กรุงเทพ--16 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
สวัสดีครับ อธิบดีกรมอาเซียน ผู้อภิปราย และผู้เข้าร่วมการสัมมนาทุกท่าน
ผมมีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมากล่าวเปิดการสัมมนาเรื่อง “ประชาคมอาเซียนและการดำเนินงานของไทยในฐานะประธานอาเซียน” และขอขอบคุณท่านอธิบดีกรมอาเซียนที่ได้กล่าวรายงานถึงความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการสัมมนาในวันนี้
ทุกท่านครับ
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับอาเซียนและประเทศไทยอย่างน้อย 3 ประการ คือ
1. อาเซียนกำลังจะมุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
2. กฎบัตรอาเซียน ซึ่งถือเป็นธรรมนูญฉบับแรกของอาเซียนในรอบ 40 ปี นับแต่มีการจั้ดตั้งและเป็นครั้งแรกที่มีการให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้ และ
3. ไทยกำลังจะเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมศกนี้ ไปจนถึงธันวาคมศกหน้า
ตามที่อธิบดีกรมอาเซียนได้กล่าวแล้ว สำหรับการสร้างประชาคมอาเซียน ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่ ปี 2546 ว่าจะสร้างประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบไปด้วย 3 เสาหลักคือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 และต่อมาก็ได้เลื่อนให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 หรืออีกภายใน 7 ปีข้างหน้าเท่านั้น
ถามว่าทำไมต้องสร้างประชาคมอาเซียนและเมื่อสร้างแล้วไทยจะได้ประโยชน์อะไร อาเซียนเป็นกลุ่มความร่วมมือระดับภูมิภาคกลุ่มแรกๆ ของโลกที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ ปี 2510 โดยที่ผ่านมา แม้ภูมิภาคนี้จะต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่หลากหลาย ตั้งแต่ภัยคอมมิวนิสต์ สงครามอินโดจีน การแข่งขันกันระหว่างมหาอำนาจเพื่อเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคในยุคสงครามเย็น แต่ความร่วมมือในกรอบอาเซียนก็ทำให้ประเทศสมาชิกในภูมิภาคนี้มีความสงบสุข มั่นคง ปราศจากการใช้อาวุธเพื่อทำสงครามมาเป็นเวลากว่า 40 ปีโดยมีผลทำให้เกิดบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาของประเทศสมาชิกทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อผลประโยชน์ทางความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้า และต่อต้านภัยคุกคามต่างๆ ประเทศในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ยุโรป อเมริกา เอเชีย และแอฟริกาต่างก็รวมกลุ่มกันเพื่อสร้างโอกาสและอำนาจต่อรอง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้าและการลงทุน ทั้งสหภาพยุโรป (EU) เขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกาเหนือ (NAFTA) สหภาพแอฟริกา (AU) เป็นต้น
ในบริบทเช่นนี้ ประเทศไทยประเทศเดียวมีประชากรแค่ 60 กว่าล้านคน มี GDP 4 พันกว่าล้านบาท คงไม่สามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศเหล่านี้ หรือมหาอำนาจใหม่ทางเศรษฐกิจอย่างจีนหรืออินเดียได้ แต่ถ้ารวมกันเป็นประชาคมอาเซียนที่เป็นตลาดและฐานการผลิดเดียวสำเร็จ เราจะมีประชากรรวมเกือบ 600 ล้านคน หรือ 1 ใน 10 ของประชากรโลก ที่มี GDP รวมเกือบ 30,000 ล้านบาท นับเป็นตลาดและแหล่งเงินทุนที่มีศักยภาพมหาศาล และยังเป็นฐานของไทยในการค้าขายกับตลาดอื่นๆ นอกภูมิภาคอีกด้วย นับตั้งแต่มีการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนในปี 2535 เป็นต้นมา มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด จนขณะนี้คิดเป็นเกือบ 20% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย และทำให้อาเซียนได้ก้าวขึ้นมาเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยแซงหน้าสหรัฐฯ และยุโรปไปแล้ว
การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนยังจะช่วยกระชับความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ปัญหาความยากจน โรคติดต่อ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ แรงงาน ผู้ด้อยโอกาส โดยสิ่งเหล่านี้จะนำให้ประชาชนไทยและอาเซียนจะอยู่ในสังคมที่มีความแข็งแกร่ง มีจริยธรรมและธรรมาภิบาล และก่อให้เกิดความพอเพียงในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
