กรุงเทพ--21 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเผย ที่ปรึกษารัฐมนตรีต่างประเทศในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอิสลาม (OIC Summit) ครั้งที่ 11 ที่เซเนกัล เมื่อวันที่ 13-14 มีนาคม 2551 คณะผู้แทนไทยประสบความสำเร็จในการชี้แจงให้สมาชิกองค์การการประชุมอิสลามเข้าใจสถานการณ์ภาคใต้ของไทย และ OIC ได้แถลงพร้อมจะร่วมมือและปรึกษาหารือกับรัฐบาลไทย ต่อไปเพื่อช่วยเหลือพี่น้องไทยมุสลิมภาคใต้ โดยจะเคารพในอธิปไตยของไทยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทยอย่างเต็มที่
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 13-14 มีนาคม 2551 ประเทศไทยได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดระดับผู้นำขององค์การการประชุมอิสลาม ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก ในฐานะที่ไทยได้เข้าเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ของ OIC มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 โดยนายพิทยา พุกกะมาน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ซึ่งประกอบ ด้วย ข้าราชการจากหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ (สำนักงานปลัดกระทรวงฯ กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กรมสารนิเทศ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงดาการ์) ไปร่วมการประชุมสุดยอดดังกล่าว
การประชุมสุดยอดครั้งที่ 11 นี้ เป็นโอกาสสำคัญที่ประมุขรัฐและหัวหน้ารัฐบาลประเทศสมาชิก OIC 57 ประเทศได้พิจารณาและตัดสินใจในประเด็นต่างๆ ที่ OIC มีความสนใจ ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทยนั้น คณะผู้แทนไทยได้ประสบความสำเร็จในการดำเนินการชี้แจงทำความเข้าใจกับฝ่ายต่างๆ ที่มาร่วมการประชุมครั้งนี้ว่าปัญหาสถานการณ์ในภาคใต้ของไทยมิได้เกิดจากการกดขี่หรือความขัดแย้งทางศาสนา แต่เป็นเรื่องที่บุคคลบางกลุ่มได้แอบอ้างใช้ศาสนามาเป็นข้ออ้างในการก่อความรุนแรงเพื่อผลทางการเมือง และถือเป็นปัญหาภายในของไทยที่รัฐบาลกำลังเร่งแก้ไข ทั้งในโอกาสการประชุมนี้และโอกาสอื่นๆ ก่อนหน้านี้ กระทรวงการต่างประเทศได้พยายามชี้แจงอย่างต่อเนื่องถึงการคุ้มครองเสรีภาพทางศาสนาในประเทศไทย และแนวการแก้ไขปัญหาภาคใต้ ของรัฐบาลไทยซึ่งได้ยึดแนวทางสันติวิธีและยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” มาโดยตลอด รวมทั้งได้ยืนยันว่าฝ่ายไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับ OIC และประเทศสมาชิกในด้านต่างๆ ต่อไป
ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ ไทยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากมิตรประเทศในโลกมุสลิมที่เห็นใจและเข้าใจไทย ทำให้ในที่สุด ที่ประชุมสุดยอด OIC ได้กล่าวถึงสถานการณ์ในภาคใต้ของไทยในทางบวกอย่างยิ่งในเอกสารผลการประชุม 2 ฉบับ คือ เอกสารสุดท้าย (Final Communiqu?) และข้อมติที่ประชุม (Resolution) โดยที่ประชุมสุดยอด OIC ได้แสดงความยินดีที่มีการร่วมมือและการปรึกษาหารือกันระหว่าง ศ. Ekmeleddin Ihsanoglu เลขาธิการ OIC กับรัฐบาลไทย รวมทั้งการที่ฝ่ายไทยได้เชิญเลขาธิการ OIC เดินทางมารับทราบสถานการณ์จริงในประเทศไทยด้วยตนเองเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ที่ประชุมได้ส่งเสริมให้ OIC ร่วมมือกับรัฐบาลไทยต่อไปเพื่อช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ และได้ย้ำยืนยันว่า OIC จะเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทยอย่างเต็มที่ (กล่าวคือไม่สนับสนุนความพยายามที่จะแบ่งแยกดินแดนไทย)
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า ผลการประชุมสุดยอด OIC ที่ออกมาเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นความ สำเร็จที่สืบมาจากการดำเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องของกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการชี้แจงสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประชาคมโลกมุสลิม เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ และเป็นความสำเร็จในการสกัดกั้นมิให้บางฝ่ายสามารถกระพือหรือขยายปัญหานี้ขึ้นมาเป็นปัญหาระดับสากลในเวที OIC ได้ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็จะได้ทำงานในส่วนของตนเพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ และเพื่อช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ให้สำเร็จลุล่วงต่อไป
