กรุงเทพ--18 ก.พ.-กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551 นายวิทวัส ศรีวิหค อธิบดีกรมอาเซียนได้บรรยายสรุปแก่สื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers’ Retreat) ณ สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วม การประชุมนี้ด้วย อันนับเป็นกำหนดการในต่างประเทศและ การเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศครั้งแรกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการเป็นการประชุมที่จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันอย่างเสรีภายใต้บรรยากาศที่ไม่เป็นทางการและไม่มีบุคคลอื่นเข้าร่วม (มีเพียงเลขาธิการอาเซียนเข้าทำหน้าที่จดบันทึกการประชุม) การประชุมฯ ยังเป็นการพบกันครั้งแรกระหว่าง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนคนใหม่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศด้วย
กำหนดการประชุมฯ จะเริ่มด้วยงานเลี้ยงอาหารค่ำในคืนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพในฐานะที่สิงคโปร์ทำหน้าที่ประธานอาเซียนในปัจจุบัน และในช่วงเช้าวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 มีกำหนดการเล่นกอล์ฟ ต่อด้วยการประชุมฯในช่วงบ่าย ซึ่งโอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะใช้โอกาสนี้พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนอื่นๆ ด้วย
ประเด็นสำคัญของการประชุมฯ มี 3 เรื่อง คือ กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter), ASEAN Approach to East Asia Cooperation และแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคงและประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งไทยได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้นำในการยกร่าง
ในเรื่องกฎบัตรอาเซียน คาดว่าที่ประชุมฯ จะหารือถึงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการมีผลบังคับใช้ของกฎบัตรฯ ภายหลังจากที่ผู้นำได้ร่วมกันลงนามเมื่อ 20 พ.ย. 2550 โดยมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การให้สัตยาบันกฎบัตรฯ ให้แล้วเสร็จภายในการประชุมสุดยอด ครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ ตามที่ผู้นำได้แสดงเจตนารมย์ไว้ 2) การดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านภายหลังการลงนามกฎบัตรฯ ที่สำคัญ ได้แก่ การยกร่างความตกลงเกี่ยวกับสถานะนิติบุคคลของอาเซียน การยกร่าง TOR สำหรับกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน รวมถึงการยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ (TOR) และระเบียบปฏิบัติ (ROP) สำหรับ ASEAN Community Councils และ ASEAN Coordinating Council รวมทั้งการจัดตั้งคณะกรรมการของคณะทูตผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา (Committee of the Permanent Representatives: CPRs) การจัดการงบประมาณของสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อรองรับภารกิจภายใต้กฎบัตรฯ
ในเรื่อง ASEAN Centrality จะพิจารณา Synthesis Paper เรื่อง “ASEAN Approach to East Asia Cooperation” ซึ่งจัดเตรียมโดยสิงคโปร์และสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางในการคงบทบาทนำของอาเซียนในความร่วมมือเอเชียตะวันออกทั้งภายใต้กรอบ ASEAN+3 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit — EAS)
นอกจากนี้ ยังมีอาจมีการหยิบยกประเด็นอื่นๆ ที่รัฐมนตรีมีความสนใจร่วมกัน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นปัญหาระหว่างประเทศในช่วงงานเลี้ยงอาหารค่ำ
เป้าประสงค์ของไทย
1) ใช้โอกาสสร้างความเชื่อมั่นว่า สถานการณ์ทางการเมืองไทยกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายหลังมีการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตย
2) เร่งรัดให้ทุกประเทศให้สัตยาบันกฎบัตรฯ ให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพ
3)ให้มีการยกร่าง TOR และ ROP ของกลไกต่าง ๆ ที่เป็น priority ของไทยให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมสุดยอดฯ ครั้งที่ 14 ได้แก่ (1) TOR ของ กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน (2) TOR ของ CPRs (3) ROPของ ASEAN Coordinating Council (4) TOR ของ Community Councils (5) ความตกลงจัดตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียนฉบับใหม่ ซึ่งรวมเรื่องสถานะนิติบุคคลของอาเซียน
4) แสดงความพร้อมที่จะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551-ธันวาคม 2552 แต่หากกฎบัตรฯ ยังไม่มีผลบังคับใช้ ไทยจะดำรงตำแหน่งถึงเดือนกรกฎาคม 2552 ตามวาระปกติ และการดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านจะไปเริ่มในวาระที่เวียดนามดำรงตำแหน่งประธานแทน
5) สนับสนุนให้มีการแก้ไขปัญหาด้านงบประมาณของสำนักเลขาธิการอาเซียนอย่างจริงจังเพื่อให้เลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการฯ สามารถปฏิบัติภารกิจที่เพิ่มขึ้นตามที่ระบุไว้ภายใต้กฎบัตรฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6) ยืนยันท่าทีให้อาเซียนมีบทบาทนำในความร่วมมือเอเชียตะวันออก โดยส่งเสริมให้กรอบอาเซียน+3 และ EAS พัฒนาควบคู่กันไปในลักษณะที่เสริมซึ่งกันและกัน โดยให้ EAS เป็นเวทีที่เปิดกว้างสำหรับประเทศที่มีความสนใจและมีศักยภาพที่จะสนับสนุนความร่วมมือในเวทีนี้ ในขณะที่อาเซียน+3 เป็นเวทีเพื่อส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจและความร่วมมือในภูมิภาค
ภายหลังการประชุมฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 ตามคำเชิญของนาย George Yeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดที่จะพบหารือทวิภาคีกับนาย Yeo และเข้าเยี่ยมคารวะนาย Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551 นายวิทวัส ศรีวิหค อธิบดีกรมอาเซียนได้บรรยายสรุปแก่สื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers’ Retreat) ณ สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วม การประชุมนี้ด้วย อันนับเป็นกำหนดการในต่างประเทศและ การเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศครั้งแรกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการเป็นการประชุมที่จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันอย่างเสรีภายใต้บรรยากาศที่ไม่เป็นทางการและไม่มีบุคคลอื่นเข้าร่วม (มีเพียงเลขาธิการอาเซียนเข้าทำหน้าที่จดบันทึกการประชุม) การประชุมฯ ยังเป็นการพบกันครั้งแรกระหว่าง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนคนใหม่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศด้วย
กำหนดการประชุมฯ จะเริ่มด้วยงานเลี้ยงอาหารค่ำในคืนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพในฐานะที่สิงคโปร์ทำหน้าที่ประธานอาเซียนในปัจจุบัน และในช่วงเช้าวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 มีกำหนดการเล่นกอล์ฟ ต่อด้วยการประชุมฯในช่วงบ่าย ซึ่งโอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะใช้โอกาสนี้พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนอื่นๆ ด้วย
ประเด็นสำคัญของการประชุมฯ มี 3 เรื่อง คือ กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter), ASEAN Approach to East Asia Cooperation และแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคงและประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งไทยได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้นำในการยกร่าง
ในเรื่องกฎบัตรอาเซียน คาดว่าที่ประชุมฯ จะหารือถึงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการมีผลบังคับใช้ของกฎบัตรฯ ภายหลังจากที่ผู้นำได้ร่วมกันลงนามเมื่อ 20 พ.ย. 2550 โดยมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การให้สัตยาบันกฎบัตรฯ ให้แล้วเสร็จภายในการประชุมสุดยอด ครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ ตามที่ผู้นำได้แสดงเจตนารมย์ไว้ 2) การดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านภายหลังการลงนามกฎบัตรฯ ที่สำคัญ ได้แก่ การยกร่างความตกลงเกี่ยวกับสถานะนิติบุคคลของอาเซียน การยกร่าง TOR สำหรับกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน รวมถึงการยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ (TOR) และระเบียบปฏิบัติ (ROP) สำหรับ ASEAN Community Councils และ ASEAN Coordinating Council รวมทั้งการจัดตั้งคณะกรรมการของคณะทูตผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา (Committee of the Permanent Representatives: CPRs) การจัดการงบประมาณของสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อรองรับภารกิจภายใต้กฎบัตรฯ
ในเรื่อง ASEAN Centrality จะพิจารณา Synthesis Paper เรื่อง “ASEAN Approach to East Asia Cooperation” ซึ่งจัดเตรียมโดยสิงคโปร์และสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางในการคงบทบาทนำของอาเซียนในความร่วมมือเอเชียตะวันออกทั้งภายใต้กรอบ ASEAN+3 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit — EAS)
นอกจากนี้ ยังมีอาจมีการหยิบยกประเด็นอื่นๆ ที่รัฐมนตรีมีความสนใจร่วมกัน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นปัญหาระหว่างประเทศในช่วงงานเลี้ยงอาหารค่ำ
เป้าประสงค์ของไทย
1) ใช้โอกาสสร้างความเชื่อมั่นว่า สถานการณ์ทางการเมืองไทยกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายหลังมีการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตย
2) เร่งรัดให้ทุกประเทศให้สัตยาบันกฎบัตรฯ ให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพ
3)ให้มีการยกร่าง TOR และ ROP ของกลไกต่าง ๆ ที่เป็น priority ของไทยให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมสุดยอดฯ ครั้งที่ 14 ได้แก่ (1) TOR ของ กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน (2) TOR ของ CPRs (3) ROPของ ASEAN Coordinating Council (4) TOR ของ Community Councils (5) ความตกลงจัดตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียนฉบับใหม่ ซึ่งรวมเรื่องสถานะนิติบุคคลของอาเซียน
4) แสดงความพร้อมที่จะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551-ธันวาคม 2552 แต่หากกฎบัตรฯ ยังไม่มีผลบังคับใช้ ไทยจะดำรงตำแหน่งถึงเดือนกรกฎาคม 2552 ตามวาระปกติ และการดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านจะไปเริ่มในวาระที่เวียดนามดำรงตำแหน่งประธานแทน
5) สนับสนุนให้มีการแก้ไขปัญหาด้านงบประมาณของสำนักเลขาธิการอาเซียนอย่างจริงจังเพื่อให้เลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการฯ สามารถปฏิบัติภารกิจที่เพิ่มขึ้นตามที่ระบุไว้ภายใต้กฎบัตรฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6) ยืนยันท่าทีให้อาเซียนมีบทบาทนำในความร่วมมือเอเชียตะวันออก โดยส่งเสริมให้กรอบอาเซียน+3 และ EAS พัฒนาควบคู่กันไปในลักษณะที่เสริมซึ่งกันและกัน โดยให้ EAS เป็นเวทีที่เปิดกว้างสำหรับประเทศที่มีความสนใจและมีศักยภาพที่จะสนับสนุนความร่วมมือในเวทีนี้ ในขณะที่อาเซียน+3 เป็นเวทีเพื่อส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจและความร่วมมือในภูมิภาค
ภายหลังการประชุมฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 ตามคำเชิญของนาย George Yeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดที่จะพบหารือทวิภาคีกับนาย Yeo และเข้าเยี่ยมคารวะนาย Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-