กรุงเทพ--2 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้สนับสนุนงบประมาณในโครงการแลกเปลี่ยนนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยประจำปี 2551 ในห้วข้อ “เมดอินบางกอก” (Made in Bangkok : Common Currency) ซึ่งเป็นกิจกรรมความร่วมมือระหว่างคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรกับวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบของนิวซีแลนด์ (Design & Arts College of New Zealand: D&A) โดยจะมี
การนำผลงานส่วนหนึ่งของคณาจารย์คณะจิตรกรรมฯ ไปจัดแสดงนิทรรศการที่ D&A Gallery, Design and Arts College of New Zealand, 116 Worcester Street , Christchurch , New Zealand ในระหว่างวันที่ 23 เมษายน — 16 พฤษภาคม 2551(โดยเปิดแสดงเฉพาะในช่วงวันจันทร์วันศุกร์) ระหว่างเวลา 08.00 - 18.00 น. โดยในพิธีเปิดงานในวันพุธที่ 23 เมษายน 2551 เวลา 17.30 น. ที่ D&A Gallery จะมีการบรรยายในหัวข้อ “ศิลปะร่วมสมัยไทยในต้นศตวรรษที่ 2 1: อัตลักษณ์และโลกาภิวัตน์” โดย ผศ.สุธี คุณาวิชยานนท์ ภัณฑารักษ์และอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยใหม่ไทย มหาวิทยาลัยศิลปากรด้วย
การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทั้งทางด้านศิลปะและผลงานทางด้านวิชาการของไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้นในหมู่ชาวนิวซีแลนด์และชาวต่างประเทศที่พำนักอาศัยในนิวซีแลนด์ ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้าใจ และการติดต่อระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศให้ใกล้ชิดและกว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้นิทรรศการดังกล่าวยังเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในแผนงานการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างทั้งสองสถาบันภายใต้บันทึกความเข้าใจเรื่องการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างทั้งสถาบันเมื่อปี 2550
สำหรับการจัดแสดงนิทรรศการครั้งนี้มีศิลปินไทยและแนวผลงานที่ร่วมแสดงอย่างหลากหลายประกอบด้วย
แนวไทยประเพณีใหม่ โดยศิลปินแห่งชาติ 2 ท่าน คือ ศ.ชลูด นิ่มเสมอ และ ศ.ประหยัด พงษ์ดำ
งานแบบผสมผสานประเพณีกับร่วมสมัย โดย อ.ปัญญา วิจินธนสาร ผศ.อภิชัย ภิรมย์รักษ์ และ อ.วิรัญญา ดวงรัตน์
จิตรกรรมทิวทัศน์แบบเหมือนจริง โดย อ.สุรพล แสนคำ
จิตรกรรมเหมือนจริงที่แฝงแนวคิด โดย ผศ.พิชิต ตั้งเจริญ, ผศ.นาวิน เบียดกลาง และ อ.ทรงไชย บัวชุม
จิตรกรรมแนวนามธรรม โดย ผศ.ไพโรจน์ วังบอน
ประติมากรรม ประกอบด้วย ประติมากรรมไม้ โดย อ.นพไชย อังควัฒนะพงษ์ ผลงานการหล่อสำริดขนาดเล็กโดย อ.นภดล วิรุฬห์ชาตะพันธ์ ประติมากรรมผสมวิดีโอ โดย รศ.วิชัย สิทธิรัตน์ และประติมากรรมสื่อผสมโดย อ. คงศักดิ์ กุลกลางดอน
ภาพพิมพ์หลากเทคนิค โดยศิลปินและอาจารย์ที่เคยได้รับรางวัลระดับนานาชาติมาอย่างมากมายอาทิ
รศ.กัญญา เจริญศุภกุล รศ.พิษณุ ศุภนิมิตร (นักเขียนนามปากกา “พิษณุ ศุภ”) ผศ.ถาวร โกอุดมวิทย์ (ศิลปินชั้นเยี่ยม) ผศ.ญาณวิทย์ กุญแจทอง (เจ้าของภาพพิมพ์พิมพ์ด้วยพืช) รศ.พัดยศ พุทธเจริญ ผศ.สิทธิชัย ปรัชญารัติกุล ผศ.ณัฏฐพล สุวรรณกุศลส่ง รศ.ทินกร กาษรสุวรรณ และ อ.วิมลมาลย์ ขันธะชวนะ
ศิลปะวิดีโอแบบจัดวาง โดย อ.อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ และ อ.สาครินทร์ เครืออ่อน
แนวคิดการจัดนิทรรศการ โดย ผศ. สุธี คุณาวิชยานนท์
ในการแสดงผลงานครั้งนี้ มีศิลปินไทยเข้าร่วมรวมทั้งสิ้น 25 คน และมีผลงานศิลปะที่นำมาจัดแสดง รวมทั้งสิ้น 26 ชิ้น
โครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการของทั้งสองสถาบันเริ่มต้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 โดยวิทยาลัย D&A ของนิวซีแลนด์และมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ร่วมกันจัดกิจกรรมในรูปของนิทรรศการแลกเปลี่ยนในชื่อว่า “The Middle Way” ซึ่งต่อมาในปี 2550 คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร และวิทยาลัย D&A ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่องการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างสองสถาบันเมื่อเดือนกรกฏาคม 2550 โดยกิจกรรมความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจดังกล่าวครอบคลุมถึงการแลกเปลี่ยนอาจารย์ นักศึกษา และการจัดนิทรรศการ ทั้งนี้ วิทยาลัย D&A ยังได้ ส่งผลงานศิลปะของคณาจารย์สถาบันมาจัดแสดงที่ PSG Art Gallery ของคณะจิตรกรรมฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นรูปธรรม และเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ทางวิทยาลัย D&A ยังได้ส่งนักศึกษาจำนวน 1 คน เข้ารับการศึกษาในภาควิชาภาพพิมพ์ ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และทางคณะจิตรกรรมฯ กำหนดจะส่ง นักศึกษาจากภาควิชาภาพพิมพ์ฯ ไปศึกษาที่วิทยาลัย D&A ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2551
วิทยาลัย D&A ได้ก่อตั้งเมื่อปี 2526 โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลนิวซีแลนด์ ซึ่งวิทยาลัยดังกล่าวเป็นสถาบันอุดมศึกษาทางด้านศิลปะและการออกแบบเพียงแห่งเดียวในเกาะทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์ ปัจจุบันวิทยาลัย D&A มีนักศึกษาเข้ารับการศึกษาอยู่จำนวนทั้งสิ้น ประมาณ 400 คน จาก 15 ประเทศ และเปิดการเรียนการสอนใน 7 สาขาวิชาด้วยกัน ประกอบด้วย วิจิตรศิลป์ ภาพถ่าย กราฟฟิค สถาปัตยกรรมศาสตร์ การออกแบบแฟชั่น เทคนิคพิเศษ (special effects) และการออกแบบแต่งหน้า (makeup design)
ในส่วนของคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เปิดทำการสอนเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากรตั้งแต่ปี 2486 ซึ่งคณะดังกล่าวเป็นสถาบันที่ผลิตศิลปินชั้นนำให้แก่ประเทศไทยมาอย่างมากมายหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นศิลปินแห่งชาติ ศิลปินชั้นเยี่ยมจากการประกวดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ศิลปินที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ และศิลปินหัวก้าวหน้าที่ได้สร้างชื่อเสียงอย่างมากในระดับนานาชาติด้วย
*
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศได้สนับสนุนงบประมาณในโครงการแลกเปลี่ยนนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยประจำปี 2551 ในห้วข้อ “เมดอินบางกอก” (Made in Bangkok : Common Currency) ซึ่งเป็นกิจกรรมความร่วมมือระหว่างคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรกับวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบของนิวซีแลนด์ (Design & Arts College of New Zealand: D&A) โดยจะมี
การนำผลงานส่วนหนึ่งของคณาจารย์คณะจิตรกรรมฯ ไปจัดแสดงนิทรรศการที่ D&A Gallery, Design and Arts College of New Zealand, 116 Worcester Street , Christchurch , New Zealand ในระหว่างวันที่ 23 เมษายน — 16 พฤษภาคม 2551(โดยเปิดแสดงเฉพาะในช่วงวันจันทร์วันศุกร์) ระหว่างเวลา 08.00 - 18.00 น. โดยในพิธีเปิดงานในวันพุธที่ 23 เมษายน 2551 เวลา 17.30 น. ที่ D&A Gallery จะมีการบรรยายในหัวข้อ “ศิลปะร่วมสมัยไทยในต้นศตวรรษที่ 2 1: อัตลักษณ์และโลกาภิวัตน์” โดย ผศ.สุธี คุณาวิชยานนท์ ภัณฑารักษ์และอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยใหม่ไทย มหาวิทยาลัยศิลปากรด้วย
การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทั้งทางด้านศิลปะและผลงานทางด้านวิชาการของไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้นในหมู่ชาวนิวซีแลนด์และชาวต่างประเทศที่พำนักอาศัยในนิวซีแลนด์ ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้าใจ และการติดต่อระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศให้ใกล้ชิดและกว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้นิทรรศการดังกล่าวยังเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในแผนงานการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างทั้งสองสถาบันภายใต้บันทึกความเข้าใจเรื่องการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างทั้งสถาบันเมื่อปี 2550
สำหรับการจัดแสดงนิทรรศการครั้งนี้มีศิลปินไทยและแนวผลงานที่ร่วมแสดงอย่างหลากหลายประกอบด้วย
