กรุงเทพ--18 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงมีหมายกำหนดการที่จะเข้าร่วมการประชุม UNCTAD XII ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลกานา และเลขาธิการ UNCTAD ในระหว่างวันที่ 19- 24 เมษายน 2551 ซึ่งสำนักพระราชวังจะมีแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไป
ในส่วนของคณะผู้แทนไทยที่ไปร่วมการประชุม UNCTAD XII นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย โดยมีผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร และส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม
การประชุมสหประชาชาติเพื่อการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) เป็นองค์กรหนึ่งของสหประชาชาติที่มีบทบาทภารกิจหลัก ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการจัดการกระบวนการโลกาภิวัตน์และระบบเศรษฐกิจโลกให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการพัฒนา โดย (1) เป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างรัฐบาล เพื่อการสร้างฉันทามติในการจัดการกับกระบวนการโลกาภิวัตน์และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศด้านการค้า การลงทุนเพื่อการพัฒนา (2) วิจัย วิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจโลก และเสนอแนะข้อมูล ข้อคิดเห็นด้านการค้า การลงทุนและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา และ (3) ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาในการรวมตัวเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลกอย่างมีประสิทธิภาพ
การประชุม UNCTAD เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีซึ่งมีผู้แทนจากสถาบันการเงิน องค์การระหว่างประเทศ ภาคธุรกิจ และประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมด้วย
บทบาทของไทยใน UNCTAD
- ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 ในปีค.ศ. 2000
- ปัจจุบัน เลขาธิการ UNCTAD คือ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์
- โดยที่การประชุม UNCTAD 10 ที่กรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. 2000 ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง กานาจึงขอความสนับสนุนจากไทยในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการประชุมระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศจึงได้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศกานาและคณะเยือนไทย เมื่อวันที่ 11-14 ธันวาคม 2550 เพื่อศึกษาดูงาน การเตรียมการประชุม และได้ส่งคณะผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ และบริษัทซึ่งบริหารจัดการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10) ไปให้คำแนะนำผู้บริหารจัดการศูนย์การประชุมของกานาที่กรุงอักกรา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ตามที่ฝ่ายกานาร้องขอ
หัวข้อการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 12
หัวข้อหลัก (theme) ของการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 12 คือ “วิเคราะห์โอกาสและความท้าทายของโลกาภิวัตน์เพื่อการพัฒนา ” ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจโลกและการจัดการกับกระบวนการโลกาภิวัตน์ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา โดยมีหัวข้อย่อย(sub-theme) 4 ข้อ ได้แก่
1 การส่งเสริมความสอดคล้องของระบบการเงิน การค้า การลงทุนระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และการลดปัญหาความยากจน โดยการวิเคราะห์โอกาส และผลกระทบจากกระบวนการโลกภิวัฒน์ เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไข เช่น การปฏิรูประบบการเงินและการค้าระหว่างประเทศให้มีความเป็นธรรมและเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาร่วมทั้งการส่งเสริมการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งไทยมีความร่วมมือทางด้านการค้า การลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนากับประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคต่างๆ อาทิ ASEAN ACMECS GMS BIMSTEC ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจ การลดช่องว่างเพื่อการพัฒนาในอนุภูมิภาค
2 ประเด็นด้านการค้าและการพัฒนาที่สำคัญ เช่น การผลักดัน การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮาให้มีระบบการค้าทีเป็นธรรม และเอื้อต่อการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนา การสร้างความชัดเจนกับแนวความคิดในการให้ความช่วยเหลือเพื่อการค้า (Aid for Trade) เพื่อให้มีการนำไปปฏิบัติได้จริง การช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการค้า และการพัฒนานโยบายทางด้านเศรษฐกิจแก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งการเร่งรัดการเจรจาเรื่องสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (GSTP) ตลอดจนการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และการสร้างความมั่นคงทางอาหาร
3 การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในทุกระดับเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาในการผลิตสินค้าและบริการและการลงทุน การระดมทรัพยากรและใช้ประโยชน์จากความรู้เพื่อการพัฒนา การส่งเสริมการลงทุนของ FDI บริษัทข้ามชาติ และการส่งเสริม SMEs ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาด้านการลงทุน การลดช่องว่างทางเทคโนโลยี และการส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ICT ในชุมชน
4 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ UNCTAD ในการศึกษาวิเคราะห์และเสนอแนะข้อมูลทางด้านการค้าการลงทุน ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ เพื่อสร้างเสริมขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาในการรวมตัว เข้ากับระบบเศรษฐกิจโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไทยต้องการให้ UNCTAD สนับสนุนการดำเนินการของสถาบันระหว่างประเทศ เพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยและฝึกอบรมที่จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและ UNCTAD หลังการประชุม UNCTAD 10 ในไทยเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรของไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียในเรื่องการค้า การลงทุน และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา
