ผลการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ วันพฤหัสบดีที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๓๐ น. ณ กระทรวงการต่างประเทศ

ข่าวต่างประเทศ Friday April 2, 2021 13:23 —กระทรวงการต่างประเทศ

ผลการแถลงข่าวประจำสัปดาห์

วันพฤหัสบดีที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๓๐ น.

ณ กระทรวงการต่างประเทศ

๑. รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมระดมสมองระดับสูง เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการขับเคลื่อนข้อริเริ่มความเกื้อกูลระหว่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. ๒๐๒๕ กับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ ของสหประชาชาติ

เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมระดมสมองระดับสูง เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการขับเคลื่อนข้อริเริ่มความเกื้อกูลระหว่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. ๒๐๒๕ กับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ ของสหประชาชาติ (หรือ Complementarities Initiative) ครั้งที่ ๕ ร่วมกับรองเลขาธิการสหประชาชาติและเลขาธิการบริหารเอสแคป

การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ โดยมีไทยในฐานะผู้ประสานงานของอาเซียนในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน และเอสแคป เป็นเจ้าภาพร่วม

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอแนวคิดในการขับเคลื่อนข้อริเริ่ม Complementarities Initiative ๓ ประการ ได้แก่ (๑) การปรับกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตให้มีความยั่งยืนมากขึ้น และส่งเสริมความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ หรือความสมดุลระหว่างสรรพสิ่ง (Balance of Things) ซึ่งรวมถึงการใช้โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ในการพัฒนาภูมิภาค (๒) การส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและดิจิทัลในการแก้ไขปัญหาความท้าทายระดับโลก และ (๓) การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วน และเปลี่ยนการแข่งขันให้เป็นความร่วมมือ เพื่อการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือแนวทางการขับเคลื่อนความร่วมมือใน ๖ สาขาที่จะช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูหลังโควิด-๑๙ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของภูมิภาคต่อความท้าทายต่าง ๆ ในอนาคต ได้แก่ การขจัดความยากจน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน การเสริมสร้างความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติ และการเสริมสร้างขีดความสามารถ

๒. มาตรการการอำนวยความสะดวกการเดินทางเข้าประเทศไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙

๒.๑ การลดจำนวนวันกักกันตัวสำหรับผู้ที่มี vaccine certificate

ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป ศบค. จะบังคับใช้มาตรการกักกันตัวรูปแบบใหม่ รายละเอียดดังนี้:

๑. ผู้เดินทางกลับจากประเทศที่ไม่มีเชื้อกลายพันธุ์ และมีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนครบถ้วน (vaccine certificate) อาจพิจารณาให้กักกันตัวไม่น้อยว่า ๗ วัน โดยต้องฉีดวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายของประเทศไทย หรือได้รับการรับรองจาก WHO หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้วไม่น้อยกว่า ๑๔ วันก่อนวันเดินทาง

๒. ผู้เดินทางกลับจากประเทศที่ไม่มีเชื้อกลายพันธุ์ แต่ไม่มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน ต้องเข้ารับการกักกันตัวไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน

๓. ผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีเชื้อกลายพันธุ์ ต้องเข้ารับการกักกันตัวไม่น้อยกว่า ๑๔ วัน

๒.๒ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศรายชื่อประเทศที่มีเชื้อกลายพันธุ์ จำนวน ๑๑ ประเทศ ได้แก่ แอฟริกาใต้ ซิมบับเว โมซัมบิก บอตสวานา แซมเบีย เคนยา รวันดา แคเมอรูน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แทนซาเนีย และ กานา โดยรายชื่อประเทศที่มีเชื้อกลายพันธุ์จะมีการทบทวนทุกเดือน สามารถติดตามการอัพเดทรายชื่อได้ที่เว็บไซต์ www.ddc.moph.go.th

๒.๓ วัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายของประเทศไทย หรือได้รับการรับรองจาก WHO หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด มีทั้งสิ้น ๗ ชนิด ได้แก่

(๑) วัคซีน CoronaVac ของบริษัท Sinovac (อย. ให้การรับรอง)