แนวไทยประเพณีใหม่ โดยศิลปินแห่งชาติ 2 ท่าน คือ ศ.ชลูด นิ่มเสมอ และ ศ.ประหยัด พงษ์ดำ
งานแบบผสมผสานประเพณีกับร่วมสมัย โดย อ.ปัญญา วิจินธนสาร ผศ.อภิชัย ภิรมย์รักษ์ และ อ.วิรัญญา ดวงรัตน์
จิตรกรรมทิวทัศน์แบบเหมือนจริง โดย อ.สุรพล แสนคำ
จิตรกรรมเหมือนจริงที่แฝงแนวคิด โดย ผศ.พิชิต ตั้งเจริญ, ผศ.นาวิน เบียดกลาง และ อ.ทรงไชย บัวชุม
จิตรกรรมแนวนามธรรม โดย ผศ.ไพโรจน์ วังบอน
ประติมากรรม ประกอบด้วย ประติมากรรมไม้ โดย อ.นพไชย อังควัฒนะพงษ์ ผลงานการหล่อสำริดขนาดเล็กโดย อ.นภดล วิรุฬห์ชาตะพันธ์ ประติมากรรมผสมวิดีโอ โดย รศ.วิชัย สิทธิรัตน์ และประติมากรรมสื่อผสมโดย อ. คงศักดิ์ กุลกลางดอน
ภาพพิมพ์หลากเทคนิค โดยศิลปินและอาจารย์ที่เคยได้รับรางวัลระดับนานาชาติมาอย่างมากมายอาทิ
รศ.กัญญา เจริญศุภกุล รศ.พิษณุ ศุภนิมิตร (นักเขียนนามปากกา “พิษณุ ศุภ”) ผศ.ถาวร โกอุดมวิทย์ (ศิลปินชั้นเยี่ยม) ผศ.ญาณวิทย์ กุญแจทอง (เจ้าของภาพพิมพ์พิมพ์ด้วยพืช) รศ.พัดยศ พุทธเจริญ ผศ.สิทธิชัย ปรัชญารัติกุล ผศ.ณัฏฐพล สุวรรณกุศลส่ง รศ.ทินกร กาษรสุวรรณ และ อ.วิมลมาลย์ ขันธะชวนะ
ศิลปะวิดีโอแบบจัดวาง โดย อ.อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ และ อ.สาครินทร์ เครืออ่อน
แนวคิดการจัดนิทรรศการ โดย ผศ. สุธี คุณาวิชยานนท์
ในการแสดงผลงานครั้งนี้ มีศิลปินไทยเข้าร่วมรวมทั้งสิ้น 25 คน และมีผลงานศิลปะที่นำมาจัดแสดง รวมทั้งสิ้น 26 ชิ้น
โครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการของทั้งสองสถาบันเริ่มต้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 โดยวิทยาลัย D&A ของนิวซีแลนด์และมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ร่วมกันจัดกิจกรรมในรูปของนิทรรศการแลกเปลี่ยนในชื่อว่า “The Middle Way” ซึ่งต่อมาในปี 2550 คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร และวิทยาลัย D&A ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่องการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างสองสถาบันเมื่อเดือนกรกฏาคม 2550 โดยกิจกรรมความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจดังกล่าวครอบคลุมถึงการแลกเปลี่ยนอาจารย์ นักศึกษา และการจัดนิทรรศการ ทั้งนี้ วิทยาลัย D&A ยังได้ ส่งผลงานศิลปะของคณาจารย์สถาบันมาจัดแสดงที่ PSG Art Gallery ของคณะจิตรกรรมฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นรูปธรรม และเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ทางวิทยาลัย D&A ยังได้ส่งนักศึกษาจำนวน 1 คน เข้ารับการศึกษาในภาควิชาภาพพิมพ์ ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และทางคณะจิตรกรรมฯ กำหนดจะส่ง นักศึกษาจากภาควิชาภาพพิมพ์ฯ ไปศึกษาที่วิทยาลัย D&A ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2551
วิทยาลัย D&A ได้ก่อตั้งเมื่อปี 2526 โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลนิวซีแลนด์ ซึ่งวิทยาลัยดังกล่าวเป็นสถาบันอุดมศึกษาทางด้านศิลปะและการออกแบบเพียงแห่งเดียวในเกาะทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์ ปัจจุบันวิทยาลัย D&A มีนักศึกษาเข้ารับการศึกษาอยู่จำนวนทั้งสิ้น ประมาณ 400 คน จาก 15 ประเทศ และเปิดการเรียนการสอนใน 7 สาขาวิชาด้วยกัน ประกอบด้วย วิจิตรศิลป์ ภาพถ่าย กราฟฟิค สถาปัตยกรรมศาสตร์ การออกแบบแฟชั่น เทคนิคพิเศษ (special effects) และการออกแบบแต่งหน้า (makeup design)
ในส่วนของคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เปิดทำการสอนเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากรตั้งแต่ปี 2486 ซึ่งคณะดังกล่าวเป็นสถาบันที่ผลิตศิลปินชั้นนำให้แก่ประเทศไทยมาอย่างมากมายหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นศิลปินแห่งชาติ ศิลปินชั้นเยี่ยมจากการประกวดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ศิลปินที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ และศิลปินหัวก้าวหน้าที่ได้สร้างชื่อเสียงอย่างมากในระดับนานาชาติด้วย
*
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-