กรุงเทพ--4 ก.พ.-กระทรวงการต่างประเทศ
เป็นที่ยอมรับกันดีว่าในแวดวงการพัฒนาว่า สุขภาพที่อ่อนแอกับความยากจนนั้นเป็นสิ่งที่เรามักจะพบควบคู่กันไปเสมอ ดังนั้น หากประเทศใดต้องการที่จะขจัดปัญหาความยากจนในประเทศให้หมดไปแล้ว จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่ประเทศนั้น ๆ จะต้องใส่ใจกับสุขอนามัยของประชาชนด้วย
ประเทศไทยนั้นถือเป็นตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งสำหรับเรื่องนี้ ในฐานะที่ผู้แทนของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมารวมกันอยู่ ณ กรุงเทพมหานครในสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อการประชุมวิชาการซึ่งจัดโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก และธนาคารโลก จึงเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศเหล่านั้นจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศไทยไปในเวลาเดียวกัน
ที่ผ่านมานั้น แนวคิดทางด้านการพัฒนาโดยมากมักจะได้รับการริเริ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก่อนที่จะได้ถูกนำไปใช้ปฏิบัติในประเทศที่ยากจนต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพิจารณาดูสถานการณ์ทางด้านการสาธารณสุขทั่วโลกแล้วเราก็จะพบว่า มีประเทศกำลังพัฒนามากมาย ไม่ว่าจะเป็นไทย เอธิโอเปีย รวันดา กัมพูชา หรือเวียดนาม ซึ่งได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน และมีศักยภาพที่จะนำประสบการณ์เหล่านั้นไปแลกเปลี่ยนกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน เพื่อให้ประเทศเหล่านั้นได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของเพื่อนบ้านว่านโยบายใดที่ได้ผล และสามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศอื่นได้
การประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลเมื่อวันที่ 31 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วแต่ตอกย้ำข้อเท็จจริงซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหลายต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระบบสาธารณสุขที่อ่อนแอนั้นเป็นอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อการนำพาประเทศให้หลุดออกจากบ่วงของความยากจน ที่ผ่านมานั้น รัฐบาลไทยได้ตระหนักดีในข้อนี้ จึงได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขมาตลอด รวมถึงได้จัดสรรงบประมาณจำนวนมากเพื่อปรับปรุงบริการทางด้านสาธารณสุขให้ทันสมัย ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยทั่วกัน วิสัยทัศน์เช่นนี้เองที่ทำให้ประเทศไทยสามารถต่อกรกับการระบาดของโรคและเชื้อไวรัสที่คุกคามประชาคมโลกในช่วงไม่กี่ปีทีผ่านมาได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนก หรือ SARS นี่เป็นตัวอย่างอันชัดเจนว่า การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งมีระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งนั้น นอกจากจะสามารถคุ้มครองประชากรของตนเองจากโรคระบาดแล้ว ยังมีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้โรคระบาดนั้น ๆ หลุดรอดเขตชายแดนของตนเองไปคุกคามประชาคมโลกด้วย
ความสำเร็จของประเทศไทยทำให้โลกได้ตระหนักว่า การต่อสู้กับไวรัสเอชไอวีนั้นเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ หากภาครัฐจัดสรรงบประมาณที่พอเหมาะให้แก่การดำเนินมาตรการป้องกันและการดูแลรักษา มาตรการที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินไปแล้วนั้น ช่วยให้ไทยสามารถลดจำนวนการเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ถึงเจ็ดล้านรายในปีพ.ศ. 2549 ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศหนึ่งในจำนวนไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่สามารถทำได้เช่นนี้
