กรุงเทพ--10 ม.ค.-กระทรวงการต่างประเทศ
วันที่ 9 มกราคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวง การต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่าง ประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. สรุปสถานะการส่งพระราชสาส์น สาส์น และสารแสดงความเสียใจจากต่างประเทศ ต่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ในขณะนี้ มีการส่งพระราชสาส์น สาส์น และสารแสดงความเสียใจจากต่างประเทศต่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวนทั้งสิ้น 52 ฉบับ จาก 39 ประเทศ
สำหรับสถานะล่าสุด ณ วันที่ 9 มกราคม 2551 มีการส่งพระราชสาส์น สาส์น และสารแสดงความเสียใจจากต่างประเทศฯ เพิ่มเติม จำนวน 9 ฉบับ จาก 9 ประเทศ ประกอบด้วย สเปน เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย บาห์เรน เนปาล อิสราเอล โปแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และนครรัฐวาติกัน
2. สรุปสถานะรายนามบุคคลสำคัญที่มาลงนามไว้อาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาชราช นครินทร์
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ใหญ่ของไทยทั้ง 90 แห่งทั่วโลก ให้จัดสมุดไว้อาลัยเพื่อให้ผู้แทนรัฐบาลและชาวต่างประเทศ รวมทั้งประชาชนชาวไทยในต่างประเทศได้ลงนามไว้อาลัย นั้น
กระทรวงฯ ได้จัดทำสรุปรายนามบุคคลสำคัญที่มาลงนามไว้อาลัย ซึ่งสถานะ ณ วันที่ 9 มกราคม 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 30 คน จาก 16 ประเทศ ดังปรากฏรายละเอียดในข่าวสารนิเทศที่ 11/2551 ลงวันที่ 9 มกราคม 2551
นอกจากนี้ ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน 7 วันพระราชทานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ในวันพุธที่ 9 มกราคม 2551 เวลา 17.00 น.กระทรวงฯ ได้เชิญคณะทูตานุทูต และผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศเข้าร่วมในพระราชพิธีดังกล่าว โดยมีเอกอัครราชทูต กงสุลใหญ่ และผู้แทนองค์การระหว่างประเทศตอบรับเข้าร่วมงานพระราชพิธีดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 130 คน
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ลุ่มแม่น้ำโขงกับญี่ปุ่น
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศลุ่มแม่น้ำโขงกับญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 16 -17 มกราคม 2551 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตามคำเชิญของนายมาซาฮิโกะ โคอุมุระ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เพื่อติดตามและหารือแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน ตลอดจนขยายโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนภายใต้ East - West Economic Corridorและ North-South Economic Corridor
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศลุ่มแม่น้ำโขงกับญี่ปุ่นในครั้งนี้ เป็นการประชุม ครั้งแรกด้วยความริเริ่มของฝ่ายญี่ปุ่นเพื่อมุ่งสร้างความเชื่อมั่นระหว่างประเทศลุ่มแม่น้ำโขงกับญี่ปุ่นในการร่วมมือทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมถึงประเด็นด้านการพัฒนา โดยญี่ปุ่นใช้เงินกองทุนเพื่อการบูรณาการญี่ปุ่น-อาเซียน (Japan ASEAN Integration Fund: JAIF) ให้ความสนับสนุนแก่ประเทศ CLV (กัมพูชา สปป.ลาว และเวียดนาม)ในการศึกษาและพัฒนาแนวเส้นทางเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (EWEC)และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ในส่วนของไทย การประชุมครั้งนี้จะเป็นโอกาสที่จะเน้นบทบาทของไทยในการเสริมสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเน้นความเชื่อมโยงในกรอบความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่น-CLV กับโครงการความร่วมมือในกรอบ GMS และ ACMECS ซึ่งทั้งไทยและญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญ โดยจะพิจารณาโครงการที่จะสามารถเชื่อมประสานและต่อยอดกับกรอบญี่ปุ่น-CLV เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งในด้าน hardware และ software รวมถึงด้านโลจิสติกส์ด้วย
