กรุงเทพ--21 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2551 นายไมเคิล วิลเลียมส์ ผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรว่าด้วยเรื่องพม่า เข้าเยี่ยมคารวะนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ณ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่าโดยเฉพาะการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม ศกนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวต้อนรับนายวิลเลียมส์ และตอบรับคำเชิญที่จะเยือนสหราชอาณาจักรประมาณต้นเดือนมิถุนายน ศกนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดที่จะพบหารือกับนายเดวิด มิลิแบนด์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษด้วย ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะกำหนดรายละเอียดของการเยือนต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงต่อนายวิลเลียมส์ถึงนโยบายของไทยต่อพม่าในปัจจุบัน
ซึ่งเน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยไทยเชื่อว่ามาตรการคว่ำบาตรที่นานาประเทศได้ดำเนินต่อพม่าอาจไม่ก่อให้เกิดผลอย่างที่พึงประสงค์เสมอไป ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่แรงงานพม่าจำนวน 54 คนที่เสียชีวิตเนื่องจากขาดอากาศหายใจในระหว่างที่หลบหนีเข้ามาในประเทศไทย บุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการคว่ำบาตรทำให้ต้องแอบเข้ามาประเทศไทยเพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจและอาชีพที่ดีกว่า ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเชื่อมโยงกับประเด็นการค้ามนุษย์ด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนายวิลเลียมส์ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางถึงกระบวนการลงประชามติของพม่าซึ่งกำหนดไว้เป็นวันที่ 10 พฤษภาคม 2551 ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าการลงประชามติดังกล่าวควรจะเป็นกระบวนการที่มีความน่าเชื่อถือ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และมีถูกต้องตามหลักนิติธรรม เพื่อก่อให้เกิดความมีเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในพม่าต่อไป ในการนี้ นายวิลเลียมส์กล่าวแสดงความหวังว่าประเทศไทยจะเพิ่มบทบาทในเรื่องพม่าได้เนื่องจาก
มีภูมิประเทศใกล้ชิดกับพม่ามากที่สุดและจะเป็นประธานอาเซียนในเร็ววันนี้ ทั้งนี้ นายวิลเลียมส์แสดงความกังวลต่อการเข้าถึงข้อมูลของผู้สื่อข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับการลงประชามติดังกล่าว และการเข้าไป มีบทบาทของคณะกรรมการกาชาดสากลเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวพม่าด้วย
ในตอนท้าย ฝ่ายอังกฤษได้ขอให้ทางการไทยพิจารณาให้การรับรองสถานะแก่โคโซโว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงในเรื่องนี้ว่า ประเทศไทยอยู่ระหว่างติดตามพัฒนาการของสถานการณ์ในโคโซโวอย่างใกล้ชิดและยึดตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1244 (1999)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2551 นายไมเคิล วิลเลียมส์ ผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรว่าด้วยเรื่องพม่า เข้าเยี่ยมคารวะนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ณ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่าโดยเฉพาะการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม ศกนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวต้อนรับนายวิลเลียมส์ และตอบรับคำเชิญที่จะเยือนสหราชอาณาจักรประมาณต้นเดือนมิถุนายน ศกนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดที่จะพบหารือกับนายเดวิด มิลิแบนด์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษด้วย ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะกำหนดรายละเอียดของการเยือนต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงต่อนายวิลเลียมส์ถึงนโยบายของไทยต่อพม่าในปัจจุบัน
ซึ่งเน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยไทยเชื่อว่ามาตรการคว่ำบาตรที่นานาประเทศได้ดำเนินต่อพม่าอาจไม่ก่อให้เกิดผลอย่างที่พึงประสงค์เสมอไป ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่แรงงานพม่าจำนวน 54 คนที่เสียชีวิตเนื่องจากขาดอากาศหายใจในระหว่างที่หลบหนีเข้ามาในประเทศไทย บุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการคว่ำบาตรทำให้ต้องแอบเข้ามาประเทศไทยเพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจและอาชีพที่ดีกว่า ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเชื่อมโยงกับประเด็นการค้ามนุษย์ด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนายวิลเลียมส์ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางถึงกระบวนการลงประชามติของพม่าซึ่งกำหนดไว้เป็นวันที่ 10 พฤษภาคม 2551 ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าการลงประชามติดังกล่าวควรจะเป็นกระบวนการที่มีความน่าเชื่อถือ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และมีถูกต้องตามหลักนิติธรรม เพื่อก่อให้เกิดความมีเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในพม่าต่อไป ในการนี้ นายวิลเลียมส์กล่าวแสดงความหวังว่าประเทศไทยจะเพิ่มบทบาทในเรื่องพม่าได้เนื่องจาก
มีภูมิประเทศใกล้ชิดกับพม่ามากที่สุดและจะเป็นประธานอาเซียนในเร็ววันนี้ ทั้งนี้ นายวิลเลียมส์แสดงความกังวลต่อการเข้าถึงข้อมูลของผู้สื่อข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับการลงประชามติดังกล่าว และการเข้าไป มีบทบาทของคณะกรรมการกาชาดสากลเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวพม่าด้วย
ในตอนท้าย ฝ่ายอังกฤษได้ขอให้ทางการไทยพิจารณาให้การรับรองสถานะแก่โคโซโว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงในเรื่องนี้ว่า ประเทศไทยอยู่ระหว่างติดตามพัฒนาการของสถานการณ์ในโคโซโวอย่างใกล้ชิดและยึดตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1244 (1999)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-