กรุงเทพ--28 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2551 เวลา 09.09 น. พลเรือโท คงวัฒน์ นีละศรี เจ้ากรมอุทกศาสตร์และภริยา เป็นประธานในพิธีการปล่อยเรือสำรวจหยั่งน้ำพร้อมด้วยระบบหยั่งน้ำชนิดหลายลำคลื่น เพื่อทำการสำรวจ สภาพทางอุทกศาสตร์ในแม่น้ำโขง จำนวน 3 ลำ ลงน้ำที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้าบริษัท มาร์ซัน จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีนายธัชชยุติ ภักดี ผู้อำนวยการกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เป็นผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วม
เรือสำรวจดังกล่าวจะใช้ในการสำรวจร่องน้ำลึกและสภาพทางอุทกศาสตร์ของแม่น้ำโขง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนที่แม่น้ำโขงฉบับใหม่ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7-8 มีนาคม 2550 ที่เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งกำหนดให้ฝ่ายไทยและฝ่ายลาวร่วมกันจัดทำแผนที่แม่น้ำโขงฉบับใหม่ ในมาตราส่วน 1 : 25,000 ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันที่ 15 มีนาคม 2550 และโดยที่ฝ่ายไทยเห็นว่าการสำรวจร่องน้ำลึกและสภาพทางอุทกศาสตร์ของแม่น้ำโขง จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำแผนที่แม่น้ำโขงฉบับใหม่ ซึ่งจะสามารถกำหนดเส้นเขตแดนในแม่น้ำโขงระหว่างไทยและลาว ตามอนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส เพื่อวางระเบียบเกี่ยวพันระหว่างสยามกับอินโดจีน ฉบับลงวันที่ 25 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1926 ได้ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงได้ร่วมมือกับกรมอุทกศาสตร์ในการจัดซื้อเรือสำรวจดังกล่าว โดยว่าจ้างให้บริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบในการต่อเรือ และในปลายเดือนมิถุนายน 2551 จะมีพิธีส่งเรือลงแม่น้ำโขงเพื่อปฏิบัติหน้าที่อีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเดินเรือ การบริหารจัดการและอนุรักษ์แม่น้ำโขง และเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามความตกลงต่างๆ ที่ไทยเป็นภาคี โดยฝ่ายไทยพร้อมที่จะให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 8
ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายลาวอำนวยความสะดวกสำหรับการสำรวจดังกล่าว ซึ่งฝ่ายลาวไม่ขัดข้อง ดังนั้น การสำรวจร่องน้ำลึกและสภาพทางอุทกศาสตร์ในแม่น้ำโขงในครั้งนี้ จะเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมืออันดีระหว่างฝ่ายไทยและฝ่ายลาว อันจะลดความขัดแย้งระหว่างกัน และแสดงให้เห็นว่า ประเด็นด้านเขตแดนมิได้เป็นปัญหาระหว่างกัน แต่จะเป็นความร่วมมือที่ดีระหว่างสองฝ่าย เพื่อให้ได้มาซึ่งเส้นเขตแดนที่ชัดเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งสองฝ่ายต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2551 เวลา 09.09 น. พลเรือโท คงวัฒน์ นีละศรี เจ้ากรมอุทกศาสตร์และภริยา เป็นประธานในพิธีการปล่อยเรือสำรวจหยั่งน้ำพร้อมด้วยระบบหยั่งน้ำชนิดหลายลำคลื่น เพื่อทำการสำรวจ สภาพทางอุทกศาสตร์ในแม่น้ำโขง จำนวน 3 ลำ ลงน้ำที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้าบริษัท มาร์ซัน จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีนายธัชชยุติ ภักดี ผู้อำนวยการกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เป็นผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วม
เรือสำรวจดังกล่าวจะใช้ในการสำรวจร่องน้ำลึกและสภาพทางอุทกศาสตร์ของแม่น้ำโขง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนที่แม่น้ำโขงฉบับใหม่ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7-8 มีนาคม 2550 ที่เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งกำหนดให้ฝ่ายไทยและฝ่ายลาวร่วมกันจัดทำแผนที่แม่น้ำโขงฉบับใหม่ ในมาตราส่วน 1 : 25,000 ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันที่ 15 มีนาคม 2550 และโดยที่ฝ่ายไทยเห็นว่าการสำรวจร่องน้ำลึกและสภาพทางอุทกศาสตร์ของแม่น้ำโขง จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำแผนที่แม่น้ำโขงฉบับใหม่ ซึ่งจะสามารถกำหนดเส้นเขตแดนในแม่น้ำโขงระหว่างไทยและลาว ตามอนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส เพื่อวางระเบียบเกี่ยวพันระหว่างสยามกับอินโดจีน ฉบับลงวันที่ 25 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1926 ได้ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงได้ร่วมมือกับกรมอุทกศาสตร์ในการจัดซื้อเรือสำรวจดังกล่าว โดยว่าจ้างให้บริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบในการต่อเรือ และในปลายเดือนมิถุนายน 2551 จะมีพิธีส่งเรือลงแม่น้ำโขงเพื่อปฏิบัติหน้าที่อีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเดินเรือ การบริหารจัดการและอนุรักษ์แม่น้ำโขง และเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามความตกลงต่างๆ ที่ไทยเป็นภาคี โดยฝ่ายไทยพร้อมที่จะให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 8
ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายลาวอำนวยความสะดวกสำหรับการสำรวจดังกล่าว ซึ่งฝ่ายลาวไม่ขัดข้อง ดังนั้น การสำรวจร่องน้ำลึกและสภาพทางอุทกศาสตร์ในแม่น้ำโขงในครั้งนี้ จะเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมืออันดีระหว่างฝ่ายไทยและฝ่ายลาว อันจะลดความขัดแย้งระหว่างกัน และแสดงให้เห็นว่า ประเด็นด้านเขตแดนมิได้เป็นปัญหาระหว่างกัน แต่จะเป็นความร่วมมือที่ดีระหว่างสองฝ่าย เพื่อให้ได้มาซึ่งเส้นเขตแดนที่ชัดเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งสองฝ่ายต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-