รูปแบบการประชุม
การประชุมจะดำเนินการในรูปการประชุมโต๊ะกลม ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 หัวข้อ ได้แก่ 1. กระบวนการโลกาภิวัตน์ การพัฒนา และการลดความยากจน 2. การสร้างสภาวะการที่เอื้อต่อการลงทุนและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3. สภาพการณ์ของการค้าสินค้าโภคภัณฑ์ 4. การค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคกับการพัฒนา 5. การศึกษาและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา 6. การจัดการปัญหาหนี้สินและการสนับสนุนการค้าเพื่อการพัฒนา 7. การเสริมสร้าง
ขีดความสามารถในการผลิตสำหรับประเทศกำลังพัฒนา 8. การสร้างความเข้มแข็งให้ UNCTAD ในการดำเนินบทบาทภารกิจในการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา 9. การกระชับและขยายบทบาทขององค์กรของ UNCTAD ให้มีความเข้มแข็งและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การมีส่วนร่วมและผลประโยชน์ของไทยในการประชุม UNCTAD 12
- การประชุม UNCTAD XII เป็นการประชุมพหุภาคีระดับสหประชาชาติครั้งแรกของรัฐบาลชุดปัจจุบัน จึงเป็นโอกาสดีในการนำเสนอ และสร้างความเชื่อมั่นในนโยบายเศรษฐกิจและการพัฒนาของไทย
- รัฐมนตรีฯ จะกล่าวสุนทรพจน์ในการอภิปรายทั่วไป (General Debate) เพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของไทยต่อการจัดการกับโอกาส ความท้าทายของกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการพัฒนา ปัญหาความไม่สมดุลของระบบเศรษฐกิจโลก และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในด้านการค้า การลงทุน และการสนับสนุนบทบาทของ UNCTAD ในการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ให้รวมตัวเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้โอกาสในการนำเสนอ และส่ร้างความเชื่อมั่นต่อนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล และเข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นในการประชุมโต๊ะกลม เรื่องการค้า และการร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา และการหารือในประเด็นที่เป็นความสนใจของประชาคมโลก เช่น ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และถือโอกาสนี้หารือทวิภาคีกับผู้แทนประเทศ และองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญอีกด้วย
- แสดงบทบาทของไทยในเวทีสหประชาชาติในเรื่องการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนา และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก UNCTAD ในการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการเจรจาการค้าการลงทุน เพื่อให้สามารถรวมตัวเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดการกับโลกาภิวัตน์ ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา รวมทั้งผลักดันให้ UNCTAD ดำเนินงานในการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- โดยที่จะมีประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากเข้าร่วมการประชุม UNCTAD 12 ไทยจึงสามารถใช้เวทีUNCTADกระชับความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกา โดยการหารือทวิภาคี กับผู้นำ และผู้แทนกับประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงมีหมายกำหนดการที่จะเข้าร่วมการประชุม UNCTAD XII ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลกานา และเลขาธิการ UNCTAD ในระหว่างวันที่ 19- 24 เมษายน 2551 ซึ่งสำนักพระราชวังจะมีแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไป
ในส่วนของคณะผู้แทนไทยที่ไปร่วมการประชุม UNCTAD XII นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย โดยมีผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร และส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม
การประชุมสหประชาชาติเพื่อการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) เป็นองค์กรหนึ่งของสหประชาชาติที่มีบทบาทภารกิจหลัก ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการจัดการกระบวนการโลกาภิวัตน์และระบบเศรษฐกิจโลกให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการพัฒนา โดย (1) เป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างรัฐบาล เพื่อการสร้างฉันทามติในการจัดการกับกระบวนการโลกาภิวัตน์และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศด้านการค้า การลงทุนเพื่อการพัฒนา (2) วิจัย วิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจโลก และเสนอแนะข้อมูล ข้อคิดเห็นด้านการค้า การลงทุนและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา และ (3) ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาในการรวมตัวเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลกอย่างมีประสิทธิภาพ
การประชุม UNCTAD เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีซึ่งมีผู้แทนจากสถาบันการเงิน องค์การระหว่างประเทศ ภาคธุรกิจ และประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมด้วย
บทบาทของไทยใน UNCTAD
- ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 ในปีค.ศ. 2000
- ปัจจุบัน เลขาธิการ UNCTAD คือ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์
- โดยที่การประชุม UNCTAD 10 ที่กรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. 2000 ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง กานาจึงขอความสนับสนุนจากไทยในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการประชุมระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศจึงได้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศกานาและคณะเยือนไทย เมื่อวันที่ 11-14 ธันวาคม 2550 เพื่อศึกษาดูงาน การเตรียมการประชุม และได้ส่งคณะผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ และบริษัทซึ่งบริหารจัดการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10) ไปให้คำแนะนำผู้บริหารจัดการศูนย์การประชุมของกานาที่กรุงอักกรา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ตามที่ฝ่ายกานาร้องขอ
หัวข้อการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 12
หัวข้อหลัก (theme) ของการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 12 คือ “วิเคราะห์โอกาสและความท้าทายของโลกาภิวัตน์เพื่อการพัฒนา ” ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจโลกและการจัดการกับกระบวนการโลกาภิวัตน์ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา โดยมีหัวข้อย่อย(sub-theme) 4 ข้อ ได้แก่
