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลนส์ นอร์ธเวสต์แอร์ไลนส์ ตลอดจนสถาบันการศึกษาและศิษย์เก่าฟุลไบรท์ด้วย
ทั้งนี้ การเพิ่มเงินสนับสนุนของรัฐบาลไทยให้แก่มูลนิธิฯ สะท้อนถึงความสำคัญที่รัฐบาลไทยให้กับมูลนิธิและความพยายามที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯ ในระดับประชาชนให้แน่นแฟ้นขึ้น รวมถึงการตอกย้ำความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐฯ
ความร่วมมือด้านการศึกษาและการแลกเปลี่ยนนักเรียนและนักวิจัยระหว่างไทย — สหรัฐฯ ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ เสมอมา ปัจจุบัน มีนักเรียนไทยศึกษาอยู่ในสหรัฐฯ ประมาณ 9,000 คน โดยมูลนิธิฯ มีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาระหว่างทั้งสองประเทศ
ปัจจุบัน มูลนิธิฯ ได้มอบทุนการศึกษาและการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการวิจัยสำหรับคนไทย อาทิ ทุนการศึกษาสำหรับผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโท/ เอก (Fulbright Open Competition Program) ทุนการศึกษาสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทหรือเอก โดยให้ความสำคัญในลำดับต้นแก่สถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคของไทย (University Staff Development Program) ทุนการศึกษาสำหรับนักวิชาการระดับกลางที่โดดเด่น ไปศึกษาหรือฝึกอบรมโดยไม่รับปริญญา (Hubert H. Humphrey Fellowship Program) นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังได้มอบทุนการศึกษาสำหรับชาวอเมริกัน อาทิ ทุนสำหรับนักศึกษามาทำการวิจัยในประเทศไทย (U.S. Student Program) ทุนสำหรับเยาวชนอเมริกันสอนการสนทนาภาษาอังกฤษในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในชนบทของไทยและเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมไทย (English Teaching Assistant Program) เป็นต้น
5. โครงการมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ดำเนินโครงการมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ โดยสำหรับปีงบประมาณ 2551 กระทรวงการต่างประเทศได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้จำนวน 50 ล้านบาท
โครงการมอบทุนการศึกษานี้เป็นความคิดริเริ่มของกระทรวงการต่างประเทศ ด้วยตระหนักว่า มีนักศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนมากที่มีความต้องการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ และส่วนใหญ่ได้ไปศึกษาต่อด้วยทุนของตนเองหรือจากทุนจากรัฐบาลต่างประเทศ จึงเห็นว่ารัฐบาลไทยควรเพิ่มโอกาสและเพิ่มทางเลือกให้แก่นักศึกษาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้แก่นักศึกษาและเพื่อให้นักศึกษาเหล่านี้กลับมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศไทยในอนาคต
ประเทศเป้าหมายที่รัฐบาลจะสนับสนุนให้นักศึกษารับทุน มีอาทิเช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย มาเลเซีย สิงคโปร์ อียิปต์ และอินเดีย โดยวิธีบริหารงบประมาณดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศจะโอนงบประมาณที่ได้รับไปให้กระทรวง ศึกษาธิการบริหาร โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งคณะกรรมการบริหารทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาไทยมุสลิมในต่างประเทศ ที่มีผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศร่วมเป็นกรรมการ เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้แล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะเสนอรายละเอียดของการจัดสรรทุนให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
อนึ่ง นอกจากโครงการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าวแล้ว กระทรวงการต่างประเทศโดยสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่หลายแห่งทั่วโลกก็ยังคงให้การสนับสนุนและดูแลนักศึกษามุสลิมในประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่องต่อไป อาทิ นักศึกษาในอียิปต์ ปากีสถาน ซูดาน ซาอุดีอาระเบีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
6. สรุปผลการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกราชอาณาจักร 2550
นายธีรกุล นิยม อธิบดีกรมการกงสุล ได้ร่วมแถลงข่าวเกี่ยวกับผลการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกราชอาณาจักร 2550 ดังนี้
การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกราชอาณาจักร 2550 มีขึ้น ในระหว่างวันที่ 3 -16 ธันวาคม 2550 โดยสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ 90 แห่ง ใน 65 ประเทศ เป็นผู้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งดังกล่าว
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกราชอาณาจักรได้เสร็จสิ้นลงแล้ว
โดยสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ฯ จำนวน 90 แห่ง ได้รายงานผลการลงคะแนนเลือกตั้งฯ มายังศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร กรมการกงสุล กระทรวงการ
ต่างประเทศ ปรากฏผลว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งฯ 58,807 คน จากผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งฯ 80,161 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 73.36 โดยประเทศที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งฯ
มากใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สหรัฐฯ (6,354 คน ) 2) เยอรมนี (5,115 คน) 3) สิงคโปร์ (4,916 คน) 4) จีน (4,257 คน) และ 5) สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (3,330 คน)
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งฯ ครั้งนี้สูงมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
นอกราชอาณาจักร จำนวน 5 ครั้งที่ผ่านมา (ระหว่างปี 2543 - 2549) ซึ่งมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งฯ โดยเฉลี่ยอยู่ที่อัตราเพียงร้อยละ 35
สำหรับการที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งฯ ในครั้งนี้สูงมากน่าจะมาจากเหตุผลโดยสรุปดังนี้
(1) การตื่นตัวทางการเมืองของคนไทยในต่างประเทศ
(2) การให้ความสำคัญต่อการรณรงค์ด้านการประชาสัมพันธ์ ทั้งจากส่วนกลาง และจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ฯ
(3) สื่อมวลชนให้ความสำคัญต่อการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรมากขึ้น
ในส่วนของบัตรเลือกตั้งฯ ที่ได้มีการลงคะแนนเลือกตั้งฯ แล้วจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ฯ 90 แห่ง ได้ทะยอยส่งกลับมายังประเทศไทยทางถุงเมล์การทูตพิเศษตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2550 โดยถุงเมล์ฯ แห่งสุดท้ายจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา กำหนดจะถึงประเทศไทยในช่วงบ่ายของวันนี้ (19 ธันวาคม 2550) ซึ่งคณะทำงาน (กระทรวงการต่าง ประเทศ สนง.กกต. และบริษัทไปรษณีย์ไทยฯ) ได้นำถุงเมล์ฯ ที่ได้รับแล้วไปรวบรวมเก็บรักษาที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทไปรษณีย์ไทยฯ และได้ทำการเปิดถุงเมล์ฯ เพื่อคัดแยกและมอบบัตรเลือกตั้งฯ ให้แก่เจ้าหน้าที่ของบริษัทไปรษณีย์ไทยฯ ทำการจัดส่งต่อไปยังเขตเลือกตั้งต่างๆ ในประเทศ เพื่อนับคะแนนรวมกับบัตรเลือกตั้งฯ ที่ลงคะแนนในวันที่ 23 ธันวาคม 2550
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-