4. สถานการณ์ความไม่สงบภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปของเคนยา
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในพื้นที่หลายแห่งในกรุงไนโรบีและในอีกหลายพื้นที่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเคนยาตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2550 เนื่องจากนาย Raila Odinga หัวหน้าพรรค Orange of Democratic Movement (ODM) และผู้สนับสนุนได้ทำการประท้วงผลการเลือกตั้งทั่วไปที่ระบุว่า นาย Mwai Kibaki ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน หัวหน้าพรรค Party of National Unity (PNU) ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งฯ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2550 ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบดังกล่าวกว่า 300 คน นั้น
กระทรวงการต่างประเทศได้ติดต่อประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี เพื่อติดตามความเป็นอยู่ของคนไทยอย่างใกล้ชิด และได้รับรายงานว่า ปัจจุบันมีคนไทยพำนักอยู่ในเคนยาจำนวนทั้งสิ้น 53 คน (รวมข้าราชการของสถานเอก อัครราชทูตฯ และครอบครัว) โดยคนไทยเหล่านี้พำนักอยู่ในกรุงไนโรบีทั้งหมด และโดยที่เหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในช่วงวันหยุดเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ คนไทยส่วนใหญ่จึงได้เดินทางออกนอกประเทศเคนยา คงเหลือคนไทยอยู่ในเคนยาเพียง 28 คน และไม่ปรากฏว่ามีคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวแต่อย่างใด
5. การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2551 ของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศกำหนดจะจัดงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2551 ของกระทรวงฯ ในวันเสาร์ที่ 12 มกราคม ศกนี้ ระหว่างเวลา 09.00 — 15.30 น. ณ กรมการกงสุล โดยการจัดงานวันเด็กดังกล่าวนับเป็นปีที่ 2 ที่กระทรวงฯ ได้จัดกิจกรรมเนื่องในสัปดาห์วันเด็กแห่งชาติตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้เชิญชวนหน่วยงานราชการร่วมกันจัดกิจกรรมในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ณ หน่วยงานของตนเอง ซึ่งในครั้งแรก กระทรวงฯ ได้จัดงานดังกล่าว ณ อาคารถนนศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2550
ในการจัดงานฯ ครั้งนี้ กระทรวงฯ ได้จัดเตรียมกิจกรรมที่สำคัญต่างๆ ไว้สำหรับเด็กและเยาวชนที่มาร่วมงานวันเด็กแห่งชาติฯ ของกระทรวงฯ เป็นจำนวนมาก ประกอบด้วย การจัดลงนามถวายความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ การจัดทำหนังสือเดินทางยุวทูต (จำลอง) เพื่อเป็นที่ระลึกแก่เด็กและเยาวชนที่มาร่วมงานฯ การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งเป็นชุดเดียวกันกับที่กระทรวงฯ จัดทำขึ้นเพื่อส่งไปแสดงในงานวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2550 ณ สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศทั่วโลก การจัดนิทรรศการด้านการต่างประเทศ อาทิ ความรู้เกี่ยวกับสหประชาชาติ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ภารกิจสำคัญด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ การเตรียมตัวก่อนการเดินทางไปต่างประเทศ และการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของกระทรวงฯ รวมทั้งจัดให้มีการตอบปัญหาชิงรางวัลที่ซุ้มนิทรรศการดังกล่าว การสาธิตและเข้าร่วมในการแถลงข่าวจำลองเสมือนการเป็นโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และดารานักแสดงของบริษัทโพลีพลัสฯ และบริษัทกันตนาฯ จะมาแจกของขวัญแก่เด็กและเยาวชน นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้จัดเตรียมของที่ระลึกพร้อมทั้งอาหารและเครื่องดื่มไว้ให้แก่เด็กและเยาวชนที่มาร่วมงานครั้งนี้
