กรุงเทพ--24 ม.ค.-กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ และ ศ. คลินิก น.พ. สุพัฒน์ วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ร่วมแถลงข่าวพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2550 ว่า ตั้งแต่ปี 2535 คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้คัดเลือกบุคคลหรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ เพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในสองสาขาได้แก่ สาขาการแพทย์ 1 รางวัล และการสาธารณสุข 1 รางวัล เป็นประจำทุกปีตลอดมา โดยรางวัลประกอบด้วย เหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล รางวัลละ 50,000 เหรียญสหรัฐ
ในปี 2550 คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน ได้พิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 จำนวน 69 ราย จาก 35 ประเทศ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 และมีมติตัดสินมอบรางวัล สาขาการแพทย์ แก่ ศาสตราจารย์ ดร.อักเซล อูลล์ริช (Professor Dr. Axel Ullrich) ผู้อำนวยการสถาบันชีวเคมีมักซ์พลั้งค์ (Max Planck Institute of Biochemistry) สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี จากผลงานการศึกษากลไกหลักของการเกิดเซลล์มะเร็งและที่สำคัญเป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า (Targeted cancer therapy) สำหรับสาขาการสาธารณสุข มีผู้ได้รับพระราชทานรางวัล 2 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล สจ๊วต เฮทเซล (Professor Basil Stuart Hetzel) ประธานเกียรติคุณ สภาการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนนานาชาติ ประเทศออสเตรเลีย จากผลงานในการทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงผลของการขาดสารไอโอดีนที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ และผลักดันโครงการรณรงค์แก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนระดับโลกและนายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท (Dr. Sanduk Ruit) ผู้อำนวยการศูนย์จักษุทิลกานกา (Tilganga Eye Centre) กรุงกาฎมาณฑุ ประเทศเนปาล จากผลงานการพัฒนาวิธีการผ่าตัดต้อกระจกแบบที่ไม่ต้องเย็บ (suture-less operation) และการมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการผลิตเลนส์ตาเทียม (intraocular lens) ซึ่งมีคุณภาพสูงและราคาถูก
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 ในวันพุธที่ 30 มกราคม 2551 เวลา 17.30 น. ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลพร้อมคู่สมรสในวันเดียวกัน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เวลา 20.00 น.
หลังจากนั้น ศ. น.พ. วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 และ รศ. ดร. ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย Dr. Muareen Birmingham รักษาการผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และนางนิภา สิริพุทธามาศ ผู้แทนของผู้อำนวยการธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 ว่า การประชุมฯ จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2551 ณ โรงแรมดุสิตธานี มีเจ้าภาพหลักได้แก่ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ องค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก และยังได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ ภายใต้หัวข้อ “เหลียวหลังแลหน้า :สามทศวรรษสาธารณสุขมูลฐาน” (Three Decades of Primary Health Care: Reviewing the Past and Defining the Future) ซึ่งการประชุมวิชาการในปีนี้จะมุ่งประเด็นการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยเน้นการสาธารณสุขมูลฐานเพื่อเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยกับการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และเสริมสร้างเครือข่ายนักวิชาการและนักบริหารการสาธารณสุข การประชุมครั้งนี้ จะมีนักวิชาการ นักวิจัย และผู้นำด้านสาธารณสุขจากประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าร่วมการประชุมประมาณ 400 คน
ในการนี้ สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 ในวันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2551 เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมดุสิตธานี
นอกจากนี้ ในวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 16.30 น. จะมีพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปี การสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งมี ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการ UNCTAD, นายแพทย์สำลี เปลี่ยนบางช้าง ผู้อำนวยการ WHO/SEARO, และนายแพทย์มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมแสดงปาฐกถาในการเฉลิมฉลองครั้งนี้ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ และ ศ. คลินิก น.พ. สุพัฒน์ วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ร่วมแถลงข่าวพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2550 ว่า ตั้งแต่ปี 2535 คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้คัดเลือกบุคคลหรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ เพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในสองสาขาได้แก่ สาขาการแพทย์ 1 รางวัล และการสาธารณสุข 1 รางวัล เป็นประจำทุกปีตลอดมา โดยรางวัลประกอบด้วย เหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล รางวัลละ 50,000 เหรียญสหรัฐ
ในปี 2550 คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน ได้พิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 จำนวน 69 ราย จาก 35 ประเทศ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 และมีมติตัดสินมอบรางวัล สาขาการแพทย์ แก่ ศาสตราจารย์ ดร.อักเซล อูลล์ริช (Professor Dr. Axel Ullrich) ผู้อำนวยการสถาบันชีวเคมีมักซ์พลั้งค์ (Max Planck Institute of Biochemistry) สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี จากผลงานการศึกษากลไกหลักของการเกิดเซลล์มะเร็งและที่สำคัญเป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า (Targeted cancer therapy) สำหรับสาขาการสาธารณสุข มีผู้ได้รับพระราชทานรางวัล 2 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล สจ๊วต เฮทเซล (Professor Basil Stuart Hetzel) ประธานเกียรติคุณ สภาการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนนานาชาติ ประเทศออสเตรเลีย จากผลงานในการทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงผลของการขาดสารไอโอดีนที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ และผลักดันโครงการรณรงค์แก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนระดับโลกและนายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท (Dr. Sanduk Ruit) ผู้อำนวยการศูนย์จักษุทิลกานกา (Tilganga Eye Centre) กรุงกาฎมาณฑุ ประเทศเนปาล จากผลงานการพัฒนาวิธีการผ่าตัดต้อกระจกแบบที่ไม่ต้องเย็บ (suture-less operation) และการมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการผลิตเลนส์ตาเทียม (intraocular lens) ซึ่งมีคุณภาพสูงและราคาถูก
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 ในวันพุธที่ 30 มกราคม 2551 เวลา 17.30 น. ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลพร้อมคู่สมรสในวันเดียวกัน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เวลา 20.00 น.
หลังจากนั้น ศ. น.พ. วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 และ รศ. ดร. ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย Dr. Muareen Birmingham รักษาการผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และนางนิภา สิริพุทธามาศ ผู้แทนของผู้อำนวยการธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 ว่า การประชุมฯ จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2551 ณ โรงแรมดุสิตธานี มีเจ้าภาพหลักได้แก่ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ องค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก และยังได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ ภายใต้หัวข้อ “เหลียวหลังแลหน้า :สามทศวรรษสาธารณสุขมูลฐาน” (Three Decades of Primary Health Care: Reviewing the Past and Defining the Future) ซึ่งการประชุมวิชาการในปีนี้จะมุ่งประเด็นการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยเน้นการสาธารณสุขมูลฐานเพื่อเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยกับการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และเสริมสร้างเครือข่ายนักวิชาการและนักบริหารการสาธารณสุข การประชุมครั้งนี้ จะมีนักวิชาการ นักวิจัย และผู้นำด้านสาธารณสุขจากประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าร่วมการประชุมประมาณ 400 คน
ในการนี้ สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 ในวันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2551 เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมดุสิตธานี
นอกจากนี้ ในวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 16.30 น. จะมีพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปี การสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งมี ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการ UNCTAD, นายแพทย์สำลี เปลี่ยนบางช้าง ผู้อำนวยการ WHO/SEARO, และนายแพทย์มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมแสดงปาฐกถาในการเฉลิมฉลองครั้งนี้ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-