ท่านผู้มีเกียรติครับ
การสร้างประชาคมอาเซียนนี้จะทำได้สำเร็จหรือไม่ ย่อมขึ้นกับทุกภาคส่วนของสังคม แรงสนับสนุนจากประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ผ่านมา อาเซียนมักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นองค์กรที่ยังห่างไกลจากประชาชน เป็นองค์กรของนักการทูตและข้าราชการ หรือเป็นองค์กรของรัฐเพื่อรัฐ แต่ปัจจุบันอาเซียนต้องการจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมที่ตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชนและชีวิตประจำวันของประชาชน และต้องการที่จะเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะด้านนโยบายและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในอาเซียนให้มากขึ้น
เจตนารมณ์เหล่านี้ ได้รับการรับการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของอาเซียนที่กำหนดให้มีการสร้างประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เคารพกฏกติกาและมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อความที่เขียนลงในกระดาษหรือความตกลงต่างๆ นั้น คงจะไม่มีความหมายหากไม่มีการแปลงถ้อยคำมาสู่การปฏิบัติ การสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง หากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าอาเซียนคืออะไร สามารถทำประโยชน์อะไรให้กับเขาได้บ้าง ตลอดจนไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ หรือมีส่วนร่วม ก็คงยากที่จะทำได้สำเร็จ ดังบทเรียนที่เราได้รับจากประสบการณ์ของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งประชาชนในหลายประเทศยังไม่มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง หรือเห็นประโยชน์ที่สหภาพยุโรปจะให้ต่อชีวิตประจำวันของเขาได้ จึงได้ลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทำให้การรวมตัวของกลุ่มต้องหยุดชะงักลงพักหนึ่ง เราคงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เดียวกันในภูมิภาคของเรา
ดังนั้น โจทย์ที่ท้าทายในการสร้างประชาคมอาเซียนคือ การทำให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นเจ้าของประชาคมอาเซียน ซึ่งผมหวังว่าการสัมมนาวันนี้จะช่วยตอบโจทย์ดังกล่าวได้บ้างไม่มากก็น้อย เรื่องการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนไม่ใช่หน้าที่ของกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศหรือหน่วยงานของรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ผมมีความหวังว่า ท่านผู้อภิปรายและทุกท่านที่เข้าร่วมการสัมมนาในวันนี้ จะได้ให้ข้อเสนอแนะหรือความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้และช่วยเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนต่อไปด้วย
มีโจทย์อีกข้อหนึ่งคือ การสร้าง ASEAN Identity และการสร้างความเป็น ASEAN Citizen ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดกันมานาน แต่ไม่มีใครแน่ใจว่าหมายถึงอะไร และมีความจำเป็นเพียงใดสำหรับการสร้างประชาคมอาเซียน ตลอดจนจะปะทะหรือขัดแย้งกับอุดมการณ์ชาตินิยมที่ยังมีอยู่อย่างเข้มข้นภูมิภาคนี้หรือไม่ และมีทางออกอย่างไร ในบริบทที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ในภูมิภาคเช่นนี้ ผมเห็นว่าคำถามเหล่านี้เป็นเรื่องน่าสนใจและขออนุญาตทิ้งเป็นคำถามไว้สำหรับผู้อภิปรายและผู้เข้าร่วมการสัมมนาทุกท่านต่อไปครับ
ท่านผู้มีเกียรติครับ
อาเซียนไม่ใช่เรื่องไกลตัวคนไทยอีกต่อไป ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าสมาชิกก่อตั้งของอาเซียนและมีบทบาทนำในอาเซียนมาโดยตลอด ตั้งแต่ ฯพณฯ ดร. ถนัด คอมันตร์ ได้ผลักดันการจัดตั้งอาเซียนและมีการลงนามในปฏิญญาจัดตั้งอาเซียนที่กรุงเทพฯ อีก 20 ปีต่อมา ในปี 2535 ผู้นำของไทยอีกท่านหนึ่งคือ อดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ได้เปิดศักราชใหม่ให้กับอาเซียน โดยการริเริ่มการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน และในการยกร่างกฎบัตรอาเซียนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยก็ได้มีบทบาทนำในการยกร่าง และการผลักดันประเด็นสำคัญต่างๆ ที่จะปรากฏในกฎบัตรฯ เช่น เรื่องกลไกสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล การพัฒนาอย่างยั่งยืน และความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีบุคคลระดับรัฐมนตรีเข้าดำรงตำแหน่งนี้ และจะอยู่ในตำแหน่งนี้ไปอีกถึง 5 ปี