(๒) วัคซีน AZD 1222 ของบริษัท AstraZenaca/Oxford (อย. ให้การรับรอง)

(๓) วัคซีน AZD 1222 ของบริษัท Siam Bioscience /AstraZeneca/Oxford (อย. ให้การรับรอง)

(๔) วัคซีน Ad26.COV2.S ของบริษัท Johnson & Johnson (อย. ให้การรับรอง)

(๕) วัคซีนโทซินาเมแรน (Tozinameran) ของบริษัทไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค

(๖) วัคซีน Covishield ของ Serum Institute of India และ

(๗) วัคซีน mRNA-1273 ของบริษัท Moderna

๒.๔ การยกเลิกเอกสารสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป มีการผ่อนคลายมาตรการการขอเอกสารจากผู้เดินทางเข้าประเทศไทย ดังนี้

สำหรับคนไทย ยกเลิกการยื่นเอกสาร fit to fly certificate และใบตรวจผลโควิด-๑๙ แบบ RT-PCR

สำหรับชาวต่างชาติ ยกเลิกการยื่นเอกสาร fit to fly certificate แต่ยังต้องแสดงใบตรวจผลโควิด-๑๙ แบบ RT-PCR ภายใน ๗๒ ชั่วโมงก่อนเดินทาง

English Version

Starting 1st April 2021, Thailand will implement significant relaxation of Covid-19 measures for the entry into the Kingdom as follows:

For all travelers, Thais and non-Thais, fit to fly certificates are no longer required.

Travelers from countries without Covid-19 variants, with the certificate of Covid-19 vaccine approved by the Food and Drug Administration (FDA) of Thailand, or approved by WHO, or authorised by The Public Health Ministry will be quarantined upon arrival in Thailand for at least 7 days.

List of vaccines approved by the FDA, or approved by WHO, or authorised by The Public Health Ministry includes

(1) CoronaVac by Sinovac (approved by the FDA)

(2) AZD 1222 by AstraZenaca/Oxford (approved by the FDA)

(3) AZD 1222 by Siam Bioscience /AstraZeneca/Oxford (approved by the FDA)

(4) COV2.S by Johnson & Johnson (approved by the FDA)

(5) Tozinameran by Pfizer?BioNTech

(6) Covishield by Serum Institute of India

(7) mRNA-1273 by Moderna

Travelers from countries without Covid-19 variants, without the vaccine certificate must be quarantined upon arrival in Thailand for at least 10 days.

Travelers from countries with Covid-19 variants must be quarantined upon arrival in Thailand for at least 14 days.

List of countries with Covid-19 variants, as of now, includes 11 countries with Covid-19 variants, including South Africa, Zimbabwe, Mozambique, Botswana, Zambia, Kenya, Rwanda, Cameroon, Democratic Republic of Congo, Tanzania and Ghana. The list of countries will be updated monthly on the Ministry of Public Health website (moph.go.th).

๓. การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามทวงคืนทับหลังปราสาทหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ และทับหลังปราสาทเขาโล้น จ.สระแก้ว และโบราณวัตถุอื่น ๆ กลับคืน

สู่ประเทศไทย

๓.๑ กรณีการติดตามทวงคืนโบราณวัตถุ ๒ รายการ ได้แก่ ทับหลังจากปราสาทเขาโล้น จ.สระแก้ว และทับหลังจากปราสาทหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ ที่ถูกลักลอบนำออกจากประเทศไทยและถูกจัดแสดงอยู่ที่ Asian Art Museum นครซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

รัฐบาลได้ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นรองประธาน และอธิบดีกรมสารนิเทศเป็นกรรมการ

กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานกับกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด เพื่อขอรับข้อมูลการศึกษาทางวิชาการพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น รายงานการสำรวจของกรมศิลปากร ภาพถ่ายของทับหลังฯ ตัวอย่างเอกสารอนุญาตในการส่งออกโบราณวัตถุ เป็นต้น เพื่อใช้ในการสืบสวนสอบสวน จนสามารถพิสูจน์ได้ว่า โบราณวัตถุทั้ง ๒ รายการนั้นมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และได้ถูกลักลอบนำออกไปโดยผิดกฎหมาย

