กรุงเทพ--11 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2551 คณะนักเรียนและครูที่นับถือศาสนาอิสลามและพุทธ จาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) รวม 16 คน ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อรายงานผลการเดินทางไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการบริหารชุมชุนพหุวัฒนธรรม ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการส่งเสริมพหุวัฒนธรรมท่ามกลางความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม ตามโครงการส่งเสริมกระบวนการ interfaith ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โครงการดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 โครงการย่อย ได้แก่ โครงการ Youth Camp สำหรับคณะเยาวชน จำนวน 6 คน ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 9 มีนาคม 2551 และโครงการจัดการศึกษาให้แก่ชุมชนมุสลิมสำหรับครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 6 คน ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 9 มีนาคม 2551 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสศึกษา เรียนรู้ เสริมสร้างโลกทัศน์ และมุมมองใหม่ที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของออสเตรเลีย และสัมผัสกับวิถีชีวิต การอยู่ร่วมกันของชาวออสเตรเลียที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และความเชื่อ
นักเรียนไทยที่เข้าร่วมโครงการได้เข้าเรียนและร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน Blakehurst High School ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในการให้การศึกษาแก่นักเรียนที่มีเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรมและความเชื่อที่แตกต่างกันใน รัฐนิวเซาท์เวลล์ เป็นเวลา 4 วัน รวมทั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่อย่างแท้จริงกับบรรดานักเรียน นักศึกษาออสเตรเลียจากสถาบันการศึกษาต่างๆ อย่างกว้างขวางตลอดช่วงที่อยู่ในรัฐนิวเซาท์เวลล์ ซึ่งทำให้นักเรียนไทยได้เข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันของเหล่านักเรียน นักศึกษาในสังคมที่มีความหลากหลายในด้านต่างๆ ของออสเตรเลียด้วย
สำหรับคณะครู นอกจากได้รับฟังการบรรยายสรุปจาก Community Relations Commission for Multicultural: NSW (CRC) ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่มีบทบาทสำคัญในการประสานผลประโยชน์ของชุมชนที่มีความแตกต่างหลากหลาย กระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและกิจการพลเมือง และกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐนิวเซาท์เวลล์ เกี่ยวกับสวัสดิการและความช่วยเหลือที่ให้กับผู้ที่มาตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลีย ตลอดจนแนวทางการส่งเสริมการศึกษาที่มุ่งเน้นการต่อต้านการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติและการเสริมสร้างพหุวัฒนธรรม แล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์กับองค์กรภาคประชาชนทั้งในระดับต่างๆ เช่น มูลนิธิเพื่อความปรองดองระหว่างวัฒนธรรม สหพันธ์คณะกรรมการอิสลามแห่งออสเตรเลีย และ National Dialogue of Christians, Muslims and Jews ซึ่งมีบทบาทเสริมภารกิจของภาครัฐในการเป็นตัวแทนขององค์กรมุสลิมในออสเตรเลีย และเป็นผู้ประสานงานด้าน Dialogue กับองค์กรศาสนาอื่นๆ และกับชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการอยู่ร่วมกันเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติของออสเตรเลียด้วย รวมทั้งเยี่ยมชมการบริการจัดการขององค์กรศาสนา องค์กรท้องถิ่น และมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับชุมชน
ตัวแทนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการกล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการนี้เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น โดยได้มีโอกาสศึกษาระบบการจัดการ และการผสมผสานระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างในประเทศออสเตรเลีย
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า เป็นนโนยบายเร่งด่วนของรัฐบาลชุดปัจจุบัน รัฐบาลได้พยายามดำเนินการเพื่อนำความสงบกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะต้องมีความร่วมมือระหว่างส่วนที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
