กรุงเทพ--18 ม.ค.-กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมการกงสุลและสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ไทย 8 แห่ง ในภูมิภาคตะวันออกกลาง 6 ประเทศ จะร่วมมือกับสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จัดโครงการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แรงงานไทย” ระหว่างวันที่ 17 มกราคม — 4 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อให้บริการแก่พี่น้องแรงงานไทยและชุมชนไทยที่ทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคอ่าวอาหรับ 6 ประเทศ คือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ บาห์เรน โอมาน และคูเวต
โครงการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แรงงานไทย” ครั้งนี้ นับว่าเป็นครั้งแรกที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้นำคณะแพทย์ไทยไปให้บริการด้านสุขภาพแก่คนไทยในบริเวณอ่าวอาหรับ (ก่อนหน้านี้เคยมีคณะแพทย์ไทยเดินทางไปให้บริการพี่น้องประชาชนไทยในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ เช่น ที่อียิปต์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เคยโปรดให้นำหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ไปตรวจรักษานักศึกษาไทยมุสลิมตามคำกราบทูลของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร และนายสวนิต คงสิริ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เคยนำคณะแพทย์ไทยไปเยี่ยมและบริการนักศึกษาไทยในอียิปต์และซูดาน เป็นต้น)
สำหรับโครงการนี้ เกิดขึ้นจากความริเริ่มของสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ใน 6 ประเทศเหล่านี้ ซึ่งในปัจจุบันมีคนไทยทำงานอยู่ในประเทศดังกล่าวประมาณ 6,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานก่อสร้าง และแรงงานในภาคบริการ อาทิ ร้านอาหาร สปา ปัญหาส่วนหนึ่งที่คนไทยบางส่วนประสบ คือ สภาพความเป็นอยู่ที่แออัด หรือมีความเครียดจากสภาพแวดล้อมใหม่ วัฒนธรรมใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ทำให้สุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตไม่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางครั้งเกิดปัญหาติดการพนัน และทะเลาะวิวาทตามมาในภายหลัง ได้ นอกจากนั้น คนไทยบางส่วนเมื่อเจ็บป่วยก็ยังมีปัญหาในการสื่อสาร ไม่สามารถบอกเล่าอาการของตนเป็นภาษาอังกฤษหรืออาหรับแก่แพทย์ชาวต่างประเทศในพื้นที่ได้เต็มที่ หรือไม่สามารถเข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้อย่างสมบูรณ์ การได้พูดคุยหรือปรึกษากับบุคลากรสาธารณสุขที่เป็นคนไทยด้วยกัน จึงน่าจะเป็นการช่วยเหลือคนไทยเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างขวัญกำลังใจได้เป็นอย่างดี
คณะซึ่งประกอบด้วย แพทย์ 7 คน จิตแพทย์ 3 คน พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมทั้งเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ นำโดยนายเชต ธีรพัฒนะ รองอธิบดีกรมการกงสุล และนายแพทย์พีระพงษ์ สายเชื้อ รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กทม. จะเดินทางไปเยี่ยมเยียนสถานทูตและสถานกงสุลใหญ่ไทย รวมทั้งชุมชนไทยในประเทศต่างๆ ที่ร่วมโครงการ เพื่อให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป แนะนำการดูแลรักษาสุขภาพ การป้องกันโรค แจกยาและเวชภัณฑ์ รวมทั้งให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิต อาทิ การพักผ่อน วิธีการที่เหมาะสมในการผ่อนคลายความตึงเครียด และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่
กระทรวงการต่างประเทศได้ริเริ่มดำเนินโครงการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนไทยในต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่องหลายปีแล้ว โดยได้เน้นการดำเนินการในพื้นที่ที่มีคนไทยไปอาศัยอยู่จำนวนมากและมีชุมชนไทยที่ตั้งขึ้นค่อนข้างแน่นหนา อาทิ ญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ซึ่งหลายครั้งที่ผ่านมาเป็นความร่วมมือระหว่างสถานทูตสถานกงสุลไทยในพื้นที่กับกลุ่มและองค์การอาสาสมัครชาวไทย วัดไทย และชุมชนชาวไทยในพื้นที่นั้นๆ หรือกับส่วนราชการ หน่วยงาน และองค์การอาสาสมัครจากประเทศไทย โครงการในลักษณะนี้ได้ช่วยให้คนไทยในต่างแดนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ และมีส่วนส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวกันสร้างเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือระหว่างคนไทย ทำให้ชุมชนไทยในต่างประเทศมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมการกงสุลและสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ไทย 8 แห่ง ในภูมิภาคตะวันออกกลาง 6 ประเทศ จะร่วมมือกับสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จัดโครงการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แรงงานไทย” ระหว่างวันที่ 17 มกราคม — 4 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อให้บริการแก่พี่น้องแรงงานไทยและชุมชนไทยที่ทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคอ่าวอาหรับ 6 ประเทศ คือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ บาห์เรน โอมาน และคูเวต
โครงการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แรงงานไทย” ครั้งนี้ นับว่าเป็นครั้งแรกที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้นำคณะแพทย์ไทยไปให้บริการด้านสุขภาพแก่คนไทยในบริเวณอ่าวอาหรับ (ก่อนหน้านี้เคยมีคณะแพทย์ไทยเดินทางไปให้บริการพี่น้องประชาชนไทยในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ เช่น ที่อียิปต์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เคยโปรดให้นำหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ไปตรวจรักษานักศึกษาไทยมุสลิมตามคำกราบทูลของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร และนายสวนิต คงสิริ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เคยนำคณะแพทย์ไทยไปเยี่ยมและบริการนักศึกษาไทยในอียิปต์และซูดาน เป็นต้น)
สำหรับโครงการนี้ เกิดขึ้นจากความริเริ่มของสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ใน 6 ประเทศเหล่านี้ ซึ่งในปัจจุบันมีคนไทยทำงานอยู่ในประเทศดังกล่าวประมาณ 6,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานก่อสร้าง และแรงงานในภาคบริการ อาทิ ร้านอาหาร สปา ปัญหาส่วนหนึ่งที่คนไทยบางส่วนประสบ คือ สภาพความเป็นอยู่ที่แออัด หรือมีความเครียดจากสภาพแวดล้อมใหม่ วัฒนธรรมใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ทำให้สุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตไม่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางครั้งเกิดปัญหาติดการพนัน และทะเลาะวิวาทตามมาในภายหลัง ได้ นอกจากนั้น คนไทยบางส่วนเมื่อเจ็บป่วยก็ยังมีปัญหาในการสื่อสาร ไม่สามารถบอกเล่าอาการของตนเป็นภาษาอังกฤษหรืออาหรับแก่แพทย์ชาวต่างประเทศในพื้นที่ได้เต็มที่ หรือไม่สามารถเข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้อย่างสมบูรณ์ การได้พูดคุยหรือปรึกษากับบุคลากรสาธารณสุขที่เป็นคนไทยด้วยกัน จึงน่าจะเป็นการช่วยเหลือคนไทยเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างขวัญกำลังใจได้เป็นอย่างดี
คณะซึ่งประกอบด้วย แพทย์ 7 คน จิตแพทย์ 3 คน พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมทั้งเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ นำโดยนายเชต ธีรพัฒนะ รองอธิบดีกรมการกงสุล และนายแพทย์พีระพงษ์ สายเชื้อ รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กทม. จะเดินทางไปเยี่ยมเยียนสถานทูตและสถานกงสุลใหญ่ไทย รวมทั้งชุมชนไทยในประเทศต่างๆ ที่ร่วมโครงการ เพื่อให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป แนะนำการดูแลรักษาสุขภาพ การป้องกันโรค แจกยาและเวชภัณฑ์ รวมทั้งให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิต อาทิ การพักผ่อน วิธีการที่เหมาะสมในการผ่อนคลายความตึงเครียด และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่
กระทรวงการต่างประเทศได้ริเริ่มดำเนินโครงการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนไทยในต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่องหลายปีแล้ว โดยได้เน้นการดำเนินการในพื้นที่ที่มีคนไทยไปอาศัยอยู่จำนวนมากและมีชุมชนไทยที่ตั้งขึ้นค่อนข้างแน่นหนา อาทิ ญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ซึ่งหลายครั้งที่ผ่านมาเป็นความร่วมมือระหว่างสถานทูตสถานกงสุลไทยในพื้นที่กับกลุ่มและองค์การอาสาสมัครชาวไทย วัดไทย และชุมชนชาวไทยในพื้นที่นั้นๆ หรือกับส่วนราชการ หน่วยงาน และองค์การอาสาสมัครจากประเทศไทย โครงการในลักษณะนี้ได้ช่วยให้คนไทยในต่างแดนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ และมีส่วนส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวกันสร้างเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือระหว่างคนไทย ทำให้ชุมชนไทยในต่างประเทศมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-