บัดนี้ คดีความเสร็จสิ้นแล้ว โดยพิพิธภัณฑ์ฯ ได้ดำเนินการถอดถอนรายการทับหลังทั้งสองออกจากบัญชีของพิพิธภัณฑ์ฯ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ และวันที่ ๒ เมษายน นี้ รัฐบาลกลางสหรัฐฯ จะยึดทับหลังทั้งสองรายการ เพื่อนำส่งคืนให้แก่ผู้แทนรัฐบาลไทยผ่านกรอบการดำเนินงาน Victim Remission Program ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ต่อไป โดยจะมีพิธีส่งมอบโบราณวัตถุทั้ง ๒ รายการให้แก่ฝ่ายไทย อย่างเป็นทางการต่อไปในโอกาสแรก

ขณะนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมพร้อมรับมอบโบราณวัตถุจากฝ่ายสหรัฐฯ รวมทั้งได้ประสานกับบริษัทขนส่งที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในการขนส่งโบราณวัตถุกลับคืนสู่ประเทศไทย

กระทรวงการต่างประเทศขอขอบคุณสำนักงานอัยการสหรัฐฯ สำนักงานสืบสวนเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Homeland Security Investigations) สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส และกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ที่ผลักดันติดตามทวงคืนโบราณวัตถุสำคัญทั้ง ๒ รายการกลับคืนสู่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ และคดีนี้ถือว่า เป็นคดีตัวอย่างในการติดตามคืนโบราณวัตถุชิ้นอื่น ๆ ของไทยในความครอบครองของพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในสหรัฐฯ ต่อไป

๓.๒ กรณีการติดตามพระพุทธรูป ๑๓ รายการ

พระพทุธรูปทั้ง ๑๓ องค์เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ศิลปะสุโขทัยและอยุธยา โดยหลายชิ้นเป็นงานโลหะสำริด รวมถึงรูปเคารพศิลปะศรีวิชัย ทางภาคใต้ของไทย ได้ถูกลักลอบนำออกจากประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย และถูกนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในนครนิวยอร์ก

ขณะนี้ การดำเนินคดีสิ้นสุดแล้วเช่นกัน ทางฝ่ายสหรัฐฯ อยู่ระหว่างกระบวนการเตรียมการส่งมอบพระพุทธรูปทั้ง ๑๓ องค์ คืนให้แก่ผู้แทนรัฐบาลไทย กระทรวงการต่างประเทศจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับกรมศิลปากร และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เพื่อตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง และจะมอบผู้แทนของรัฐบาลไทย เพื่อรับมอบโบราณวัตถุทั้ง ๑๓ รายการ เพื่อนำกลับคืนสู่ประเทศไทยต่อไป

๔. ท่าทีของไทยต่อสถานการณ์ในเมียนมา การให้ความช่วยเหลือคนไทยในเมียนมา และการชี้แจงกรณีผู้หนีภัยความไม่สงบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา

๔.๑ ท่าทีของไทยต่อสถานการณ์ในเมียนมา

เกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมาในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แน่นอน ประเทศไทยย่อมไม่สบายใจอย่างมากต่อรายงานการเสียชีวิตและบาดเจ็บที่เพิ่มมากขึ้นในหมู่ประชาชนเมียนมา จึงอยากขอให้ทางการเมียนมาใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างมากในการดำเนินการใด ๆ รวมถึงการคลี่คลายสถานการณ์ ยุติการใช้ความรุนแรง และปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวเพิ่มขึ้น และขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องพยายามร่วมกันหาทางออกโดยสันติวิธี เพื่อเมียนมาและประชาชนเมียนมา ด้วยการพูดคุยผ่านช่องทางที่สร้างสรรค์ใด ๆ ก็ได้ ที่สะดวกโดยเร็ว

ประเทศไทยกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งรวมถึงเมียนมาเพื่อให้ได้มาซึ่งสันติภาพที่ยั่งยืนสำหรับประชาชนเมียนมาและเพื่อให้เมียนมากลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุดที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ เมียนมาที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ ความเป็นปึกแผ่นและความเจริญรุ่งเรืองจะเป็นประโยชน์ ไม่เฉพาะสำหรับเมียนมา แต่สำหรับอาเซียน ภูมิภาค และนอกภูมิภาคด้วย

English version

Regarding the recent situation in Myanmar, Thailand is gravely troubled by the reports of more casualties among the Myanmar people during this past weekend. We reiterate our call for the exercise of utmost restraint, de-escalation of situation, end to violence, and further release of detainees. We once again urge all parties concerned to work towards a peaceful solution for Myanmar and its people through dialogue via any constructive means.