ตั้งแต่กลางปีนี้ไปจนถึงปลายปีหน้า ไทยจะได้มีโอกาสแสดงบทบาทนำในเวทีอาเซียนอีกครั้งในฐานะที่ประธานอาเซียนในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของอาเซียนคือ การเปลี่ยนผ่านไปสู่การมีผลบังคับใช้ของกฎบัตรอาเซียน ในปีนี้ รัฐบาลตั้งใจว่าจะผลักดันความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมในอาเซียนให้มีความเข้มแข็งและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ความร่วมมือในอาเซียนก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงแก่ประชาชนมากขึ้นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในอาเซียน ดังนั้น หากท่านมีข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับประเด็นที่ไทยควรผลักดันในโอกาสนี้ ผมก็ขอสนับสนุนให้ใช้เวทีการสัมมนาครั้งนี้ในการเสนอความคิดเห็นของท่านครับ
ผมขอขอบคุณ อธิบดี และข้าราชการกรมอาเซียน ที่มีส่วนร่วมในการจัดสัมมนาในครั้งนี้ และโดยที่ไทยจะรับหน้าที่ประธานอาเซียนในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ เป็นระยะเวลาปีครึ่ง หลังจากที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ภายในปี 2551 โดยประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศให้สัตยาบันครบ ทำให้ไทยรับหน้าที่จัดการประชุมสุดยอดถึง 3 ครั้ง รวมถึงการประชุมระดับรัฐมนตรี ซึ่งคงจะต้องพิจารณาคัดเลือกสถานที่จัดงานในโอกาสต่างๆ ที่ไม่ซ้ำกัน และผมจะถือโอกาสเยี่ยมชมสถานที่นี้หลังจากการสัมมนาเพื่อเป็นการเตรียมการดังกล่าวด้วย
ท้ายนี้ ผมขอขอบคุณทุกท่านที่มาเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ หวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยจากการสัมมนาในวันนี้ และขอเปิดการสัมมนาเรื่อง “ประชาคมอาเซียนและการดำเนินงานของไทยในฐานะประธานอาเซียน” ณ บัดนี้ ครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
สวัสดีครับ อธิบดีกรมอาเซียน ผู้อภิปราย และผู้เข้าร่วมการสัมมนาทุกท่าน
ผมมีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมากล่าวเปิดการสัมมนาเรื่อง “ประชาคมอาเซียนและการดำเนินงานของไทยในฐานะประธานอาเซียน” และขอขอบคุณท่านอธิบดีกรมอาเซียนที่ได้กล่าวรายงานถึงความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการสัมมนาในวันนี้
ทุกท่านครับ
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับอาเซียนและประเทศไทยอย่างน้อย 3 ประการ คือ
1. อาเซียนกำลังจะมุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
2. กฎบัตรอาเซียน ซึ่งถือเป็นธรรมนูญฉบับแรกของอาเซียนในรอบ 40 ปี นับแต่มีการจั้ดตั้งและเป็นครั้งแรกที่มีการให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้ และ
3. ไทยกำลังจะเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมศกนี้ ไปจนถึงธันวาคมศกหน้า
ตามที่อธิบดีกรมอาเซียนได้กล่าวแล้ว สำหรับการสร้างประชาคมอาเซียน ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่ ปี 2546 ว่าจะสร้างประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบไปด้วย 3 เสาหลักคือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 และต่อมาก็ได้เลื่อนให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 หรืออีกภายใน 7 ปีข้างหน้าเท่านั้น
ถามว่าทำไมต้องสร้างประชาคมอาเซียนและเมื่อสร้างแล้วไทยจะได้ประโยชน์อะไร อาเซียนเป็นกลุ่มความร่วมมือระดับภูมิภาคกลุ่มแรกๆ ของโลกที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ ปี 2510 โดยที่ผ่านมา แม้ภูมิภาคนี้จะต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่หลากหลาย ตั้งแต่ภัยคอมมิวนิสต์ สงครามอินโดจีน การแข่งขันกันระหว่างมหาอำนาจเพื่อเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคในยุคสงครามเย็น แต่ความร่วมมือในกรอบอาเซียนก็ทำให้ประเทศสมาชิกในภูมิภาคนี้มีความสงบสุข มั่นคง ปราศจากการใช้อาวุธเพื่อทำสงครามมาเป็นเวลากว่า 40 