กรุงเทพ--24 ม.ค.-กระทรวงการต่างประเทศ
วันที่ 23 มกราคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุม ICT กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภานอกราชอาณาจักร 2551
ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีผลบังคับใช้วันที่ 17 มกราคม 2551 เพื่อให้มีการจัดการเลือกตั้ง ส.ว. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 มีนาคม 2551 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พ.ศ. 2550 กำหนดให้การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรต้องเสร็จสิ้นก่อนการเลือกตั้งในประเทศไม่น้อยกว่า 6 วัน นั้น กกต. ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.นอกราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 11 - 24 กุมภาพันธ์ 2551และได้ขอให้กรมการปกครองเปิดระบบการออนไลน์เพื่อให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทั้ง 90 แห่ง ใน 65 ประเทศ ทำการลงทะเบียนออนไลน์สำหรับผู้แจ้งขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรและเปลี่ยนแปลงการขอใช้สิทธิฯ ระหว่างวันที่ 10 - 31 มกราคม 2551 แล้ว โดยจำนวนผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิ ณ วันที่ 21 มกราคม 2551 มีจำนวน 81,970 คน มากกว่าจำนวนผู้มาลงทะเบียนขอใช้สิทธิฯ ในการเลือกตั้ง ส.ส. นอกราชอาณาจักรที่ผ่านมาเล็กน้อย (80,161 คน)
การจัดการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรครั้งนี้ เอกอัครราชทูต/กงสุลใหญ่มีอำนาจตามกฎหมายในการใช้ดุลยพินิจว่าจะเลือกจัดการเลือกตั้งด้วยวิธีใดโดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามพื้นที่ จากที่มีการกำหนดวิธีการจัดการเลือกตั้งฯ ไว้ 3 วิธี คือ 1) วิธีเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้ง 2) ทางไปรษณีย์ และ 3) โดยวิธีอื่น โดยสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ จะติดประกาศให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งฯ ทราบเกี่ยวกับวัน เวลา ที่เลือกตั้งและ วิธีลงคะแนนเลือกตั้งภายในวันที่ 27 มกราคม 2551 ซึ่งในขณะนี้ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ได้เริ่มทะยอยแจ้งให้กระทรวงการต่างประเทศทราบเกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่และวิธีการเลือกตั้งฯ แล้ว โดยส่วนใหญ่ยังกำหนดให้ใช้วิธีการเลือกตั้งฯ เช่นเดียวกับวิธีการเลือกตั้ง ส.ส. นอกราชอาณาจักรที่ผ่านมา
กระทรวงการต่างประเทศได้กำหนดจะจัดส่งบัตรเลือกตั้งไปยังสถานเอกอัครราชทูต/
สถานกงสุลใหญ่ทั้ง 90 แห่ง ในระหว่างวันที่ 3 - 5 กุมภาพันธ์ 2551 โดยวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 จะเป็นวันสุดท้ายที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่จะต้องจัดส่งบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้วมาถึงประเทศไทยเพื่อให้บริษัทไปรษณีย์ไทยดำเนินการคัดแยกบัตรเลือกตั้งส่งต่อไปยังหน่วยเลือกตั้งในจังหวัดต่าง ๆ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อรวบรวมสมทบกับการลงคะแนนเลือกตั้งฯ ภายในประเทศในวันที่ 2 มีนาคม 2551
สำหรับการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรครั้งนี้ ได้มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
1. ส่วนกลางโดยกระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดพิมพ์แผ่นพับคู่มือการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักร และแผ่นโปสเตอร์ส่งไปให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทั้ง 90 แห่งเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ การเลือกตั้งฯ แก่ชุมชนไทยในต่างประเทศแล้ว ในขณะเดียวกัน ก็ได้จ้างบริษัทเอกชนดำเนินการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ทั้งสื่อ สิ่งตีพิมพ์ ระบบอินเตอร์เนต และเน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ TGN ซึ่งคนไทยที่พำนักในต่างประเทศใน 177 ประเทศ สามารถรับชมได้
2. ในต่างประเทศ กระทรวง ฯ ได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ให้ความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งฯ ในทุกรูปแบบ เพื่อให้คนไทยมาลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิฯ เพิ่มขึ้นให้มากที่สุด รวมทั้งให้คนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งมาใช้สิทธิฯ ของตน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งฯ ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การออกข่าวสารนิเทศ การจัดทำแผ่นพับ การใช้สื่อท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ในหมู่สมาคม/ชมรมคนไทยและวัดไทยในต่างประเทศ รวมทั้งการจัดหน่วยสัญจรออกไปประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งแก่คนไทย โดยเฉพาะในประเทศที่มีคนไทยอยู่เป็นจำนวนมาก