Thailand is working closely with our ASEAN partners that include Myanmar to achieve a sustainable peace for the Myanmar people and for the country to return to normalcy as soon as practicable. A peaceful, stable, unified, and prosperous Myanmar will be a boon not only for Myanmar, but also for ASEAN, the region, and beyond.

๔.๒ การให้ความช่วยเหลือคนไทยในเมียนมา

กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้งว่า สถานการณ์ในกรุงย่างกุ้งยังไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมาก ยังมีการประท้วงและการปะทะกันเป็นจุด ๆ อย่างไรก็ดี ยังสามารถจัดหาอาหารและข้าวของต่าง ๆ ได้สะดวก ไม่ขาดแคลน

อย่างไรก็ดี กระทรวงการต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง มีการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมช่วยเหลืออพยพคนไทยไว้อยู่แล้ว และมีการประเมินสถานการณ์ทุกวัน โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ร่วมกับทีมประเทศไทย กรุงย่างกุ้ง รวมถึงผู้แทนชุมชนไทยและภาคธุรกิจไทย มีการประชุมหารือสถานการณ์กันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการปรับปรุง ซักซ้อมแผนการอพยพคนไทยมาโดยตลอดให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในปัจจุบันและด้วยความรอบคอบรัดกุม

ขณะนี้จากการประเมินสถานการณ์ในเมียนมา ยังไม่ถึงระดับที่ต้องเตือนให้มีการอพยพกลับไทย แต่หากสถานการณ์มีการยกระดับขึ้นอีก ฝ่ายไทยก็ได้มีการเตรียมความพร้อมไว้แล้วในทุกขั้นตอน

สำหรับการอำนวยความสะดวกคนไทยในเมียนมาในการเดินทางกลับประเทศไทยทางอากาศในช่วงสถานการณ์โควิด-๑๙ ประจำเดือนเมษายนนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ประสานจัดเที่ยวบินออกจากเมียนมาให้คนไทย จำนวน ๓ เที่ยวบิน ได้แก่ ในวันที่ ๖ เมษายน ๒ เที่ยวบิน และวันที่ ๙ เมษายน ๑ เที่ยวบิน สำหรับคนไทยในเมียนมาที่ประสงค์จะเดินทางกลับในเที่ยวบินวันดังกล่าว สามารถติดต่อ

สถานเอกอัครราชทูตฯ ตามช่องทางการติดต่อต่าง ๆ ปรากฎรายละเอียดตาม powerpoint

กระทรวงการต่างประเทศขอยืนยันว่า การให้ความช่วยเหลือ ดูแลสวัสดิภาพของคนไทยในเมียนมา รวมถึงในทุกประเทศทั่วโลก เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุด และกระทรวงไม่เคยนิ่งนอนใจในเรื่องดังกล่าว โดยข้าราชการของกระทรวงทุกคนตระหนักดีถึงหน้าที่นี้และดำเนินการอย่างเต็มกำลังความสามารถมาโดยตลอด

๔.๓ กรณีผู้หนีภัยความไม่สงบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา

ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ มีประชาชนชาวเมียนมาเชื้อสายกะเหรี่ยงได้หนีภัยการสู้รบข้ามมาฝั่งไทยด้าน จ. แม่ฮ่องสอน ในพื้นที่ อ.แม่สะเรียง ซึ่งเป็นผลจากการปะทะใน ห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาระหว่างฝ่ายรัฐบาลทหารเมียนมากับกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union: KNU)

