ผลการแถลงข่าวประจำสัปดาห์
วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น.
ผ่านการถ่ายทอดสดทาง Facebook กระทรวงการต่างประเทศ
- กระทรวงการต่างประเทศขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน รวมทั้งเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทั่วโลกที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังและความสามารถเพื่อช่วยเหลือคนไทยและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ รวมถึงพี่น้องประชาชนที่ปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดเพื่อลดการแพร่ระบาด
- นอกจากนี้ เนื่องในวันแรงงานที่จะมาถึงในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ขอให้กำลังใจแรงงานทุกภาคส่วน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และมุ่งมั่นที่ที่จะฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน
๑. ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา และสมาชิกคณะกรรมการบริหารขององค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ
เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๔ รัฐสมาชิกคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council ? ECOSOC) มีมติเลือกให้ไทยดำรงตำแหน่งสมาชิกในคณะกรรมการที่ไทยลงสมัคร ๒ คณะ ได้แก่
(๑) สมาชิกคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (UN Commission on Crime Prevention and Criminal Justice - CCPCJ) วาระปี ค.ศ. ๒๐๒๒ ? ๒๐๒๔ โดยไทยได้รับเลือกตั้งร่วมกับประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อีก ๔ ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน อินเดีย ปากีสถานและกาตาร์ แสดงให้เห็นว่า ไทยได้รับความเชื่อมั่นจากนานาประเทศและมีบทบาทเป็นที่ยอมรับในระดับสากลทางด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา โดยไทยได้รับเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องมากว่า ๒๐ ปี
(๒) สมาชิกคณะกรรมการบริหาร (Executive Board) ขององค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Entity for Gender Equality and the Empowerment of Women - UN Women) โดยไทยได้รับเลือกตั้งร่วมกับประเทศสมาชิกกลุ่มภูมิภาคเอเชีย ? แปซิฟิก อีก ๔ ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ อินเดีย และเติร์กเมนิสถาน
การได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกในคณะกรรมการบริหารของ UN-WOMEN ช่วยให้ไทยได้แสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศ มีส่วนร่วม และเป็นที่ยอมรับในการพัฒนานโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสตรีระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ การเพิ่มพลังของสตรีในประเทศไทย และตอบสนองต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติของไทยอีกด้วย
๒. นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) สมัยที่ ๗๗
เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๔ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร่วมกล่าวเปิดการประชุมประจำปีของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) สมัยที่ ๗๗ ผ่านการบันทึกวีดิทัศน์
นายกรัฐมนตรีได้แสดงวิสัยทัศน์การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในยุคหลังวิกฤตโควิด-๑๙ และร่วมเสนอแนวทางเพื่อการฟื้นฟูจากวิกฤตให้กลับมาดีกว่าเดิม (Build Back Better)
นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำความจำเป็นที่ประเทศสมาชิก และทุกภาคส่วนของสังคม จะเสริมสร้างหุ้นส่วน ความร่วมมือระหว่างกันในการฟื้นตัวจากวิกฤตให้กลับมาดีและเข้มแข็งกว่าเดิม มีความต้านทานต่อภัยพิบัติในอนาคต ต่อต้านอคติและความรุนแรงบนพื้นฐานทางเชื้อชาติ เพศ และความแตกต่างทางการเมือง และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รวมถึงการปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่สร้างความสมดุล ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้นำเสนอโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG) Economy Model) ซึ่งเป็นแนวทางที่ไทยจะใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสร้างความเติบโตที่ยั่งยืนต่อไป พร้อมขอให้ทุกประเทศให้ความสำคัญกับประเด็น ดังนี้ (๑) การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสาธารณสุข เช่น การส่งเสริมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการบูรณาการ ?หลักการกรุงเทพฯ? เพื่อดำเนินการด้านสาธารณสุขในบริบทของการรับมือต่อภัยพิบัติ (๒) การเพิ่มความเข้มแข็งให้กับระบบคุ้มครองทางสังคม (๓) การส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและดิจิทัลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศ
๓. การประชุมผู้นำอาเซียน (ASEAN Leaders? Meeting) ณ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา
เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๔ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียน (ASEAN Leaders? Meeting) ในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ ในฐานะประธานอาเซียนปี ๒๕๖๔ เป็นประธานการประชุม
การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุมครั้งแรกที่ผู้นำอาเซียนได้มีโอกาสพบปะกันด้วยตนเองในรอบกว่า ๑ ปีตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙
ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าของประชาคมอาเซียนและสนับสนุนการทำหน้าที่ประธานอาเซียนของบรูไนฯ ภายใต้หัวข้อหลัก ?เราห่วงใย เราเตรียมพร้อม เรารุ่งเรือง? (We care, We prepare, We prosper) ตลอดจนหารือเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือของอาเซียนในการรับมือกับโควิด-๑๙ โดยบรูไนฯ และเมียนมาได้ประกาศสมทบกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือโควิด-๑๙ ซึ่งเป็นข้อริเริ่มของไทย ประเทศละ ๑๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ ในการนี้ ไทยได้เสนอแนะให้อาเซียนใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นยุทธศาสตร์ทางเลือกเพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในยุคหลังโควิด-๑๙
ที่ประชุมยังได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสถานการณ์ในเมียนมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามร่วมกันของอาเซียนเพื่อมุ่งแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาในเมียนมาซึ่งเป็นสมาชิกครอบครัวอาเซียนและรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
ไทยได้เสนอให้อาเซียนพิจารณาจัดตั้งกลุ่ม ?Friends of the Chair? เพื่อช่วยประสานงานการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาในเมียนมา โดยยึดแนวทาง D4D ได้แก่ (๑) การยุติความรุนแรง (de-escalate violence) (๒) การจัดส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (delivery of humanitarian assistance) (๓) การปล่อยตัวผู้ถูกคุมขัง (discharge of detainees) และ (๔) การหารือ (dialogue) ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการพัฒนา (development) อย่างยั่งยืนในเมียนมา เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเมียนมา
ภายหลังการประชุม บรูไนฯ ในฐานะประธานอาเซียนได้ออกแถลงการณ์ของประธาน โดยระบุประเด็นที่อาเซียนเห็นชอบร่วมกันเพื่อแก้ไขสถานการณ์ในเมียนมา ๕ ประการ ได้แก่ (๑) การยุติความรุนแรงและการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจ (๒) การหารืออย่างสร้างสรรค์ระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวเมียนมา (๓) ผู้แทนพิเศษ (Special Envoy) ของประธานอาเซียนจะช่วยอำนวยความสะดวกกระบวนการหารือโดยการสนับสนุนของเลขาธิการอาเซียน (๔) อาเซียนจะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผ่าน AHA Centre (ศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ: ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on disaster management) (๕) ผู้แทนพิเศษและคณะจะเดินทางไปเมียนมาเพื่อพบกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(English version)
On 24 April 2021, H.E. Mr. Don Pramudwinai, Deputy Prime Minister and Minister of Foreign Affairs of Thailand, as the Special Envoy of H.E. the Prime Minister, attended the ASEAN Leaders? Meeting at the ASEAN Secretariat, Jakarta. The meeting was chaired by His Majesty Sultan Hassnal Bolkiah of Brunei Darussalam, the current ASEAN Chair. It was the first time that ASEAN Leaders were able to meet in person in over a year since the outbreak of COVID-19.
The Meeting discussed progress of the ASEAN Community and expressed full support to Brunei?s ASEAN Chairmanship under the theme ?We care, We prepare, We prosper?. The meeting also reiterated the importance of strengthening ASEAN cooperation on COVID-19 response and welcomed Brunei?s and Myanmar?s contribution of USD 100,000 each to the ASEAN COVID-19 Response Fund. The Meeting had a frank discussion and exchanged views on regional and international issues of common concerns, including the situation in Myanmar. The Meeting demonstrated ASEAN?s collective efforts in achieving a peaceful resolution as well as maintaining regional peace and stability. The Meeting emphasised the the importance of ASEAN?s constructive role in assisting Myanmar to return to normalcy.
In this regard, Thailand proposed the establishment of a core group or the ?Friends of the Chair? to help coordinate ASEAN?s efforts in addressing the situation in Myanmar. DPM/FM also suggested the ?D4D? concept as the way forward for Myanmar namely, through: (1) de-escalating violence; (2) delivering humanitarian assistance; (3) discharge of detainees; and (4) dialogue, all of which will contribute to development in Myanmar.
Brunei Darussalam, as the Chair of ASEAN, also issue the Chairman?s Statement attached by the 5-point consensus as follows: (1) the immediate cessation of violence and the exercise of restraints by all sides; (2) constructive dialogue among all parties concerned; (3) a special envoy of the ASEAN Chair to facilitate mediation process; (4) humanitarian assistance through AHA Centre; and (5) the special envoy and delegation?s visit to Myanmar to meet with all parties concerned.
