กรุงเทพ--16 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมายให้นายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เชิญนายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยมาพบเพื่อยื่นบันทึกช่วยจำ (Aide-M?moire) ประท้วงเรื่องกัมพูชาละเมิดอธิปไตยของไทยและละเมิดบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 ในพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับทราบว่าการหารือเป็นไปด้วยบรรยากาศที่ดี โดยเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยรับจะรายงานบันทึกช่วยจำนี้ไปยังรัฐบาลกัมพูชา
การที่กระทรวงการต่างประเทศต้องประท้วงในครั้งนี้ ก็เพราะกัมพูชาได้สร้างถนน ตั้งชุมชน สร้างอาคารถาวร อาทิ วัด ที่ทำการของหน่วยงานราชการในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารด้านเหนือและด้านตะวันตกของตัวปราสาท อีกทั้งยังวางกองกำลังทหาร และตำรวจของกัมพูชา และดำเนินกิจกรรมกู้กับระเบิด ในพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของตัวปราสาทอีกด้วย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่การดำเนินการของกัมพูชาที่กล่าวมานี้ ไทยถือว่าเป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย และละเมิดข้อ 5 ของบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน พ.ศ. 2543 ที่ห้ามการดำเนินการใด ๆ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายแดน
ในบันทึกช่วยจำฯ ที่ได้ยื่นให้แก่เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยเมื่อเช้านี้ ได้อ้างถึงการประท้วงของไทยต่อกัมพูชาที่ทำมาแล้ว 3 ครั้ง กล่าวคือในปี 2550 (ประท้วงคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารต่อองค์การยูเนสโกและการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ซึ่งล้ำดินแดนไทย) ในปี 2548 (ประท้วงการตั้งชุมชน วัด และการสร้างอาคารถาวรต่าง ๆ ของกัมพูชา ซึ่งล้ำดินแดนไทย) และในปี 2547 (ประท้วงเรื่องกัมพูชาก่อสร้างถนนขึ้นมาบริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งล้ำดินแดนไทย)
การยื่นบันทึกช่วยจำนี้เป็นเรื่องทางเทคนิคเพื่อรักษาสิทธิของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศและมิได้ประสงค์จะให้เกิดผลเสียต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับกัมพูชา และไทยยินดีเสมอที่จะหารือกับกัมพูชาเพื่อให้การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาประสบความสำเร็จ โดยรักษาสิทธิเรื่องเขตแดนของทั้งสองฝ่าย ล่าสุดกัมพูชาได้เสนอร่างแถลงการณ์ร่วมว่าการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเขตแดน ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นพัฒนาการที่ดี แต่มีรายละเอียดบางอย่างที่ไทยต้องการเพิ่มเข้าไป อาทิ การบริหารจัดการร่วมในพื้นที่ทับซ้อนจนกว่าจะสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้แล้วเสร็จในบริเวณนี้ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอร่างโต้ตอบกลับให้ฝ่ายกัมพูชาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ที่ผ่านมาแล้ว ขณะนี้กัมพูชากำลังพิจารณาร่างดังกล่าวอยู่
เมื่อปี 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ได้มีคำตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาโดยมิได้กำหนดว่าเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสองอยู่ที่ใด ซึ่งไทยยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำตัดสินดังกล่าว โดยยึดถือเขตแดนในบริเวณนี้ตามสันปันน้ำและกันตัวปราสาทไว้โดยรอบให้อยู่ในฝั่งกัมพูชา และไทยได้แจ้งองค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2505 ว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมายให้นายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เชิญนายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยมาพบเพื่อยื่นบันทึกช่วยจำ (Aide-M?moire) ประท้วงเรื่องกัมพูชาละเมิดอธิปไตยของไทยและละเมิดบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 ในพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับทราบว่าการหารือเป็นไปด้วยบรรยากาศที่ดี โดยเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยรับจะรายงานบันทึกช่วยจำนี้ไปยังรัฐบาลกัมพูชา
การที่กระทรวงการต่างประเทศต้องประท้วงในครั้งนี้ ก็เพราะกัมพูชาได้สร้างถนน ตั้งชุมชน สร้างอาคารถาวร อาทิ วัด ที่ทำการของหน่วยงานราชการในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารด้านเหนือและด้านตะวันตกของตัวปราสาท อีกทั้งยังวางกองกำลังทหาร และตำรวจของกัมพูชา และดำเนินกิจกรรมกู้กับระเบิด ในพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของตัวปราสาทอีกด้วย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่การดำเนินการของกัมพูชาที่กล่าวมานี้ ไทยถือว่าเป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย และละเมิดข้อ 5 ของบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน พ.ศ. 2543 ที่ห้ามการดำเนินการใด ๆ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายแดน
ในบันทึกช่วยจำฯ ที่ได้ยื่นให้แก่เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยเมื่อเช้านี้ ได้อ้างถึงการประท้วงของไทยต่อกัมพูชาที่ทำมาแล้ว 3 ครั้ง กล่าวคือในปี 2550 (ประท้วงคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารต่อองค์การยูเนสโกและการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ซึ่งล้ำดินแดนไทย) ในปี 2548 (ประท้วงการตั้งชุมชน วัด และการสร้างอาคารถาวรต่าง ๆ ของกัมพูชา ซึ่งล้ำดินแดนไทย) และในปี 2547 (ประท้วงเรื่องกัมพูชาก่อสร้างถนนขึ้นมาบริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งล้ำดินแดนไทย)
การยื่นบันทึกช่วยจำนี้เป็นเรื่องทางเทคนิคเพื่อรักษาสิทธิของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศและมิได้ประสงค์จะให้เกิดผลเสียต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับกัมพูชา และไทยยินดีเสมอที่จะหารือกับกัมพูชาเพื่อให้การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาประสบความสำเร็จ โดยรักษาสิทธิเรื่องเขตแดนของทั้งสองฝ่าย ล่าสุดกัมพูชาได้เสนอร่างแถลงการณ์ร่วมว่าการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเขตแดน ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นพัฒนาการที่ดี แต่มีรายละเอียดบางอย่างที่ไทยต้องการเพิ่มเข้าไป อาทิ การบริหารจัดการร่วมในพื้นที่ทับซ้อนจนกว่าจะสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้แล้วเสร็จในบริเวณนี้ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอร่างโต้ตอบกลับให้ฝ่ายกัมพูชาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ที่ผ่านมาแล้ว ขณะนี้กัมพูชากำลังพิจารณาร่างดังกล่าวอยู่
เมื่อปี 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ได้มีคำตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาโดยมิได้กำหนดว่าเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสองอยู่ที่ใด ซึ่งไทยยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำตัดสินดังกล่าว โดยยึดถือเขตแดนในบริเวณนี้ตามสันปันน้ำและกันตัวปราสาทไว้โดยรอบให้อยู่ในฝั่งกัมพูชา และไทยได้แจ้งองค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2505 ว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-