สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๓๐ น.
ทาง Facebook Live กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศขอแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของ จ.ส.อ.เกียรติศักดิ์ ประพันธ์อนุรักษ์ อายุ ๕๖ ปี นายทหารกองร้อยทหารช่างเฉพาะกิจไทยในปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในเซาท์ซูดาน (UNMISS) ซึ่งเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เมื่อช่วงเช้าวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๔ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี จะติดตามกับกองร้อยฯ ที่ จ.ส.อ. เกียรติศักดิ์ฯ สังกัดอยู่ อย่างใกล้ชิดในการส่งร่างกลับประเทศไทย รวมถึงการให้ความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องต่อไป ประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพในกรอบประชาชาติ (UN Peacekeeping) ในหลายประเทศทั่วโลก โดยล่าสุดมีเจ้าหน้าที่ของไทยจำนวน ๒๙๖ ราย กำลังปฏิบัติหน้าที่ใน ๒ ภารกิจของสหประชาชาติ โดยกองกำลังของไทยมีบทบาทด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุนชน
๑. รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนสหรัฐฯ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ ๗๖ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๙ กันยายน ๒๕๖๔ ณ นครนิวยอร์ก
นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนสหรัฐฯ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ ๗๖ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ นครนิวยอร์ก โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดพบหารือกับนายอันโตนิโอ กูร์เตอเรส (Ant?nio Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติ และนายอับดุลเลาะฮ์ ชะฮีด (Abdulla Shahid) ประธานสมัชชาสหประชาชาติ รวมทั้งผู้บริหารองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ รัฐมนตรีต่างประเทศจากภูมิภาคต่าง ๆ และเดินทางต่อไปกรุงวอชิงตันเพื่อพบหารือกับผู้แทนระดับสูงของสหรัฐฯ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งพบชุมชนไทยในสหรัฐฯ ด้วย
การประชุม UNGA76 ได้เปิดสมัยการประชุมฯ เมื่อวันอังคารที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๔ มีหัวข้อหลักของการอภิปรายทั่วไป (General Debate) ว่า การสร้างความยืดหยุ่นผ่านความหวัง โดยการฟื้นฟูจากโควิด-๑๙ การสร้างอย่างยั่งยืน ตอบรับความต้องการของโลก เคารพสิทธิของผู้คน และการฟื้นฟูของสหประชาชาติ (Building resilience through hope - to recover from COVID-19, rebuild sustainably, respond to the needs of the planet, respect the rights of people, and revitalise the United Nations) โดยนายกรัฐมนตรีจะ ร่วมกล่าวถ้อยแถลงของไทยในการอภิปรายทั่วไป โดยการจัดส่งวีดิทัศน์ถ้อยแถลงล่วงหน้า เพื่อแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับผู้นำประเทศต่างๆ และแสดงวิสัยทัศน์ต่อโลกหลังโควิด-๑๙ ซึ่งจะเปิดฉายในห้องประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (General Assembly Hall) ในวันเสาร์ที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๔ เวลาประมาณ ๑๔.๑๕ น. ของ
นครนิวยอร์ก (วันอาทิตย์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๔ เวลาประมาณ ๐๑.๑๕ น. ของไทย) และจะร่วมกล่าวถ้อยแถลงของไทยผ่านบันทึกวีดิทัศน์ในการประชุม ๔ รายการ ได้แก่
การประชุมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทศวรรษ (2nd Sustainable Development Goals (SDG Moment) of the Decade of Action ในวันจันทร์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๔
การประชุมสุดยอดโควิด-๑๙ ยุติโรคระบาดและการสร้างกลับมาใหม่ (Global COVID-19 Summit: Ending the pandemic and building back better) ในวันพุธที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๔
การประชุมสุดยอดว่าด้วยระบบอาหาร (Food Systems Summit) ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๔ และ
การประชุมระดับสูงด้านพลังงาน (High-level Dialogue on Energy) ในวันศุกร์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๔