๔. การหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย ผ่านระบบทางไกล
๔.๑ การหารือกับนายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๔
ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการจัดหาวัคซีนต้านโควิด-๑๙ โดยฝ่ายจีนได้แสดงความประสงค์ที่จะบริจาควัคซีนต้านโควิด-๑๙ จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ โดส ซึ่งต่อมากระทรวงสาธารณสุขไทยได้ตอบรับข้อเสนอบริจาคดังกล่าวแล้ว โดย คาดว่าจะมีพิธีส่งมอบในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔
ฝ่ายไทยได้ติดตามการพิจารณาของฝ่ายจีนต่อคำขอให้นักศึกษาไทยสามารถเดินทางกลับไปศึกษาต่อที่จีน ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายได้หารือร่วมกันในการเยือนไทยของมนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๖๓
ทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมา โดยเห็นพ้องกันว่าในฐานะประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมา ไทยและจีนต่างมุ่งหวังที่จะเห็นเมียนมากลับมามีเสถียรภาพและกลับสู่สภาวะปกติ โดยฝ่ายจีนได้สนับสนุนไทยและอาเซียนอย่างเต็มที่ต่อความพยายามที่จะมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับเมียนมาและสนับสนุนการหารือเพื่อหาทางออกต่อสถานการณ์ร่วมกันอย่างสันติ รวมถึงการจัดการประชุมของผู้นำอาเซียนด้วย ฝ่ายไทยขอบคุณฝ่ายจีนที่สนับสนุนความพยายามของอาเซียนในครั้งนี้
ฝ่ายไทยได้ตอบรับคำเชิญเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีนสมัยพิเศษ ในโอกาสการครบรอบ ๓๐ ปีความสัมพันธ์อาเซียน - จีน และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ ๖ ซึ่งจีนจะเป็นเจ้าภาพในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔
๔.๒ การหารือกับนายฌอง-อีฟว์ เลอ ดริยอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการยุโรปและการต่างประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๔
ทั้งสองฝ่ายย้ำถึงความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสที่มีอย่างนานกว่า ๓๓๖ ปี รวมถึงผลสำเร็จของการพบหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่ฝรั่งเศสเมื่อปี ๒๕๖๑
ทั้งสองฝ่ายยืนยันความมุ่งมั่นในการจัดทำ Roadmap ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส ปี ค.ศ. ๒๐๒๑-๒๐๒๓ ซึ่งจะครอบคลุมความร่วมมือทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจรวมไปถึงความร่วมมือเพื่อการพัฒนา และมีเป้าหมายเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายไปสู่ระดับหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภายในปี ๒๕๖๖
รับทราบความสำคัญที่ฝรั่งเศสให้แก่ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกในสหภาพยุโรปที่ได้เผยแพร่แผนยุทธศาสตร์ต่ออินโด-แปซิฟิก รวมถึงให้ความสำคัญกับไทยในฐานะที่เป็นประเทศที่มีชุมชนชาวฝรั่งเศสอาศัยมากเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชีย
ฝ่ายฝรั่งเศสได้แสดงความห่วงกังวลของฝรั่งเศสและอียูต่อสถานการณ์ในเมียนมา รวมทั้งได้ยืนยันความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนบทบาทของไทยและอาเซียนในฐานะที่ฝรั่งเศสเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของอาเซียน ซึ่งฝ่ายไทยขอบคุณที่ฝ่ายฝรั่งเศสเชื่อมั่นในบทบาทของไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมาและบทบาทของไทยในอาเซียนในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในเมียนมา
๔.๓ การหารือกับนางมาริส เพน (Marise Payne) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๔
ฝ่ายไทยได้ขอบคุณฝ่ายออสเตรเลียสำหรับงานเปิดตัววีดิทัศน์สารคดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงศึกษาในเครือรัฐออสเตรเลียที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
ทั้งสองฝ่ายยืนยันจะเพิ่มพูนความร่วมมือทวิภาคีในด้านต่าง ๆ อาทิ สาธารณสุข การศึกษาและเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งการจัดหาวัคซีน ภายใต้แผนปฏิบัติการของความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) ไทย-ออสเตรเลีย