ปีโดยมีผลทำให้เกิดบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาของประเทศสมาชิกทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อผลประโยชน์ทางความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้า และต่อต้านภัยคุกคามต่างๆ ประเทศในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ยุโรป อเมริกา เอเชีย และแอฟริกาต่างก็รวมกลุ่มกันเพื่อสร้างโอกาสและอำนาจต่อรอง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้าและการลงทุน ทั้งสหภาพยุโรป (EU) เขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกาเหนือ (NAFTA) สหภาพแอฟริกา (AU) เป็นต้น
ในบริบทเช่นนี้ ประเทศไทยประเทศเดียวมีประชากรแค่ 60 กว่าล้านคน มี GDP 4 พันกว่าล้านบาท คงไม่สามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศเหล่านี้ หรือมหาอำนาจใหม่ทางเศรษฐกิจอย่างจีนหรืออินเดียได้ แต่ถ้ารวมกันเป็นประชาคมอาเซียนที่เป็นตลาดและฐานการผลิดเดียวสำเร็จ เราจะมีประชากรรวมเกือบ 600 ล้านคน หรือ 1 ใน 10 ของประชากรโลก ที่มี GDP รวมเกือบ 30,000 ล้านบาท นับเป็นตลาดและแหล่งเงินทุนที่มีศักยภาพมหาศาล และยังเป็นฐานของไทยในการค้าขายกับตลาดอื่นๆ นอกภูมิภาคอีกด้วย นับตั้งแต่มีการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนในปี 2535 เป็นต้นมา มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด จนขณะนี้คิดเป็นเกือบ 20% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย และทำให้อาเซียนได้ก้าวขึ้นมาเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยแซงหน้าสหรัฐฯ และยุโรปไปแล้ว
การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนยังจะช่วยกระชับความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ปัญหาความยากจน โรคติดต่อ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ แรงงาน ผู้ด้อยโอกาส โดยสิ่งเหล่านี้จะนำให้ประชาชนไทยและอาเซียนจะอยู่ในสังคมที่มีความแข็งแกร่ง มีจริยธรรมและธรรมาภิบาล และก่อให้เกิดความพอเพียงในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
ท่านผู้มีเกียรติครับ
การสร้างประชาคมอาเซียนนี้จะทำได้สำเร็จหรือไม่ ย่อมขึ้นกับทุกภาคส่วนของสังคม แรงสนับสนุนจากประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ผ่านมา อาเซียนมักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นองค์กรที่ยังห่างไกลจากประชาชน เป็นองค์กรของนักการทูตและข้าราชการ หรือเป็นองค์กรของรัฐเพื่อรัฐ แต่ปัจจุบันอาเซียนต้องการจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมที่ตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชนและชีวิตประจำวันของประชาชน และต้องการที่จะเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะด้านนโยบายและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในอาเซียนให้มากขึ้น
เจตนารมณ์เหล่านี้ ได้รับการรับการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของอาเซียนที่กำหนดให้มีการสร้างประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เคารพกฏกติกาและมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อความที่เขียนลงในกระดาษหรือความตกลงต่างๆ นั้น คงจะไม่มีความหมายหากไม่มีการแปลงถ้อยคำมาสู่การปฏิบัติ การสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง หากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าอาเซียนคืออะไร สามารถทำประโยชน์อะไรให้กับเขาได้บ้าง ตลอดจนไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ หรือมีส่วนร่วม ก็คงยากที่จะทำได้สำเร็จ ดังบทเรียนที่เราได้รับจากประสบการณ์ของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งประชาชนในหลายประเทศยังไม่มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง หรือเห็นประโยชน์ที่สหภาพยุโรปจะให้ต่อชีวิตประจำวันของเขาได้ จึงได้ลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทำให้การรวมตัวของกลุ่มต้องหยุดชะงักลงพักหนึ่ง เราคงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เดียวกันในภูมิภาคของเรา