2. การแถลงข่าวการประชุมวิชาการทางการแพทย์เฉลิมพระเกียรติ
(วันที่ 31 มกราคม — 1 กุมภาพันธ์ 2551)
อธิบดีกรมสารนิเทศได้ร่วมกับ ศ. นพ. อร่าม โรจนสกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แถลงข่าวเกี่ยวกับการประชุมวิชาการทางการแพทย์เฉลิมพระเกียรติ โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้
กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และสมาคมแพทย์ไทยในสหรัฐอเมริกา (Thai Physicians Association in America - TPAA) จะจัดการประชุมวิชาการทางการแพทย์เฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ระหว่างวันที่ 31 มกราคม — 1 กุมภาพันธ์ 2551 ณ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้กรอบแนวคิด “New Frontiers in Cardiovascular Metabolic and Oncological Practices: Together for the Better Health” โดยเน้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับโรคหัวใจ- หลอดเลือด-เมตาบอลิก และโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในลำดับต้น ๆ ของการเจ็บป่วยของคนไทยในปัจจุบัน และพบว่า คนไทยได้เสียชีวิตด้วยสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดเฉลี่ยวันละไม่ต่ำกว่า 200 คน
การประชุมครั้งนี้จะเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในหลากหลายมิติ ทั้งด้านการตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษา การป้องกัน และการสร้างเสริมสุขภาพ โดยได้เชิญวิทยากรซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในประเทศไทยและจากสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อเสียงในแวดวงวิชาชีพทางการแพทย์และการสาธารณสุข ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจำนวนรวมประมาณ 1,500 — 2,000 คน เข้าร่วมการประชุมฯ
กระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และสมาคมแพทย์ไทยในสหรัฐอเมริกา ดำเนินโครงการสำคัญดังกล่าว ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงสนพระทัย และทรงให้ความสำคัญต่อปัญหาด้านสาธาณสุขและสุขภาพของคนไทยมาโดยตลอด และถือเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ร่วมเฉลิมฉลองโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นอกจากการประชุมวิชาการดังกล่าวแล้ว คณะผู้จัดงานฯ ยังมีการจัดกิจกรรมคู่ขนานเพื่อมุ่งประโยชน์ต่อภาคประชาชนโดยตรง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกระตุ้นให้ประชาชนสนใจดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการเปิดให้บริการตรวจสุขภาพสำหรับประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย รวมทั้งการจัดแสดงนิทรรศการด้านสุขภาพเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนนำไปใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยกำหนดจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 1- 3 กุมภาพันธ์ 2551 ระหว่างเวลา 10.00 - 20.00 น. ณ บริเวณชั้น 6 - 7 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี หมายเลขโทรศัพท์ 0 2201 1542, 0 2201 2193, 0 2201 2607, 0 2201 1541 และหมายเลขโทรสาร 0 2201 1542, 0 2201 2607
อนึ่ง กระทรวงการต่างประเทศกำหนดจะจัดพิธีเปิดการประชุมวิชาการทางการแพทย์เฉลิมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ และเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงรับรองเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะวิทยากรและผู้เข้าร่วม การประชุมฯ โดย ดร.มนัสพาสน์ ชูโต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นประธานในงานดังกล่าว ในวันพุธที่ 30 มกราคม 2551 เวลา 18.00 น. ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา และจะจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณโถงประวัติศาสตร์ วิเทศสโมสร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมฯ ได้ชื่นชมพระราชกรณียกิจ และพระอัจฉริยภาพด้านต่างๆ รวมทั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
3. การแถลงข่าวพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550
(วันที่ 30 มกราคม 2551)
อธิบดีกรมสารนิเทศในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ได้ร่วมกับ ศ. คลินิก นพ. ธีรพัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ และ ศ. คลินิก นพ. สุพัฒน์ วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ แถลงข่าวเกี่ยวกับผู้ได้รับพระราชทานรางวัลและพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประจำปี 2550 โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้