น่าเสียดายที่ความสำเร็จเหล่านี้กลับไม่ปรากฏให้เห็นในภูมิภาคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอเชียใต้ หรืออัฟริกา ในภูมิภาคเหล่านี้ การให้บริการสาธารณสุขเกือบจะเรียกว่าเป็นแค่ภาพลวงตาก็ว่าได้ แม้ว่าไม่ไกล้ไม่ไกลออกไปเท่าใดนัก จะมีตัวอย่างที่ดีอย่างประเทศไทยให้เห็นก็ตาม เราก็ยังได้พบเห็นรายงานอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่สูงจนน่าตกใจ อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนนับล้านคนในภูมิภาคนั้น ๆ ยังต้องจมปลักอยู่กับความยากจนและความยากไร้
ตัวอย่างที่เราต้องเบือนหน้าหนีด้วยความสะเทือนใจทุกครั้งที่ได้ยินมีดังต่อไปนี้ ทุก ๆ ปี เด็ก ๆ ไร้เดียงสาจำนวนมากถึง 11 ล้านคนทั่วโลกต้องเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บที่สามารถป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็นนิวมอเนีย ท้องร่วง หรือมาเลเรีย ทุก ๆ ปี มีสตรีกว่าห้าแสนคนทั่วโลกที่ต้องเสียชีวิตในระหว่างตั้งครรภ์หรือระหว่างการคลอดบุตร นอกจากนี้แล้ว แม้ว่าวัณโรคจะเป็นอะไรที่รักษาให้หายได้ แต่ก็ยังมีประชากรจำนวนหนึ่งมากถึงล้านเจ็ดแสนคนทั่วโลกที่ต้องตายเพราะโรคนี้ในแต่ละปี
สุขภาพที่ดีมีส่วนช่วยผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโต ทุกวันนี้ หนึ่งในสามของจำนวนเด็ก ๆ อายุต่ำกว่าห้าขวบทั่วโลกมีน้ำหนักหรือส่วนสูงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็ก ๆ เหล่านั้นไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อเขาเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เขาก็จะจมปลักอยู่ในวังวนของความยากจนเช่นเดียวกับที่พ่อแม่ของเขาเป็น หากเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ได้ผล เราจำเป็นที่จะต้องเริ่มป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้ตั้งแต่วินาทีที่เขาปฏิสนธิ ด้วยการส่งเสริมสุขอนามัยของมารดา จนกระทั่งทารกลืมตาดูโลกและเติบโตถึงอายุสองขวบ เพื่อให้แน่ใจว่าในช่วงที่เขายังเปราะบางอยู่นั้น เขาจะได้รับสารอาหารที่จำเป็น เพื่อให้เขาสามารถพัฒนาร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์ต่อไปในอนาคตได้
มาตรการป้องกันเหล่านี้เป็นมาตรการที่มีอยู่แล้ว เพียงแต่รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องเร่งขยายการปฏิบัติให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อลดจำนวนเด็กที่ต้องเสียชีวิตก่อนอายุครบห้าขวบเพราะการขาดสารอาหารและโรคภัยไข้เจ็บ ให้ได้อย่างน้อยหนึ่งในสี่ของอัตราที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก่อนที่จะไปเหลือแค่หนึ่งในสามภายในปี 2558 ดังที่ได้ปฏิญญาไว้ใน Millennium Development Goals (MDGs)
หลายท่านคงทราบดีว่า การที่เศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งจะเจริญเติบโตได้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับสุขอนามัยของประชากรในประเทศนั้น ๆ เป็นสำคัญด้วย ครอบครัวใดก็ตามที่ต้องขายทรัพย์สินหรือนำเงินออมทั้งหมดที่มีอยู่มาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสมาชิกในครอบครัวแล้ว ครอบครัวนั้นก็ย่อมที่จะขาดทุนทรัพย์ที่จะนำไปใช้ในการศึกษาหรือลงทุนอื่นใดเพื่อประโยชน์ในระยะยาวของสมาชิกในครอบครัวเองได้ นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โลกนี้ยังมีคนอีกหลายล้านคนที่ยังจมปลักอยู่กับความยากจน ดังนั้น หากประเทศใดจริงจังกับการแก้ไขปัญหาความยากจน ประเทศนั้นก็จำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินมาตรการเพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของประชากรของตนเอง
มาตรการที่เน้นผลลัพธ์ (focus on results) การพัฒนาระบบสาธารณสุขให้เข้มแข็งนั้นเป็นสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากเรามีระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เราก็จะสามารถป้องกันโรคระบาด ดูแลรักษาผู้ป่วย และบรรเทาผลกระทบของไวรัสและโรคร้าย ไม่ว่าจะเป็นเอชไอวี/เอดส์ วัณโรค หรือมาเลเรีย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งนั้น จะช่วยให้เราสามารถส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้มารดา เด็ก และกลุ่มคนที่เปราะบางต่าง ๆ สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ ทำให้ภาครัฐสรรค์สร้างทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพในการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อันจะส่งผลให้รัฐสามารถบรรเทาปัญหาความยากจนได้ในระดับหนึ่ง