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการประชุมผู้นำอาเซียนเรื่องเมียนมา และพัฒนาการอื่น ๆ ในกรอบภูมิภาคและอนุภูมิภาค รวมถึงข้อเสนอของออสเตรเลียเรื่องการยกระดับความสัมพันธ์อาเซียน-ออสเตรเลียเป็นหุ้นส่วนแบบยุทธศาสตร์รอบด้าน (Comprehensive Strategic Partnership) และการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี ๒๕๖๕ ซึ่งไทยจะนำเสนอเรื่องแนวการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG
๕. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ? อินเดีย
เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๔ นายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ ๒๓ ร่วมกับนางริว่า กันกูลี ดัส ปลัดกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย (ฝ่ายกิจการตะวันออก) ผ่านระบบการประชุมทางไกล
ที่ประชุมฯ ได้หารือเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับอินเดีย ในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับมือและการฟื้นตัวจากโควิด-๑๙ ซึ่งรวมถึงความร่วมมือด้านวัคซีนและยา การพัฒนาด้านดิจิทัล นอกจากนี้ อินเดียได้เสนอที่จะประกาศให้ปี ๒๕๖๕ เป็น ?ASEAN-India Friendship Year? (ปีมิตรภาพอาเซียน-อินเดีย) เพื่อฉลองการครบรอบความสัมพันธ์ที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งโอกาสครบรอบ ๓๐ ปี ของความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดียด้วย
ที่ประชุมฯ ย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความมั่นคงในภูมิภาค และการยึดมั่นในระบบการค้าพหุภาคีและการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน พร้อมทั้งผลักดันการส่งเสริมความเชื่อมโยง โดยเฉพาะการเร่งรัดโครงการทางหลวงสามฝ่ายอินเดีย-เมียนมา-ไทย รวมถึงส่วนขยายไปยัง สปป. ลาว กัมพูชาและเวียดนาม
ที่ประชุมฯ ยังได้เห็นพ้องถึงความสำคัญของการส่งเสริมบรรยากาศแห่งสันติภาพ ความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค ผ่านการดำเนินความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ภายใต้มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก และข้อริเริ่ม Indo-Pacific Oceans? Initiatives ของอินเดีย
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวนำภายใต้หัวข้อ ?การพัฒนาที่ยั่งยืนและการลดช่องว่างการพัฒนา? ในบริบทที่โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ โดยผลักดันความร่วมมือที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีใน ๓ ด้าน ได้แก่ (๑) ความมั่นคงของมนุษย์ (๒) การพัฒนาสีเขียว โดยเสนอโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นแนวทางในการพัฒนา และ (๓) การพัฒนาดิจิทัล ?
๖. สปป. ลาวยกเลิกการห้ามนำเข้าอาหารทะเลสดและแช่แข็งจากประเทศที่มีการระบาดของโควิด-๑๙
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว ได้ออกประกาศ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๓ ให้ยุติการนำเข้าอาหารทะเล (สดและแช่แข็ง) ที่มาจากทุกประเทศที่มีการระบาดของโรคโควิด-๑๙ ชั่วคราว (รวมถึงประเทศไทย) โดยกระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไทยได้ดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๔ คณะเฉพาะกิจรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ กระทรวงอุตสาหกรรมฯ สปป.ลาว ได้แจ้งยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าอาหารทะเล (สดและแช่แข็ง) ที่มาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคโควิด-๑๙ ชั่วคราว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป ทั้งนี้ สปป.ลาว อนุญาตให้นำเข้าและนำผ่านอาหารทะเล ผ่านด่านสากลเท่านั้น และต้องมีเอกสารรับรองสุขอนามัยจากประเทศต้นทาง และปฏิบัติตามเงื่อนไขด้านกสิกรรมและป่าไม้อย่างเข้มงวด
การยกเลิกมาตรการดังกล่าวส่งผลให้ไทยสามารถส่งออกอาหารทะเลสดและแช่แข็งมายัง สปป.ลาวได้ รวมทั้งไทยและประเทศอื่น ๆ สามารถส่งผ่านอาหารทะเลจาก สปป.ลาวไปยังประเทศที่สามด้วย โดยกระทรวงการต่างประเทศ ได้แจ้งประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไปแล้ว
๗. สถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา และการให้ความช่วยเหลือคนไทยในพื้นที่และผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา
เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๔ ได้มีเหตุกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ร่วมกันกับกองกำลังจากกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) เข้าโจมตีฐานที่มั่นของทหารเมียนมาบริเวณใกล้ชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน จ.แม่ฮ่องสอน