ตั้งแต่ปี 2535 คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้คัดเลือกบุคคลหรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ เพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในสองสาขาได้แก่ สาขาการแพทย์ 1 รางวัล และการสาธารณสุข 1 รางวัล เป็นประจำทุกปีตลอดมา โดยรางวัลประกอบด้วย เหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล รางวัลละ 50,000 เหรียญสหรัฐ
ในปี 2550 คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน ได้พิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 จำนวน 69 ราย จาก 35 ประเทศ และเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้มีมติตัดสินมอบรางวัลสาขาการแพทย์ แก่ ศาสตราจารย์ ดร.อักเซล อูลล์ริช (Professor Dr. Axel Ullrich) ผู้อำนวยการสถาบันชีวเคมีมักซ์พลั้งค์ (Max Planck Institute of Biochemistry) สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี จากผลงานการศึกษากลไกหลักของการเกิดเซลล์มะเร็งและที่สำคัญเป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า (Targeted cancer therapy) สำหรับรางวัลสาขาการสาธารณสุข มีผู้ได้รับพระราชทานรางวัล 2 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล สจ๊วต เฮทเซล (Professor Basil Stuart Hetzel) ประธานเกียรติคุณ สภาการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนนานาชาติ ประเทศออสเตรเลีย จากผลงานในการทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึง ผลของการขาดสารไอโอดีนที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ และผลักดันโครงการรณรงค์แก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนระดับโลกและนายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท (Dr. Sanduk Ruit) ผู้อำนวยการศูนย์จักษุทิลกานกา (Tilganga Eye Centre) กรุงกาฎมาณฑุ ประเทศเนปาล จากผลงานการพัฒนาวิธีการผ่าตัดต้อกระจกแบบที่ไม่ต้องเย็บ (suture-less operation) และการมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการผลิตเลนส์ตาเทียม (intraocular lens) ซึ่งมีคุณภาพสูงและราคาถูก
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 ในวันพุธที่ 30 มกราคม 2551 เวลา 17.30 น. ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลพร้อมคู่สมรสในวันเดียวกัน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เวลา 20.00 น.
4. การแถลงข่าวการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2551
(วันที่ 31 มกราคม — 1 กุมภาพันธ์ 2551)
อธิบดีกรมสารนิเทศ ได้ร่วมกับ ศ. น.พ. วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 และ รศ. ดร. ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย Dr. Muareen Birmingham รักษาการผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และนางนิภา สิริพุทธามาศ ผู้แทนของผู้อำนวยการธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย แถลงข่าวเกี่ยวกับการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้
การประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 มีกำหนดจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2551 ณ โรงแรมดุสิตธานี โดยมีเจ้าภาพหลักได้แก่ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับองค์การอนามัยโลก และธนาคารโลก และยังได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ ภายใต้หัวข้อ “ เหลียวหลังแลหน้า : สามทศวรรษสาธารณสุขมูลฐาน” (Three Decades of Primary Health Care: Reviewing the Past and Defining the Future) ซึ่งการประชุมวิชาการในปีนี้จะมุ่งประเด็นการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยเน้นการสาธารณสุขมูลฐานเพื่อเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยกับการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และเสริมสร้างเครือข่ายนักวิชาการและนักบริหารการสาธารณสุข โดยประมาณการว่า การประชุมครั้งนี้ จะมีนักวิชาการ นักวิจัย และผู้นำด้านสาธารณสุขจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าร่วมการประชุมฯ ประมาณ 400 คน
ในการนี้ สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 ในวันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2551 เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมดุสิตธานี
นอกจากนี้ ในวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 16.30 น. จะมีพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี การสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งมี ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการ UNCTAD นายแพทย์สำลี เปลี่ยนบางช้าง ผู้อำนวยการ WHO/SEARO และ น.พ. มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมแสดงปาฐกถาในงานเฉลิมฉลองดังกล่าวด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