การสรรค์สร้างระบบสาธารณสุขให้เข้มแข็งนั้น จักต้องประกอบไปด้วยมาตรการสำคัญ ๆ หลายมาตรการ ตั้งแต่การจัดหายารักษาโรคให้ทั่วถึง การจัดให้มีจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ที่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน เพื่อให้มารดาและทารกที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ในเวลาที่เขาต้องการมากที่สุด นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องสร้างหลักประกันให้แก่คนยากจนด้วยว่า ถึงแม้เขาจะยากไร้ แต่เขาก็จะได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพเช่นเดียวกับคนที่มีฐานะดีกว่า ที่สำคัญ มาตรการเหล่านี้ต้องมีผลลัพธ์ที่จับต้องได้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถประเมินความสำเร็จและปรับเปลี่ยนมาตรการตามความเหมาะสม
การพัฒนาระบบสาธารณสุขนั้นจะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิงหากไม่เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปเป็นร่าง ในขณะเดียวกัน ผลลัพธ์ที่เราคาดหวังจากระบบสาธารณสุขนั้นก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากระบบของเราไม่มีความเข้มแข็งพอ ทั้งสองอย่างนี้จักต้องดำเนินควบคู่กันไปเสมอ ในส่วนของธนาคารโลกเอง เรากำลังร่วมมือกับประเทศโมซัมบิก รวันดา และอีกหลายประเทศในอัฟริกา เพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาและเด็กทารก ด้วยการดำเนินมาตรการที่เน้นในเรื่องผลลัพธ์ (results) เรารู้จากประสบการณ์ในการทำงานของเราว่า การที่มารดาจะสามารถให้กำเนิดบุตรได้อย่างปลอดภัยนั้นก็ขึ้นอยู่ว่าการทำคลอดนั้นเกิดขึ้นเองที่บ้าน หรือเป็นการทำคลอด ณ สถานพยาบาลซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมืออันทันสมัย และผ่านการดูแลของหมอหรือพยาบาลซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงาน ยกตัวอย่างเช่นในอินเดีย ภาครัฐได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการกระตุ้นให้สตรีมีครรภ์ในมณฑลต่าง ๆ เดินทางมาทำคลอดที่สถานพยาบาล เพราะมีการจัดสรรเงินช่วยเหลือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่มารดาทั้งขาไปและขากลับ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพในการให้บริการที่ดีที่สุดแก่ประชาชน
อนึ่ง ระบบสาธารณสุขเองก็จำเป็นที่จะต้องแสดงให้ผู้ใช้บริการและชุมชนเห็นคุณค่า รวมทั้งเป็นที่พึ่งพาได้ ทั้งยังต้องตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการด้วย เพื่อให้ระบบสาธารณสุขสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง และสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาและทารกตามที่ได้บัญญัติไว้ใน MDGs หลายฝ่ายก็จำเป็นที่จะต้องร่วมมือกัน และเรียนรู้จากกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นจากความสำเร็จหรือข้อผิดพลาด
การประชุมทางวิชาการ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี พ.ศ. 2551 นี้ น่าจะมีส่วนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุคภาคส่วน รวมทั้งประเทศผู้บริจาค และองค์กรเพื่อการพัฒนาด้วย เพื่อช่วยให้ประเทศที่ยากจนทั้งหลายสามารถเสริมสร้างระบบสาธารณสุขของตนให้เข้มแข็ง และส่งเสริมสุขอนามัยของประชากรโลกหลายล้านคนให้ดีขึ้น อันจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นเจริญรุดหน้าไปได้ และทำให้ประชากรโดยรวมสามารถหลุดพ้นจากความยากจนในท้ายที่สุด
