กรุงเทพ--25 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเผยว่ากระทรวงการต่างประเทศได้นำคณะทูตต่างประเทศไปทัศนศึกษาที่อุบลราชธานีและศรีสะเกษ ตามที่ได้เคยจัดมาเพื่อให้คณะทูตในกรุงเทพฯ ได้รู้จักส่วนอื่นของประเทศไทย ในครั้งนี้มุ่งให้คณะทูตมีโอกาสสัมผัสบรรยากาศของอุบลราชธานีในช่วงกีฬา “ดอกบัวเกมส์” และได้ร่วมงาน “ร่มลำดวน ร่มธรรม ตามรอยพระยุคลบาท” ที่ศรีสะเกษ ซึ่งจัดขึ้นในช่วงนี้ คณะทูตได้เยี่ยมโครงการศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์ ชื่นชมศิลปวัฒนธรรมอีสานใต้ และได้แวะชมธรรมชาติและโบราณวัตถุที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารในฝั่งไทยด้วย สำหรับคำถามของสื่อมวลชน กรณีกัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก อธิบดีกรมสารนิเทศยืนยันว่า ไทยไม่ได้คัดค้านการขึ้นทะเบียนตัวปราสาท แต่เนื่องจากเขตรอบปราสาทที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนนั้น ล้ำเข้ามาในบริเวณที่ทั้งไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกัน ไทยจึงต้องรักษาสิทธิของตน และกำลังหารือกับกัมพูชาเพื่อร่วมกันหาทางออกที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารหรือไม่จะไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเขตแดน และย้ำว่า นักท่องเที่ยวยังสามารถมาทัศนาจรบริเวณเขาพระวิหารได้อย่างปลอดภัยตามปกติ คนที่อยู่ในพื้นที่เองก็จะทราบดี เพราะไทยไม่ได้ขัดแย้งกับกัมพูชาเรื่องเขตแดน เพียงแต่มีความเห็นไม่ตรงกันอยู่เท่านั้น และทั้งสองฝ่ายก็กำลังทำงานร่วมกันฉันมิตรเพื่อแก้ปัญหากันอยู่แล้ว
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวที่จังหวัดศรีสะเกษเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2551 ว่า ระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคม กระทรวงการต่างประเทศได้นำคณะทูตต่างประเทศที่สนใจ จากสถานเอกอัครราชทูตคิวบา จีน ญี่ปุ่น ไนจีเรีย สาธารณรัฐเกาหลี และสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไปทัศนศึกษาที่จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กระทรวงการต่างประเทศได้จัดมาแล้วเป็นครั้งคราวตามโอกาสที่เหมาะสม เพื่อให้ทูตานุทูตต่างประเทศที่ประจำการอยู่ในกรุงเทพฯ ได้มีโอกาสรู้จักภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทยด้วย สำหรับการทัศนศึกษาครั้งนี้ได้จัดขึ้นโดยมุ่งให้คณะทูตได้สัมผัสกับบรรยากาศของเมืองอุบลราชธานีระหว่างการแข่งขันกีฬา “ดอกบัวเกมส์” และได้ร่วมงาน “ร่มลำดวน ร่มธรรม ตามรอยพระยุคลบาท” ที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งจัดขึ้นในช่วงนี้พอดีทั้งสองงาน กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานจัดให้คณะทูตต่างประเทศได้เยี่ยมชมโครงการส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์ที่บ้านยางน้อย อุบลราชธานี และโครงการส่งเสริมศิลปาชีพและช่วยเหลือทหารผ่านศึกและครอบครัว ที่ ”บ้านนักรบไทย” อำเภอสว่างวีระวงศ์ อุบลราชธานี เยี่ยมศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ร่วมงาน “ร่มลำดวน ร่มธรรม ตามรอยพระยุคลบาท” ที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ ชื่นชมศิลปวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้าน และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของภาคอีสานใต้ และร่วมชมงานแสดงสินค้า “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” (OTOP) ของจังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนั้น ในเมื่อมีโอกาสผ่านมาทางศรีสะเกษแล้ว คณะทูตจึงได้แวะไปเยือนที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ศรีสะเกษ อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด ได้ชมธรรมชาติ ทิวทัศน์ และสำรวจสระตราว ทำนบโบราณ และแหล่งตัดหินขึ้นไปก่อสร้างปราสาทพระวิหาร ซึ่งล้วนเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในอำเภอกันทรลักษ์ ศรีสะเกษ ในฝั่งไทยด้วย ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ ซึ่งได้มาให้การต้อนรับคณะด้วยตนเอง และจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ด้วยดี
ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับกรณีรัฐบาลกัมพูชากำลังจะขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาเป็นมรดกโลกกับยูเนสโก และข่าวที่ว่า ไทยและกัมพูชา “ขัดแย้ง” กันเรื่องดินแดนในพื้นที่แถบเขาพระวิหารนั้น อธิบดีกรมสารนิเทศชี้แจงว่า ไทยยอมรับคำตัดสินของศาลโลกว่า ตัวปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่ศาลโลกไม่ได้ตัดสินเรื่องเส้นเขตแดน จึงยังมีบริเวณที่ทั้งไทยทั้งกัมพูชาต่างอ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่ เพราะต่างถือแผนที่คนละฉบับ ยึดถือเส้นเขตแดนคนละเส้นกัน เปรียบเหมือนบ้านสองหลังที่เป็นเพื่อนบ้านติดกัน แต่เจ้าบ้านถือโฉนดคนละฉบับแตกต่างกัน แต่การที่ไทยกับกัมพูชาเห็นไม่ตรงกันนี้ก็ไม่จำเป็นต้องนำไปสู่ความขัดแย้ง สามารถมานั่งโต๊ะร่วมกันเจรจาหาทางแก้ด้วยกันได้ เรื่องการเห็นไม่ตรงกันหรือมีการอ้างสิทธิทับซ้อนกัน หรือแนวเส้นเขตแดนยังไม่ชัดเจนนี้ มิใช่เรื่องผิดปกติ เพราะตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชาทางบก 798 กิโลเมตรก็มีปัญหาลักษณะนี้อยู่หลายแห่ง ซึ่งรัฐบาลทั้งสองฝ่ายก็ทราบดีและได้ตกลงกันแล้วที่จะตั้งกลไก คือคณะกรรมการร่วมสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา เมื่อปี พ.ศ. 2543 เพื่อทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหา และงานของกลไกนี้ก็ยังดำเนินกันอยู่ในขณะนี้
ส่วนเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกกับยูเนสโกนั้น ไทยไม่ได้คัดค้านและที่จริงสนับสนุนในหลักการเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากไทยก็เห็นคุณค่าทางโบราณคดีของปราสาทนี้ แต่เนื่องจากเอกสารคำขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชามีการกำหนดเส้นเขตรอบปราสาทล้ำเข้ามาในพื้นที่ที่ยังมีการอ้างสิทธิทับซ้อน ไทยจึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิของไทยไว้ แต่ในขณะเดียวกันก็ได้พยายามเจรจาหารือหาทางออกเฉพาะหน้าร่วมกันกับฝ่ายกัมพูชา เพื่อให้การขึ้นทะเบียนสามารถดำเนินไปได้โดยมีผลทางปฏิบัติจริง อธิบดีกรมสารนิเทศย้ำว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกหรือไม่ไม่มีผลต่อเขตแดน เนื่องจากยูเนสโกไม่มีอาณัติหรืออำนาจหน้าที่ในเรื่องเส้นเขตแดน แต่กระทรวงการต่างประเทศก็ได้ดำเนินการที่จำเป็นอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาสิทธิของไทยไว้แล้ว และจะดำเนินการต่อไป ซึ่งนั่นเป็นการดำเนินการทางการทูต แต่ส่วนราชการไทยอื่นๆ ก็ต้องทำหน้าที่ในส่วนของตนอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง เช่น กรมศิลปากรดูแลเรื่องความถูกต้องครบถ้วนทางวิชาการโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ส่วนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ต่างก็ต้องทำหน้าที่ดูแลรักษาดินแดน ซึ่งก็ทำอยู่แล้วเช่นกัน
นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติสามารถมาทัศนาจรในบริเวณเขาพระวิหารได้ตามปกติ ไม่ได้มีอันตรายอะไร ซึ่งคนที่อยู่ในพื้นที่เองก็ทราบสถานการณ์ดี และกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ช่วยชี้แจงประชาสัมพันธ์ให้ในหลายโอกาส เพียงแต่ข่าวที่ออกไปอาจทำให้คนนอกพื้นที่เข้าใจผิดหรือวิตกว่ากำลังมีการยื้อแย่งดินแดนกัน อันที่จริงทั้งสองฝ่ายมีกลไกแก้ปัญหา และกำลังร่วมกันทำงานฉันมิตรอยู่
