ผลการแถลงข่าวประจำสัปดาห์
วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๓๐ น.
ณ กระทรวงการต่างประเทศ
๑. ผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๔ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือทางโทรศัพท์กับนายโมเทกิ โทชิมิทสึ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ตามการทาบทามของฝ่ายญี่ปุ่น
ฝ่ายญี่ปุ่นแสดงความชื่นชมบทบาทของอาเซียนในการจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ และการดำเนินการของไทยในการหารือกับฝ่ายเมียนมาเพื่อพยายามหาแนวทางแก้ไขปัญหา รวมถึงการพบหารือต่าง ๆ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องถึงความสำคัญของการเปิดช่องทางให้เกิดการแก้ไขปัญหาผ่านการเจรจาหารือระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ไทยกับญี่ปุ่นในฐานะมิตรประเทศของเมียนมาจะหารือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นได้แสดงข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมา ซึ่งทั้งสองฝ่ายหวังว่าเหตุการณ์จะไม่บานปลาย
ทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในทะเลจีนใต้และคาบสมุทรเกาหลี และเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในกรอบการหารืออาเซียน - ญี่ปุ่น โดยไทยจะทำหน้าที่ประเทศผู้ประสานงานในอีก ๓ ปีข้างหน้า และกรอบการประชุมเอเปค ซึ่งไทยมีกำหนดจะเป็นเจ้าภาพในปี ค.ศ. ๒๐๒๒ ขณะเดียวกันฝ่ายญี่ปุ่นยืนยันการสนับสนุนให้ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP
On 8 March 2021, H.E. Mr. Don Pramudwinai, Deputy Prime Minister and Minister of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand, had a telephone conversation with H.E. Mr. MOTEGI Toshimitsu, Minister for Foreign Affairs of Japan, at the latter?s request.
On regional developments, the Minister of Foreign Affairs of Japan expressed concern over the violent situation in Myanmar, which both sides hoped would not further escalate.
Japan also expressed appreciation for the role of ASEAN convening the Informal ASEAN Ministerial Meeting as well as efforts by Thailand to engage Myanmar with a view to resolving the situation, including through meetings that took place in Bangkok on 24 February 2021.
The two Ministers shared the view that it is important for all sides concerned to maintain open lines of communication so as to enable peaceful resolution of the situation through dialogue. The two Ministers also concurred that as Thailand and Japan share cordialities with Myanmar, both sides would continue to work closely with each other. The two Ministers also exchanged views on situations in the South China Sea and the Korean Peninsula.
In addition, the two Ministers agreed to cooperate closely in the framework of ASEAN - Japan dialogue relations for which Thailand will serve as Country Coordinator for the next three years, and the Asia ? Pacific Economic Cooperation (APEC), of which Thailand will be the host in 2022. Japan reaffirmed to support for Thailand to join the Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership (CPTPP).
๒. ผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับเอกอัครรราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๔ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พบหารือกับนางซาราห์ เทย์เลอร์ เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย ซึ่งเข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสเข้ารับหน้าที่
ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงแนวทางส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-แคนาดา ซึ่งจะครบรอบ ๖๐ ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างทั้งสองประเทศ ในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และหารือแผนความร่วมมือเพื่อเฉลิมฉลองโอกาสสำคัญดังกล่าว นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการสำคัญในภูมิภาค รวมถึงการรับมือสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-๑๙
ทั้งนี้ ไทยและแคนาดามีแผนจะจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต อาทิ (๑) การจัดนิทรรศการภาพถ่าย ?Canada-Thailand: Take Your Seat? (๒) การเยือนไทยของเรือรบหลวงแคนาดา (๓) โครงการ Teach in Thailand จ้างครูชาวแคนาดามาสอนภาษาอังกฤษในไทย
๓. กระทรวงการต่างประเทศร่วมขับเคลื่อนการดำเนินการตามข้อตกลงระหว่างประเทศเรื่องผู้ลี้ภัยและการโยกย้ายถิ่นฐาน
เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๔ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เน้นย้ำว่าผู้โยกย้ายถิ่นฐานถือเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของรัฐเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ จะสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อทุกคนปลอดภัยรวมถึงผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ระหว่างเปิดการประชุมทบทวนการดำเนินการตามข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบและปกติ ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ณ ศูนย์ประชุม UNESCAP กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ นายณัฐวัฒน์ กฤษณามระ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการนำข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยผู้ลี้ภัย และข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบและปกติไปปฏิบัติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เพื่อติดตามความคืบหน้าของไทยในการดำเนินการตามข้อตกลงและคำมั่นที่ไทยได้ให้ไว้ เพื่อให้การบริหารจัดการการโยกย้ายถิ่นฐานเป็นไปตามหลักมนุษยธรรม สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ และช่วยส่งเสริมการพัฒนาและการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และผู้เกี่ยวข้อง