การปะทะและการโจมตีทางอากาศตอบโต้จากฝ่ายทหารเมียนมา ได้ดำเนินต่อเนื่องมาถึงวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๔ ทำให้มีราษฎรไทยที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบในประเทศเมียนมา ใน ๒ พื้นที่ ได้แก่ บ.แม่สามแลบ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย และ บ.ท่าตาฝั่ง ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง ได้อพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที้เข้าอำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือโดยล่าสุดได้รับรายงานว่ามีจำนวนคงเหลือ ๒๒๐ ราย นอกจากนี้ มีราษฎรที่อาศัยใน บ.แม่สามแลบ ถูกกระสุนได้รับบาดเจ็บ ๑ ราย ซึ่งได้รับการนำตัวไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน แล้ว
ในกรณีผู้หนีภัยความไม่สงบจากเมียนมา หลบหนีข้ามฝั่งมายังฝั่งไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ดำเนินการตามที่ได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว โดยจะดำเนินการนำผู้หนีภัยความไม่สงบจากเมียนมา พักรอในพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว (พื้นที่แรกรับ) ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของทางทหาร โดยจะมีการคัดกรองโควิด?๑๙ ตามมาตรฐานทางสาธารณสุข
ในขณะนี้ มีผู้หนีภัยความไม่สงบจากเมียนมาที่เดินทางข้ามมายังฝั่งไทย พักอยู่ในพื้นที่แรกรับ ๓ แห่งใน อ.แม่สะเรียง คงเหลือทั้งสิ้น ๒,๒๖๗ คน (สถานะวันที่ ๓๐ เม.ย. ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ น.)
โดยหากกรณีการสู้รบมีความรุนแรงและยืดเยื้อต่อไป ก็ได้มีการเตรียมแผนเคลื่อนย้ายผู้หนีภัยความไม่สงบจากเมียนมา เข้าไปพักรอในพื้นที่พักรอที่จัดเตรียมไว้ ซึ่งห่างจากชายแดนประมาณ ๑ กิโลเมตร โดยจะดูแลตามหลักมนุษยธรรม (อาหาร น้ำ และยารักษาโรค) และมีหน่วยงานภาครัฐ องค์กรการกุศลเอกชนที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนช่วยเหลือต่อไป
แนวทางการรับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือ ได้รับแจ้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า ยังไม่ประกาศเปิดรับบริจาคในขณะนี้ และหากมีผู้หนีภัยความไม่สงบจากเมียนมาหลบหนีข้ามฝั่งมายังฝั่งไทย เบื้องต้นความช่วยเหลือจะกำกับดูแลโดยฝ่ายทหาร หากเกินขีดความสามารถ หน่วยงานจะประสานจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อประกาศขอรับบริจาคช่วยเหลือต่อไป
(English Version)
Yesterday, 2,267 persons from Myanmar sought shelter on the Thai side in Mae Hong Son due to attacks and clashes between the KNU and the Tatmadaw that took place late in the afternoon. We are providing humanitarian support and if needed, medical treatment, for these Persons Fleeing From Disturbance from Myanmar in the humanitarian area designated for this anticipated scenario.
We will continue to provide humanitarian assistance according to our humanitarian principle, and according to their immediate needs.
The Thai agencies have been preparing for these types of influxes, based on our past experience and close monitoring of the situation on the other side of the border. The provincial administration and authorities along our border with Myanmar have updated their existing operating procedures to ensure close coordination, and as been mentioned, a humanitarian area has been prepared and logistical supplies gathered. COVID-19 prevention measures have been put in place along the border since the beginning of last year and are being applied to new arrivals.
The Ministry of Foreign Affairs has already been in early discussions with international organizations on a possible plan of support. We will continue to coordinate on different scenarios, including this one, to discuss possible support for the existing arrangements of the Thai Government.
Those who need assistance will not find Thailand wanting, nevertheless, as the situation along the border remains sensitive and volatile, the Thai authorities will continue to provide support on humanitarian principles.