ฝ่ายไทยได้ติดตามพัฒนาการของสถานการณ์ในเมียนมาและบริเวณแนวชายแดนอย่างใกล้ชิดมาระยะหนึ่งแล้ว และได้ประเมินสถานการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่อง สำหรับนโยบายต่อกลุ่มผู้หนีภัยเข้ามาในไทย ขอให้มั่นใจว่า ไทยมีประสบการณ์ในการรับมือกับกลุ่มผู้อพยพเข้าไทยด้วยเหตุผลต่าง ๆ จากประเทศเพื่อนบ้านมาอย่างยาวนาน และได้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มต่าง ๆ ที่หนีภัยการสู้รบหรือสถานการณ์ความไม่สงบจากประเทศเพื่อนบ้าน ตามหลักมนุษยธรรมและหลักสากลระหว่างประเทศมาโดยตลอด

สำหรับความห่วงกังวลหากจะมีผู้หนีภัยข้ามมายังฝั่งไทยเป็นจำนวนมากจากสถานการณ์ในขณะนี้นั้น ฝ่ายความมั่งคงและจังหวัดตามแนวชายแดนได้มีการเตรียมพร้อมทั้งแนวปฏิบัติและสถานที่รองรับไว้แล้ว รวมทั้งมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่มีมาโดยตลอดตั้งแต่ช่วงที่เริ่มมีการแพร่ระบาดฯ

เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔ ฝ่ายไทยได้ให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่ ผู้หนีภัยฯ ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์สู้รบในเมียนมา จำนวน ๗ คน โดยมีรถพยาบาลของ รพ.สบเมยฯ จำนวน ๖ คัน มารอรับและส่งไปรักษาพยาบาลที่ รพ.สบเมยฯ ทั้งนี้ ทุกจุดที่รับผู้หนีภัยความไม่สงบ จะยังคงค้างเฉพาะผู้ป่วย เด็ก และคนแก่ เนื่องจากเดินทางกลับไม่ทัน จะขอกลับในวันรุ่งขึ้น โดยทุกคนมีความประสงค์อยากกลับ แต่ยังเกรงกลัวภัยจากการรบทางอากาศ ซึ่งหน่วยงานในพื้นที่ก็ได้พูดคุยทำความเข้าใจกันเรียบร้อยแล้ว โดยให้ความสำคัญดูแลกลุ่มเปราะบางให้มีความพร้อมและเป็นไปตามความประสงค์

จำนวนผู้หนีภัยชาวเมียนมาในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ มีจำนวนทั้งหมด ๒,๗๘๘ คน โดยได้เดินทางกลับไปแล้ว ๒,๕๗๒ คน และยังคงเหลือในประเทศไทยอีก ๒๑๖ คน ส่วนมากเป็นเด็ก สตรี คนชรา และผู้ป่วย ซึ่งยังทยอยเดินทางกลับอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน ๗ คน ซึ่งได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ โรงพยาบาลแม่สะเรียง และโรงพยาบาลสบเมย และทุกรายตรวจเชื้อโควิด-๑๙ แล้วมีผลเป็นลบทั้งหมด

English Version

As an immediate neighbour, Thailand has been monitoring closely the developments in Myanmar for some time now.

Thailand has experienced various influxes of people from its neighbouring countries for a variety of reasons over many decades. In the past, we have always assisted groups fleeing fighting and unrest based on our humanitarian tradition and internationally accepted principles.

At this particular time, rest assured that the agencies on the ground have made appropriate preparations, including in discussing standard operating procedures and potential holding areas to accommodate any possible movements. It should also be noted that COVID-19 prevention measures have always been in place in the border areas for quite some time.

On deportation - Thailand has long been committed to our humanitarian tradition. We respect our international obligations and uphold our domestic laws in addressing the situation of those seeking to enter Thailand, including due to unrest or fighting. Once the situation settles and it is safe to do so, groups can voluntarily return, but will not be forced to do so if there are substantiated claims of danger.

On recent reports of pushback (29 Mar 2021) ? Certain news reports alleging that some Karens who fled in to Thailand have been forced to return to Myanmar territory are incorrect. Those reports cite information solely from non-official sources without confirming the facts from offcial sources on the ground which affirmed that no such ?pushback? took place. In fact, the Thai authorities will continue to look after those on the Thai side while assessing the evolving situation and the needs on the ground.

