กรุงเทพ--17 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี มีกำหนดจะเดินทางเยือนสหภาพพม่าอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 มีนาคม 2551 โดยมีกำหนดจะเข้าเยี่ยมคารวะพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ประธาน SPDC และหารือกับนายกรัฐมนตรีพม่า นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีจะเปิดที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง แห่งใหม่ และมอบนโยบายแก่ทีมประเทศไทย รวมทั้งพบปะชุมชนไทย
การเยือนสหภาพพม่าของนายกรัฐมนตรีนับเป็นการเยือนที่สำคัญ เพราะเป็นการเยือนภายหลังจากการเยือนสหภาพพม่าของนาย Ibrahim Gambari ผู้แทนพิเศษในเรื่องพม่าของเลขาธิการสหประชาชาติ ในระหว่างการการเยือนฯ นายกรัฐมนตรีจะหารือกับผู้นำพม่าถึงการรักษาความสงบบริเวณชายแดน ความร่วมมือแก้ไขปัญหาข้ามพรมแดน ซึ่งรวมถึงปัญหายาเสพติดและปัญหาคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย การเปิดด่านชายแดนเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านพลังงาน และความร่วมมือในกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) และกรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) โดยนายกรัฐมนตรีจะเน้นเรื่องการสร้างเส้นทางคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาค การให้การสนับสนุนของไทยในการสร้างถนนเชื่อมไทย-พม่า-อินเดีย และเส้นทางต่อจากเมียวดี ทั้งนี้ การเยือนของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดความสำเร็จในการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ภายหลังจากการเยือน สปป. ลาว และกัมพูชา
สำหรับประเด็นพัฒนาการทางการเมืองของพม่า ประเทศไทยพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญของพม่า โดยจากการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับนายยาณ วิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 นั้น ฝ่ายพม่าแสดงความยินดีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญของฝ่ายไทย ซึ่งไทยเห็นว่าพม่าควรคำนึงการจัดทำประชามติฯ ที่เปิดกว้าง ซึ่งต่างประเทศให้ความสนใจในเรื่องนี้อยู่ ไทยสนับสนุนกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยและการปรองดองในชาติในพม่า โดยไทยจะยึดหลักการ “Neighbour Engagement” ในการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีและมีการเจรจากับพม่ามากขึ้น โดยคำนึงถึงการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้การดำเนินการต่างๆ ของไทยที่เกี่ยวข้องกับพม่าจะตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในระหว่างกัน
2. อินโดนีเซียจะส่งตัวกลับลูกเรือประมงไทยที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ จำนวน 19 คน โดยทั้งหมดจะเดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเย็นวันนี้ (13 มีนาคม 2551) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมายให้รองอธิบดีกรมการกงสุลไปรับที่สนามบินฯ การปล่อยตัวดังกล่าวเป็นผลจากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ยกเรื่องการปล่อยตัวลูกเรือไทยขึ้นหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียตอบรับที่จะส่งลูกเรือไทยกลับประเทศโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ ยังมีชาวประมงไทยที่รุกล้ำน่านน้ำอินโดนีเซียและถูกทางการอินโดนีเซียจับกุมดำเนินคดีอีกจำนวน 89 คน ซึ่งกำลังรอการดำเนินคดี และรับโทษตามคำพิพากษาของศาลอินโดนีเซีย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี มีกำหนดจะเดินทางเยือนสหภาพพม่าอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 มีนาคม 2551 โดยมีกำหนดจะเข้าเยี่ยมคารวะพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ประธาน SPDC และหารือกับนายกรัฐมนตรีพม่า นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีจะเปิดที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง แห่งใหม่ และมอบนโยบายแก่ทีมประเทศไทย รวมทั้งพบปะชุมชนไทย
การเยือนสหภาพพม่าของนายกรัฐมนตรีนับเป็นการเยือนที่สำคัญ เพราะเป็นการเยือนภายหลังจากการเยือนสหภาพพม่าของนาย Ibrahim Gambari ผู้แทนพิเศษในเรื่องพม่าของเลขาธิการสหประชาชาติ ในระหว่างการการเยือนฯ นายกรัฐมนตรีจะหารือกับผู้นำพม่าถึงการรักษาความสงบบริเวณชายแดน ความร่วมมือแก้ไขปัญหาข้ามพรมแดน ซึ่งรวมถึงปัญหายาเสพติดและปัญหาคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย การเปิดด่านชายแดนเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านพลังงาน และความร่วมมือในกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) และกรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) โดยนายกรัฐมนตรีจะเน้นเรื่องการสร้างเส้นทางคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาค การให้การสนับสนุนของไทยในการสร้างถนนเชื่อมไทย-พม่า-อินเดีย และเส้นทางต่อจากเมียวดี ทั้งนี้ การเยือนของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดความสำเร็จในการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ภายหลังจากการเยือน สปป. ลาว และกัมพูชา
สำหรับประเด็นพัฒนาการทางการเมืองของพม่า ประเทศไทยพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญของพม่า โดยจากการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับนายยาณ วิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 นั้น ฝ่ายพม่าแสดงความยินดีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญของฝ่ายไทย ซึ่งไทยเห็นว่าพม่าควรคำนึงการจัดทำประชามติฯ ที่เปิดกว้าง ซึ่งต่างประเทศให้ความสนใจในเรื่องนี้อยู่ ไทยสนับสนุนกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยและการปรองดองในชาติในพม่า โดยไทยจะยึดหลักการ “Neighbour Engagement” ในการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีและมีการเจรจากับพม่ามากขึ้น โดยคำนึงถึงการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้การดำเนินการต่างๆ ของไทยที่เกี่ยวข้องกับพม่าจะตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในระหว่างกัน
2. อินโดนีเซียจะส่งตัวกลับลูกเรือประมงไทยที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ จำนวน 19 คน โดยทั้งหมดจะเดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเย็นวันนี้ (13 มีนาคม 2551) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมายให้รองอธิบดีกรมการกงสุลไปรับที่สนามบินฯ การปล่อยตัวดังกล่าวเป็นผลจากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ยกเรื่องการปล่อยตัวลูกเรือไทยขึ้นหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียตอบรับที่จะส่งลูกเรือไทยกลับประเทศโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ ยังมีชาวประมงไทยที่รุกล้ำน่านน้ำอินโดนีเซียและถูกทางการอินโดนีเซียจับกุมดำเนินคดีอีกจำนวน 89 คน ซึ่งกำลังรอการดำเนินคดี และรับโทษตามคำพิพากษาของศาลอินโดนีเซีย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-