กรุงเทพ--27 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion Summit — GMS Summit) ครั้งที่ 3 ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2551 ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างประเทศครั้งแรกของนายกรัฐมนตรี และการประชุมครั้งนี้มีผู้นำประเทศสมาชิก GMS 6 ประเทศ เข้าร่วมประกอบด้วย กัมพูชา จีน ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม นอกจากฯพณฯ นายกรัฐมนตรีแล้ว คณะผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นรัฐมนตรี GMS นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้การประชุม GMS ครั้งแรกจัดขึ้นในปี 2545 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ขณะที่การประชุมฯ ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในปี 2548 ณ นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน
กรอบความร่วมมือ GMS ก่อตั้งโดยประเทศสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2535 (ค.ศ.1992) เพื่อดำเนินความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวม 9 สาขา ได้แก่ 1. คมนาคม 2. โทรคมนาคม 3. พลังงาน 4. การค้า 5.การลงทุน 6. เกษตร 7. สิ่งแวดล้อม 8. การท่องเที่ยว 9. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กรอบความร่วมมือGMS มี ADB เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ประสานงานกลางดำเนินความร่วมมือกับประเทศสมาชิก GMS และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินความร่วมมือสาขาต่างๆ ประกอบด้วย กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข มีสภาธุรกิจ GMS ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากภาคเอกชนของประเทศต่างๆ ปฏิบัติภารกิจในการดำเนินความสัมพันธ์ทางด้านการค้า การลงทุนกับประเทศสมาชิก
กำหนดการที่สำคัญของการประชุม คือ การประชุมระดับผู้นำ การพบปะระหว่างผู้นำภาคเอกชน การพบปะระหว่างผู้นำกับเยาวชนเป็นครั้งแรก พิธีการลงนามบันทึกความเข้าใจ 2 ฉบับ คือ บันทึกความเข้าใจจัดตั้งกลไกเพื่อประสานความร่วมมือ ในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเส้นทางคมนาคม (MoU toward Sustainable and Balanced Development of the GMS North-South Economic Corridor and Enhanced Organizational Effectiveness for Developing Economic Corridor) และบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านพลังงาน (MoU on the Road Map for Implementing the GMS Cross Border Power Trading) และพิธีการฉลองความสำเร็จของเส้นทางหมายเลข 3 และโครงข่ายโทรคมนาคมสารสนเทศ
หัวข้อหลักของการประชุมฯ คือ “Enhancing Competitiveness through Greater Connectivity” ซึ่งเป็นเรื่องการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการขยายความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค โดยประเด็นที่จะมีการหารือในการประชุม คือ 1) การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นเรื่องการติดตามความคืบของโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งและการเชื่อมโยงระบบโทรคมนาคมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีโครงการแนวพื้นที่เศรษฐกิจ North - South Economic Corridor, East - West Economic Corridor และ Southern Economic Corridor เป็นโครงการที่ไทยมีส่วนร่วมสำคัญในการดำเนินงาน เช่น สร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 2) การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่ง ซึ่งเป็นเรื่องการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเส้นทางการคมนาคมเพื่อการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายสินค้าและบุคคลบนเส้นทาง 3) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ-เอกชน เพื่อการขยายธุรกิจและการลงทุนในประเทศ เน้นการกระชับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานเรื่องการคมนาคมขนส่งเพื่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว 4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน ซึ่งเป็นการหารือการกระชับและขยายความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก GMS กับสถาบันการเงินระหว่างประเทศและหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่อยู่ในกรอบความร่วมมือทุกสาขาของ GMS ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทยจะเป็นผู้กล่าวนำในหัวข้อนี้ เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิก GMS ด้วย 5) บทบาทของการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขัน จะเป็นการหารือในการดำเนินความร่วมมือในเรื่องการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ GMS ซึ่งรวมถึงปัญหาภาวะโลกร้อน 6) ความร่วมมือและหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา GMS ซึ่งจะเป็นการหารือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรมนุษย์ของสมาชิก GMS กับสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น ADB และรัฐบาลของประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาในการสนับสนุนโครงการและดำเนินความร่วมมือในสาขาต่างๆ ในกรอบ GMS
ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.adb.org/GMS/default.asp
