สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์
วันศุกร์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น.
ผ่าน Facebook Live กระทรวงการต่างประเทศ
ในท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ กระทรวงการต่างประเทศมีความห่วงใยพี่น้องประชาชน และขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัย สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันโควิด-๑๙ และขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์หรือฮีโร่ในเสื้อขาว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทั่วโลกที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลพี่น้องคนไทยในต่างประเทศ
ขอเรียนว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมีกำหนดเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า สำหรับรายละเอียด กรมสารนิเทศจะนำเสนอในโอกาสต่อไป
๑. ผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับรัฐมนตรีต่างประเทศบรูไนฯ คนที่สอง ในฐานะผู้แทนพิเศษของประธานอาเซียนเรื่องสถานการณ์ในเมียนมา เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๔
เน้นย้ำความสำคัญของการดำเนินการตามฉันทามติ ๕ ข้อขอผู้นำอาเซียน โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมาโดยเร็วที่สุด เนื่องจากสถานการณ์โควิด-๑๙ เลวร้ายลงอย่างมาก และอาจส่งผลกระทบต่อภูมิภาค
แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมาและแผนการดำเนินงานขั้นต่อไป โดยผู้แทนพิเศษฯ อยู่ระหว่างเตรียมเยือนเมียนมาและพบหารือกับฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งฝ่ายไทยพร้อมสนับสนุนภารกิจของผู้แทนพิเศษฯ อันมีความสำคัญยิ่งต่อเสถียรภาพของภูมิภาค
๒. ผลการประชุมประเทศผู้บริจาคเพื่อระดมความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมา (Pledging Conference to Support ASEAN's Humanitarian Assistance to Myanmar) เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๔
การประชุมดังกล่าวเป็นข้อริเริ่มของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่เสนอในที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ ๕๔ ที่ผ่านมา โดยมีนางพรพิมล กาญจนลักษณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้แทนฝ่ายไทย เข้าร่วมการประชุมฯ พร้อมกับผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา ประเทศคู่เจรจาเฉพาะสาขา ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกประเทศให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข เนื่องจากสถานการณ์โควิด-๑๙ ในเมียนมา
การประชุมซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักเลขาธิการอาเซียนและศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ (AHA Centre) สามารถระดมการสนับสนุนได้มากกว่า ๘ ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยซึ่งเป็นเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดและจะได้รับผลกระทบโดยตรง ได้ประกาศให้เงินสนับสนุน ๒๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ และแสดงความพร้อมอำนวยความสะดวกการขนส่งความช่วยเหลือไปยังเมียนมา
๓. การลงนามเอกสารหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อขยายความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างไทย-สหรัฐฯ ของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศกับองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๔ โดยนางอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย
มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในการมอบความช่วยเหลือและความร่วมมือด้านการพัฒนาผ่านหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้งบประมาณ ๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการลงนามครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาของไทยและสหรัฐฯ เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน อันเห็นได้จากความสำเร็จของการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมาในไทยและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไทยและสหรัฐฯ จะร่วมกันเร่งผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย
๔. การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศในการจัดหาวัคซีนและยารักษาโควิด-๑๙ จากภูฏานและเยอรมนี
เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๔ ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-๑๙ (ศบค.) ได้เห็นชอบในหลักการให้
จัดทำความตกลงแลกเปลี่ยนวัคซีนบนพื้นฐานของการส่งมอบคืนในอนาคต (vaccine swap) กับรัฐบาลภูฏาน ซึ่งประสงค์จะมอบวัคซีนโควิด-๑๙ ของบริษัท แอสตราเซนเนก้า (ผลิตในสวีเดน) ๑๕๐,๐๐๐ โดสแก่ไทย ตามข้อตกลงไตรภาคีระหว่างรัฐบาลภูฏาน รัฐบาลไทย และบริษัท แอสตราเซเนก้า
รับมอบยา Monoclonal antibody จำนวน ๑,๐๐๐-๒,๐๐๐ ชุด จากกระทรวงสาธารณสุขเยอรมัน ซึ่งบริจาคให้ไทยโดยไม่มีเงื่อนไข โดยยาดังกล่าวเป็นของบริษัท Regeneron ที่มีประสิทธิภาพสามารถลดอาการป่วยหนักและการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-๑๙ ร้อยละ ๕๐-๗๐ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้กำหนดแนวทางการใช้และกระจายยาต่อไป
การจัดทำ vaccine swap กับรัฐบาลภูฏาน และการรับมอบยารักษาโควิด-๑๙ จากรัฐบาลเยอรมนี ในครั้งนี้ เป็นผลจากความพยายามอย่างต่อเนื่องของกระทรวงการต่างประเทศที่ได้ผลักดันเชิงรุกเพื่อแสวงหาความร่วมมือกับนานาประเทศ โดยเฉพาะการเจรจาทุกระดับทุกช่องทางเพื่อแสวงหาวัคซีนและยารักษาโควิด-๑๙ จากต่างประเทศ