1 การส่งเสริมความสอดคล้องของระบบการเงิน การค้า การลงทุนระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และการลดปัญหาความยากจน โดยการวิเคราะห์โอกาส และผลกระทบจากกระบวนการโลกภิวัฒน์ เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไข เช่น การปฏิรูประบบการเงินและการค้าระหว่างประเทศให้มีความเป็นธรรมและเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาร่วมทั้งการส่งเสริมการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งไทยมีความร่วมมือทางด้านการค้า การลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนากับประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคต่างๆ อาทิ ASEAN ACMECS GMS BIMSTEC ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจ การลดช่องว่างเพื่อการพัฒนาในอนุภูมิภาค
2 ประเด็นด้านการค้าและการพัฒนาที่สำคัญ เช่น การผลักดัน การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮาให้มีระบบการค้าทีเป็นธรรม และเอื้อต่อการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนา การสร้างความชัดเจนกับแนวความคิดในการให้ความช่วยเหลือเพื่อการค้า (Aid for Trade) เพื่อให้มีการนำไปปฏิบัติได้จริง การช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการค้า และการพัฒนานโยบายทางด้านเศรษฐกิจแก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งการเร่งรัดการเจรจาเรื่องสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (GSTP) ตลอดจนการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และการสร้างความมั่นคงทางอาหาร
3 การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในทุกระดับเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาในการผลิตสินค้าและบริการและการลงทุน การระดมทรัพยากรและใช้ประโยชน์จากความรู้เพื่อการพัฒนา การส่งเสริมการลงทุนของ FDI บริษัทข้ามชาติ และการส่งเสริม SMEs ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาด้านการลงทุน การลดช่องว่างทางเทคโนโลยี และการส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ICT ในชุมชน
4 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ UNCTAD ในการศึกษาวิเคราะห์และเสนอแนะข้อมูลทางด้านการค้าการลงทุน ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ เพื่อสร้างเสริมขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาในการรวมตัว เข้ากับระบบเศรษฐกิจโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไทยต้องการให้ UNCTAD สนับสนุนการดำเนินการของสถาบันระหว่างประเทศ เพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยและฝึกอบรมที่จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและ UNCTAD หลังการประชุม UNCTAD 10 ในไทยเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรของไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียในเรื่องการค้า การลงทุน และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา
รูปแบบการประชุม
การประชุมจะดำเนินการในรูปการประชุมโต๊ะกลม ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 หัวข้อ ได้แก่ 1. กระบวนการโลกาภิวัตน์ การพัฒนา และการลดความยากจน 2. การสร้างสภาวะการที่เอื้อต่อการลงทุนและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3. สภาพการณ์ของการค้าสินค้าโภคภัณฑ์ 4. การค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคกับการพัฒนา 5. การศึกษาและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา 6. การจัดการปัญหาหนี้สินและการสนับสนุนการค้าเพื่อการพัฒนา 7. การเสริมสร้าง
ขีดความสามารถในการผลิตสำหรับประเทศกำลังพัฒนา 8. การสร้างความเข้มแข็งให้ UNCTAD ในการดำเนินบทบาทภารกิจในการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา 9. การกระชับและขยายบทบาทขององค์กรของ UNCTAD ให้มีความเข้มแข็งและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การมีส่วนร่วมและผลประโยชน์ของไทยในการประชุม UNCTAD 12
- การประชุม UNCTAD XII เป็นการประชุมพหุภาคีระดับสหประชาชาติครั้งแรกของรัฐบาลชุดปัจจุบัน จึงเป็นโอกาสดีในการนำเสนอ และสร้างความเชื่อมั่นในนโยบายเศรษฐกิจและการพัฒนาของไทย
- รัฐมนตรีฯ จะกล่าวสุนทรพจน์ในการอภิปรายทั่วไป (General Debate) เพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของไทยต่อการจัดการกับโอกาส ความท้าทายของกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการพัฒนา ปัญหาความไม่สมดุลของระบบเศรษฐกิจโลก และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในด้านการค้า การลงทุน และการสนับสนุนบทบาทของ UNCTAD ในการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ให้รวมตัวเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้โอกาสในการนำเสนอ และส่ร้างความเชื่อมั่นต่อนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล และเข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นในการประชุมโต๊ะกลม เรื่องการค้า และการร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา และการหารือในประเด็นที่เป็นความสนใจของประชาคมโลก เช่น ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และถือโอกาสนี้หารือทวิภาคีกับผู้แทนประเทศ และองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญอีกด้วย
- แสดงบทบาทของไทยในเวทีสหประชาชาติในเรื่องการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนา และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก UNCTAD ในการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการเจรจาการค้าการลงทุน เพื่อให้สามารถรวมตัวเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดการกับโลกาภิวัตน์ ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา รวมทั้งผลักดันให้ UNCTAD ดำเนินงานในการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- โดยที่จะมีประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากเข้าร่วมการประชุม UNCTAD 12 ไทยจึงสามารถใช้เวทีUNCTADกระชับความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกา โดยการหารือทวิภาคี กับผู้นำ และผู้แทนกับประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-