กรุงเทพ--4 ก.พ.-กระทรวงการต่างประเทศ
โรงแรมดุสิตธานี กทม. 1 กุมภาพันธ์ 2551 ผู้นำสาธารณสุขระดับโลกกว่า 300 คน จากทุกทวีปทั่วโลก มีฉันทามติร่วมกันที่จะต้องสร้างระบบสาธารณสุขมูลฐานให้เข้มแข็ง ให้เป็นฐานรากของระบบสุขภาพในทุกประเทศทั่วโลก โดยจะต้องปรับให้เข้ากับปัญหาสุขภาพและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามโลกาภิวัฒน ยกย่องไทยเป็นประเทศนำในหมู่ประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอด 30 ปี
“การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลระหว่างวันที่31มกราคม 2551ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2551ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง มีผู้นำสาธารณสุขเข้าร่วมประชุมกว่า 350 คน จากทุกทวีปและจากทุกภาคส่วนทั้งรํฐและเอกชน นำโดยรองประธานธนาคารโลกและรองผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องมีการลงทุนมากขึ้นในการพัฒนาระบบสาธารณสุขมูลฐาน ให้เป็นฐานรากของระบบสุขภาพ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพโลกาภิวัฒน เช่น การเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรัง การเกิดโรคระบาดใหม่ การค้าระหว่างประเทศและภาวะสมองไหลของบุคลากร เป็นต้น
ผู้นำสุขภาพต่างชื่นชมความสำเร็จของไทยที่มุ่งมั่นพัฒนาระบบสาธารณสุขมูลฐานจนมีรากฐานที่มั่นคงมาตลอด 30 ปี และชื่นชมความมุ่งมั่นของไทยในการลงทุนจัดการประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลทุกปี เพื่อเป็นเวทีเปิดเพื่อให้ผู้นำสุขภาพจากทั่วโลกมาพิจารณาปัญหาในระบบสุขภาพในทุกๆ ด้าน เพื่อบรรลุข้อตกลงและความเห็นร่วมกัน ในการพัฒนาสุขภาพ
นอกจากนี้ในระหว่างการประชุมยังมีการประชุมย่อยเพื่อนำความเห็นจากผู้นำสุขภาพโลกไปสู่ข้อเสนอต่อการประชุมสุดยอด G8 ในเดือนกรกฎาคม 2551 ที่ฮอกไกโด ญี่ปุ่นด้วย ซึ่งถือเป็นความ
สำเร็จ ที่เป็นรูปธรรม ” น.พ. วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดลและประธานคณะกรรมการจัดการประชุมกล่าว
“ประสบการณ์ของโลกระบุว่าประเทศต่างๆใช้เวลาต่างกันในการบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประเทศไทยใช้เวลาสั้นที่สุดคือ 28 ปี และยาวที่สุดคือเยอรมนี ใช้เวลาถึงกว่า 100 ปี ภายใต้แนวโน้มปัจจุบัน ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายยากที่จะบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ และไม่มีทางที่จะบรรลุเป้าหมายสุขภาพในเป้าหมายแห่งสหัสวรรษได้ ดังนั้นเราจึงต้องหันมาทุ่มเทกับการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานซึ่งมีความคุ้มค่ามากที่สุดและต้นทุนต่ำสุด” นาย ทูมัส พาลู ผู้แทนธนาคารโลก ประธานร่วมในคณะกรรมการจัดการประชุมกล่าวเสริม
น.พ. เอียน สมิธ ที่ปรึกษาผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ในฐานะประธานร่วมในการจัดประชุม กล่าวว่า “องค์การอนามัยโลกจะนำผลสรุปจากการประชุมครั้งนี้ เข้าสู่การพิจารณาของสมัชชาอนามัยโลก และร่วมกับผลสรุปจากการประชุมจากภูมิภาคอื่นๆ เพื่อนำไปสู่มติที่จะร่วมกันลงทุนในการสร้างระบบสุขภาพโดยเฉพาะระบบสาธารณสุขมูลฐาน องค์การอนามัยโลกจะร่วมกับองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ในการเร่งสร้างและพัฒนาระบบสาธารณสุขมูลฐานโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ประชากรโลกสามารถที่จะได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็นได้อย่างทั่วถึงและบรรลุเป้าหมายสหัสวรรษให้มากที่สุด”