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดเข้าร่วมการเปิดอภิปรายทั่วไป ร่วมกับผู้นำและรัฐมนตรีของประเทศต่าง ๆ ที่สหประชาชาติ ในวันอังคารที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔ และมีกำหนดเข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนานที่สำคัญ รวมทั้งจะกล่าวถ้อยแถลงของไทยต่อที่ประชุมฯ จำนวน ๒ รายการในเบื้องต้น ได้แก่
การประชุมนโยบายต่างประเทศกับสุขภาพโลก (Foreign Policy and Global Health (FPGH) Foreign Ministers? Virtual Meeting) ในวันอังคารที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔
การประชุมว่าด้วยเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า The Road to 2023: Kickoff to the High-level Meeting on Universal Health Coverage Gaps, Challenges, and Opportunities to Accelerate Progress on UHC ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
สื่อมวลชนที่สนใจสามารถติดตามการถ่ายทอดสดการกล่าวถ้อยแถลงฯ ผ่านช่องทาง ดังนี้ (๑) UN Web TV (webtv.un.org) ใน ๖ ภาษาทางการของ UN และ original language ของผู้กล่าวถ้อยแถลง (๒) United Nations channel บน Youtube (youtube.com/unitednations) เฉพาะภาษาอังกฤษ (๓) Facebook (facebook.com/UNWebTV) เฉพาะภาษาอังกฤษ และ (๔) Twitter (twitter.com/UNWebTV) เฉพาะภาษาอังกฤษ
๒. ความร่วมมือจากมิตรประเทศในการช่วยไทยรับมือสถานการณ์โควิด-๑๙ (เยอรมนี ญี่ปุ่น และสเปน)
๒.๑ รัฐบาลเยอรมนีส่งมอบยารักษาโควิด-๑๙ จำนวน ๒,๐๐๐ ยูนิต ให้ไทย
เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๔ นางจุฬามณี ชาติสุวรรณ อธิบดีกรมยุโรป ได้ร่วมเป็นสักขีพยานใน การรับยารักษาโควิด-๑๙ ชนิด Casirivimab/Imdevimab จำนวน ๒,๐๐๐ ยูนิต ซึ่งรัฐบาลเยอรมนีบริจาคให้แก่รัฐบาลไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยาดังกล่าวขนส่งมายังประเทศไทยด้วยสายการบินไทย โดยมีนาย นายเก-ออร์ค ชมิท เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย และนายแพทย์ โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้แทนของรัฐบาลสองฝ่ายในการรับมอบ
ประเทศไทยขอขอบคุณรัฐบาลเยอรมนีในไมตรีจิตที่บริจาคยารักษาโรคโควิด-๑๙ ครั้งนี้ สะท้อนถึงมิตรภาพที่ยาวนาน และความร่วมมือที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นระหว่างหน่วยงานของทั้งสองประเทศ ตลอดจนการทำงานเชิงรุกของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน และสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย
๒.๒ รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศมอบวัคซีนแอสตราเซเนก้าเพิ่ม ๓๐๐,๐๐๐ โดส
เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๔ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศบริจาควัคซีนแอสตร้าเซเนก้า เพิ่มเติมจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ โดสให้แก่ประเทศไทย
โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้มอบวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ครั้งแรกให้ไทยจำนวน ๑.๐๕ ล้านโดส และครั้งที่ ๒ จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ โดส ซึ่งได้ส่งมอบให้ไทยแล้วเมื่อวันที่ ๘ กันยายนที่ผ่านมา รวมวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่รัฐบาลญี่ปุ่นบริจาคให้แก่ประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น ๑.๖๕ ล้านโดส
ประเทศไทยขอขอบคุณรัฐบาลญี่ปุ่นในไมตรีจิตที่ช่วยสนับสนุนความพยายามของไทยในการรับมือสถานการณ์โควิด-๑๙ อย่างต่อเนื่อง
๒.๓ การจัดซื้อวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าจากสเปน
เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๔ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ แอสตร้าเซเนก้า จำนวน ๔๔๙,๕๐๐ โดส จากรัฐบาลราชอาณาจักรสเปน ซึ่งเป็นประเทศแรกในสหภาพยุโรปที่พร้อมจำหน่ายวัคซีนโควิด-๑๙ ให้แก่รัฐบาลไทย
การจัดซื้อวัคซีนจากสเปนครั้งนี้เป็นผลสำเร็จจากการทำงานเชิงรุกอย่างใกล้ชิดระหว่างฝ่ายไทยและสเปน ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด สถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย และสหภาพยุโรป
ทั้งนี้ การจัดซื้อวัคซีนต่อจากมิตรประเทศเป็นไปตามนโยบายการทูตเชิงรุกด้านความร่วมมือ เรื่องวัคซีน (vaccine diplomacy) ของไทย และเป็นข้อริเริ่มของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
๓. พิธีมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมชุดแรกจากอาเซียนแก่เมียนมา
เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๔ สำนักงานเลขาธิการอาเซียนได้จัดพิธีส่งมอบความช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมชุดแรกแก่เมียนมา มูลค่า ๑.๑ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่านระบบการประชุมทางไกล ให้แก่ผู้แทนสภากาชาดเมียนมา ประกอบด้วยสิ่งของช่วยเหลือ (in-kind contribution) จากไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ตุรกี และมูลนิธิเทมาเส็ก และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จัดซื้อเพิ่มเติมด้วยเงินช่วยเหลือ (cash contribution) จากไทย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
สิ่งของความช่วยเหลือดังกล่าวจะส่งมอบให้แก่โรงพยาบาล ขนาดใหญ่ในกรุงเนปยีดอ กรุงย่างกุ้ง และเมืองมัณฑะเลย์ โดยศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on Disaster Management - AHA Centre) จะประเมินความต้องการอีกครั้งสำหรับความช่วยเหลือชุดถัดไป ผ่านการจัดตั้ง ASEAN Monitoring Team เพื่อเพิ่มความโปร่งใส่ในกระบวนการส่งมอบความช่วยเหลือ และจะประสานงานอย่างใกล้ชิดกับสภากาชาดเมียนมาและหน่วยงานด้านมนุษยธรรมอื่น ๆ ในเมียนมาต่อไป
๔. การหารือโครงการ Phuket Sandbox และแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวตามนโยบายการเปิดประเทศ
เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๔ กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้เรียนเชิญนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายยุทธศักดิ์ ศุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายณรงค์ศักดิ์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และอธิบดีกรมสารนิเทศ ร่วมหารือกับเอกอัครราชทูตและ กงสุลใหญ่จาก ๖๔ ประเทศทั่วโลก และผู้บริหารกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อร่วมวางแผนและกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์โครงการ Phuket Sandbox และแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวของไทย ตามนโยบายเปิดประเทศ ที่ประชุมได้มีการหารือเพื่อให้การดำเนินงานต่าง ๆ เป็นไปอย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
รองนายกรัฐมนตรีสุพัฒนพงษ์ฯ ย้ำนโยบายของนายกรัฐมนตรีในการเดินหน้าเปิดประเทศ ตามเป้าหมาย ๑๒๐ วัน โดยคำนึงถึงมาตรการสาธารณสุขและความปลอดภัยของประชาชน และให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่เน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพ ส่งเสริมนักท่องเที่ยวเป้าหมายใหม่
เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ ได้แสดงความพร้อมที่จะร่วมทำงานอย่างมีบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการเปิดประเทศ และเสริมสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ไทยในต่างประเทศ
๕. กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ ศูนย์ศึกษาการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย จัดการสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อเรื่องการเชื่อมโยงโอกาสด้านดิจิทัลระหว่างไทยและกัมพูชา (Connecting Digital Opportunities between Thailand and Cambodia) เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๔
การสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อหารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่าง ไทยและกัมพูชา เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเติบโตอย่างครอบคลุม และการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังยุคโควิด-๑๙
อธิบดีกรมเอเชียตะวันออกได้ย้ำความสำคัญของความร่วมมือในการก้าวสู่ยุคดิจิทัลไปด้วยกัน และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและประชาชน โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ในขณะที่ฝ่ายกัมพูชาได้เสนอให้มีการจัดทำความตกลง ทวิภาคีด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างไทยกับกัมพูชา
ผู้ร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความเห็นอย่างกว้างขวาง โดยเห็นพ้องว่า ไทยและกัมพูชาควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และโลจิสติกส์ รวมถึงระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์และการจัดเก็บภาษีธุรกิจดิจิทัล ตลอดจนการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและความมั่นคงทางไซเบอร์ โดยภาคเอกชนต่างเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ซึ่งเกิดจากปัจจัยเกื้อหนุน ได้แก่ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ทางเลือกในการชำระเงินที่มากขึ้น
