กรุงเทพ--24 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือข้อราชการกับนาย Stephen Hadley ที่ปรึกษาประธานาธิบดีด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ
จากการที่สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญมากของไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงได้ขอให้ทางการสหรัฐฯ พิจารณาคืนสิทธิ GSP ให้แก่สินค้าไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอัญมณีที่ทำจากทอง ซึ่งสิทธิดังกล่าวถูกถอดถอนไปเมื่อปี 2550 ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงต่อที่ปรึกษาฯ ว่า การคืนสิทธิ GSP ให้แก่ไทยจะช่วยแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบนับหมื่นคน โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับประเด็นมาตรา 301 (ภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ ค.ศ. 1974) ของไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ขอให้ฝ่ายสหรัฐฯ พิจารณาปรับระดับสถานะของไทยจากประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List: PWL) เป็นประเทศที่ถูกจับตามอง (Watch List: WL) เพื่อเห็นแก่การที่ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายปราบปรามการละเมิดเครื่องหมายการค้าและปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในช่วงที่ผ่านมาอย่างแข็งขัน โดยจะเห็นได้จากการจับกุมการละเมิดเครื่องหมายการค้าได้กว่า 7,000 กรณี และการยึดของกลางกว่า 3.7 ล้านชิ้น ในช่วงที่ผ่านมา เป็นต้น
นอกจากนั้น ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการหารือครั้งนี้ คือ สถานการณ์ในพม่า ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ย้ำต่อที่ปรึกษาฯ ถึงนโยบายต่อพม่าของไทยที่เห็นว่าการมีปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์กับพม่าจะช่วยส่งเสริมการสร้างประชาธิปไตยและกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่าได้ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอให้จัดทำการเจรจาหารือในรูปของการประชุมระหว่างประเทศสำคัญต่าง ๆ อาทิ อินเดีย จีน พม่า และสหรัฐฯ เป็นต้น เพื่อที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์และการก่อให้เกิดประชาธิปไตยในพม่า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือข้อราชการกับนาย Stephen Hadley ที่ปรึกษาประธานาธิบดีด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ
จากการที่สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญมากของไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงได้ขอให้ทางการสหรัฐฯ พิจารณาคืนสิทธิ GSP ให้แก่สินค้าไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอัญมณีที่ทำจากทอง ซึ่งสิทธิดังกล่าวถูกถอดถอนไปเมื่อปี 2550 ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงต่อที่ปรึกษาฯ ว่า การคืนสิทธิ GSP ให้แก่ไทยจะช่วยแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบนับหมื่นคน โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับประเด็นมาตรา 301 (ภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ ค.ศ. 1974) ของไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ขอให้ฝ่ายสหรัฐฯ พิจารณาปรับระดับสถานะของไทยจากประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List: PWL) เป็นประเทศที่ถูกจับตามอง (Watch List: WL) เพื่อเห็นแก่การที่ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายปราบปรามการละเมิดเครื่องหมายการค้าและปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในช่วงที่ผ่านมาอย่างแข็งขัน โดยจะเห็นได้จากการจับกุมการละเมิดเครื่องหมายการค้าได้กว่า 7,000 กรณี และการยึดของกลางกว่า 3.7 ล้านชิ้น ในช่วงที่ผ่านมา เป็นต้น
นอกจากนั้น ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการหารือครั้งนี้ คือ สถานการณ์ในพม่า ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ย้ำต่อที่ปรึกษาฯ ถึงนโยบายต่อพม่าของไทยที่เห็นว่าการมีปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์กับพม่าจะช่วยส่งเสริมการสร้างประชาธิปไตยและกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่าได้ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอให้จัดทำการเจรจาหารือในรูปของการประชุมระหว่างประเทศสำคัญต่าง ๆ อาทิ อินเดีย จีน พม่า และสหรัฐฯ เป็นต้น เพื่อที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์และการก่อให้เกิดประชาธิปไตยในพม่า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-