At the same time, should the Karens choose to do so, the Thai side will not prevent them from returning to their homes. Based on information gathered and assessed by our security agencies on the ground, the Thai side also interviews all of those deciding to return of their own choice, to ensure they feel safe enough to do so. The fact that a number remain on the Thai side clearly reflects that we continue to accommodate the rest.

๕. โครงการตรวจวัดสายตาและให้ความรู้เกี่ยวกับสายตา เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ ๗๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย ? ลาว

สถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต ร่วมกับภาคเอกชนไทยและ สปป.ลาว จัดโครงการตรวจวัดสายตาและให้ความรู้เกี่ยวกับสายตาฟรี รวมทั้งได้มอบแว่นตาฟรีให้แก่ประชาชน สปป.ลาว กว่า ๑,๘๐๐ คน ที่บ้านเซบังนวน บ้านคำสะหว่าง และบ้านดอนใหญ่ เมืองสองคอน แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว

นอกจากนี้ ยังร่วมกับภาคเอกชนไทยสนับสนุนเจลล้างมือ หน้ากากอนามัย น้ำตาเทียม และอาหารแห้งสำหรับผู้มารับบริการ รวมทั้งการมอบอุปกรณ์การเรียนและอุปกรณ์กีฬาสำหรับโรงเรียนที่พานักเรียนมารับบริการ ได้แก่ โรงเรียนประถมสมบูรณ์ และโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์บ้านเซบังนวน และโบสถ์บ้านคำสะหว่างด้วย

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบครบรอบ ๗๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย ? สปป.ลาว ซึ่งจะมีส่วนช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชนลาว รวมทั้งเสริมสร้างสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างประชาชนไทยและลาวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป

๖. ประชาสัมพันธ์

๖.๑ รายการคุยรอบโลกกับโฆษก กต. - Spokesman Live!!! วันศุกร์ที่ ๑ เมษายน เวลา ๑๕.๓๐ ? ๑๖.๐๐ น. ขอเชิญติดตามชม รายการ ?คุยรอบโลกกับโฆษก กต? Spokesman Live!!! จะสัมภาษณ์ดร. สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และนายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เรื่อง ?การเชื่อมโยงขอนแก่นและภาคอีสานกับประเทศเพื่อนบ้านและต่างประเทศ? ติดตามรับชมได้ทาง Facebook ?กระทรวงการต่างประเทศ? และ ?Saranrom Radio?

๖.๒ งาน Local to Global: Visions of Isan วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๔

ในวันที่ ๒ เมษายน กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จะจัดงานนำเสนอท้องถิ่นสู่สากลภายใต้ชื่อ ?Local to Global : Visions of Isan? ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อนำเสนอศักยภาพและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในระดับท้องถิ่นของกลุ่มจังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด หนองคาย และมุกดาหาร สู่ตลาดต่างประเทศ โดยผลักดันท้องถิ่นไทยให้กลายเป็นผู้เล่นสำคัญที่สามารถสานต่อและพัฒนาศักยภาพของตนเองในตลาดต่างประเทศได้

โดยนายดอน ปรมัตถ์นัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานกล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการ พร้อมด้วยพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และได้เชิญคณะทูตต่างประเทศประจำประเทศไทยเข้าร่วมด้วย

ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเสวนา เวลา ๑๓.๓๐ น. - ๑๗.๐๐ น. ใน ๓ หัวข้อ ได้แก่ ?อีสานก้าวหน้า ทูตพาไปสากล ?อีสานครบเครื่อง มุ่งหน้าสู่สากล และ?อีสานทีเด็ด เจาะตลาดสากล ผู้ที่สนใจสามารถสำรองที่นั่งเข้าร่วมงานได้ทาง https://thailocaltoglobal.com/register หรือติดตามชมการเสวนาได้ทาง Facebook Live ?กระทรวงการต่างประเทศ? และ ?GlobThailand?

