กรุงเทพ--3 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แสดงข้อห่วงกังวลต่อรายงานการจัดอันดับ “ความอ่อนแอของรัฐ” (Index of State Weakness) โดยสถาบัน Brookings ซึ่งได้จัดอันดับประเทศกำลังพัฒนาโดยพิจารณาจากความคืบหน้าใน 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง และการสังคมสงเคราะห์ โฆษกกระทรวงฯ ให้ข้อสังเกตว่า รายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 ยังมีจุดอ่อนในตัวเอง เนื่องจากรายงานได้อาศัยข้อมูลและตัวชี้วัดที่ล้าสมัย โดยบางส่วนใช้ข้อมูลเก่าเมื่อหลายปีที่ผ่านมา
สถาบัน Brookings ใช้สถานการณ์ทางการเมืองไทยเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2549) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งส่งผลให้ตัวชี้วัดในด้านการเมืองและความมั่นคงฉุดอันดับของประเทศไทย ไปอยู่ที่อันดับที่ 79 จากประเทศกำลังพัฒนา 141 ประเทศ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม “รัฐที่ควรจับตามอง” (States to Watch) แม้ว่าประเทศไทยจะได้คะแนนสูงในตัวชี้วัดด้านอื่นๆ และอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ และสังคมสงเคราะห์ดีที่สุดประเทศหนึ่ง
นายธฤตฯ กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2549 ประเทศไทยได้มีพัฒนาการทางการเมืองและความมั่นคงที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ผ่านๆ มา ได้ทำให้ประชาธิปไตยของไทยเข้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมไปถึงการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีการลงประชามติระดับชาติเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยได้กลับคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ
หากสถาบัน Brookings ประมวลปัจจัยทางบวกข้างต้น รวมทั้งการกลับคืนสู่ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ นายธฤตฯ เชื่อว่า ประเทศไทยน่าจะอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาแนวหน้าที่มีความมั่นคงและเสถียรภาพ
อย่างไรก็ตาม นายธฤตฯ เห็นว่าผลการจัดอันดับของสถาบัน Brookings ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทย เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติและผู้ที่ติดตามสถานการณ์ในประเทศอย่างใกล้ชิดย่อมเข้าใจในสถานการณ์ทางการเมืองที่แท้จริง รวมทั้งศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะเห็นได้จากการไหลเข้าของเงินทุนและการลงทุนจากต่างชาติในประเทศไทย ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนกว่า 13 ล้านคนในปี 2550 ซึ่งสะท้อนถึงความมั่นใจในเสถียรภาพและ ความปลอดภัย โดยประเทศไทยได้รับการยอมรับ เป็นจุดหมายท่องเที่ยวที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก นอกจากนี้ ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา องค์กรและสถาบันวิจัยต่างชาติหลายแห่ง อาทิ UNCTAD, World Bank, Standard & Poor’s และ Fitch Ratings ต่างชี้ว่าประเทศไทยมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจสูง กระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมายให้ สอท. ณ กรุงวอชิงตัน มีหนังสือชี้แจงไปยังสถาบัน Brookings ด้วยแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แสดงข้อห่วงกังวลต่อรายงานการจัดอันดับ “ความอ่อนแอของรัฐ” (Index of State Weakness) โดยสถาบัน Brookings ซึ่งได้จัดอันดับประเทศกำลังพัฒนาโดยพิจารณาจากความคืบหน้าใน 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง และการสังคมสงเคราะห์ โฆษกกระทรวงฯ ให้ข้อสังเกตว่า รายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 ยังมีจุดอ่อนในตัวเอง เนื่องจากรายงานได้อาศัยข้อมูลและตัวชี้วัดที่ล้าสมัย โดยบางส่วนใช้ข้อมูลเก่าเมื่อหลายปีที่ผ่านมา
สถาบัน Brookings ใช้สถานการณ์ทางการเมืองไทยเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2549) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งส่งผลให้ตัวชี้วัดในด้านการเมืองและความมั่นคงฉุดอันดับของประเทศไทย ไปอยู่ที่อันดับที่ 79 จากประเทศกำลังพัฒนา 141 ประเทศ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม “รัฐที่ควรจับตามอง” (States to Watch) แม้ว่าประเทศไทยจะได้คะแนนสูงในตัวชี้วัดด้านอื่นๆ และอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ และสังคมสงเคราะห์ดีที่สุดประเทศหนึ่ง
นายธฤตฯ กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2549 ประเทศไทยได้มีพัฒนาการทางการเมืองและความมั่นคงที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ผ่านๆ มา ได้ทำให้ประชาธิปไตยของไทยเข้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมไปถึงการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีการลงประชามติระดับชาติเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยได้กลับคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ
หากสถาบัน Brookings ประมวลปัจจัยทางบวกข้างต้น รวมทั้งการกลับคืนสู่ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ นายธฤตฯ เชื่อว่า ประเทศไทยน่าจะอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาแนวหน้าที่มีความมั่นคงและเสถียรภาพ
อย่างไรก็ตาม นายธฤตฯ เห็นว่าผลการจัดอันดับของสถาบัน Brookings ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทย เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติและผู้ที่ติดตามสถานการณ์ในประเทศอย่างใกล้ชิดย่อมเข้าใจในสถานการณ์ทางการเมืองที่แท้จริง รวมทั้งศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะเห็นได้จากการไหลเข้าของเงินทุนและการลงทุนจากต่างชาติในประเทศไทย ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนกว่า 13 ล้านคนในปี 2550 ซึ่งสะท้อนถึงความมั่นใจในเสถียรภาพและ ความปลอดภัย โดยประเทศไทยได้รับการยอมรับ เป็นจุดหมายท่องเที่ยวที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก นอกจากนี้ ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา องค์กรและสถาบันวิจัยต่างชาติหลายแห่ง อาทิ UNCTAD, World Bank, Standard & Poor’s และ Fitch Ratings ต่างชี้ว่าประเทศไทยมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจสูง กระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมายให้ สอท. ณ กรุงวอชิงตัน มีหนังสือชี้แจงไปยังสถาบัน Brookings ด้วยแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-