กรุงเทพ--28 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในวันที่ 28 มีนาคม 2551 นายอับดุลลา ชาฮิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐมัลดีฟส์จะเข้าพบหารือข้อราชการกับนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 28 — 29 มีนาคม 2551 โดยการเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน และภายหลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐมัลดีฟส์ ณ ห้องสัตตบงกช กระทรวงการต่างประเทศ ต่อจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐ
มัลดีฟส์มีกำหนดจะเข้าเยี่ยมคารวะ พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ณ ห้องสีเหลือง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ไทยและมัลดีฟส์เป็นมิตรประเทศที่ดีต่อกันเสมอมานับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2522 อย่างไรก็ดี ความร่วมมือระหว่างกันยังมีจำกัดเนื่องจากความแตกต่างของระดับการพัฒนาและการที่ทั้งสองประเทศไม่มีผลประโยชน์ที่สอดคล้องหรือเอื้อต่อกันในเชิงยุทธศาสตร์ทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างเด่นชัด อย่างไรก็ตาม โดยที่มัลดีฟส์เป็นประเทศที่เน้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและยังมีความต้องการแรงงานอีกมาก ทำให้แรงงานไทยสนใจเดินทางเข้าไปทำงานในมัลดีฟส์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนในปัจจุบันมีแรงงานไทยทำงานอยู่ในมัลดีฟส์ประมาณ 500 คน
รัฐบาลไทยและมัลดีฟส์พยายามกระชับความสัมพันธ์ผ่านโครงการความร่วมมือต่าง ๆ โดยฝ่ายไทยได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่มัลดีฟส์อย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2536 มีการจัดทำแผนความร่วมมือทางวิชาการระยะเวลา 3 ปี ที่เน้นการให้ทุนศึกษา/ฝึกอบรม/ดูงาน ซึ่งมัลดีฟส์ได้รับทุนเฉลี่ยปีละ 5-10 ทุน เพื่อศึกษาในระดับอนุปริญญาและปริญญาตรีในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เศรษฐศาสตร์ การเกษตร สิ่งแวดล้อม และบริหารธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นต้น ขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำกรอบความตกลงความร่วมมือรอบด้าน (Comprehensive Framework Agreement Cooperation) ซึ่งครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพ ศิลปะและวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การบิน การกงสุล และความร่วมมือพหุภาคี นอกจากนั้น ไทยยังได้ให้ความช่วยเหลือแก่มัลดีฟส์ในกรอบความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) อีกด้วย
สำหรับมูลค่าการค้า/การลงทุนระหว่างกันในปี 2550 มีจำนวน 105 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยประเทศไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าประมาณ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าที่ไทยนำเข้าจำนวนมาก คือ ปลาทูน่า ทั้งสดและแช่แข็ง สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์พลาสติก ข้าว และผลิตภัณฑ์เซรามิก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในวันที่ 28 มีนาคม 2551 นายอับดุลลา ชาฮิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐมัลดีฟส์จะเข้าพบหารือข้อราชการกับนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 28 — 29 มีนาคม 2551 โดยการเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน และภายหลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐมัลดีฟส์ ณ ห้องสัตตบงกช กระทรวงการต่างประเทศ ต่อจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐ
มัลดีฟส์มีกำหนดจะเข้าเยี่ยมคารวะ พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ณ ห้องสีเหลือง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ไทยและมัลดีฟส์เป็นมิตรประเทศที่ดีต่อกันเสมอมานับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2522 อย่างไรก็ดี ความร่วมมือระหว่างกันยังมีจำกัดเนื่องจากความแตกต่างของระดับการพัฒนาและการที่ทั้งสองประเทศไม่มีผลประโยชน์ที่สอดคล้องหรือเอื้อต่อกันในเชิงยุทธศาสตร์ทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างเด่นชัด อย่างไรก็ตาม โดยที่มัลดีฟส์เป็นประเทศที่เน้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและยังมีความต้องการแรงงานอีกมาก ทำให้แรงงานไทยสนใจเดินทางเข้าไปทำงานในมัลดีฟส์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนในปัจจุบันมีแรงงานไทยทำงานอยู่ในมัลดีฟส์ประมาณ 500 คน
รัฐบาลไทยและมัลดีฟส์พยายามกระชับความสัมพันธ์ผ่านโครงการความร่วมมือต่าง ๆ โดยฝ่ายไทยได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่มัลดีฟส์อย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2536 มีการจัดทำแผนความร่วมมือทางวิชาการระยะเวลา 3 ปี ที่เน้นการให้ทุนศึกษา/ฝึกอบรม/ดูงาน ซึ่งมัลดีฟส์ได้รับทุนเฉลี่ยปีละ 5-10 ทุน เพื่อศึกษาในระดับอนุปริญญาและปริญญาตรีในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เศรษฐศาสตร์ การเกษตร สิ่งแวดล้อม และบริหารธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นต้น ขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำกรอบความตกลงความร่วมมือรอบด้าน (Comprehensive Framework Agreement Cooperation) ซึ่งครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพ ศิลปะและวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การบิน การกงสุล และความร่วมมือพหุภาคี นอกจากนั้น ไทยยังได้ให้ความช่วยเหลือแก่มัลดีฟส์ในกรอบความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) อีกด้วย
สำหรับมูลค่าการค้า/การลงทุนระหว่างกันในปี 2550 มีจำนวน 105 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยประเทศไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าประมาณ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าที่ไทยนำเข้าจำนวนมาก คือ ปลาทูน่า ทั้งสดและแช่แข็ง สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์พลาสติก ข้าว และผลิตภัณฑ์เซรามิก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-