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเผยว่ากระทรวงการต่างประเทศได้นำคณะทูตต่างประเทศไปทัศนศึกษาที่อุบลราชธานีและศรีสะเกษ ตามที่ได้เคยจัดมาเพื่อให้คณะทูตในกรุงเทพฯ ได้รู้จักส่วนอื่นของประเทศไทย ในครั้งนี้มุ่งให้คณะทูตมีโอกาสสัมผัสบรรยากาศของอุบลราชธานีในช่วงกีฬา “ดอกบัวเกมส์” และได้ร่วมงาน “ร่มลำดวน ร่มธรรม ตามรอยพระยุคลบาท” ที่ศรีสะเกษ ซึ่งจัดขึ้นในช่วงนี้ คณะทูตได้เยี่ยมโครงการศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์ ชื่นชมศิลปวัฒนธรรมอีสานใต้ และได้แวะชมธรรมชาติและโบราณวัตถุที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารในฝั่งไทยด้วย สำหรับคำถามของสื่อมวลชน กรณีกัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก อธิบดีกรมสารนิเทศยืนยันว่า ไทยไม่ได้คัดค้านการขึ้นทะเบียนตัวปราสาท แต่เนื่องจากเขตรอบปราสาทที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนนั้น ล้ำเข้ามาในบริเวณที่ทั้งไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกัน ไทยจึงต้องรักษาสิทธิของตน และกำลังหารือกับกัมพูชาเพื่อร่วมกันหาทางออกที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารหรือไม่จะไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเขตแดน และย้ำว่า นักท่องเที่ยวยังสามารถมาทัศนาจรบริเวณเขาพระวิหารได้อย่างปลอดภัยตามปกติ คนที่อยู่ในพื้นที่เองก็จะทราบดี เพราะไทยไม่ได้ขัดแย้งกับกัมพูชาเรื่องเขตแดน เพียงแต่มีความเห็นไม่ตรงกันอยู่เท่านั้น และทั้งสองฝ่ายก็กำลังทำงานร่วมกันฉันมิตรเพื่อแก้ปัญหากันอยู่แล้ว
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวที่จังหวัดศรีสะเกษเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2551 ว่า ระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคม กระทรวงการต่างประเทศได้นำคณะทูตต่างประเทศที่สนใจ จากสถานเอกอัครราชทูตคิวบา จีน ญี่ปุ่น ไนจีเรีย สาธารณรัฐเกาหลี และสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไปทัศนศึกษาที่จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กระทรวงการต่างประเทศได้จัดมาแล้วเป็นครั้งคราวตามโอกาสที่เหมาะสม เพื่อให้ทูตานุทูตต่างประเทศที่ประจำการอยู่ในกรุงเทพฯ ได้มีโอกาสรู้จักภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทยด้วย สำหรับการทัศนศึกษาครั้งนี้ได้จัดขึ้นโดยมุ่งให้คณะทูตได้สัมผัสกับบรรยากาศของเมืองอุบลราชธานีระหว่างการแข่งขันกีฬา “ดอกบัวเกมส์” และได้ร่วมงาน “ร่มลำดวน ร่มธรรม ตามรอยพระยุคลบาท” ที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งจัดขึ้นในช่วงนี้พอดีทั้งสองงาน กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานจัดให้คณะทูตต่างประเทศได้เยี่ยมชมโครงการส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์ที่บ้านยางน้อย อุบลราชธานี และโครงการส่งเสริมศิลปาชีพและช่วยเหลือทหารผ่านศึกและครอบครัว ที่ ”บ้านนักรบไทย” อำเภอสว่างวีระวงศ์ อุบลราชธานี เยี่ยมศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ร่วมงาน “ร่มลำดวน ร่มธรรม ตามรอยพระยุคลบาท” ที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ ชื่นชมศิลปวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้าน และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของภาคอีสานใต้ และร่วมชมงานแสดงสินค้า “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” (OTOP) ของจังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนั้น ในเมื่อมีโอกาสผ่านมาทางศรีสะเกษแล้ว คณะทูตจึงได้แวะไปเยือนที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ศรีสะเกษ อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด ได้ชมธรรมชาติ ทิวทัศน์ และสำรวจสระตราว ทำนบโบราณ และแหล่งตัดหินขึ้นไปก่อสร้างปราสาทพระวิหาร ซึ่งล้วนเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในอำเภอกันทรลักษ์ ศรีสะเกษ ในฝั่งไทยด้วย ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ ซึ่งได้มาให้การต้อนรับคณะด้วยตนเอง และจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ด้วยดี
ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับกรณีรัฐบาลกัมพูชากำลังจะขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาเป็นมรดกโลกกับยูเนสโก และข่าวที่ว่า ไทยและกัมพูชา “ขัดแย้ง” กันเรื่องดินแดนในพื้นที่แถบเขาพระวิหารนั้น อธิบดีกรมสารนิเทศชี้แจงว่า ไทยยอมรับคำตัดสินของศาลโลกว่า ตัวปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่ศาลโลกไม่ได้ตัดสินเรื่องเส้นเขตแดน จึงยังมีบริเวณที่ทั้งไทยทั้งกัมพูชาต่างอ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่ เพราะต่างถือแผนที่คนละฉบับ ยึดถือเส้นเขตแดนคนละเส้นกัน เปรียบเหมือนบ้านสองหลังที่เป็นเพื่อนบ้านติดกัน แต่เจ้าบ้านถือโฉนดคนละฉบับแตกต่างกัน แต่การที่ไทยกับกัมพูชาเห็นไม่ตรงกันนี้ก็ไม่จำเป็นต้องนำไปสู่ความขัดแย้ง สามารถมานั่งโต๊ะร่วมกันเจรจาหาทางแก้ด้วยกันได้ เรื่องการเห็นไม่ตรงกันหรือมีการอ้างสิทธิทับซ้อนกัน หรือแนวเส้นเขตแดนยังไม่ชัดเจนนี้ มิใช่เรื่องผิดปกติ เพราะตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชาทางบก 798 กิโลเมตรก็มีปัญหาลักษณะนี้อยู่หลายแห่ง ซึ่งรัฐบาลทั้งสองฝ่ายก็ทราบดีและได้ตกลงกันแล้วที่จะตั้งกลไก คือคณะกรรมการร่วมสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา เมื่อปี พ.ศ. 2543 เพื่อทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหา และงานของกลไกนี้ก็ยังดำเนินกันอยู่ในขณะนี้
ส่วนเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกกับยูเนสโกนั้น ไทยไม่ได้คัดค้านและที่จริงสนับสนุนในหลักการเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากไทยก็เห็นคุณค่าทางโบราณคดีของปราสาทนี้ แต่เนื่องจากเอกสารคำขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชามีการกำหนดเส้นเขตรอบปราสาทล้ำเข้ามาในพื้นที่ที่ยังมีการอ้างสิทธิทับซ้อน ไทยจึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิของไทยไว้ แต่ในขณะเดียวกันก็ได้พยายามเจรจาหารือหาทางออกเฉพาะหน้าร่วมกันกับฝ่ายกัมพูชา เพื่อให้การขึ้นทะเบียนสามารถดำเนินไปได้โดยมีผลทางปฏิบัติจริง อธิบดีกรมสารนิเทศย้ำว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกหรือไม่ไม่มีผลต่อเขตแดน เนื่องจากยูเนสโกไม่มีอาณัติหรืออำนาจหน้าที่ในเรื่องเส้นเขตแดน แต่กระทรวงการต่างประเทศก็ได้ดำเนินการที่จำเป็นอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาสิทธิของไทยไว้แล้ว และจะดำเนินการต่อไป ซึ่งนั่นเป็นการดำเนินการทางการทูต แต่ส่วนราชการไทยอื่นๆ ก็ต้องทำหน้าที่ในส่วนของตนอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง เช่น กรมศิลปากรดูแลเรื่องความถูกต้องครบถ้วนทางวิชาการโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ส่วนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ต่างก็ต้องทำหน้าที่ดูแลรักษาดินแดน ซึ่งก็ทำอยู่แล้วเช่นกัน
นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติสามารถมาทัศนาจรในบริเวณเขาพระวิหารได้ตามปกติ ไม่ได้มีอันตรายอะไร ซึ่งคนที่อยู่ในพื้นที่เองก็ทราบสถานการณ์ดี และกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ช่วยชี้แจงประชาสัมพันธ์ให้ในหลายโอกาส เพียงแต่ข่าวที่ออกไปอาจทำให้คนนอกพื้นที่เข้าใจผิดหรือวิตกว่ากำลังมีการยื้อแย่งดินแดนกัน อันที่จริงทั้งสองฝ่ายมีกลไกแก้ปัญหา และกำลังร่วมกันทำงานฉันมิตรอยู่
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-