นางฟูมาฟี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานด้านงานพัฒนามนุษย์ของธนาคารโลก และเป็นอดีตรองผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก รวมทั้งเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุจของสาธารณรัฐบอตสวานา อัฟริกา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เป็นที่ยอมรับกันดีว่าในแวดวงการพัฒนาว่า สุขภาพที่อ่อนแอกับความยากจนนั้นเป็นสิ่งที่เรามักจะพบควบคู่กันไปเสมอ ดังนั้น หากประเทศใดต้องการที่จะขจัดปัญหาความยากจนในประเทศให้หมดไปแล้ว จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่ประเทศนั้น ๆ จะต้องใส่ใจกับสุขอนามัยของประชาชนด้วย
ประเทศไทยนั้นถือเป็นตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งสำหรับเรื่องนี้ ในฐานะที่ผู้แทนของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมารวมกันอยู่ ณ กรุงเทพมหานครในสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อการประชุมวิชาการซึ่งจัดโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก และธนาคารโลก จึงเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศเหล่านั้นจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศไทยไปในเวลาเดียวกัน
ที่ผ่านมานั้น แนวคิดทางด้านการพัฒนาโดยมากมักจะได้รับการริเริ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก่อนที่จะได้ถูกนำไปใช้ปฏิบัติในประเทศที่ยากจนต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพิจารณาดูสถานการณ์ทางด้านการสาธารณสุขทั่วโลกแล้วเราก็จะพบว่า มีประเทศกำลังพัฒนามากมาย ไม่ว่าจะเป็นไทย เอธิโอเปีย รวันดา กัมพูชา หรือเวียดนาม ซึ่งได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน และมีศักยภาพที่จะนำประสบการณ์เหล่านั้นไปแลกเปลี่ยนกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน เพื่อให้ประเทศเหล่านั้นได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของเพื่อนบ้านว่านโยบายใดที่ได้ผล และสามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศอื่นได้
การประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลเมื่อวันที่ 31 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วแต่ตอกย้ำข้อเท็จจริงซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหลายต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระบบสาธารณสุขที่อ่อนแอนั้นเป็นอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อการนำพาประเทศให้หลุดออกจากบ่วงของความยากจน ที่ผ่านมานั้น รัฐบาลไทยได้ตระหนักดีในข้อนี้ จึงได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขมาตลอด รวมถึงได้จัดสรรงบประมาณจำนวนมากเพื่อปรับปรุงบริการทางด้านสาธารณสุขให้ทันสมัย ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยทั่วกัน วิสัยทัศน์เช่นนี้เองที่ทำให้ประเทศไทยสามารถต่อกรกับการระบาดของโรคและเชื้อไวรัสที่คุกคามประชาคมโลกในช่วงไม่กี่ปีทีผ่านมาได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนก หรือ SARS นี่เป็นตัวอย่างอันชัดเจนว่า การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งมีระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งนั้น นอกจากจะสามารถคุ้มครองประชากรของตนเองจากโรคระบาดแล้ว ยังมีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้โรคระบาดนั้น ๆ หลุดรอดเขตชายแดนของตนเองไปคุกคามประชาคมโลกด้วย
ความสำเร็จของประเทศไทยทำให้โลกได้ตระหนักว่า การต่อสู้กับไวรัสเอชไอวีนั้นเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ หากภาครัฐจัดสรรงบประมาณที่พอเหมาะให้แก่การดำเนินมาตรการป้องกันและการดูแลรักษา มาตรการที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินไปแล้วนั้น ช่วยให้ไทยสามารถลดจำนวนการเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ถึงเจ็ดล้านรายในปีพ.ศ. 2549 ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศหนึ่งในจำนวนไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่สามารถทำได้เช่นนี้