ผลการสัมมนาและข้อเสนอแนะข้างต้นจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วย ความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย - กัมพูชา ซึ่งเป็นกลไกกำกับดูแลความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศที่สำคัญครั้งต่อไปในช่วงปลายปีนี้
๖. การเสวนา New Normal: New Coolture ? Bridging the Gap
เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๔ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดการเสวนา New Normal: New Coolture ? Bridging the Gap ครั้งที่ ๓ ผ่านระบบ Zoom และ Facebook Live โดยเชิญวิทยากร ?รุ่นใหญ่? และ ?รุ่นใหม่? ๔ ท่าน เข้าร่วมการเสวนา ได้แก่
ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม
คุณสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส
คุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหาร The Standard
คุณนภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการบริหาร Workpoint News
จุดประสงค์ของการเสวนาครั้งนี้ เพื่อรับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์จากมุมมองระหว่างนักการสื่อสาร ?รุ่นใหญ่? และ ?รุ่นใหม่? เพื่อร่วมทำความเข้าใจความต่างของความคิดของคนในแต่ละช่วงวัย
การเสวนาครั้งนี้เน้นความสำคัญของการสื่อสารระหว่างคนในหลายกลุ่มอายุ หลาย generations ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายของโลกในการเชื่อมคนต่างกลุ่มอายุ ให้มีความเข้าใจกันมากขึ้น มีข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ อาทิ การเติบโตมาในช่วงเวลาที่แตกต่างกันทำให้คนในแต่ละช่วงวัยให้ความสนใจและความสำคัญในประเด็นที่แตกต่างกัน
กระทรวงการต่างประเทศสามารถมีบทบาทในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางของโลก ความสำคัญในการรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของโลก และผลประโยชน์ของประเทศไทยจากการร่วมมือกับนานาชาติเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ซึ่งกระทรวงฯ จะนำข้อเสนอ ไปดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเป้าหมายในการลดช่องว่างในการสื่อสารและส่งเสริมความเข้าใจระหว่างบุคคลในแต่ละวัยและกลุ่มที่แตกต่างกันต่อไป
๗. กระทรวงการต่างประเทศได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๔ สาขาบริการภาครัฐ ระดับดีเด่น จากสำนักงาน ก.พ.ร.
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ระดับดีเด่น ๒ รางวัล จาก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งพิจารณามอบรางวัลให้กับหน่วยงานที่มีผลการดำเนินการที่เป็นเลิศในด้าน การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการภาครัฐ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภายในองค์กร และเปิดระบบราชการให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม โดย ๒ ผลงานของกระทรวงการต่างประเทศที่ได้รับรางวัลดีเด่น ได้แก่
ระบบลงทะเบียนออนไลน์สำหรับการขอรับหนังสือรับรองการเดินทางเข้าราชอาณาจักร (Certificate of Entry: COE) ของกรมการกงสุล ซึ่งได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประเภทยกระดับบริการที่ตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด-๑๙
โครงการพัฒนาระบบยื่นคำร้องขออำนวยความสะดวกด้านเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตแบบออนไลน์ (e-Privilege) ของกรมพิธีการทูต ซึ่งได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ
ขอเชิญชวนทุกท่านรับชมการถ่ายทอดสดและร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐประจำปี ๒๕๖๔ โดยกระทรวงฯ ในวันนี้ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. ทาง Facebook Live บน Facebook Page กระทรวงการต่างประเทศ
๘. Understanding Thailand?s color-coded illustrations for COVID-19
The Ministry would like to highlight and clarify to foreign nationals in Thailand regarding the color-coded illustrations for COVID-19 as some may misunderstand about this issue.