น.พ. มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย กล่าวว่า “เราต้องปรับเรื่องอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับอำเภอและตำบลของเราให้สอดคล้องกับปัญหาที่เปลี่ยนไป เช่นให้สามารถช่วยป้องกันและให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ ให้เข้ามาเป็นอาสาสมัครในลักษณะที่มี จิตอาสา และที่สำคัญก็คือเราจะต้องทำให้มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำทุกครอบครัวให้ได้ในอนาคต และจะต้องจัดให้มี ศูนย์สุขภาพ หรือ ศูนย์แพทย์ชุมชน ให้ทั่วถึงทุกตำบล ซึ่งจะให้บริการไกล้บ้านไกล้ใจ และสนับสนุนการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขด้วย”
ด้าน น.พ. สำลี เปลี่ยนบางช้าง ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ให้ความเห็นว่า “การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ได้กลายเป็นเวทีสุขภาพระหว่างประเทศที่สำคัญของโลกไปแล้ว เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจและชื่นชมสำหรับประเทศไทยและภูมิภาคนี้ การนำเรื่องสาธารณสุขมูลฐานมาพิจารณาในปีนี้นับว่าเหมาะสมมาก เนื่องจากเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญมาก ที่ผ่านมาทั่วโลกได้ลงทุนไปมากในเรื่องการดูแลเฉพาะโรคและละเลยการพัฒนาระบบสุขภาพโดยเฉพาะสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเป็นหลัก จึงถึงเวลาที่จะต้องหันมาพัฒนาระบบสุขภาพอย่างจริงจังควบคู่ไปกับการดูแลเฉพาะโรค จึงจะบรรลุเป้าหมายทางสังคมในเรื่องสุขภาพได้ และยังสามารถใช้การสาธารณสุขมูลฐานเพื่อแก้ปัญหาอื่นๆที่จะกระทบต่อสุขภาพเช่น ปัญหาโรคร้อนด้วย”
ฯพณฯ ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การค้าโลก และ เลขาธิการองค์การประชุมการค้าและการพัฒนา กล่าวสุนทรพจน์ว่า “โลกาภิวัฒนทำให้มนุษย์ สินค้า บริการ และข้อมูลข่าวสารเดินทางเร็วขึ้นมาก และเร็วกว่าศักยภาพในการควบคุมโรค และเกิดปัญหาในเรื่องสมองไหล นอกจากนี้การค้าระหว่างประเทศได้เกิดข้อตกลงทางการค้าที่แม้จะช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ก็เกิดอุปสรรคในการเข้าถึงยาที่จำเป็นโดยเฉพาะเรื่องข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งน่าจะเป็นทั้งกลไกสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในการพัฒนาสุขภาพ และเป็นกลไกในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสุขภาพของคนในประเทศกำลังพัฒนาด้วย แต่น่าเสียดายที่ได้ผลด้านเดียว คือได้ยาใหม่ๆ แต่คนจนเข้าไม่ถึง เราเน้นเรื่องการค้ามากเกินไปและให้ความสนใจเรื่องสุขภาพน้อยไป เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องปรับความคิดกันใหม่”
การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นการประชุมนานาชาติที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุม เพื่อให้ผู้นำสุขภาพระดับโลก ได้มาพบปะและเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการพัฒนาสุขภาพ โดยเฉพาะการพิจารณาประเด็นที่เป็นนโยบายสุขภาพระดับโลก การประชุมปีนี้เป็นการประชุมนานาชาติครั้งที่สองที่เน้นเรื่องการพิจารณาประเด็นเชิงนโยบาย ในแต่ละปีนอกจากจะมีรัฐบาลไทย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล และมหาวิทยาลัยมหิดล แล้ว ยังมีองค์กรระหว่างประเทศเช่น องค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก เป็นเจ้าภาพร่วมด้วย ผลจากการประชุมจะนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพที่มีความสำคัญระดับโลก เช่นผลการประชุมในปี 2550 ในเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยีที่จำเป็นเพื่อสุขภาพ ได้นำไปพิจารณาในการประชุมระหว่างรัฐบาลในเรื่องการสาธารณสุข ทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมด้านสุขภาพ ขององค์การอนามัยโลก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