ทั้งนี้ เด็กและเยาวชนสามารถมาร่วมงานดังกล่าวได้ตลอดงานฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่อย่างใด กระทรวงฯ จึงขอความกรุณาสื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมดังกล่าวด้วย
6. ประเทศไทยได้รับรางวัลประเทศท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลกและบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลสายการบินระหว่างประทศที่ดีที่สุดที่นอร์เวย์
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ว่า เมื่อวันที่ 7 มกราคม ศกนี้ นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ได้เป็นผู้แทนประเทศไทยรับรางวัล Grand Travel Award 2008 ในฐานะที่ประเทศไทยได้รับรางวัลประเทศท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก (The Best Tourist Country in the World) ที่นอร์เวย์ โดยนับเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันที่ประเทศไทยได้รับรางวัลดังกล่าว และในโอกาสเดียวกันนี้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)ก็ได้รับรางวัลสายการบินระหว่างประเทศที่ดีที่สุด (The Best International Airlines) ที่นอร์เวย์ เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน โดยนายมานิตย์ บุญฉิม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประจำสแกนดิเนเวีย และนาง Hilde Hirai ผู้จัดการการบินไทยประจำนอร์เวย์ได้เข้าร่วมรับรางวัลดังกล่าว
รางวัลดังกล่าวจัดโดยนิตยสาร Travel News ซึ่งเป็นนิตยสารด้านการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของนอร์เวย์ และสวีเดน โดยมีบริษัทและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อาทิ บริษัทสายการบิน โรงแรม บริษัทท่องเที่ยวและบริษัทเรือท่องเที่ยว จำนวนกว่า 400 แห่ง เป็นผู้ลงคะแนนเสียงในการคัดเลือกผู้ชนะการประกวดรางวัลการท่องเที่ยวประเภทต่าง ๆ
ภายหลังการแถลงข่าว อธิบดีกรมสารนิเทศได้ตอบคำถามสื่อมวลชนกรณีที่นิตยสาร The Economist ฉบับพิเศษ The World in 2008 ได้ลงบทความเรื่อง “The Spread of Political Risk” เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2551 จัดอันดับความเสี่ยงทางการเมืองของประเทศต่างๆ จากการสำรวจความเห็นนักธุรกิจ โดยไทยอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงทางการเมืองต่อการลงทุนสูงมาก (very high risk) ซึ่งประเทศอื่นๆ ในกลุ่มนี้รวมถึงไนจีเรีย โกดิวัวร์ กินี เวเนซุเอลา อิรัก และฟิลิปปินส์ โดยปัจจัยความเสี่ยงได้แก่ อันตรายจากความรุนแรงทางการเมือง การปกป้องตลาด ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล
อธิบดีกรมสารนิเทศกล่าวว่า รู้สึกแปลกใจกับรายงานข่าวดังกล่าว โดยเฉพาะการจัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงทางการเมืองต่อการลงทุนสูงมากเช่น เดียวกับประเทศไนจีเรีย โกดิวัวร์ กินี เวเนซุเอลา อิรักและฟิลิปปินส์ โดยปรากฏข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากการนำเสนอข่าวดังกล่าว กล่าวคือ
- ตัวเลขทางด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนของไทยในช่วงปี 2550 ที่ผ่านมา สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างออกไป การค้ากับต่างประเทศยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และนักลงทุนต่างชาติยังคงสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นด้วย
- การส่งออกของไทยขยายตัวต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ในช่วง 11 เดือนของปี 2550 มูลค่าการส่งออกของสูงถึง 4,808,717 ล้านบาท หรือ 139,211.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 จากช่วงเดียวกันของปี 2549
- จากสถิติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในช่วงเดือนมกราคม— พฤศจิกายน 2550 มีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติจำนวน 770 โครงการซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันของปี 2549 แต่มีปริมาณเงินลงทุน 473,698.4 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 69 จากช่วงเดียวกันของปี 2549 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78 ของปริมาณเงินลงทุนทั้งหมดที่ยื่นขอส่งเสริม โดยกว่าครึ่งเป็นการยื่นขอสำหรับโครงการใหม่
- ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทย แม้ดัชนีในช่วงหลังปีใหม่จะลดลงบ้าง (806.69 จุด ณ เวลา 11.34 น. ของวันที่ 9 มกราคม) แต่หากพิจารณาตั้งแต่เดือนกันยายน 2549 จนถึงเดือนธันวาคม 2550 ก็จะเห็นว่าดัชนีตลาดหลักทรัยพ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ในช่วงดังกล่าวจาก 686.1 จุด เป็น 858.1 จุด
- ในด้านการจัดอันดับขององค์การและสถาบันต่างๆ
1) การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNCTAD)จัดอันดับประเทศไทยเป็นเป้าหมายการลงทุนอันดับที่ 5 ต่อจากจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และอินเดีย
2) รายงานเรื่อง “Doing Business 2008” ของธนาคารโลก (World Bank)ซึ่งสำรวจความสะดวกในการประกอบธุรกิจ โดยจัดไทยเป็นอันดับ 15 จาก 178 ประเทศทั่วโลก
3) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน อาทิ Standard & Poor’s (S&P) และ Fitch Ratings ก็จัดระดับความน่าเชื่อถือของไทยอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ
- ในครึ่งแรกของปี 2550 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาไทยเกือบ 7 ล้านคน (6,954,752 คน) เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 3.3 และผลสำรวจความเห็นนักท่องเที่ยวที่เผยแพร่ในนิตยสารท่องเที่ยวต่าง ๆ อาทิ Travel & Leisure ของสหรัฐฯ นิตยสาร Stand By ของเดนมาร์ก ก็จัดอันดับไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีที่สุดและได้รับความประทับใจจากนักท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ ไทยยังได้รับรางวัล Grand Travel Award ในฐานะ World’s best tourism country จากกลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของนอร์เวย์ด้วย ซึ่งปีที่แล้วไทยก็ได้เป็นอันดับหนึ่งเช่นกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
วันที่ 9 มกราคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวง การต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่าง ประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. สรุปสถานะการส่งพระราชสาส์น สาส์น และสารแสดงความเสียใจจากต่างประเทศ ต่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ในขณะนี้ มีการส่งพระราชสาส์น สาส์น และสารแสดงความเสียใจจากต่างประเทศต่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวนทั้งสิ้น 52 ฉบับ จาก 39 ประเทศ
สำหรับสถานะล่าสุด ณ วันที่ 9 มกราคม 2551 มีการส่งพระราชสาส์น สาส์น และสารแสดงความเสียใจจากต่างประเทศฯ เพิ่มเติม จำนวน 9 ฉบับ จาก 9 ประเทศ ประกอบด้วย สเปน เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย บาห์เรน เนปาล อิสราเอล โปแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และนครรัฐวาติกัน
2. สรุปสถานะรายนามบุคคลสำคัญที่มาลงนามไว้อาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาชราช นครินทร์
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ใหญ่ของไทยทั้ง 90 แห่งทั่วโลก ให้จัดสมุดไว้อาลัยเพื่อให้ผู้แทนรัฐบาลและชาวต่างประเทศ รวมทั้งประชาชนชาวไทยในต่างประเทศได้ลงนามไว้อาลัย นั้น
กระทรวงฯ ได้จัดทำสรุปรายนามบุคคลสำคัญที่มาลงนามไว้อาลัย ซึ่งสถานะ ณ วันที่ 9 มกราคม 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 30 คน จาก 16 ประเทศ ดังปรากฏรายละเอียดในข่าวสารนิเทศที่ 11/2551 ลงวันที่ 9 มกราคม 2551
นอกจากนี้ ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน 7 วันพระราชทานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ในวันพุธที่ 9 มกราคม 2551 เวลา 17.00 น.กระทรวงฯ ได้เชิญคณะทูตานุทูต และผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศเข้าร่วมในพระราชพิธีดังกล่าว โดยมีเอกอัครราชทูต กงสุลใหญ่ และผู้แทนองค์การระหว่างประเทศตอบรับเข้าร่วมงานพระราชพิธีดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 130 คน