อนึ่ง การนำคณะนักเรียนและครูไปศึกษาดูงานครั้งนี้ เป็นบทบาทหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศในการร่วมมือในระดับประชาชนในการแก้ไขปัญหาท้องถิ่นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยการเสริมสร้างความรู้ ประสบการณ์และโลกทัศน์แก่คณะเยาวชนและครูในระดับรากหญ้า ซึ่งอาจนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในท้องถิ่นต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2551 คณะนักเรียนและครูที่นับถือศาสนาอิสลามและพุทธ จาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) รวม 16 คน ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อรายงานผลการเดินทางไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการบริหารชุมชุนพหุวัฒนธรรม ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการส่งเสริมพหุวัฒนธรรมท่ามกลางความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม ตามโครงการส่งเสริมกระบวนการ interfaith ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โครงการดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 โครงการย่อย ได้แก่ โครงการ Youth Camp สำหรับคณะเยาวชน จำนวน 6 คน ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 9 มีนาคม 2551 และโครงการจัดการศึกษาให้แก่ชุมชนมุสลิมสำหรับครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 6 คน ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 9 มีนาคม 2551 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสศึกษา เรียนรู้ เสริมสร้างโลกทัศน์ และมุมมองใหม่ที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของออสเตรเลีย และสัมผัสกับวิถีชีวิต การอยู่ร่วมกันของชาวออสเตรเลียที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และความเชื่อ
นักเรียนไทยที่เข้าร่วมโครงการได้เข้าเรียนและร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน Blakehurst High School ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในการให้การศึกษาแก่นักเรียนที่มีเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรมและความเชื่อที่แตกต่างกันใน รัฐนิวเซาท์เวลล์ เป็นเวลา 4 วัน รวมทั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่อย่างแท้จริงกับบรรดานักเรียน นักศึกษาออสเตรเลียจากสถาบันการศึกษาต่างๆ อย่างกว้างขวางตลอดช่วงที่อยู่ในรัฐนิวเซาท์เวลล์ ซึ่งทำให้นักเรียนไทยได้เข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันของเหล่านักเรียน นักศึกษาในสังคมที่มีความหลากหลายในด้านต่างๆ ของออสเตรเลียด้วย
สำหรับคณะครู นอกจากได้รับฟังการบรรยายสรุปจาก Community Relations Commission for Multicultural: NSW (CRC) ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่มีบทบาทสำคัญในการประสานผลประโยชน์ของชุมชนที่มีความแตกต่างหลากหลาย กระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและกิจการพลเมือง และกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐนิวเซาท์เวลล์ เกี่ยวกับสวัสดิการและความช่วยเหลือที่ให้กับผู้ที่มาตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลีย ตลอดจนแนวทางการส่งเสริมการศึกษาที่มุ่งเน้นการต่อต้านการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติและการเสริมสร้างพหุวัฒนธรรม แล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์กับองค์กรภาคประชาชนทั้งในระดับต่างๆ เช่น มูลนิธิเพื่อความปรองดองระหว่างวัฒนธรรม สหพันธ์คณะกรรมการอิสลามแห่งออสเตรเลีย และ National Dialogue of Christians, Muslims and Jews ซึ่งมีบทบาทเสริมภารกิจของภาครัฐในการเป็นตัวแทนขององค์กรมุสลิมในออสเตรเลีย และเป็นผู้ประสานงานด้าน Dialogue กับองค์กรศาสนาอื่นๆ และกับชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการอยู่ร่วมกันเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติของออสเตรเลียด้วย รวมทั้งเยี่ยมชมการบริการจัดการขององค์กรศาสนา องค์กรท้องถิ่น และมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับชุมชน
ตัวแทนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการกล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการนี้เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น โดยได้มีโอกาสศึกษาระบบการจัดการ และการผสมผสานระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างในประเทศออสเตรเลีย
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า เป็นนโนยบายเร่งด่วนของรัฐบาลชุดปัจจุบัน รัฐบาลได้พยายามดำเนินการเพื่อนำความสงบกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะต้องมีความร่วมมือระหว่างส่วนที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
อนึ่ง การนำคณะนักเรียนและครูไปศึกษาดูงานครั้งนี้ เป็นบทบาทหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศในการร่วมมือในระดับประชาชนในการแก้ไขปัญหาท้องถิ่นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยการเสริมสร้างความรู้ ประสบการณ์และโลกทัศน์แก่คณะเยาวชนและครูในระดับรากหญ้า ซึ่งอาจนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในท้องถิ่นต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-