กรุงเทพ--16 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสพิธีเปิดตัวสารคดีชุด “แม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต” วันที่ 9 เมษายน 2551 ณ โรงละครสยามนิรมิต
ท่านเอกอัครราชทูต
ผู้แทนสถานีโทรทัศน์ของประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมกับทุกท่านในงานเปิดตัวสารคดีชุด “แม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต”
ในวันนี้
Excellencies the Ambassadors,
Representatives from TV Stations of the Greater Mekong Sub-region Countries,
Ladies and Gentlemen,
It is a pleasure for me to join you this afternoon in the launching of the “Nourished by the
Same River” Documentary. I very much appreciate your presence. However, since today we have
quite a big Thai audience, please allow me to make my address in Thai.
กระทรวงการต่างประเทศมีความยินดีที่ได้สนับสนุนการเผยแพร่สารคดีชุด “แม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต” ซึ่งเป็นผลงานที่แสดงถึงความร่วมมือของกลุ่มประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผมขอต้อนรับผู้แทนสถานีโทรทัศน์ในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขงของเราทุกท่านที่มาพร้อมกัน ณ ที่นี้ เพื่อเฉลิมฉลองการเปิดตัวสารคดีชุด “แม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต” ในประเทศไทย ด้วยความยินดียิ่ง และขอแสดงความชื่นชมกับทุกท่านในความสำเร็จครั้งนี้
ผมเห็นว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่สื่อโทรทัศน์ของ 6 ประเทศ ลุ่มแม่น้ำโขงได้ร่วมกันอย่างแข็งขันในการผลิตสารคดีชุดนี้มากว่า ปีเพื่อแสดงให้ประชาชนของทั้ง 6 ประเทศได้เห็นถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้ง ทางกายภาพโดยมีแม่น้ำโขง เป็นสายธารแห่งความเชื่อมโยงและความเชื่อมโยงทางอารยธรรมของประชาชนในภูมิภาค
ประเทศทั้ง 6 ประเทศของเราได้ขยายความร่วมมือมายังด้านสื่อ ซึ่งนับเป็นกลไกสำคัญ ที่จะเอื้ออำนวยต่อความร่วมมือ ด้านอื่น ๆ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของอนุภูมิภาคของเราต่อไป
รัฐบาลปัจจุบันให้ความสำคัญลำดับต้นแก่การส่งเสริมมิตรภาพและความร่วมมือที่แน่นแฟ้นกับประเทศเพื่อน บ้าน ซึ่งก็คือประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงนั่นเอง การที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช และผมใน ฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ไปเยือนลาว กัมพูชา พม่าและเวียดนามเป็นประเทศแรก ๆ และการที่ ผมจะเดินทางเยือนจีนอย่างเป็นทางการในช่วงสงกรานต์นี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับ ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS นอกจากนี้ ในการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศ GMS ทีเวียงจันทน์เมื่อวันที่ 30-31 มีนาคม ที่ผ่านมา ผู้นำทั้ง 6 ประเทศก็ได้ยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า จะดำเนินการร่วมกันเพื่อให้ การไปมาหาสู่ของประชาชนดำเนินได้สะดวกขึ้นเพื่อสร้างอนาคตที่สดใสร่วมกัน
ท่านผู้มีเกียรติ
ในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS รัฐบาลไทยยึดมั่นในนโยบาย 3C คือ Connectivity- การเชื่อมโยง Competitiveness-ความสามารถในการแข่งขัน และ Community-ชุมชน
การร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงด้านการคมนาคม คือ C ตัวแรก (Connectivity) เราจะร่วมกันผลักดันให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บังเกิดผล เป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนในประเทศ GMS ทั้งหมด ได้รับประโยชน์ ในการยกระดับ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างเต็มที่ นั่นคือ C ตัวที่สอง (Competetiveness) และความเชื่อมโยงดังกล่าวจะเป็นที่มาของความเข้าใจ ความร่วมมือ และความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันของประชาชนในภูมิภาคในระยะยาว ซึ่งก็คือ C ตัวที่สาม (Community) นั่นเอง
กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่ารายการสารคดี “แม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต” ที่ทุกท่านในที่นี้ได้มีส่วนสนับสนุน เป็นรายการที่ดีและมีคุณค่าและเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนในอนุภูมิภาค โดยอาศัยความใกล้ชิด ความผูกพัน ทางประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ และวัฒนธรรมเป็นสื่อกลาง ซึ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญ ที่จะเกื้อกูลความร่วมมือและนำไปสู่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงที่ยั่งยืนร่วมกัน สอดคล้องกับนโยบายหลักของรัฐบาลไทย เพราะรัฐบาลไทย มีความเชื่อมั่นว่า “ความมั่งคั่งและ มั่นคงของประเทศเพื่อนบ้าน คือ ความมั่งคั่ง และมั่นคงของไทย”
ในโอกาสนี้ ผมขอแสดงความชื่นชมต่อทีมงานผู้ผลิตรายการสารคดีชุดนี้ ขอขอบคุณในผลงานที่เป็นประโยชน์ในการสานสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน และอวยพรให้สารคดีชุดนี้ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหวังทุกประการ
ขอบคุณครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
คำกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสพิธีเปิดตัวสารคดีชุด “แม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต” วันที่ 9 เมษายน 2551 ณ โรงละครสยามนิรมิต
ท่านเอกอัครราชทูต
ผู้แทนสถานีโทรทัศน์ของประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมกับทุกท่านในงานเปิดตัวสารคดีชุด “แม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต”
ในวันนี้
Excellencies the Ambassadors,
Representatives from TV Stations of the Greater Mekong Sub-region Countries,
Ladies and Gentlemen,
It is a pleasure for me to join you this afternoon in the launching of the “Nourished by the
Same River” Documentary. I very much appreciate your presence. However, since today we have
quite a big Thai audience, please allow me to make my address in Thai.