น่าเสียดายที่ความสำเร็จเหล่านี้กลับไม่ปรากฏให้เห็นในภูมิภาคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอเชียใต้ หรืออัฟริกา ในภูมิภาคเหล่านี้ การให้บริการสาธารณสุขเกือบจะเรียกว่าเป็นแค่ภาพลวงตาก็ว่าได้ แม้ว่าไม่ไกล้ไม่ไกลออกไปเท่าใดนัก จะมีตัวอย่างที่ดีอย่างประเทศไทยให้เห็นก็ตาม เราก็ยังได้พบเห็นรายงานอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่สูงจนน่าตกใจ อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนนับล้านคนในภูมิภาคนั้น ๆ ยังต้องจมปลักอยู่กับความยากจนและความยากไร้
ตัวอย่างที่เราต้องเบือนหน้าหนีด้วยความสะเทือนใจทุกครั้งที่ได้ยินมีดังต่อไปนี้ ทุก ๆ ปี เด็ก ๆ ไร้เดียงสาจำนวนมากถึง 11 ล้านคนทั่วโลกต้องเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บที่สามารถป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็นนิวมอเนีย ท้องร่วง หรือมาเลเรีย ทุก ๆ ปี มีสตรีกว่าห้าแสนคนทั่วโลกที่ต้องเสียชีวิตในระหว่างตั้งครรภ์หรือระหว่างการคลอดบุตร นอกจากนี้แล้ว แม้ว่าวัณโรคจะเป็นอะไรที่รักษาให้หายได้ แต่ก็ยังมีประชากรจำนวนหนึ่งมากถึงล้านเจ็ดแสนคนทั่วโลกที่ต้องตายเพราะโรคนี้ในแต่ละปี
สุขภาพที่ดีมีส่วนช่วยผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโต ทุกวันนี้ หนึ่งในสามของจำนวนเด็ก ๆ อายุต่ำกว่าห้าขวบทั่วโลกมีน้ำหนักหรือส่วนสูงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็ก ๆ เหล่านั้นไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อเขาเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เขาก็จะจมปลักอยู่ในวังวนของความยากจนเช่นเดียวกับที่พ่อแม่ของเขาเป็น หากเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ได้ผล เราจำเป็นที่จะต้องเริ่มป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้ตั้งแต่วินาทีที่เขาปฏิสนธิ ด้วยการส่งเสริมสุขอนามัยของมารดา จนกระทั่งทารกลืมตาดูโลกและเติบโตถึงอายุสองขวบ เพื่อให้แน่ใจว่าในช่วงที่เขายังเปราะบางอยู่นั้น เขาจะได้รับสารอาหารที่จำเป็น เพื่อให้เขาสามารถพัฒนาร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์ต่อไปในอนาคตได้
มาตรการป้องกันเหล่านี้เป็นมาตรการที่มีอยู่แล้ว เพียงแต่รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องเร่งขยายการปฏิบัติให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อลดจำนวนเด็กที่ต้องเสียชีวิตก่อนอายุครบห้าขวบเพราะการขาดสารอาหารและโรคภัยไข้เจ็บ ให้ได้อย่างน้อยหนึ่งในสี่ของอัตราที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก่อนที่จะไปเหลือแค่หนึ่งในสามภายในปี 2558 ดังที่ได้ปฏิญญาไว้ใน Millennium Development Goals (MDGs)
หลายท่านคงทราบดีว่า การที่เศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งจะเจริญเติบโตได้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับสุขอนามัยของประชากรในประเทศนั้น ๆ เป็นสำคัญด้วย ครอบครัวใดก็ตามที่ต้องขายทรัพย์สินหรือนำเงินออมทั้งหมดที่มีอยู่มาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสมาชิกในครอบครัวแล้ว ครอบครัวนั้นก็ย่อมที่จะขาดทุนทรัพย์ที่จะนำไปใช้ในการศึกษาหรือลงทุนอื่นใดเพื่อประโยชน์ในระยะยาวของสมาชิกในครอบครัวเองได้ นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โลกนี้ยังมีคนอีกหลายล้านคนที่ยังจมปลักอยู่กับความยากจน ดังนั้น หากประเทศใดจริงจังกับการแก้ไขปัญหาความยากจน ประเทศนั้นก็จำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินมาตรการเพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของประชากรของตนเอง
มาตรการที่เน้นผลลัพธ์ (focus on results) การพัฒนาระบบสาธารณสุขให้เข้มแข็งนั้นเป็นสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากเรามีระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เราก็จะสามารถป้องกันโรคระบาด ดูแลรักษาผู้ป่วย และบรรเทาผลกระทบของไวรัสและโรคร้าย ไม่ว่าจะเป็นเอชไอวี/เอดส์ วัณโรค หรือมาเลเรีย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งนั้น จะช่วยให้เราสามารถส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้มารดา เด็ก และกลุ่มคนที่เปราะบางต่าง ๆ สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ ทำให้ภาครัฐสรรค์สร้างทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพในการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อันจะส่งผลให้รัฐสามารถบรรเทาปัญหาความยากจนได้ในระดับหนึ่ง