๔. การประกาศใช้หนังสือเดินทางประเภทอายุ ๑๐ ปี
นับตั้งแต่วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป ประชาชนที่มีอายุ ๒๐ ปีขึ้นไป สามารถขอทำหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป อายุการใช้งานไม่เกิน ๑๐ ปี ได้ที่กรมการกงสุลและสำนักงานหนังสือเดินทาง ชั่วคราว) ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวมถึงที่สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยทุกแห่ง โดยจะมีค่าธรรมเนียม ๑,๕๐๐ บาท
หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป อายุการใช้งานไม่เกิน ๕ ปี ยังคงมีค่าธรรมเนียม ๑,๐๐๐ บาท หากต้องการขอรับบริการหนังสือเดินทางเล่มด่วนรับเล่มภายในวันเดียวกันจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก ๒,๐๐๐ บาท
๕. ภาคธุรกิจไทยในเมียนมา
จากรายงานของ สอท. ณ กรุงย่างกุ้ง ผู้ประกอบการไทยในเมียนมา ส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน และการขาดสภาพคล่องจากการปิดทำการของธนาคาร ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยยังคงมีทัศนคติเชิงบวกต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจของเมียนมา และยังคงต้องการดำเนินธุรกิจในเมียนมาต่อไป เห็นได้จากความพยายามในการประนีประนอมกับพนักงานท้องถิ่น และหลีกเลี่ยงการดำเนินการที่จะทำให้กิจการไทยตกเป็นเป้าหมายของผู้ชุมนุม
ทั้งนี้ ผู้ให้บริการขนส่งบางรายเริ่มหยุดให้บริการขนส่งทางเรือไปยังท่าเรือย่างกุ้งเป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ดี ยังสามารถให้บริการขนส่งทางเรือยังท่าเรือติละวาทดแทนได้ ส่วนการขนส่งสินค้ามายังเมียนมาผ่านทางด่านชายแดนไทยยังคงดำเนินการได้ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙
ธนาคารเอกชนส่วนใหญ่ยังคงปิดให้บริการ เนื่องจากพนักงานเข้าร่วมการอารยะขัดขืน โดยธนาคารบางแห่งเปิดให้บริการแต่จำกัดยอดการถอนเงินต่อคน โดยคาดว่า ธนาคารท้องถิ่นอาจสามารถทยอยกลับมาเปิดให้บริการได้ภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๔
ผู้ประกอบการไทยที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในเมียนมา ได้รวมตัวกันและจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมธุรกิจไทยในเมียนมา (Thai Business Association of Myanmar-TBAM) โดยปัจจุบันมีสมาชิกทั้งบริษัทไทยและเมียนมาเข้าร่วมกว่า ๓๐๐ ราย มีเครือข่ายกว้างขวางและเหนียวแน่นกับภาครัฐ ภาคเอกชน และหอการค้าต่างประเทศในเมียนมา รวมทั้งมีการดำเนินกิจกรรมธุรกิจสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญสำหรับภาคธุรกิจไทยในเมียนมาในสถานการณ์ปัจจุบัน
๖. กรณีรายงานข่าวการแจ้งเตือนนักศึกษาต่างชาติว่าอาจถูกเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักร หากพบว่าเข้าไปมีส่วนร่วมกับการประท้วง
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ชี้แจงกรณีสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งใน จ. ปทุมธานี แจ้งเตือนไปยังนักศึกษาชาวต่างชาติว่าจะมีการเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักร หากพบว่าเข้าไปมีส่วนร่วมกับการชุมนุมประท้วง โดยยืนยันว่า ไม่มีการออกเอกสารแจ้งเวียนการเพิกถอนดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นการสื่อสารหรือความเข้าใจที่คาดเคลื่อน
สตม. ระบุว่า การแสดงออกเป็นสิทธิเสรีภาพที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองไว้ แต่เนื่องจากปัจจุบันได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ สตม. จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ระมัดระวังและตรวจสอบข้อกำหนดของแต่ละจังหวัดในการเข้าร่วมกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดฯ ตลอดจนปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข
According to an announcment by an educational institution warning foreign students against taking part in political gatherings that they risked having their visas revoked, citing an order from the Immigration Bureau, the Immigration Bureau has clarified on this matter and confirmed that no circular letter concerning such revocation has been issued by the Immigration Bureau, and this might be a miscommunication or misunderstanding.
The Immigration Bureau also mentioned that the right to freedom of expression is recognised and protected by law. However, the state of emergency has been declared in the Kingdom to prevent and mitigate the transmission of COVID-19. Therefore, the Immigration Bureau advised foreign nationals staying in the Kingdom to follow all requirements for participating in activities that may risk spreading the disease, and follow the guidelines of the Ministry of Public Health as well as maintain domestic peace and order.