๕. การฉีดวัคซีนให้ชาวต่างชาติในไทยที่ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ (Expatvac)
ตั้งแต่กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมการกงสุล ได้เปิดให้ชาวต่างชาติที่มีถิ่นพำนักในไทย ทุกกลุ่มอายุและทุกจังหวัด ลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนทางเว็บไซต์ expatvac.consular.go.th เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ มีชาวต่างชาติลงทะเบียนเพื่อขอรับการฉีดวัคซีน แล้ว ๕๑,๗๔๖ คน เป็นบุคคลอายุต่ำกว่า ๖๐ ปี ๔๐,๖๕๙ คน และบุคคลอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ๑๑,๐๘๗ คน และมีสตรีมีครรภ์ ๒๒๒ คน และผู้มีโรคประจำตัว ๗ กลุ่มโรคเสี่ยง ๓,๗๕๔ คน (สถานะเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๔)
ชาวต่างชาติที่ลงทะเบียนดังกล่าวเริ่มทยอยได้รับนัดหมายให้ไปรับวัคซีนแล้ว ล่าสุดมีจำนวน ๓,๙๑๘ คน ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการเร่งนัดหมายผู้ที่ลงทะเบียนและผ่านการคัดกรองแล้วเข้ารับวัคซีนอย่างต่อเนื่องต่อไป
Vaccination services for foreign residents in Thailand
Since 1 August 2021, Department of Consular Affairs, Ministry of Foreign Affairs, has launched a website expatvac.consular.go.th for foreign residents of all age groups nationwide to register for the first dose of COVID-19 The accumulated number of foreign residents registered (as of 18 August 2021) is 51,746 persons, 40,659 of which are under 60 years old and 11,087 at 60 and over. Among those registered, 222 are pregnant women and 3,754 are in 7-disease health condition groups.
As of now, 3,918 foreign nationals registered for vaccination through the website have been contacted by responsible hospitals for vaccination appointments. The Ministry of Foreign Affairs, in cooperation with the Ministry of Public Health and related hospitals, will expedite the process of vaccination appointment for foreign residents in Thailand to ensure equal access to vaccines for everyone in Thailand, in accordance with the Thai government?s policy.
๖. โครงการ Phuket Sandbox แบบท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับพื้นที่นำร่องอื่น
ตามข้อมูลจากกระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา โครงการ Phuket Sandbox ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ได้ช่วยฟื้นเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตอย่างมีนัยสำคัญ โดยในเดือนกรกฎาคม มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาตามโครงการฯ ๑๔,๐๕๕ คน รายได้จากนักท่องเที่ยวกว่า ๘๒๙ ล้านบาท ซึ่งเมื่อคูณกับ ?ตัวทวีคูณ? ทำให้มีรายได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยตรง และทางอ้อม หรือห่วงโซ่ กว่า ๑,๙๒๕ ล้านบาท
ที่ประชุม ศบค. เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๔ เห็นชอบให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าร่วม Phuket Sandbox เดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดภูเก็ตกับพื้นที่นำร่องอื่น (๗ + ๗) ได้ตั้งแต่วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๔ ประกอบด้วย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า) โดยเที่ยวบินตรง
จังหวัดกระบี่ (เกาะพีพี เกาะไหง ไร่เลย์) โดยทางเรือ
จังหวัดพังงา (เขาหลัก โดยทางรถ เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่) โดยทางเรือ
เป็นพื้นที่ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ร่วมด้วยช่วยกันสนับสนุนให้โครงการ Phuket Sandbox ให้สามารถเป็นโครงการตัวอย่าง เป็นกระบะทราย ส่งเสริมการท่องเที่ยวท่ามกลางสถานการณ์โควิด ซึ่งที่ผ่านมาจำนวนผู้ที่ติดเชื้อมีจำนวนน้อย
กระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ได้เตรียมระบบการออกหนังสือรับรองการเดินทางเข้าประเทศไทย (COE) สำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศตามมาตรการขยายนี้ไว้ล่วงหน้าแล้ว
Phuket Sandbox 7+7 Extension Program
According to the Ministry of Tourism and Sports, following the launch of the Phuket Sandbox scheme on 1 July 2021, 14,055 foreign tourists have visited Phuket in July, generating up to THB 1.92 billion revenue for the local economy.
On 16 August 2021, the Centre for COVID-19 Situation Administration (CCSA) has approved the upgrading of the Phuket Sandbox programme as the ?Phuket Sandbox 7+7 Extension,? providing fully vaccinated international travelers with more options to visit multiple Thai destinations without the need to quarantine.
Starting from 16 August, 2021, the ?Phuket Sandbox 7+7 Extension? programme allows eligible international travellers to reduce the mandatory stay in Phuket from 14 to 7 days, after which another 7 nights can be spent in 3 provinces, namely:
Krabi (Ko Phi Phi, Ko Ngai, or Railay),
Phang-Nga (Khao Lak or Ko Yao), and
Surat Thani (Samui Plus ? Ko Samui, Ko Pha-ngan, or Ko Tao).
