กรุงเทพ--17 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์เศร้าสลดเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551 ที่มีชาวพม่าจำนวน 120 คนถูกรวบรวมใส่รถบรรทุกห้องเย็นจากจังหวัดระนอง และเกิดเหตุขัดข้องบนรถทำให้ชาวพม่าขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตรวม 54 คน นั้น
กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและในจังหวัดระนอง เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อการประสานงานส่งข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ ให้กับรัฐบาลพม่า และได้ดำเนินการต่างๆ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงนายญาณ วิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว และแสดงความพร้อมของรัฐบาลไทยที่จะร่วมมือกับรัฐบาลพม่าในการปราบปรามการค้ามนุษย์ข้ามชาติ ซึ่งรัฐบาลไทยอยู่ในระหว่างการหารืออย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลพม่าในการยกร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ และความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมายพม่าในไทย ตามบันทึกความเข้าใจที่ไทยกับพม่าได้ลงนามไปแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้ย้ำกับนายกรัฐมนตรีพม่าในระหว่างการเยือนพม่าเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551ด้วย
2. นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้แจ้งต่อนาย เย วิน เอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2551ว่า หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องของไทยจะติดตามดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และถึงแม้ว่าทางการไทยจะต้องดำเนินการต่อชาวพม่าเหล่านี้ในฐานะผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ปี พ.ศ. 2522 แต่ก็จะดำเนินการตามหลักมนุษยธรรม ซึ่งเอกอัครราชทูตพม่าแสดงความเข้าใจปัญหาและขอบคุณฝ่ายไทย
3. เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออก 2 กรมเอเชียตะวันออก เป็นผู้แทนเดินทางไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บที่เหลืออยู่ในโรงพยาบาลจังหวัดระนอง และมอบกระเช้าผลไม้ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้กับผู้ป่วย โดยในวันเดียวกันผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออก 2 ได้นำผู้แทนของสถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยไปพบกับผู้ว่าราชการจังหวัดระนองและผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551 และการดำเนินการของหน่วยราชการไทยหลังเหตุการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะการให้การรักษาพยาบาลผู้ที่มีอาการขั้นโคม่าหลายคนจนอาการดีขึ้นเป็นปกติ และมีการบำบัดด้านจิตใจแก่ผู้ที่รอดชีวิตทุกคน โดยรัฐบาลไทยไม่ได้คิดค่ารักษาพยาบาลใด ๆ ซึ่งผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยได้แสดงความพอใจเป็นอย่างยิ่งและรับว่าจะรีบรายงานให้รัฐบาลพม่าทราบถึงการดำเนินการของหน่วยราชการต่าง ๆ ของไทย
การดำเนินการต่างๆ ของกระทรวงการต่างประเทศข้างต้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงความห่วงใยของรัฐบาลไทยต่อเหตุการณ์ดังกล่าว และความพร้อมของรัฐบาลไทยที่จะร่วมมือกับรัฐบาลพม่าในการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก รัฐบาลไทยได้ประสานงานกับรัฐบาลพม่าอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด โดยเฉพาะในบริบทของการแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมายชาวพม่าในประเทศไทย และความเป็นไปได้ที่จะให้มีการส่งแรงงานพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายในอนาคต นอกจากนั้น การที่รัฐบาลไทยได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลพม่าในเรื่องต่าง ๆ ก็เพราะต้องการร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจของพม่า โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมเพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรไปมา การท่องเที่ยว การค้าการลงทุน การเกษตรแบบมีพันธะสัญญา (contract farming) ที่จะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลพม่าในเร็ว ๆ นี้ การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในฝั่งพม่าตามบริเวณชายแดนไทย — พม่า รวมทั้งการร่วมพัฒนาโรงพยาบาลท่าขี้เหล็กตรงข้ามจังหวัดเชียงราย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์เศร้าสลดเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551 ที่มีชาวพม่าจำนวน 120 คนถูกรวบรวมใส่รถบรรทุกห้องเย็นจากจังหวัดระนอง และเกิดเหตุขัดข้องบนรถทำให้ชาวพม่าขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตรวม 54 คน นั้น
กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและในจังหวัดระนอง เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อการประสานงานส่งข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ ให้กับรัฐบาลพม่า และได้ดำเนินการต่างๆ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงนายญาณ วิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว และแสดงความพร้อมของรัฐบาลไทยที่จะร่วมมือกับรัฐบาลพม่าในการปราบปรามการค้ามนุษย์ข้ามชาติ ซึ่งรัฐบาลไทยอยู่ในระหว่างการหารืออย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลพม่าในการยกร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ และความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมายพม่าในไทย ตามบันทึกความเข้าใจที่ไทยกับพม่าได้ลงนามไปแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้ย้ำกับนายกรัฐมนตรีพม่าในระหว่างการเยือนพม่าเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551ด้วย
2. นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้แจ้งต่อนาย เย วิน เอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2551ว่า หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องของไทยจะติดตามดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และถึงแม้ว่าทางการไทยจะต้องดำเนินการต่อชาวพม่าเหล่านี้ในฐานะผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ปี พ.ศ. 2522 แต่ก็จะดำเนินการตามหลักมนุษยธรรม ซึ่งเอกอัครราชทูตพม่าแสดงความเข้าใจปัญหาและขอบคุณฝ่ายไทย
3. เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออก 2 กรมเอเชียตะวันออก เป็นผู้แทนเดินทางไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บที่เหลืออยู่ในโรงพยาบาลจังหวัดระนอง และมอบกระเช้าผลไม้ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้กับผู้ป่วย โดยในวันเดียวกันผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออก 2 ได้นำผู้แทนของสถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยไปพบกับผู้ว่าราชการจังหวัดระนองและผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551 และการดำเนินการของหน่วยราชการไทยหลังเหตุการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะการให้การรักษาพยาบาลผู้ที่มีอาการขั้นโคม่าหลายคนจนอาการดีขึ้นเป็นปกติ และมีการบำบัดด้านจิตใจแก่ผู้ที่รอดชีวิตทุกคน โดยรัฐบาลไทยไม่ได้คิดค่ารักษาพยาบาลใด ๆ ซึ่งผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยได้แสดงความพอใจเป็นอย่างยิ่งและรับว่าจะรีบรายงานให้รัฐบาลพม่าทราบถึงการดำเนินการของหน่วยราชการต่าง ๆ ของไทย
การดำเนินการต่างๆ ของกระทรวงการต่างประเทศข้างต้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงความห่วงใยของรัฐบาลไทยต่อเหตุการณ์ดังกล่าว และความพร้อมของรัฐบาลไทยที่จะร่วมมือกับรัฐบาลพม่าในการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก รัฐบาลไทยได้ประสานงานกับรัฐบาลพม่าอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด โดยเฉพาะในบริบทของการแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมายชาวพม่าในประเทศไทย และความเป็นไปได้ที่จะให้มีการส่งแรงงานพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายในอนาคต นอกจากนั้น การที่รัฐบาลไทยได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลพม่าในเรื่องต่าง ๆ ก็เพราะต้องการร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจของพม่า โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมเพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรไปมา การท่องเที่ยว การค้าการลงทุน การเกษตรแบบมีพันธะสัญญา (contract farming) ที่จะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลพม่าในเร็ว ๆ นี้ การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในฝั่งพม่าตามบริเวณชายแดนไทย — พม่า รวมทั้งการร่วมพัฒนาโรงพยาบาลท่าขี้เหล็กตรงข้ามจังหวัดเชียงราย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-