กรุงเทพ--24 ม.ค.-กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีผลบังคับใช้วันที่ 17 มกราคม 2551 เพื่อให้มีการจัดการเลือกตั้ง ส.ว. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 มีนาคม 2551 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พ.ศ. 2550 กำหนดให้การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรต้องเสร็จสิ้นก่อนการเลือกตั้งในประเทศไม่น้อยกว่า 6 วัน นั้น กกต. ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.นอกราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 11 - 24 กุมภาพันธ์ 2551และได้ขอให้กรมการปกครองเปิดระบบการออนไลน์เพื่อให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทั้ง 90 แห่ง ใน 65 ประเทศ ทำการลงทะเบียนออนไลน์สำหรับผู้แจ้งขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรและเปลี่ยนแปลงการขอใช้สิทธิฯ ระหว่างวันที่ 10 - 31 มกราคม 2551 แล้ว โดยจำนวนผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิ ณ วันที่ 21 มกราคม 2551 มีจำนวน 81,970 คน มากกว่าจำนวนผู้มาลงทะเบียนขอใช้สิทธิฯ ในการเลือกตั้ง ส.ส. นอกราชอาณาจักรที่ผ่านมาเล็กน้อย (80,161 คน)
การจัดการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรครั้งนี้ เอกอัครราชทูต/กงสุลใหญ่มีอำนาจตามกฎหมายในการใช้ดุลยพินิจว่าจะเลือกจัดการเลือกตั้งด้วยวิธีใดโดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามพื้นที่ จากที่มีการกำหนดวิธีการจัดการเลือกตั้งฯ ไว้ 3 วิธี คือ 1) วิธีเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้ง 2) ทางไปรษณีย์ และ 3) โดยวิธีอื่น โดยสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่จะติดประกาศให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งฯ ทราบเกี่ยวกับวัน เวลา ที่เลือกตั้งและวิธีลงคะแนนเลือกตั้งภายในวันที่ 27 มกราคม 2551 ซึ่งในขณะนี้ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ได้เริ่มทะยอยแจ้งให้กระทรวงการต่างประเทศทราบเกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่และวิธีการเลือกตั้งฯ แล้ว โดยส่วนใหญ่ยังกำหนดให้ใช้วิธีการเลือกตั้งฯ เช่นเดียวกับวิธีการเลือกตั้ง ส.ส. นอกราชอาณาจักรที่ผ่านมา
กระทรวงการต่างประเทศได้กำหนดจะจัดส่งบัตรเลือกตั้งไปยังสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทั้ง 90 แห่ง ในระหว่างวันที่ 3 - 5 กุมภาพันธ์ 2551 โดยวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 จะเป็นวันสุดท้ายที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่จะต้องจัดส่งบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้วมาถึงประเทศไทยเพื่อให้บริษัทไปรษณีย์ไทยดำเนินการคัดแยกบัตรเลือกตั้งส่งต่อไปยังหน่วยเลือกตั้งในจังหวัดต่าง ๆ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อรวบรวมสมทบกับการลงคะแนนเลือกตั้งฯ ภายในประเทศในวันที่ 2 มีนาคม 2551
สำหรับการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรครั้งนี้ ได้มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
1. ส่วนกลางโดยกระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดพิมพ์แผ่นพับคู่มือการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักร และแผ่นโปสเตอร์ส่งไปให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทั้ง 90 แห่งเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ การเลือกตั้งฯ แก่ชุมชนไทยในต่างประเทศแล้ว ในขณะเดียวกัน ก็ได้จ้างบริษัทเอกชนดำเนินการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ทั้งสื่อ สิ่งตีพิมพ์ ระบบอินเตอร์เนต และเน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ TGN ซึ่งคนไทยที่พำนักในต่างประเทศใน 177 ประเทศ สามารถรับชมได้
2. ในต่างประเทศ กระทรวง ฯ ได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ให้ความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งฯ ในทุกรูปแบบ เพื่อให้คนไทยมาลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิฯ เพิ่มขึ้นให้มากที่สุด รวมทั้ง ให้คนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งมาใช้สิทธิฯ ของตน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งฯ ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การออกข่าวสารนิเทศ การจัดทำแผ่นพับ การใช้สื่อท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ในหมู่สมาคม/ชมรมคนไทยและวัดไทยในต่างประเทศ รวมทั้งการจัดหน่วยสัญจรออกไปประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งแก่คนไทย โดยเฉพาะในประเทศที่มีคนไทยอยู่เป็นจำนวนมาก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีผลบังคับใช้วันที่ 17 มกราคม 2551 เพื่อให้มีการจัดการเลือกตั้ง ส.