กระทรวงการต่างประเทศมีความยินดีที่ได้สนับสนุนการเผยแพร่สารคดีชุด “แม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต” ซึ่งเป็นผลงานที่แสดงถึงความร่วมมือของกลุ่มประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผมขอต้อนรับผู้แทนสถานีโทรทัศน์ในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขงของเราทุกท่านที่มาพร้อมกัน ณ ที่นี้ เพื่อเฉลิมฉลองการเปิดตัวสารคดีชุด “แม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต” ในประเทศไทย ด้วยความยินดียิ่ง และขอแสดงความชื่นชมกับทุกท่านในความสำเร็จครั้งนี้
ผมเห็นว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่สื่อโทรทัศน์ของ 6 ประเทศ ลุ่มแม่น้ำโขงได้ร่วมกันอย่างแข็งขันในการผลิตสารคดีชุดนี้มากว่า ปีเพื่อแสดงให้ประชาชนของทั้ง 6 ประเทศได้เห็นถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้ง ทางกายภาพโดยมีแม่น้ำโขง เป็นสายธารแห่งความเชื่อมโยงและความเชื่อมโยงทางอารยธรรมของประชาชนในภูมิภาค
ประเทศทั้ง 6 ประเทศของเราได้ขยายความร่วมมือมายังด้านสื่อ ซึ่งนับเป็นกลไกสำคัญ ที่จะเอื้ออำนวยต่อความร่วมมือ ด้านอื่น ๆ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของอนุภูมิภาคของเราต่อไป
รัฐบาลปัจจุบันให้ความสำคัญลำดับต้นแก่การส่งเสริมมิตรภาพและความร่วมมือที่แน่นแฟ้นกับประเทศเพื่อน บ้าน ซึ่งก็คือประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงนั่นเอง การที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช และผมใน ฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ไปเยือนลาว กัมพูชา พม่าและเวียดนามเป็นประเทศแรก ๆ และการที่ ผมจะเดินทางเยือนจีนอย่างเป็นทางการในช่วงสงกรานต์นี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับ ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS นอกจากนี้ ในการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศ GMS ทีเวียงจันทน์เมื่อวันที่ 30-31 มีนาคม ที่ผ่านมา ผู้นำทั้ง 6 ประเทศก็ได้ยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า จะดำเนินการร่วมกันเพื่อให้ การไปมาหาสู่ของประชาชนดำเนินได้สะดวกขึ้นเพื่อสร้างอนาคตที่สดใสร่วมกัน
ท่านผู้มีเกียรติ
ในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS รัฐบาลไทยยึดมั่นในนโยบาย 3C คือ Connectivity- การเชื่อมโยง Competitiveness-ความสามารถในการแข่งขัน และ Community-ชุมชน
การร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงด้านการคมนาคม คือ C ตัวแรก (Connectivity) เราจะร่วมกันผลักดันให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บังเกิดผล เป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนในประเทศ GMS ทั้งหมด ได้รับประโยชน์ ในการยกระดับ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างเต็มที่ นั่นคือ C ตัวที่สอง (Competetiveness) และความเชื่อมโยงดังกล่าวจะเป็นที่มาของความเข้าใจ ความร่วมมือ และความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันของประชาชนในภูมิภาคในระยะยาว ซึ่งก็คือ C ตัวที่สาม (Community) นั่นเอง
กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่ารายการสารคดี “แม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต” ที่ทุกท่านในที่นี้ได้มีส่วนสนับสนุน เป็นรายการที่ดีและมีคุณค่าและเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนในอนุภูมิภาค โดยอาศัยความใกล้ชิด ความผูกพัน ทางประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ และวัฒนธรรมเป็นสื่อกลาง ซึ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญ ที่จะเกื้อกูลความร่วมมือและนำไปสู่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงที่ยั่งยืนร่วมกัน สอดคล้องกับนโยบายหลักของรัฐบาลไทย เพราะรัฐบาลไทย มีความเชื่อมั่นว่า “ความมั่งคั่งและ มั่นคงของประเทศเพื่อนบ้าน คือ ความมั่งคั่ง และมั่นคงของไทย”
ในโอกาสนี้ ผมขอแสดงความชื่นชมต่อทีมงานผู้ผลิตรายการสารคดีชุดนี้ ขอขอบคุณในผลงานที่เป็นประโยชน์ในการสานสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน และอวยพรให้สารคดีชุดนี้ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหวังทุกประการ
ขอบคุณครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-