Royal Thai Government has issued two sets of color-coded zoning schemes that involved the spread of COVID-19 in the country.
One set is to demonstrate the areas and the infection rate per population.
The other set is to indicate the level of pandemic control requirements and precaution guidelines
They were established by the Center of Disease Control as well as health agencies. Both sets are updated at regular intervals. Therefore, it is important that we establish precise understanding of Thailand?s two distinct sets of color-coded schemes.
For the COVID-19 Infection Rate, the government has established a five-color scheme?red, orange, yellow, green, and white.
The color ?RED? demonstrates the areas and number of infections that exceeds over 100 people in that particular area.
?ORANGE? indicates that the infection is between 51 - 100 cases.
The ?YELLOW? color indicates that the infection rate is between 11 - 50 cases, and
?GREEN? between 1-10 cases.
?WHITE? indicates that no infection rate reported.
However, if one goes down to the district, subdistrict, village and community levels, the green and even white zones (no infection) increase proportionately and exponentially. These details can be found on com/informationcovid19
(2) For color scheme demonstrates the pandemic prevention and control measures, there are five colors in this scheme??DARK RED? ?Red? ?ORANGE? ?YELLOW? and ?GREEN?.
The DARK RED signifies ?maximum and strict COVID-19 control? measures;
RED signifies ?maximum control?;
ORANGE signifies ?Controlled Area?;
YELLOW for ?High Surveillance? and,
GREEN for ?Surveillance.?
Currently, 29 provinces, including Bangkok and the four southern border provinces, are in the Dark Red zone, 37 provinces in the Red zone, and 11 provinces in Orange zone. For yellow and green, there are no provinces categorised into these areas.
This predominant color of this 2nd set of color scheme is red due to the government?s conscientious effort to effectively and expeditiously control and prevent the spread of infection. However, this chart may lead to a false interpretation that the entire country is suffering from the most severe infection rate. When in truth and in fact, the Red in this 2nd chart simply says how serious Thai government has been in containing the spread of the pandemic.
๙. ประชาสัมพันธ์
๙.๑ สำนักงานสัญชาติและนิติกรณ์ MRT คลองเตย เปิดให้บริการ
ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป สำนักงานสัญชาติและนิติกรณ์ MRT คลองเตย จะกลับมาเปิดให้บริการทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๕.๐๐ น. โดยขอให้จองคิวออนไลน์ก่อนเข้ารับบริการ ผ่านการกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ทาง QR Code ที่ปรากฎในภาพฉาย เจ้าหน้าที่จะแจ้งกำหนดนัดหมายเข้ารับบริการทางอีเมล์ภายใน ๒ - ๓ วันทำการ
ติดต่อสอบถามหรือตรวจสอบการรับรองเอกสารได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒ ๑๐๓ ๑๖๓๑
๙.๒ รายการบันทึกสถานการณ์ และ MFA Update
วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๓๐ - ๐๘.๔๕ น. รายการ ?บันทึกสถานการณ์? ทาง FM 92.5 (ภาษาไทย) ได้สัมภาษณ์นางวิลาวรรณ มังคละธนะกุล อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย หัวข้อ ?ผู้สมัครสตรีคนแรกของไทย ในการเลือกตั้งตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Commission - ILC) วาระปี ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐? สามารถรับฟังย้อนหลังได้ที่ Facebook ?สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย?
วันศุกร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๐๕ รายการ ?MFA Update? FM 88.0 (ภาษาอังกฤษ) จะสัมภาษณ์นายณรงค์ บุญเสถียรวงศ์ รองอธิบดีกรมการกงสุล หัวข้อ ?Launching of the new Stickerless e-Visa? สามารถรับฟังย้อนหลังได้ทาง Facebook ?FM 88 Radio Thailand English?
ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