โรงแรมดุสิตธานี กทม. 1 กุมภาพันธ์ 2551 ผู้นำสาธารณสุขระดับโลกกว่า 300 คน จากทุกทวีปทั่วโลก มีฉันทามติร่วมกันที่จะต้องสร้างระบบสาธารณสุขมูลฐานให้เข้มแข็ง ให้เป็นฐานรากของระบบสุขภาพในทุกประเทศทั่วโลก โดยจะต้องปรับให้เข้ากับปัญหาสุขภาพและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามโลกาภิวัฒน ยกย่องไทยเป็นประเทศนำในหมู่ประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอด 30 ปี
“การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลระหว่างวันที่31มกราคม 2551ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2551ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง มีผู้นำสาธารณสุขเข้าร่วมประชุมกว่า 350 คน จากทุกทวีปและจากทุกภาคส่วนทั้งรํฐและเอกชน นำโดยรองประธานธนาคารโลกและรองผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องมีการลงทุนมากขึ้นในการพัฒนาระบบสาธารณสุขมูลฐาน ให้เป็นฐานรากของระบบสุขภาพ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพโลกาภิวัฒน เช่น การเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรัง การเกิดโรคระบาดใหม่ การค้าระหว่างประเทศและภาวะสมองไหลของบุคลากร เป็นต้น
ผู้นำสุขภาพต่างชื่นชมความสำเร็จของไทยที่มุ่งมั่นพัฒนาระบบสาธารณสุขมูลฐานจนมีรากฐานที่มั่นคงมาตลอด 30 ปี และชื่นชมความมุ่งมั่นของไทยในการลงทุนจัดการประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลทุกปี เพื่อเป็นเวทีเปิดเพื่อให้ผู้นำสุขภาพจากทั่วโลกมาพิจารณาปัญหาในระบบสุขภาพในทุกๆ ด้าน เพื่อบรรลุข้อตกลงและความเห็นร่วมกัน ในการพัฒนาสุขภาพ
นอกจากนี้ในระหว่างการประชุมยังมีการประชุมย่อยเพื่อนำความเห็นจากผู้นำสุขภาพโลกไปสู่ข้อเสนอต่อการประชุมสุดยอด G8 ในเดือนกรกฎาคม 2551 ที่ฮอกไกโด ญี่ปุ่นด้วย ซึ่งถือเป็นความ
สำเร็จ ที่เป็นรูปธรรม ” น.พ. วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดลและประธานคณะกรรมการจัดการประชุมกล่าว
“ประสบการณ์ของโลกระบุว่าประเทศต่างๆใช้เวลาต่างกันในการบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประเทศไทยใช้เวลาสั้นที่สุดคือ 28 ปี และยาวที่สุดคือเยอรมนี ใช้เวลาถึงกว่า 100 ปี ภายใต้แนวโน้มปัจจุบัน ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายยากที่จะบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ และไม่มีทางที่จะบรรลุเป้าหมายสุขภาพในเป้าหมายแห่งสหัสวรรษได้ ดังนั้นเราจึงต้องหันมาทุ่มเทกับการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานซึ่งมีความคุ้มค่ามากที่สุดและต้นทุนต่ำสุด” นาย ทูมัส พาลู ผู้แทนธนาคารโลก ประธานร่วมในคณะกรรมการจัดการประชุมกล่าวเสริม
น.พ. เอียน สมิธ ที่ปรึกษาผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ในฐานะประธานร่วมในการจัดประชุม กล่าวว่า “องค์การอนามัยโลกจะนำผลสรุปจากการประชุมครั้งนี้ เข้าสู่การพิจารณาของสมัชชาอนามัยโลก และร่วมกับผลสรุปจากการประชุมจากภูมิภาคอื่นๆ เพื่อนำไปสู่มติที่จะร่วมกันลงทุนในการสร้างระบบสุขภาพโดยเฉพาะระบบสาธารณสุขมูลฐาน องค์การอนามัยโลกจะร่วมกับองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ในการเร่งสร้างและพัฒนาระบบสาธารณสุขมูลฐานโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ประชากรโลกสามารถที่จะได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็นได้อย่างทั่วถึงและบรรลุเป้าหมายสหัสวรรษให้มากที่สุด”