ในการประชุมปีนี้ เรื่องหนึ่งที่ OIC ให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือเรื่องการช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิก OIC ในแอฟริกา ซึ่งคณะผู้แทนไทยก็ได้ย้ำท่าทีของไทยที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือกับประเทศแอฟริกาในด้านต่างๆ ดังที่ได้ดำเนินมาแล้วและจะดำเนินการต่อไป โดยหัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้ทำพิธีมอบรถพยาบาล 2 คัน ให้กระทรวงสาธารณสุขเซเนกัล ถือเป็นนโยบายของไทยที่สอดคล้องกับนโยบาย “ปีแอฟริกา” ของ OIC ในปีนี้ คณะผู้แทนไทยยังได้ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความเห็นกับคณะผู้แทนต่างๆ ที่มาร่วมประชุม และได้พบกับ ชุมชนชาวไทยในเซเนกัลที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตไทยด้วย
การประชุม OIC Summit จัดขึ้นทุกๆ 3 ปี ครั้งล่าสุดคือครั้งที่ 10 จัดที่ปุตราจายา มาเลเซีย เมื่อเดือนตุลาคม 2546 และมีการจัดการประชุมสุดยอด OIC สมัยวิสามัญ (Extraordinary Summit) ขึ้นเป็นพิเศษที่นครเมกกะ ซาอุดีอาระเบียเมื่อเดือนธันวาคม 2548 ซึ่งประเทศไทยก็ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมทั้งสองครั้ง ในการประชุมสุดยอดที่มาเลเซีย นายชัยสิริ อนะมาน เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ในขณะนั้นได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม ส่วนในการประชุมสุดยอดสมัยวิสามัญที่นครเมกกะ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เป็นผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีไทยเข้าประชุม นอกจากนั้น OIC ยังมีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นประจำทุกปี ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา รัฐมนตรีต่างประเทศไทยทุกคนได้ให้ความสำคัญโดยไปเข้าร่วมประชุมมาโดยตลอดทุกครั้ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเผย ที่ปรึกษารัฐมนตรีต่างประเทศในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอิสลาม (OIC Summit) ครั้งที่ 11 ที่เซเนกัล เมื่อวันที่ 13-14 มีนาคม 2551 คณะผู้แทนไทยประสบความสำเร็จในการชี้แจงให้สมาชิกองค์การการประชุมอิสลามเข้าใจสถานการณ์ภาคใต้ของไทย และ OIC ได้แถลงพร้อมจะร่วมมือและปรึกษาหารือกับรัฐบาลไทย ต่อไปเพื่อช่วยเหลือพี่น้องไทยมุสลิมภาคใต้ โดยจะเคารพในอธิปไตยของไทยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทยอย่างเต็มที่
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 13-14 มีนาคม 2551 ประเทศไทยได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดระดับผู้นำขององค์การการประชุมอิสลาม ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก ในฐานะที่ไทยได้เข้าเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ของ OIC มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 โดยนายพิทยา พุกกะมาน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ซึ่งประกอบ ด้วย ข้าราชการจากหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ (สำนักงานปลัดกระทรวงฯ กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กรมสารนิเทศ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงดาการ์) ไปร่วมการประชุมสุดยอดดังกล่าว
การประชุมสุดยอดครั้งที่ 11 นี้ เป็นโอกาสสำคัญที่ประมุขรัฐและหัวหน้ารัฐบาลประเทศสมาชิก OIC 57 ประเทศได้พิจารณาและตัดสินใจในประเด็นต่างๆ ที่ OIC มีความสนใจ ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทยนั้น คณะผู้แทนไทยได้ประสบความสำเร็จในการดำเนินการชี้แจงทำความเข้าใจกับฝ่ายต่างๆ ที่มาร่วมการประชุมครั้งนี้ว่าปัญหาสถานการณ์ในภาคใต้ของไทยมิได้เกิดจากการกดขี่หรือความขัดแย้งทางศาสนา แต่เป็นเรื่องที่บุคคลบางกลุ่มได้แอบอ้างใช้ศาสนามาเป็นข้ออ้างในการก่อความรุนแรงเพื่อผลทางการเมือง และถือเป็นปัญหาภายในของไทยที่รัฐบาลกำลังเร่งแก้ไข ทั้งในโอกาสการประชุมนี้และโอกาสอื่นๆ ก่อนหน้านี้ กระทรวงการต่างประเทศได้พยายามชี้แจงอย่างต่อเนื่องถึงการคุ้มครองเสรีภาพทางศาสนาในประเทศไทย และแนวการแก้ไขปัญหาภาคใต้ ของรัฐบาลไทยซึ่งได้ยึดแนวทางสันติวิธีและยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” มาโดยตลอด รวมทั้งได้ยืนยันว่าฝ่ายไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับ OIC และประเทศสมาชิกในด้านต่างๆ ต่อไป
ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ ไทยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากมิตรประเทศในโลกมุสลิมที่เห็นใจและเข้าใจไทย ทำให้ในที่สุด ที่ประชุมสุดยอด OIC ได้กล่าวถึงสถานการณ์ในภาคใต้ของไทยในทางบวกอย่างยิ่งในเอกสารผลการประชุม 2 ฉบับ คือ เอกสารสุดท้าย (Final Communiqu?) และข้อมติที่ประชุม (Resolution) โดยที่ประชุมสุดยอด OIC ได้แสดงความยินดีที่มีการร่วมมือและการปรึกษาหารือกันระหว่าง ศ. Ekmeleddin Ihsanoglu เลขาธิการ OIC กับรัฐบาลไทย รวมทั้งการที่ฝ่ายไทยได้เชิญเลขาธิการ OIC เดินทางมารับทราบสถานการณ์จริงในประเทศไทยด้วยตนเองเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ที่ประชุมได้ส่งเสริมให้ OIC ร่วมมือกับรัฐบาลไทยต่อไปเพื่อช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ และได้ย้ำยืนยันว่า OIC จะเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทยอย่างเต็มที่ (กล่าวคือไม่สนับสนุนความพยายามที่จะแบ่งแยกดินแดนไทย)
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า ผลการประชุมสุดยอด OIC ที่ออกมาเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นความ สำเร็จที่สืบมาจากการดำเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องของกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการชี้แจงสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประชาคมโลกมุสลิม เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ และเป็นความสำเร็จในการสกัดกั้นมิให้บางฝ่ายสามารถกระพือหรือขยายปัญหานี้ขึ้นมาเป็นปัญหาระดับสากลในเวที OIC ได้ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็จะได้ทำงานในส่วนของตนเพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ และเพื่อช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ให้สำเร็จลุล่วงต่อไป
ในการประชุมปีนี้ เรื่องหนึ่งที่ OIC ให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือเรื่องการช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิก OIC ในแอฟริกา ซึ่งคณะผู้แทนไทยก็ได้ย้ำท่าทีของไทยที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือกับประเทศแอฟริกาในด้านต่างๆ ดังที่ได้ดำเนินมาแล้วและจะดำเนินการต่อไป โดยหัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้ทำพิธีมอบรถพยาบาล 2 คัน ให้กระทรวงสาธารณสุขเซเนกัล ถือเป็นนโยบายของไทยที่สอดคล้องกับนโยบาย “ปีแอฟริกา” ของ OIC ในปีนี้ คณะผู้แทนไทยยังได้ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความเห็นกับคณะผู้แทนต่างๆ ที่มาร่วมประชุม และได้พบกับ ชุมชนชาวไทยในเซเนกัลที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตไทยด้วย
การประชุม OIC Summit จัดขึ้นทุกๆ 3 ปี ครั้งล่าสุดคือครั้งที่ 10 จัดที่ปุตราจายา มาเลเซีย เมื่อเดือนตุลาคม 2546 และมีการจัดการประชุมสุดยอด OIC สมัยวิสามัญ (Extraordinary Summit) ขึ้นเป็นพิเศษที่นครเมกกะ ซาอุดีอาระเบียเมื่อเดือนธันวาคม 2548 ซึ่งประเทศไทยก็ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมทั้งสองครั้ง ในการประชุมสุดยอดที่มาเลเซีย นายชัยสิริ อนะมาน เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ในขณะนั้นได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม ส่วนในการประชุมสุดยอดสมัยวิสามัญที่นครเมกกะ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เป็นผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีไทยเข้าประชุม นอกจากนั้น OIC ยังมีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นประจำทุกปี ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา รัฐมนตรีต่างประเทศไทยทุกคนได้ให้ความสำคัญโดยไปเข้าร่วมประชุมมาโดยตลอดทุกครั้ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-