วันที่ 23 มกราคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุม ICT กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภานอกราชอาณาจักร 2551
ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีผลบังคับใช้วันที่ 17 มกราคม 2551 เพื่อให้มีการจัดการเลือกตั้ง ส.ว. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 มีนาคม 2551 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พ.ศ. 2550 กำหนดให้การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรต้องเสร็จสิ้นก่อนการเลือกตั้งในประเทศไม่น้อยกว่า 6 วัน นั้น กกต. ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.นอกราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 11 - 24 กุมภาพันธ์ 2551และได้ขอให้กรมการปกครองเปิดระบบการออนไลน์เพื่อให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทั้ง 90 แห่ง ใน 65 ประเทศ ทำการลงทะเบียนออนไลน์สำหรับผู้แจ้งขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรและเปลี่ยนแปลงการขอใช้สิทธิฯ ระหว่างวันที่ 10 - 31 มกราคม 2551 แล้ว โดยจำนวนผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิ ณ วันที่ 21 มกราคม 2551 มีจำนวน 81,970 คน มากกว่าจำนวนผู้มาลงทะเบียนขอใช้สิทธิฯ ในการเลือกตั้ง ส.ส. นอกราชอาณาจักรที่ผ่านมาเล็กน้อย (80,161 คน)
การจัดการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรครั้งนี้ เอกอัครราชทูต/กงสุลใหญ่มีอำนาจตามกฎหมายในการใช้ดุลยพินิจว่าจะเลือกจัดการเลือกตั้งด้วยวิธีใดโดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามพื้นที่ จากที่มีการกำหนดวิธีการจัดการเลือกตั้งฯ ไว้ 3 วิธี คือ 1) วิธีเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้ง 2) ทางไปรษณีย์ และ 3) โดยวิธีอื่น โดยสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ จะติดประกาศให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งฯ ทราบเกี่ยวกับวัน เวลา ที่เลือกตั้งและ วิธีลงคะแนนเลือกตั้งภายในวันที่ 27 มกราคม 2551 ซึ่งในขณะนี้ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ได้เริ่มทะยอยแจ้งให้กระทรวงการต่างประเทศทราบเกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่และวิธีการเลือกตั้งฯ แล้ว โดยส่วนใหญ่ยังกำหนดให้ใช้วิธีการเลือกตั้งฯ เช่นเดียวกับวิธีการเลือกตั้ง ส.ส. นอกราชอาณาจักรที่ผ่านมา
กระทรวงการต่างประเทศได้กำหนดจะจัดส่งบัตรเลือกตั้งไปยังสถานเอกอัครราชทูต/
สถานกงสุลใหญ่ทั้ง 90 แห่ง ในระหว่างวันที่ 3 - 5 กุมภาพันธ์ 2551 โดยวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 จะเป็นวันสุดท้ายที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่จะต้องจัดส่งบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้วมาถึงประเทศไทยเพื่อให้บริษัทไปรษณีย์ไทยดำเนินการคัดแยกบัตรเลือกตั้งส่งต่อไปยังหน่วยเลือกตั้งในจังหวัดต่าง ๆ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อรวบรวมสมทบกับการลงคะแนนเลือกตั้งฯ ภายในประเทศในวันที่ 2 มีนาคม 2551
สำหรับการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรครั้งนี้ ได้มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
1. ส่วนกลางโดยกระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดพิมพ์แผ่นพับคู่มือการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักร และแผ่นโปสเตอร์ส่งไปให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทั้ง 90 แห่งเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ การเลือกตั้งฯ แก่ชุมชนไทยในต่างประเทศแล้ว ในขณะเดียวกัน ก็ได้จ้างบริษัทเอกชนดำเนินการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ทั้งสื่อ สิ่งตีพิมพ์ ระบบอินเตอร์เนต และเน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ TGN ซึ่งคนไทยที่พำนักในต่างประเทศใน 177 ประเทศ สามารถรับชมได้
2. ในต่างประเทศ กระทรวง ฯ ได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ให้ความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งฯ ในทุกรูปแบบ เพื่อให้คนไทยมาลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิฯ เพิ่มขึ้นให้มากที่สุด รวมทั้งให้คนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งมาใช้สิทธิฯ ของตน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งฯ ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การออกข่าวสารนิเทศ การจัดทำแผ่นพับ การใช้สื่อท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ในหมู่สมาคม/ชมรมคนไทยและวัดไทยในต่างประเทศ รวมทั้งการจัดหน่วยสัญจรออกไปประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งแก่คนไทย โดยเฉพาะในประเทศที่มีคนไทยอยู่เป็นจำนวนมาก