น.พ. มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย กล่าวว่า “เราต้องปรับเรื่องอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับอำเภอและตำบลของเราให้สอดคล้องกับปัญหาที่เปลี่ยนไป เช่นให้สามารถช่วยป้องกันและให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ ให้เข้ามาเป็นอาสาสมัครในลักษณะที่มี จิตอาสา และที่สำคัญก็คือเราจะต้องทำให้มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำทุกครอบครัวให้ได้ในอนาคต และจะต้องจัดให้มี ศูนย์สุขภาพ หรือ ศูนย์แพทย์ชุมชน ให้ทั่วถึงทุกตำบล ซึ่งจะให้บริการไกล้บ้านไกล้ใจ และสนับสนุนการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขด้วย”
ด้าน น.พ. สำลี เปลี่ยนบางช้าง ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ให้ความเห็นว่า “การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ได้กลายเป็นเวทีสุขภาพระหว่างประเทศที่สำคัญของโลกไปแล้ว เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจและชื่นชมสำหรับประเทศไทยและภูมิภาคนี้ การนำเรื่องสาธารณสุขมูลฐานมาพิจารณาในปีนี้นับว่าเหมาะสมมาก เนื่องจากเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญมาก ที่ผ่านมาทั่วโลกได้ลงทุนไปมากในเรื่องการดูแลเฉพาะโรคและละเลยการพัฒนาระบบสุขภาพโดยเฉพาะสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเป็นหลัก จึงถึงเวลาที่จะต้องหันมาพัฒนาระบบสุขภาพอย่างจริงจังควบคู่ไปกับการดูแลเฉพาะโรค จึงจะบรรลุเป้าหมายทางสังคมในเรื่องสุขภาพได้ และยังสามารถใช้การสาธารณสุขมูลฐานเพื่อแก้ปัญหาอื่นๆที่จะกระทบต่อสุขภาพเช่น ปัญหาโรคร้อนด้วย”
ฯพณฯ ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การค้าโลก และ เลขาธิการองค์การประชุมการค้าและการพัฒนา กล่าวสุนทรพจน์ว่า “โลกาภิวัฒนทำให้มนุษย์ สินค้า บริการ และข้อมูลข่าวสารเดินทางเร็วขึ้นมาก และเร็วกว่าศักยภาพในการควบคุมโรค และเกิดปัญหาในเรื่องสมองไหล นอกจากนี้การค้าระหว่างประเทศได้เกิดข้อตกลงทางการค้าที่แม้จะช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ก็เกิดอุปสรรคในการเข้าถึงยาที่จำเป็นโดยเฉพาะเรื่องข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งน่าจะเป็นทั้งกลไกสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในการพัฒนาสุขภาพ และเป็นกลไกในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสุขภาพของคนในประเทศกำลังพัฒนาด้วย แต่น่าเสียดายที่ได้ผลด้านเดียว คือได้ยาใหม่ๆ แต่คนจนเข้าไม่ถึง เราเน้นเรื่องการค้ามากเกินไปและให้ความสนใจเรื่องสุขภาพน้อยไป เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องปรับความคิดกันใหม่”
การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นการประชุมนานาชาติที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุม เพื่อให้ผู้นำสุขภาพระดับโลก ได้มาพบปะและเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการพัฒนาสุขภาพ โดยเฉพาะการพิจารณาประเด็นที่เป็นนโยบายสุขภาพระดับโลก การประชุมปีนี้เป็นการประชุมนานาชาติครั้งที่สองที่เน้นเรื่องการพิจารณาประเด็นเชิงนโยบาย ในแต่ละปีนอกจากจะมีรัฐบาลไทย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล และมหาวิทยาลัยมหิดล แล้ว ยังมีองค์กรระหว่างประเทศเช่น องค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก เป็นเจ้าภาพร่วมด้วย ผลจากการประชุมจะนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพที่มีความสำคัญระดับโลก เช่นผลการประชุมในปี 2550 ในเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยีที่จำเป็นเพื่อสุขภาพ ได้นำไปพิจารณาในการประชุมระหว่างรัฐบาลในเรื่องการสาธารณสุข ทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมด้านสุขภาพ ขององค์การอนามัยโลก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-