๗. สถานการณ์ในอัฟกานิสถาน และการให้ความช่วยเหลือคนไทย
เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๔ กลุ่มตาลีบันได้เข้าประชิดล้อมและต่อมา ได้เข้ายึดกรุงคาบูลได้โดยปราศจากการต่อต้านด้วยอาวุธของกองกำลังของอัฟกานิสถาน ขณะนี้ กลุ่มตาลีบันอยู่ระหว่างเตรียมการจัดตั้งรัฐบาล โดยเปิดเผยว่าจะเป็นรัฐบาลอิสลามอัฟกานิสถานที่ครอบคลุม (Afghan inclusive Islamic government) และจะมีผู้แทนที่ไม่ใช่กลุ่มตาลีบันเข้าร่วมด้วย
กระทรวงการต่างประเทศมีการจัดทำแผนอพยพคนไทยในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะมี ๔ ระดับตามความรุนแรงของสถานการณ์ และมีการซักซ้อมอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด ได้มีประกาศแจ้งเตือน คนไทยเกี่ยวกับสถานการณ์ในอัฟกานิสถาน โดยแนะนำให้คนไทยหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในอัฟกานิสถาน และขอให้ชาวไทยที่ไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ในอัฟกานิสถานพิจารณาเดินทางออกจากอัฟกานิสถานในโอกาสแรก และหากมีความจำเป็น ขอให้อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็นโดยเฉพาะในพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียงที่มีความเสี่ยง
เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๔ กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งว่า มีคนไทย ๔ รายอยู่ในอัฟกานิสถาน ซึ่งล่าสุด ทุกคนได้อพยพออกจากกรุงคาบูลไปยังประเทศกาตาร์และคูเวตแล้ว โดยคนไทยรายสุดท้ายได้เดินทางออกจากกรุงคาบูลไปถึงกรุงโดฮาเมื่อเช้านี้
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด (มีเขตอาณาดูแลอัฟกานิสถาน) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโดฮา และ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงคูเวต ได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิดและติดต่อกับบุคคลทั้ง ๔ อย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลอำนวยความสะดวกในการเดินทางกลับไทย ทั้งนี้ คนไทยทั้ง ๔ ราย แจ้งว่า ไม่มีข้อมูลว่ามีคนไทยอยู่ในอัฟกานิสถานอีก
คนไทยที่ประสงค์รับความช่วยเหลือในอัฟกานิสถาน สามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด ได้ที่หมายเลข (+๙๒) ๓๑๕ ๙๐๐ ๙๙๔๙ หรือติดต่อกรมการกงสุลได้ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ที่หมายเลข (+๖๖) ๐๒ ๕๗๒ ๘๔๔๒
๘. การให้ความช่วยเหลือคนไทยเก็บของป่า ๗ รายที่ถูกจับกุมข้อหาล้ำเขตแดน สปป.ลาว เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔
สถานกงสุลใหญ่ ณ สะหวันนะเขต ได้ให้ความช่วยเหลือผ่านการประสานงานกับแขวงจำปาสัก และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด และเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๔ เจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมคนไทยทั้ง ๗ รายที่อยู่ระหว่างการกักตัวที่ศูนย์กักตัวหลัก ๒๑ ของแขวงจำปาสักเป็นะระยะเวลา ๑๔ วันตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-๑๙ ของ สปป.ลาว โดยพบว่า คนไทยทั้ง ๗ ราย แข็งแรงดี ทั้งสุขภาพกายและใจ และสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้มอบของใช้ในชีวิตประจำวันแก่คนไทยกลุ่มนี้ด้วย
ล่าสุด กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ฯ ว่า คนไทยทั้ง ๗ ราย จะได้รับ การปล่อยตัวในวันนี้ (๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๔) เวลา ๑๖.๐๐ น.
๙. ประชาสัมพันธ์
๙.๑ รายการคุยรอบโลกกับโฆษก กต. - Spokesman Live!!! สัมภาษณ์นายทรงพล สุขจันทร์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา หัวข้อ ?ความสัมพันธ์ไทย - อินโดนีเซีย กับภารกิจการดูแลคนไทย
ในยุค New Normal? ในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ทาง Facebook
?กระทรวงการต่างประเทศ? และ ?Saranrom Radio?
๙.๒ รายการบันทึกสถานการณ์ และ MFA Update
รายการ ?บันทึกสถานการณ์? ทาง FM 92.5 (ภาษาไทย) สัมภาษณ์ ดร.จักก์ แสงชัย นักการทูตชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานความร่วมมือ ลุ่มน้ำโขง หัวข้อ ?ลุ่มน้ำโขง: อนุภูมิภาคแห่งความร่วมมือระหว่างไทยกับความร่วมมือระว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน? เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๓๐ - ๐๘.๔๕ น. รับฟังย้อนหลังทาง Facebook ?สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย?
รายการ ?MFA Update? FM 88.0 (ภาษาอังกฤษ) สัมภาษณ์นายกิจวัตร ทาเจริญ นักการทูตชำนาญการ (ที่ปรึกษา) กองสหภาพยุโรป กรมยุโรป หัวข้อ "EU Travel Measures during the COVID-19 Pandemic" เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๐๕ น. รับฟังย้อนหลังทาง Facebook ?FM 88 Radio Thailand English?
ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