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ลุ่มแม่น้ำโขงกับญี่ปุ่น
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศลุ่มแม่น้ำโขงกับญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 16 -17 มกราคม 2551 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตามคำเชิญของนายมาซาฮิโกะ โคอุมุระ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เพื่อติดตามและหารือแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน ตลอดจนขยายโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนภายใต้ East - West Economic Corridorและ North-South Economic Corridor
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศลุ่มแม่น้ำโขงกับญี่ปุ่นในครั้งนี้ เป็นการประชุม ครั้งแรกด้วยความริเริ่มของฝ่ายญี่ปุ่นเพื่อมุ่งสร้างความเชื่อมั่นระหว่างประเทศลุ่มแม่น้ำโขงกับญี่ปุ่นในการร่วมมือทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมถึงประเด็นด้านการพัฒนา โดยญี่ปุ่นใช้เงินกองทุนเพื่อการบูรณาการญี่ปุ่น-อาเซียน (Japan ASEAN Integration Fund: JAIF) ให้ความสนับสนุนแก่ประเทศ CLV (กัมพูชา สปป.ลาว และเวียดนาม)ในการศึกษาและพัฒนาแนวเส้นทางเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (EWEC)และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ในส่วนของไทย การประชุมครั้งนี้จะเป็นโอกาสที่จะเน้นบทบาทของไทยในการเสริมสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเน้นความเชื่อมโยงในกรอบความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่น-CLV กับโครงการความร่วมมือในกรอบ GMS และ ACMECS ซึ่งทั้งไทยและญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญ โดยจะพิจารณาโครงการที่จะสามารถเชื่อมประสานและต่อยอดกับกรอบญี่ปุ่น-CLV เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งในด้าน hardware และ software รวมถึงด้านโลจิสติกส์ด้วย
4. สถานการณ์ความไม่สงบภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปของเคนยา
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในพื้นที่หลายแห่งในกรุงไนโรบีและในอีกหลายพื้นที่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเคนยาตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2550 เนื่องจากนาย Raila Odinga หัวหน้าพรรค Orange of Democratic Movement (ODM) และผู้สนับสนุนได้ทำการประท้วงผลการเลือกตั้งทั่วไปที่ระบุว่า นาย Mwai Kibaki ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน หัวหน้าพรรค Party of National Unity (PNU) ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งฯ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2550 ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบดังกล่าวกว่า 300 คน นั้น
กระทรวงการต่างประเทศได้ติดต่อประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี เพื่อติดตามความเป็นอยู่ของคนไทยอย่างใกล้ชิด และได้รับรายงานว่า ปัจจุบันมีคนไทยพำนักอยู่ในเคนยาจำนวนทั้งสิ้น 53 คน (รวมข้าราชการของสถานเอก อัครราชทูตฯ และครอบครัว) โดยคนไทยเหล่านี้พำนักอยู่ในกรุงไนโรบีทั้งหมด และโดยที่เหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในช่วงวันหยุดเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ คนไทยส่วนใหญ่จึงได้เดินทางออกนอกประเทศเคนยา คงเหลือคนไทยอยู่ในเคนยาเพียง 28 คน และไม่ปรากฏว่ามีคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวแต่อย่างใด
5. การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2551 ของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศกำหนดจะจัดงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2551 ของกระทรวงฯ ในวันเสาร์ที่ 12 มกราคม ศกนี้ ระหว่างเวลา 09.00 — 15.30 น. ณ กรมการกงสุล โดยการจัดงานวันเด็กดังกล่าวนับเป็นปีที่ 2 ที่กระทรวงฯ ได้จัดกิจกรรมเนื่องในสัปดาห์วันเด็กแห่งชาติตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้เชิญชวนหน่วยงานราชการร่วมกันจัดกิจกรรมในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ณ หน่วยงานของตนเอง ซึ่งในครั้งแรก กระทรวงฯ ได้จัดงานดังกล่าว ณ อาคารถนนศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2550
ในการจัดงานฯ ครั้งนี้ กระทรวงฯ ได้จัดเตรียมกิจกรรมที่สำคัญต่างๆ ไว้สำหรับเด็กและเยาวชนที่มาร่วมงานวันเด็กแห่งชาติฯ ของกระทรวงฯ เป็นจำนวนมาก ประกอบด้วย การจัดลงนามถวายความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ การจัดทำหนังสือเดินทางยุวทูต (จำลอง) เพื่อเป็นที่ระลึกแก่เด็กและเยาวชนที่มาร่วมงานฯ การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งเป็นชุดเดียวกันกับที่กระทรวงฯ จัดทำขึ้นเพื่อส่งไปแสดงในงานวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2550 ณ สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศทั่วโลก การจัดนิทรรศการด้านการต่างประเทศ อาทิ ความรู้เกี่ยวกับสหประชาชาติ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ภารกิจสำคัญด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ การเตรียมตัวก่อนการเดินทางไปต่างประเทศ และการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของกระทรวงฯ รวมทั้งจัดให้มีการตอบปัญหาชิงรางวัลที่ซุ้มนิทรรศการดังกล่าว การสาธิตและเข้าร่วมในการแถลงข่าวจำลองเสมือนการเป็นโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และดารานักแสดงของบริษัทโพลีพลัสฯ และบริษัทกันตนาฯ จะมาแจกของขวัญแก่เด็กและเยาวชน นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้จัดเตรียมของที่ระลึกพร้อมทั้งอาหารและเครื่องดื่มไว้ให้แก่เด็กและเยาวชนที่มาร่วมงานครั้งนี้
ทั้งนี้ เด็กและเยาวชนสามารถมาร่วมงานดังกล่าวได้ตลอดงานฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่อย่างใด กระทรวงฯ จึงขอความกรุณาสื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมดังกล่าวด้วย
6. ประเทศไทยได้รับรางวัลประเทศท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลกและบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลสายการบินระหว่างประทศที่ดีที่สุดที่นอร์เวย์
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ว่า เมื่อวันที่ 7 มกราคม ศกนี้ นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ได้เป็นผู้แทนประเทศไทยรับรางวัล Grand Travel Award 2008 ในฐานะที่ประเทศไทยได้รับรางวัลประเทศท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก (The Best Tourist Country in the World) ที่นอร์เวย์ โดยนับเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันที่ประเทศไทยได้รับรางวัลดังกล่าว และในโอกาสเดียวกันนี้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)ก็ได้รับรางวัลสายการบินระหว่างประเทศที่ดีที่สุด (The Best International Airlines) ที่นอร์เวย์ เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน โดยนายมานิตย์ บุญฉิม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประจำสแกนดิเนเวีย และนาง Hilde Hirai ผู้จัดการการบินไทยประจำนอร์เวย์ได้เข้าร่วมรับรางวัลดังกล่าว
รางวัลดังกล่าวจัดโดยนิตยสาร Travel News ซึ่งเป็นนิตยสารด้านการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของนอร์เวย์ และสวีเดน โดยมีบริษัทและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อาทิ บริษัทสายการบิน โรงแรม บริษัทท่องเที่ยวและบริษัทเรือท่องเที่ยว จำนวนกว่า 400 แห่ง เป็นผู้ลงคะแนนเสียงในการคัดเลือกผู้ชนะการประกวดรางวัลการท่องเที่ยวประเภทต่าง ๆ