2. การแถลงข่าวการประชุมวิชาการทางการแพทย์เฉลิมพระเกียรติ
(วันที่ 31 มกราคม — 1 กุมภาพันธ์ 2551)
อธิบดีกรมสารนิเทศได้ร่วมกับ ศ. นพ. อร่าม โรจนสกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แถลงข่าวเกี่ยวกับการประชุมวิชาการทางการแพทย์เฉลิมพระเกียรติ โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้
กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และสมาคมแพทย์ไทยในสหรัฐอเมริกา (Thai Physicians Association in America - TPAA) จะจัดการประชุมวิชาการทางการแพทย์เฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ระหว่างวันที่ 31 มกราคม — 1 กุมภาพันธ์ 2551 ณ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้กรอบแนวคิด “New Frontiers in Cardiovascular Metabolic and Oncological Practices: Together for the Better Health” โดยเน้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับโรคหัวใจ- หลอดเลือด-เมตาบอลิก และโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในลำดับต้น ๆ ของการเจ็บป่วยของคนไทยในปัจจุบัน และพบว่า คนไทยได้เสียชีวิตด้วยสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดเฉลี่ยวันละไม่ต่ำกว่า 200 คน
การประชุมครั้งนี้จะเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในหลากหลายมิติ ทั้งด้านการตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษา การป้องกัน และการสร้างเสริมสุขภาพ โดยได้เชิญวิทยากรซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในประเทศไทยและจากสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อเสียงในแวดวงวิชาชีพทางการแพทย์และการสาธารณสุข ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจำนวนรวมประมาณ 1,500 — 2,000 คน เข้าร่วมการประชุมฯ
กระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และสมาคมแพทย์ไทยในสหรัฐอเมริกา ดำเนินโครงการสำคัญดังกล่าว ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงสนพระทัย และทรงให้ความสำคัญต่อปัญหาด้านสาธาณสุขและสุขภาพของคนไทยมาโดยตลอด และถือเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ร่วมเฉลิมฉลองโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นอกจากการประชุมวิชาการดังกล่าวแล้ว คณะผู้จัดงานฯ ยังมีการจัดกิจกรรมคู่ขนานเพื่อมุ่งประโยชน์ต่อภาคประชาชนโดยตรง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกระตุ้นให้ประชาชนสนใจดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการเปิดให้บริการตรวจสุขภาพสำหรับประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย รวมทั้งการจัดแสดงนิทรรศการด้านสุขภาพเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนนำไปใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยกำหนดจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 1- 3 กุมภาพันธ์ 2551 ระหว่างเวลา 10.00 - 20.00 น. ณ บริเวณชั้น 6 - 7 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี หมายเลขโทรศัพท์ 0 2201 1542, 0 2201 2193, 0 2201 2607, 0 2201 1541 และหมายเลขโทรสาร 0 2201 1542, 0 2201 2607
อนึ่ง กระทรวงการต่างประเทศกำหนดจะจัดพิธีเปิดการประชุมวิชาการทางการแพทย์เฉลิมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ และเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงรับรองเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะวิทยากรและผู้เข้าร่วม การประชุมฯ โดย ดร.มนัสพาสน์ ชูโต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นประธานในงานดังกล่าว ในวันพุธที่ 30 มกราคม 2551 เวลา 18.00 น. ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา และจะจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณโถงประวัติศาสตร์ วิเทศสโมสร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมฯ ได้ชื่นชมพระราชกรณียกิจ และพระอัจฉริยภาพด้านต่างๆ รวมทั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
3. การแถลงข่าวพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550
(วันที่ 30 มกราคม 2551)
อธิบดีกรมสารนิเทศในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ได้ร่วมกับ ศ. คลินิก นพ. ธีรพัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ และ ศ. คลินิก นพ. สุพัฒน์ วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ แถลงข่าวเกี่ยวกับผู้ได้รับพระราชทานรางวัลและพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประจำปี 2550 โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้