๗. กรณี Human Rights Watch ระบุรัฐบาลไทยผลักดันชาวเมียนมากลับประเทศหลังพยายามข้ามแม่น้ำรวกเข้ามาในไทย
ตามที่มีรายงานข่าวเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๔ ว่า กองกำลังผาเมือง จ.เชียงราย ได้ตรวจจับกลุ่มชาวเมียนมา ประกอบด้วยชาย ๔ คน หญิง ๔ คน และพระสงฆ์ ๒ รูป พยายามข้ามแม่น้ำรวกจาก อ.ขี้เหล็ก เข้ามายัง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย และได้ผลักดันกลับไป เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการข้ามแดนที่ผิดกฎหมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงดำเนินการตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่ามีบุคคลจำนวนมากขอลี้ภัยอันเนื่องมาจากสถานการณ์ในเมียนมา โดยหน่วยงานความมั่นคงของไทยได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และมีการเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยที่ยังมีข้อห่วงกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ระลอกใหม่ ไทยจึงคงมาตรการทางสาธารณสุข ในการคัดกรองการข้ามแดนของบุคคลกลุ่มต่าง ๆ อย่างเข้มงวด และคำนึงถึงเหตุผลด้านมนุษยธรรมด้วย
ประเทศไทยมีพรมแดนติดกับเมียนมายาวกว่า ๒,๔๐๐ กิโลเมตร และตลอดช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา ไทยมีประสบการณ์การบริหารจัดการการข้ามแดนของบุคคลหลายกลุ่มจากเมียนมา รวมทั้งผู้หนีภัยจากการสู้รบ โดยให้ที่พักพิงชั่วคราวของผู้หนีภัยการสู้รบ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่า ๙๐,๐๐๐ ราย จึงขอให้มั่นใจในประสบการณ์ของไทยในการบริหารจัดการและเตรียมการดูแลการข้ามแดนจากเมียนมา
๘. แถลงการณ์ของไทยเกี่ยวกับสถานการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
กระทรวงการต่างประเทศได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมา ดังนี้ / here
๙. ประชาสัมพันธ์
รายการ Spokesman Live!
ในวันศุกร์ที่ ๑๒ มี.ค. ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. รายการ ?คุยรอบโลกกับโฆษก กต.? Spokesman Live! จะสัมภาษณ์คุณกวี จงกิจถาวร นักวิจัยอาวุโส สถาบันการศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เรื่อง ?ภูมิรัฐศาสตร์ของเอเปคกับผลประโยชน์ของไทย? ติดตามรับชมได้ทาง Facebook ?กระทรวงการต่างประเทศ? และ ?Saranrom Radio?
งาน Thai Drama Festival in Japan
ในวันที่ ๔ เม.ย. ๖๔ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๐๐ น. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว จัดงาน Thai Drama Festival in Japan เพื่อประชาสัมพันธ์ละครไทยให้โด่งดังไกลในต่างประเทศ ภายในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมจากสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ นาดาวบางกอก และจีเอ็มเอ็มทีวี การเสวนาปรากฎการณ์ละครไทยในญี่ปุ่น กองทัพดารานักแสดงจากสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ และกิจกรรมแจกรางวัลและตอบคำถามของนักแสดงชื่อดังอย่าง โป๊บ-ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ เบลล่า-ราณี แคมเปน และมาริโอ้ เมาเร่อ
ผู้ที่สนใจสามารถรับชมผ่านทาง Live Streaming ในเฟซบุ๊ค ?Thai Festival Japan? หรือ Youtube ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
๑๐. ช่วงถาม ? ตอบ
๑๐.๑ what would Thailand do if the Myanmar refugee arrives at the border?
Authorities from agencies along the border (i.e. provincial, security agencies) have had prior experience in handling the cross border movement from neighboring countries, and they're taking steps to prepare facilities along the border.
๑๐.๒ How big would the group of refugee be? If they come, will you turn them away?
We have managed migration across the borders before, and we allow migrants to come across the border on humanitarian principles. So far, there has been no one who crossed the border seeking asylum due to situation in Myanmar.
๑๐.๓ ขณะนี้มีเที่ยวบินสำหรับคนไทยที่เดินทางออกจากเมียนมาหรือไม่
เที่ยวบินดังกล่าวเป็นเที่ยวบินอพยพคนไทยเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ซึ่งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง ได้จัดเตรียมกำหนดการเที่ยวบินอพยพคนไทยมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดฯ
ข้อมูลของเที่ยวบินอพยพคนไทยในเมียนมา เนื่องจากสถานการณ์โควิด-๑๙ ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ในเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ มีดังนี้
สายการบิน Myanmar Airways International (MAI) วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๔ เดินทาง ถึงไทย เวลา ๑๑.๔๕ น. (ขณะนี้ได้ปิดลงทะเบียนแล้ว)
สายการบิน Myanmar National Airlines (MNA) วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๔ เดินทางถึงไทย เวลา ๑๖.๕๕. น. ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ภายในวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔
สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเพจเฟสบุ๊กของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง: Royal Thai Embassy, Yangon
ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