กรุงเทพ--27 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 18 - 19 มีนาคม 2551 กระทรวงการต่างประเทศได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะอนุกรรมการว่าด้วยกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Sub-Committee on Rules of Origin) เพื่อแก้ไขปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในขั้นตอน การส่งออก / นำเข้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการประชุมระดับเทคนิคกลไกแรกที่ถือกำเนิดขึ้นภายหลังจากที่ไทยและญี่ปุ่นได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจหรือ “JTEPA” ซึ่งมีผลใช้บังคับไปเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550
การประชุมดังกล่าวประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการต่างประเทศ ของฝ่ายไทย และผู้แทนจากกระทรวงการคลัง กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง และกระทรวงการต่างประเทศ ของฝ่ายญี่ปุ่น โดยที่ประชุมได้หารือกันในเรื่องวิธีการระบุรายละเอียดในหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าและขั้นตอนในการพิสูจน์ถิ่นกำเนิดสินค้าให้มีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการให้น้อยที่สุด การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าและการขอคืนอากรขาเข้า ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้หยิบยกประเด็o ในที่ประชุมเกี่ยวกับกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋อง
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะแก้ไขภาคผนวก 2 ของ JTEPA โดยแปลงกฎเฉพาะผลิตภัณฑ์ (Product specific rules) จากระบบ HS2002 เป็น HS2007 เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบภายในของทั้งสองฝ่ายที่เริ่มใช้ตั้งแต่มกราคม 2550 โดยผู้เชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่ายมีกำหนดจะแก้ไขและเสนอให้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการร่วมว่าด้วยกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าให้ความเห็นชอบก่อนเสนอคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) รับรองภายในสิ้นปี 2551 นี้
สำหรับการประชุมครั้งต่อไป ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดในขั้นต้นว่า อาจเป็นช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2551 ก่อนการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 2
อนึ่ง นอกจากคณะอนุกรรมการร่วมว่าด้วยกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าแล้ว ยังมีคณะอนุกรรมการที่ดูแลด้านต่าง ๆ อีกรวม 20 คณะ เช่น คณะอนุกรรมการว่าด้วยการค้าบริการที่จะหารือเรื่องมาตรการปกป้องฉุกเฉินซึ่งเป็นแนวคิดของไทยเพื่อรองรับผลกระทบจาก FTA สำหรับผู้ประกอบการ คณะอนุกรรมการว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาที่จะหารือเรื่องความเป็นไปได้ในการส่งผู้ดูแลผู้สูงอายุและพนักงานสปาไทยไปทำงานในญี่ปุ่น และคณะอนุกรรมการเรื่องความร่วมมือสาขาต่าง ๆ เช่น เรื่องเกษตร เรื่องการส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนในไทย ฯลฯ ซึ่งจะทยอยจัดการประชุมตลอดปี 2551 นี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 18 - 19 มีนาคม 2551 กระทรวงการต่างประเทศได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะอนุกรรมการว่าด้วยกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Sub-Committee on Rules of Origin) เพื่อแก้ไขปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในขั้นตอน การส่งออก / นำเข้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการประชุมระดับเทคนิคกลไกแรกที่ถือกำเนิดขึ้นภายหลังจากที่ไทยและญี่ปุ่นได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจหรือ “JTEPA” ซึ่งมีผลใช้บังคับไปเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550
การประชุมดังกล่าวประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการต่างประเทศ ของฝ่ายไทย และผู้แทนจากกระทรวงการคลัง กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง และกระทรวงการต่างประเทศ ของฝ่ายญี่ปุ่น โดยที่ประชุมได้หารือกันในเรื่องวิธีการระบุรายละเอียดในหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าและขั้นตอนในการพิสูจน์ถิ่นกำเนิดสินค้าให้มีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการให้น้อยที่สุด การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าและการขอคืนอากรขาเข้า ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้หยิบยกประเด็o ในที่ประชุมเกี่ยวกับกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋อง
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะแก้ไขภาคผนวก 2 ของ JTEPA โดยแปลงกฎเฉพาะผลิตภัณฑ์ (Product specific rules) จากระบบ HS2002 เป็น HS2007 เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบภายในของทั้งสองฝ่ายที่เริ่มใช้ตั้งแต่มกราคม 2550 โดยผู้เชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่ายมีกำหนดจะแก้ไขและเสนอให้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการร่วมว่าด้วยกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าให้ความเห็นชอบก่อนเสนอคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) รับรองภายในสิ้นปี 2551 นี้
สำหรับการประชุมครั้งต่อไป ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดในขั้นต้นว่า อาจเป็นช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2551 ก่อนการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 2
อนึ่ง นอกจากคณะอนุกรรมการร่วมว่าด้วยกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าแล้ว ยังมีคณะอนุกรรมการที่ดูแลด้านต่าง ๆ อีกรวม 20 คณะ เช่น คณะอนุกรรมการว่าด้วยการค้าบริการที่จะหารือเรื่องมาตรการปกป้องฉุกเฉินซึ่งเป็นแนวคิดของไทยเพื่อรองรับผลกระทบจาก FTA สำหรับผู้ประกอบการ คณะอนุกรรมการว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาที่จะหารือเรื่องความเป็นไปได้ในการส่งผู้ดูแลผู้สูงอายุและพนักงานสปาไทยไปทำงานในญี่ปุ่น และคณะอนุกรรมการเรื่องความร่วมมือสาขาต่าง ๆ เช่น เรื่องเกษตร เรื่องการส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนในไทย ฯลฯ ซึ่งจะทยอยจัดการประชุมตลอดปี 2551 นี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-