ว. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 มีนาคม 2551 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พ.ศ. 2550 กำหนดให้การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรต้องเสร็จสิ้นก่อนการเลือกตั้งในประเทศไม่น้อยกว่า 6 วัน นั้น กกต. ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.นอกราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 11 - 24 กุมภาพันธ์ 2551และได้ขอให้กรมการปกครองเปิดระบบการออนไลน์เพื่อให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทั้ง 90 แห่ง ใน 65 ประเทศ ทำการลงทะเบียนออนไลน์สำหรับผู้แจ้งขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรและเปลี่ยนแปลงการขอใช้สิทธิฯ ระหว่างวันที่ 10 - 31 มกราคม 2551 แล้ว โดยจำนวนผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิ ณ วันที่ 21 มกราคม 2551 มีจำนวน 81,970 คน มากกว่าจำนวนผู้มาลงทะเบียนขอใช้สิทธิฯ ในการเลือกตั้ง ส.ส. นอกราชอาณาจักรที่ผ่านมาเล็กน้อย (80,161 คน)
การจัดการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรครั้งนี้ เอกอัครราชทูต/กงสุลใหญ่มีอำนาจตามกฎหมายในการใช้ดุลยพินิจว่าจะเลือกจัดการเลือกตั้งด้วยวิธีใดโดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามพื้นที่ จากที่มีการกำหนดวิธีการจัดการเลือกตั้งฯ ไว้ 3 วิธี คือ 1) วิธีเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้ง 2) ทางไปรษณีย์ และ 3) โดยวิธีอื่น โดยสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่จะติดประกาศให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งฯ ทราบเกี่ยวกับวัน เวลา ที่เลือกตั้งและวิธีลงคะแนนเลือกตั้งภายในวันที่ 27 มกราคม 2551 ซึ่งในขณะนี้ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ได้เริ่มทะยอยแจ้งให้กระทรวงการต่างประเทศทราบเกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่และวิธีการเลือกตั้งฯ แล้ว โดยส่วนใหญ่ยังกำหนดให้ใช้วิธีการเลือกตั้งฯ เช่นเดียวกับวิธีการเลือกตั้ง ส.ส. นอกราชอาณาจักรที่ผ่านมา
กระทรวงการต่างประเทศได้กำหนดจะจัดส่งบัตรเลือกตั้งไปยังสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทั้ง 90 แห่ง ในระหว่างวันที่ 3 - 5 กุมภาพันธ์ 2551 โดยวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 จะเป็นวันสุดท้ายที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่จะต้องจัดส่งบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้วมาถึงประเทศไทยเพื่อให้บริษัทไปรษณีย์ไทยดำเนินการคัดแยกบัตรเลือกตั้งส่งต่อไปยังหน่วยเลือกตั้งในจังหวัดต่าง ๆ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อรวบรวมสมทบกับการลงคะแนนเลือกตั้งฯ ภายในประเทศในวันที่ 2 มีนาคม 2551
สำหรับการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรครั้งนี้ ได้มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
1. ส่วนกลางโดยกระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดพิมพ์แผ่นพับคู่มือการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักร และแผ่นโปสเตอร์ส่งไปให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทั้ง 90 แห่งเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ การเลือกตั้งฯ แก่ชุมชนไทยในต่างประเทศแล้ว ในขณะเดียวกัน ก็ได้จ้างบริษัทเอกชนดำเนินการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ทั้งสื่อ สิ่งตีพิมพ์ ระบบอินเตอร์เนต และเน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ TGN ซึ่งคนไทยที่พำนักในต่างประเทศใน 177 ประเทศ สามารถรับชมได้
2. ในต่างประเทศ กระทรวง ฯ ได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ให้ความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งฯ ในทุกรูปแบบ เพื่อให้คนไทยมาลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิฯ เพิ่มขึ้นให้มากที่สุด รวมทั้ง ให้คนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งมาใช้สิทธิฯ ของตน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งฯ ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การออกข่าวสารนิเทศ การจัดทำแผ่นพับ การใช้สื่อท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ในหมู่สมาคม/ชมรมคนไทยและวัดไทยในต่างประเทศ รวมทั้งการจัดหน่วยสัญจรออกไปประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งแก่คนไทย โดยเฉพาะในประเทศที่มีคนไทยอยู่เป็นจำนวนมาก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-