๘. มาตรการการคัดกรองบุคคลที่เดินทางเข้าประเทศไทย และการระงับการเดินทางเข้าประเทศไทยจาก บางประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-๑๙ กลายพันธุ์
๘.๑ มาตรการคัดกรองบุคคลที่เดินทางเข้าประเทศไทย
เมื่อวานนี้ (๒๙ เมษายน ๒๕๖๔) ที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด?๑๙ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เห็นชอบมาตรการคัดกรองบุคคลที่เดินทางเข้าประเทศไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๑. ผู้เดินทางที่ได้รับใบอนุญาตเดินทางเข้าประเทศ (COE) ที่ออกก่อนวันที่ ๑ พฤษภาคม และเดินทางถึงประเทศไทยระหว่างวันที่ ๑-๕ พฤษภาคม จะได้รับการอนุโลมให้กักตัวเหมือนมาตรการในเดือนเมษายน
- กักตัว ๗ วัน สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ
- กักตัว ๑๐ วัน สำหรับผู้ที่เดินทางจากประเทศต้นทางที่ไม่มีรายงานการพบเชื้อกลายพันธุ์ หรือ
- กักตัว ๑๔ วัน สำหรับผู้ที่เดินทางจากประเทศต้นทางที่มีรายงานพบเชื้อกลายพันธุ์ตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ
๒. ผู้เดินทางเข้าประเทศไทยที่ได้รับใบอนุญาตเดินทางเข้าประเทศ (COE) ที่ออกตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม เป็นต้นไป จะต้องเข้ารับการกักตัว ๑๔ วัน ถึงแม้ว่าจะมีประวัติการรับการฉีดวัคซีนโควิด-๑๙ แล้ว ก็ตาม
๓. ผู้ที่เดินทางถึงประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ ๖ พฤษภาคม เป็นต้นไป ไม่ว่า COE จะออกวันไหนก็ตาม จะต้องเข้ารับการกักตัว ๑๔ วัน
๔. โดยระหว่างการกักตัว จะไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากห้องพัก ยกเว้นเพื่อการรักษาพยาบาลหรือการตรวจหาเชื้อ ซึ่งจะมีทั้งหมด ๓ ครั้ง
๘.๒ การระงับการเดินทางเข้าไทยของชาวต่างชาติจากอินเดีย
กระทรวงการต่างประเทศได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ไทยในอินเดีย ยกเลิกและระงับการออก COE สำหรับชาวต่างชาติในอินเดีย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ยกเลิก COE ที่ได้ออกให้กับบุคคลที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย ที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยจากอินเดีย ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคมเป็นต้นไป
ระงับการออก COE ให้กับบุคคลที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทยจากอินเดีย ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคมเป็นต้นไป จนกว่าจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
ในปัจจุบัน มีเที่ยวบินของสายการบิน Air India ที่ขออนุญาตเข้ามายังประเทศไทย สัปดาห์ละหนึ่งเที่ยวบินสำหรับนำคนไทยกลับบ้าน (repatriation flight) ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคม มีคนไทยได้ลงทะเบียนเข้าประเทศไว้ล่วงหน้าแล้ว ในวันที่ ๑ พฤษภาคม มีจำนวน ๑ คน วันที่ ๘ พฤษภาคม (จากเมืองเจนไน) จำนวน ๗๐ คน วันที่ ๑๕ พฤษภาคม จำนวน ๖๐ คน และวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ยังไม่มีผู้ลงทะเบียน
อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีจำนวนคนไทยลงทะเบียนกลับในเที่ยวบินวันที่ ๑ พฤษภาคมฯ น้อยกว่าจำนวนขั้นต่ำที่สายการบิน Air India กำหนด จึงทำให้สายการบินได้แจ้งยกเลิกเที่ยวบินดังกล่าว
ดังนั้น คนไทยที่ลงทะเบียนกลับไทยในวันที่ ๑ พฤษภาคม สามารถเดินทางกลับประเทศไทยในเที่ยวบินวันที่ ๑๕ หรือ ๒๒ พฤษภาคม แทนได้ โดยขอให้ติดตามข่าวสารจาก Facebook และ website ของสถานเอกอัครราชทูตฯ หรือหากมีเหตุเร่งด่วนสามารถติดต่อที่ hotline ของสถานเอกอัครราชทูตฯ หมายเลข +๙๑ ๑๑ ๒๔๑๙ ๗๒๐๐
(English Version)
Quarantine Period
Yesterday (29 April 2021), the meeting of the Centre for COVID-19 Situation Administration or CCSA, chaired by the Prime Minister has reinstated 14 days mandatory quarantine at quarantine facilities upon arrival to Thailand, with details as follows:
- Travelers who have obtained Certificate of Entry or COE issued by the Royal Thai Embassies and Consulates from 1 May 2021 onwards will have to be quarantined for 14 days, regardless of their COVID-19 vaccination status.