นอกจากนี้ ยังมีการจัดนิทรรศการออนไลน์ (virtual exhibition booths) บนเว็บไซต์ thailocaltoglobal.com ซึ่งจะแสดงศักยภาพผู้ประกอบการท้องถิ่นจาก ๖ จังหวัด

๗. ช่วงถาม ? ตอบ

๗.๑ ทับหลังจากปราสาทเขาโล้น จ.สระแก้ว และทับหลังจากปราสาทหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ จะนำส่งถึงเมืองไทยเมื่อไหร่

คาดว่าถึงประเทศไทยภายในเดือนเมษายน ๒๕๖๔ เนื่องจากกระบวนการเหลือเพียงการส่งมอบและประสานกับบริษัทขนส่งที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเพื่อนำกลับมา โดยอาจมีพิธีรับมอบวัตถุโบราณที่นครลอสแอนเจลิส หรือนครนิวยอร์กก่อน และจัดพิธีรับมอบอย่างเป็นทางการอีกครั้งที่ประเทศไทย โดยกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กำลังประสานงานกับกรมศิลปากร

๗.๒ มีข่าวว่ากองทัพอากาศได้จัดเตรียมเครื่องบิน ๘ ลำ เพื่ออพยพคนไทยจากเมียนมา กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานหรือไม่

กระทรวงการต่างประเทศยังไม่ได้รับแจ้งในเรื่องดังกล่าว แต่กระทรวงการต่างประเทศมีการเตรียมพร้อมในเรื่องดังกล่าวอยู่โดยตลอด

๗.๓ กรณีที่มีนางงามเมียนมา (Miss Grand Myanmar) ออกมาเรียกร้องและเคลื่อนไหวและประสงค์จะพำนักที่ประเทศไทยต่อ ทางการไทยมีความกังวลหรือไม่

ไม่มีความกังวลแต่อย่างใด เนื่องจากการขออยู่ต่อในประเทศไทยเป็นเรื่องของกระบวนการของการตรวจลงตรา ทั้งนี้ ทางกระทรวงการต่างประเทศยังไม่ได้รับการติดต่อจากสถานเอกอัครราชทูตเมียนมาแต่อย่างใด

๗.๔ จากการที่มีรายงานว่ามีการปะทะเพิ่มขึ้นตามแนวชายแดนไทย ? เมียนมา กระทรวงการต่างประเทศมีมาตรการรองรับอย่างไร

ขณะนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ทำงานใกล้ชิดกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยงานความมั่นคงอื่น ๆ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวก็ได้ติดตามสถานการณ์ตามแนวชายแดนอย่างใกล้ชิด และมีมาตรการรองรับแล้ว

อนึ่ง ประเทศไทยเคารพในหลักการไม่ผลักดันกลับผู้ที่หนีการประหัตประหารเข้าประเทศ และปฏิบัติต่อผู้ที่เข้ามาในประเทศตามหลักมนุษยธรรม แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ แต่ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ประเทศไทยดูแลกลุ่มผู้หนีภัยจากการสู้รบจากประเทศเพื่อนบ้านด้วยดีมาตลอด และมีค่ายพักพิงชั่วคราวสำหรับกลุ่มผู้หนีภัยการสู้รบที่เข้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จำนวนกว่า ๘๐,๐๐๐ คน ตามแนวชายแดนอยู่หลายแห่ง เมื่อเหตุการณ์สงบ ได้มีการส่งผู้ที่สมัครใจกลับไป และบางส่วนก็ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศที่สาม โดยเมื่อเห็นว่าสถานการณ์ปลอดภัยพอที่จะกลับไปได้ ผู้หนีภัยส่วนใหญ่จะสมัครใจที่จะกลับประเทศ

๗.๕ Do you have numbers of how many Thai artifacts are located in museum around the world? What are plans to bring them back?

We do not have any additional information on artifacts besides this two pieces and 15-20 items which are in the process of being return to Thailand within the next 6 months.

๗.๖ On the complementarities between ASEAN Visions and SDGs, it seems like the SDGs and ASEAN Visions have been overtaken by challenging events such as Covid-19 and situations in Myanmar. Is there any plan to come up with the new draft of ASEAN Visions, or will there be any reform?

Currently, there is no plan to rewrite the ASEAN Visions. In Fact, Covid-19 has highlighted the importance of SDGs and ASEAN cooperation such as healthcare. Hence, we have to deepen our cooperation on many of these issues.

ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