ภายหลังการแถลงข่าว อธิบดีกรมสารนิเทศได้ตอบคำถามสื่อมวลชนกรณีที่นิตยสาร The Economist ฉบับพิเศษ The World in 2008 ได้ลงบทความเรื่อง “The Spread of Political Risk” เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2551 จัดอันดับความเสี่ยงทางการเมืองของประเทศต่างๆ จากการสำรวจความเห็นนักธุรกิจ โดยไทยอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงทางการเมืองต่อการลงทุนสูงมาก (very high risk) ซึ่งประเทศอื่นๆ ในกลุ่มนี้รวมถึงไนจีเรีย โกดิวัวร์ กินี เวเนซุเอลา อิรัก และฟิลิปปินส์ โดยปัจจัยความเสี่ยงได้แก่ อันตรายจากความรุนแรงทางการเมือง การปกป้องตลาด ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล
อธิบดีกรมสารนิเทศกล่าวว่า รู้สึกแปลกใจกับรายงานข่าวดังกล่าว โดยเฉพาะการจัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงทางการเมืองต่อการลงทุนสูงมากเช่น เดียวกับประเทศไนจีเรีย โกดิวัวร์ กินี เวเนซุเอลา อิรักและฟิลิปปินส์ โดยปรากฏข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากการนำเสนอข่าวดังกล่าว กล่าวคือ
- ตัวเลขทางด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนของไทยในช่วงปี 2550 ที่ผ่านมา สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างออกไป การค้ากับต่างประเทศยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และนักลงทุนต่างชาติยังคงสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นด้วย
- การส่งออกของไทยขยายตัวต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ในช่วง 11 เดือนของปี 2550 มูลค่าการส่งออกของสูงถึง 4,808,717 ล้านบาท หรือ 139,211.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 จากช่วงเดียวกันของปี 2549
- จากสถิติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในช่วงเดือนมกราคม— พฤศจิกายน 2550 มีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติจำนวน 770 โครงการซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันของปี 2549 แต่มีปริมาณเงินลงทุน 473,698.4 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 69 จากช่วงเดียวกันของปี 2549 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78 ของปริมาณเงินลงทุนทั้งหมดที่ยื่นขอส่งเสริม โดยกว่าครึ่งเป็นการยื่นขอสำหรับโครงการใหม่
- ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทย แม้ดัชนีในช่วงหลังปีใหม่จะลดลงบ้าง (806.69 จุด ณ เวลา 11.34 น. ของวันที่ 9 มกราคม) แต่หากพิจารณาตั้งแต่เดือนกันยายน 2549 จนถึงเดือนธันวาคม 2550 ก็จะเห็นว่าดัชนีตลาดหลักทรัยพ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ในช่วงดังกล่าวจาก 686.1 จุด เป็น 858.1 จุด
- ในด้านการจัดอันดับขององค์การและสถาบันต่างๆ
1) การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNCTAD)จัดอันดับประเทศไทยเป็นเป้าหมายการลงทุนอันดับที่ 5 ต่อจากจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และอินเดีย
2) รายงานเรื่อง “Doing Business 2008” ของธนาคารโลก (World Bank)ซึ่งสำรวจความสะดวกในการประกอบธุรกิจ โดยจัดไทยเป็นอันดับ 15 จาก 178 ประเทศทั่วโลก
3) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน อาทิ Standard & Poor’s (S&P) และ Fitch Ratings ก็จัดระดับความน่าเชื่อถือของไทยอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ
- ในครึ่งแรกของปี 2550 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาไทยเกือบ 7 ล้านคน (6,954,752 คน) เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 3.3 และผลสำรวจความเห็นนักท่องเที่ยวที่เผยแพร่ในนิตยสารท่องเที่ยวต่าง ๆ อาทิ Travel & Leisure ของสหรัฐฯ นิตยสาร Stand By ของเดนมาร์ก ก็จัดอันดับไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีที่สุดและได้รับความประทับใจจากนักท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ ไทยยังได้รับรางวัล Grand Travel Award ในฐานะ World’s best tourism country จากกลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของนอร์เวย์ด้วย ซึ่งปีที่แล้วไทยก็ได้เป็นอันดับหนึ่งเช่นกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-