ดังนั้น โจทย์ที่ท้าทายในการสร้างประชาคมอาเซียนคือ การทำให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นเจ้าของประชาคมอาเซียน ซึ่งผมหวังว่าการสัมมนาวันนี้จะช่วยตอบโจทย์ดังกล่าวได้บ้างไม่มากก็น้อย เรื่องการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนไม่ใช่หน้าที่ของกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศหรือหน่วยงานของรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ผมมีความหวังว่า ท่านผู้อภิปรายและทุกท่านที่เข้าร่วมการสัมมนาในวันนี้ จะได้ให้ข้อเสนอแนะหรือความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้และช่วยเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนต่อไปด้วย
มีโจทย์อีกข้อหนึ่งคือ การสร้าง ASEAN Identity และการสร้างความเป็น ASEAN Citizen ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดกันมานาน แต่ไม่มีใครแน่ใจว่าหมายถึงอะไร และมีความจำเป็นเพียงใดสำหรับการสร้างประชาคมอาเซียน ตลอดจนจะปะทะหรือขัดแย้งกับอุดมการณ์ชาตินิยมที่ยังมีอยู่อย่างเข้มข้นภูมิภาคนี้หรือไม่ และมีทางออกอย่างไร ในบริบทที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ในภูมิภาคเช่นนี้ ผมเห็นว่าคำถามเหล่านี้เป็นเรื่องน่าสนใจและขออนุญาตทิ้งเป็นคำถามไว้สำหรับผู้อภิปรายและผู้เข้าร่วมการสัมมนาทุกท่านต่อไปครับ
ท่านผู้มีเกียรติครับ
อาเซียนไม่ใช่เรื่องไกลตัวคนไทยอีกต่อไป ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าสมาชิกก่อตั้งของอาเซียนและมีบทบาทนำในอาเซียนมาโดยตลอด ตั้งแต่ ฯพณฯ ดร. ถนัด คอมันตร์ ได้ผลักดันการจัดตั้งอาเซียนและมีการลงนามในปฏิญญาจัดตั้งอาเซียนที่กรุงเทพฯ อีก 20 ปีต่อมา ในปี 2535 ผู้นำของไทยอีกท่านหนึ่งคือ อดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ได้เปิดศักราชใหม่ให้กับอาเซียน โดยการริเริ่มการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน และในการยกร่างกฎบัตรอาเซียนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยก็ได้มีบทบาทนำในการยกร่าง และการผลักดันประเด็นสำคัญต่างๆ ที่จะปรากฏในกฎบัตรฯ เช่น เรื่องกลไกสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล การพัฒนาอย่างยั่งยืน และความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีบุคคลระดับรัฐมนตรีเข้าดำรงตำแหน่งนี้ และจะอยู่ในตำแหน่งนี้ไปอีกถึง 5 ปี
ตั้งแต่กลางปีนี้ไปจนถึงปลายปีหน้า ไทยจะได้มีโอกาสแสดงบทบาทนำในเวทีอาเซียนอีกครั้งในฐานะที่ประธานอาเซียนในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของอาเซียนคือ การเปลี่ยนผ่านไปสู่การมีผลบังคับใช้ของกฎบัตรอาเซียน ในปีนี้ รัฐบาลตั้งใจว่าจะผลักดันความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมในอาเซียนให้มีความเข้มแข็งและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ความร่วมมือในอาเซียนก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงแก่ประชาชนมากขึ้นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในอาเซียน ดังนั้น หากท่านมีข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับประเด็นที่ไทยควรผลักดันในโอกาสนี้ ผมก็ขอสนับสนุนให้ใช้เวทีการสัมมนาครั้งนี้ในการเสนอความคิดเห็นของท่านครับ
ผมขอขอบคุณ อธิบดี และข้าราชการกรมอาเซียน ที่มีส่วนร่วมในการจัดสัมมนาในครั้งนี้ และโดยที่ไทยจะรับหน้าที่ประธานอาเซียนในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ เป็นระยะเวลาปีครึ่ง หลังจากที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ภายในปี 2551 โดยประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศให้สัตยาบันครบ ทำให้ไทยรับหน้าที่จัดการประชุมสุดยอดถึง 3 ครั้ง รวมถึงการประชุมระดับรัฐมนตรี ซึ่งคงจะต้องพิจารณาคัดเลือกสถานที่จัดงานในโอกาสต่างๆ ที่ไม่ซ้ำกัน และผมจะถือโอกาสเยี่ยมชมสถานที่นี้หลังจากการสัมมนาเพื่อเป็นการเตรียมการดังกล่าวด้วย
ท้ายนี้ ผมขอขอบคุณทุกท่านที่มาเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ หวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยจากการสัมมนาในวันนี้ และขอเปิดการสัมมนาเรื่อง “ประชาคมอาเซียนและการดำเนินงานของไทยในฐานะประธานอาเซียน” ณ บัดนี้ ครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-