ตั้งแต่ปี 2535 คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้คัดเลือกบุคคลหรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ เพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในสองสาขาได้แก่ สาขาการแพทย์ 1 รางวัล และการสาธารณสุข 1 รางวัล เป็นประจำทุกปีตลอดมา โดยรางวัลประกอบด้วย เหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล รางวัลละ 50,000 เหรียญสหรัฐ
ในปี 2550 คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน ได้พิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 จำนวน 69 ราย จาก 35 ประเทศ และเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้มีมติตัดสินมอบรางวัลสาขาการแพทย์ แก่ ศาสตราจารย์ ดร.อักเซล อูลล์ริช (Professor Dr. Axel Ullrich) ผู้อำนวยการสถาบันชีวเคมีมักซ์พลั้งค์ (Max Planck Institute of Biochemistry) สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี จากผลงานการศึกษากลไกหลักของการเกิดเซลล์มะเร็งและที่สำคัญเป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า (Targeted cancer therapy) สำหรับรางวัลสาขาการสาธารณสุข มีผู้ได้รับพระราชทานรางวัล 2 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล สจ๊วต เฮทเซล (Professor Basil Stuart Hetzel) ประธานเกียรติคุณ สภาการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนนานาชาติ ประเทศออสเตรเลีย จากผลงานในการทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึง ผลของการขาดสารไอโอดีนที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ และผลักดันโครงการรณรงค์แก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนระดับโลกและนายแพทย์ ซานดุ๊ก รูอิท (Dr. Sanduk Ruit) ผู้อำนวยการศูนย์จักษุทิลกานกา (Tilganga Eye Centre) กรุงกาฎมาณฑุ ประเทศเนปาล จากผลงานการพัฒนาวิธีการผ่าตัดต้อกระจกแบบที่ไม่ต้องเย็บ (suture-less operation) และการมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการผลิตเลนส์ตาเทียม (intraocular lens) ซึ่งมีคุณภาพสูงและราคาถูก
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2550 ในวันพุธที่ 30 มกราคม 2551 เวลา 17.30 น. ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลพร้อมคู่สมรสในวันเดียวกัน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เวลา 20.00 น.
4. การแถลงข่าวการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2551
(วันที่ 31 มกราคม — 1 กุมภาพันธ์ 2551)
อธิบดีกรมสารนิเทศ ได้ร่วมกับ ศ. น.พ. วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 และ รศ. ดร. ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย Dr. Muareen Birmingham รักษาการผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และนางนิภา สิริพุทธามาศ ผู้แทนของผู้อำนวยการธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย แถลงข่าวเกี่ยวกับการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้
การประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 มีกำหนดจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2551 ณ โรงแรมดุสิตธานี โดยมีเจ้าภาพหลักได้แก่ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับองค์การอนามัยโลก และธนาคารโลก และยังได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ ภายใต้หัวข้อ “ เหลียวหลังแลหน้า : สามทศวรรษสาธารณสุขมูลฐาน” (Three Decades of Primary Health Care: Reviewing the Past and Defining the Future) ซึ่งการประชุมวิชาการในปีนี้จะมุ่งประเด็นการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยเน้นการสาธารณสุขมูลฐานเพื่อเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยกับการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และเสริมสร้างเครือข่ายนักวิชาการและนักบริหารการสาธารณสุข โดยประมาณการว่า การประชุมครั้งนี้ จะมีนักวิชาการ นักวิจัย และผู้นำด้านสาธารณสุขจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าร่วมการประชุมฯ ประมาณ 400 คน
ในการนี้ สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 ในวันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2551 เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมดุสิตธานี
นอกจากนี้ ในวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 16.30 น. จะมีพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี การสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งมี ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการ UNCTAD นายแพทย์สำลี เปลี่ยนบางช้าง ผู้อำนวยการ WHO/SEARO และ น.พ. มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมแสดงปาฐกถาในงานเฉลิมฉลองดังกล่าวด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-