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion Summit — GMS Summit) ครั้งที่ 3 ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2551 ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างประเทศครั้งแรกของนายกรัฐมนตรี และการประชุมครั้งนี้มีผู้นำประเทศสมาชิก GMS 6 ประเทศ เข้าร่วมประกอบด้วย กัมพูชา จีน ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม นอกจากฯพณฯ นายกรัฐมนตรีแล้ว คณะผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นรัฐมนตรี GMS นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้การประชุม GMS ครั้งแรกจัดขึ้นในปี 2545 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ขณะที่การประชุมฯ ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในปี 2548 ณ นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน
กรอบความร่วมมือ GMS ก่อตั้งโดยประเทศสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2535 (ค.ศ.1992) เพื่อดำเนินความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวม 9 สาขา ได้แก่ 1. คมนาคม 2. โทรคมนาคม 3. พลังงาน 4. การค้า 5.การลงทุน 6. เกษตร 7. สิ่งแวดล้อม 8. การท่องเที่ยว 9. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กรอบความร่วมมือGMS มี ADB เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ประสานงานกลางดำเนินความร่วมมือกับประเทศสมาชิก GMS และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินความร่วมมือสาขาต่างๆ ประกอบด้วย กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข มีสภาธุรกิจ GMS ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากภาคเอกชนของประเทศต่างๆ ปฏิบัติภารกิจในการดำเนินความสัมพันธ์ทางด้านการค้า การลงทุนกับประเทศสมาชิก
กำหนดการที่สำคัญของการประชุม คือ การประชุมระดับผู้นำ การพบปะระหว่างผู้นำภาคเอกชน การพบปะระหว่างผู้นำกับเยาวชนเป็นครั้งแรก พิธีการลงนามบันทึกความเข้าใจ 2 ฉบับ คือ บันทึกความเข้าใจจัดตั้งกลไกเพื่อประสานความร่วมมือ ในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเส้นทางคมนาคม (MoU toward Sustainable and Balanced Development of the GMS North-South Economic Corridor and Enhanced Organizational Effectiveness for Developing Economic Corridor) และบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านพลังงาน (MoU on the Road Map for Implementing the GMS Cross Border Power Trading) และพิธีการฉลองความสำเร็จของเส้นทางหมายเลข 3 และโครงข่ายโทรคมนาคมสารสนเทศ
หัวข้อหลักของการประชุมฯ คือ “Enhancing Competitiveness through Greater Connectivity” ซึ่งเป็นเรื่องการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการขยายความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค โดยประเด็นที่จะมีการหารือในการประชุม คือ 1) การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นเรื่องการติดตามความคืบของโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งและการเชื่อมโยงระบบโทรคมนาคมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีโครงการแนวพื้นที่เศรษฐกิจ North - South Economic Corridor, East - West Economic Corridor และ Southern Economic Corridor เป็นโครงการที่ไทยมีส่วนร่วมสำคัญในการดำเนินงาน เช่น สร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 2) การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่ง ซึ่งเป็นเรื่องการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเส้นทางการคมนาคมเพื่อการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายสินค้าและบุคคลบนเส้นทาง 3) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ-เอกชน เพื่อการขยายธุรกิจและการลงทุนในประเทศ เน้นการกระชับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานเรื่องการคมนาคมขนส่งเพื่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว 4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน ซึ่งเป็นการหารือการกระชับและขยายความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก GMS กับสถาบันการเงินระหว่างประเทศและหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่อยู่ในกรอบความร่วมมือทุกสาขาของ GMS ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทยจะเป็นผู้กล่าวนำในหัวข้อนี้ เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิก GMS ด้วย 5) บทบาทของการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขัน จะเป็นการหารือในการดำเนินความร่วมมือในเรื่องการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ GMS ซึ่งรวมถึงปัญหาภาวะโลกร้อน 6) ความร่วมมือและหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา GMS ซึ่งจะเป็นการหารือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรมนุษย์ของสมาชิก GMS กับสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น ADB และรัฐบาลของประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาในการสนับสนุนโครงการและดำเนินความร่วมมือในสาขาต่างๆ ในกรอบ GMS
ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.adb.org/GMS/default.asp
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-