การสรรค์สร้างระบบสาธารณสุขให้เข้มแข็งนั้น จักต้องประกอบไปด้วยมาตรการสำคัญ ๆ หลายมาตรการ ตั้งแต่การจัดหายารักษาโรคให้ทั่วถึง การจัดให้มีจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ที่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน เพื่อให้มารดาและทารกที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ในเวลาที่เขาต้องการมากที่สุด นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องสร้างหลักประกันให้แก่คนยากจนด้วยว่า ถึงแม้เขาจะยากไร้ แต่เขาก็จะได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพเช่นเดียวกับคนที่มีฐานะดีกว่า ที่สำคัญ มาตรการเหล่านี้ต้องมีผลลัพธ์ที่จับต้องได้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถประเมินความสำเร็จและปรับเปลี่ยนมาตรการตามความเหมาะสม
การพัฒนาระบบสาธารณสุขนั้นจะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิงหากไม่เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปเป็นร่าง ในขณะเดียวกัน ผลลัพธ์ที่เราคาดหวังจากระบบสาธารณสุขนั้นก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากระบบของเราไม่มีความเข้มแข็งพอ ทั้งสองอย่างนี้จักต้องดำเนินควบคู่กันไปเสมอ ในส่วนของธนาคารโลกเอง เรากำลังร่วมมือกับประเทศโมซัมบิก รวันดา และอีกหลายประเทศในอัฟริกา เพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาและเด็กทารก ด้วยการดำเนินมาตรการที่เน้นในเรื่องผลลัพธ์ (results) เรารู้จากประสบการณ์ในการทำงานของเราว่า การที่มารดาจะสามารถให้กำเนิดบุตรได้อย่างปลอดภัยนั้นก็ขึ้นอยู่ว่าการทำคลอดนั้นเกิดขึ้นเองที่บ้าน หรือเป็นการทำคลอด ณ สถานพยาบาลซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมืออันทันสมัย และผ่านการดูแลของหมอหรือพยาบาลซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงาน ยกตัวอย่างเช่นในอินเดีย ภาครัฐได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการกระตุ้นให้สตรีมีครรภ์ในมณฑลต่าง ๆ เดินทางมาทำคลอดที่สถานพยาบาล เพราะมีการจัดสรรเงินช่วยเหลือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่มารดาทั้งขาไปและขากลับ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพในการให้บริการที่ดีที่สุดแก่ประชาชน
อนึ่ง ระบบสาธารณสุขเองก็จำเป็นที่จะต้องแสดงให้ผู้ใช้บริการและชุมชนเห็นคุณค่า รวมทั้งเป็นที่พึ่งพาได้ ทั้งยังต้องตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการด้วย เพื่อให้ระบบสาธารณสุขสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง และสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาและทารกตามที่ได้บัญญัติไว้ใน MDGs หลายฝ่ายก็จำเป็นที่จะต้องร่วมมือกัน และเรียนรู้จากกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นจากความสำเร็จหรือข้อผิดพลาด
การประชุมทางวิชาการ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี พ.ศ. 2551 นี้ น่าจะมีส่วนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุคภาคส่วน รวมทั้งประเทศผู้บริจาค และองค์กรเพื่อการพัฒนาด้วย เพื่อช่วยให้ประเทศที่ยากจนทั้งหลายสามารถเสริมสร้างระบบสาธารณสุขของตนให้เข้มแข็ง และส่งเสริมสุขอนามัยของประชากรโลกหลายล้านคนให้ดีขึ้น อันจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นเจริญรุดหน้าไปได้ และทำให้ประชากรโดยรวมสามารถหลุดพ้นจากความยากจนในท้ายที่สุด
นางฟูมาฟี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานด้านงานพัฒนามนุษย์ของธนาคารโลก และเป็นอดีตรองผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก รวมทั้งเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุจของสาธารณรัฐบอตสวานา อัฟริกา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-