- Travelers who have obtained COE issued before 1 May 2021 and will be travelling to Thailand during 1-5 May will be quarantined as prescribed earlier this month (April);
- Travelers who are entering Thailand from 6 May onwards will have to undergo 14-day quarantine.
- Leaving the room during quarantine is not allowed, except for COVID-19 tests during quarantine and for medical treatment only.
For those who travelling from India to Thailand, the Ministry of Foreign Affairs has instructed the Royal Thai Embassy and the Royal Thai Consulates-General in India to put restrictions for non-Thai nationals who wish to enter Thailand from India as follows:
All COEs issued to non-Thai nationals to enter into Thailand from India with the arrival date from 1 May 2021 onwards have been
The issuance of COEs for non-Thai nationals who will be arriving in Thailand from India from 1 May 2021 onwards will be suspended until further notice.
The Embassy will not accommodate non-Thai nationals on the repatriation flights on 15 and 22 May 2021.
๙. กรมความร่วมมือระหว่างประเทศและกรมควบคุมโรคจัดทำการ์ตูน Know COVID-19 ภาษาไทย อังกฤษ ลาว กัมพูชา และเมียนมา
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และองค์การอนามัยโลก จัดทำสื่อความรู้ในรูปแบบการ์ตูน ?Know COVID-19? เพื่อให้ความรู้เรื่องการรับมือโควิด-๑๙ อย่างรู้เท่าทันและเข้าใจ โดยภายในเล่มประกอบด้วยสื่อความรู้เรื่อง ?๑๒ ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรค COVID-19? เป็นภาษาไทย อังกฤษ ลาว กัมพูชา และเมียนมา
ผู้ที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดสื่อการ์ตูนผ่านทาง QR Code ที่ปรากฎบนหน้าจอ หรือทางเว็บไซต์ tica-thaigov.mfa.go.th โดยค้นหาคำว่า ?Know COVID?
๑๐. ประชาสัมพันธ์
๑๐.๑ รายการ Spokesman Live!!!
ในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๓๐-๑๖.๐๐ น. ขอเชิญติดตาม รายการ คุยรอบโลกกับโฆษก กต. - Spokesman Live!!! ซึ่งจะถ่ายทอดเทปการสัมภาษณ์ เอกอัครราชทูต ศศิวัฒน์ ว่องสินสวัสดิ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก หัวข้อ ?โครงการส่งเสริมการนำองค์ความรู้จากยุโรปเพื่อพัฒนาท้องถิ่นไทย? โดยติดตามชมได้ที่ Facebook ?กระทรวงการต่างประเทศ? และ ?Saranrom Radio?
๑๐.๒ รายการบันทึกสถานการณ์ และ MFA Update
เมื่อวานนี้ (วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๔) เวลา ๐๘.๓๐ - ๐๘.๔๕ น. รายการ ?บันทึกสถานการณ์? ทาง FM 92.5 (ภาษาไทย) ได้สัมภาษณ์เอกอัครราชทูตพรรณนภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ เรื่อง ชีวิตแรงงานไทยในอิสราเอล สามารถรับฟังย้อนหลังได้ที่ Facebook ?สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย?
ในวันศุกร์ที่ ๓๐ เม.ย. ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๐๕ - รายการ ?MFA Update? (ภาษาอังกฤษ) จะสัมภาษณ์เอกอัครราชทูตเจษฎา กตเวทิน เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ในหัวข้อ The 70th Anniversary of Thai-Lao PDR Diplomatic Relations สามารถติดตามรับฟังสด หรือรับฟังย้อนหลังได้ทาง Facebook ?FM 88 Radio Thailand English?
๑๐.๓ ขอเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ ABAC Public-Private Dialogue (PPD) on Reopening Borders for Safe and Seamless Travel ในวันจันทร์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. (เวลาประเทศไทย) จัดโดยสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค (ABAC) ของเขตเศรษฐกิจสิงคโปร์และฮ่องกง
กิจกรรมนี้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในประเด็นการอำนวยความสะดวกการเดินทางระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปค ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙
อธิบดีเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคของไทยจะร่วมอภิปรายด้วย ทั้งนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพการเอเปคในปี ๒๕๖๕
สื่อมวลชนสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมได้ทางลิงก์ https://us02web.zoom.us/webinar/register/WN_mOq3B55RQBSDNE5Hzdq-DQ
ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