กรุงเทพ--23 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2551 นายพิทยา พุกกะมาน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้รับมอบหมายจากนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการฯ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง “ลู่ทางการค้าและการลงทุนในติมอร์-เลสเต: Small Country-Big Opportunity” ณ โรงแรมสยามซิตี้
การสัมมนาในครั้งนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อขยายลู่ทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับติมอร์-เลสเตในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะสาขาพลังงาน การท่องเที่ยว และโครงสร้างขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นการสร้างความมั่นใจแก่นักธุรกิจไทยในศักยภาพและความมั่นคงทางการเมืองของติมอร์-เลสเต โดยมีนาย Gil da Costa A.N. Alves รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว การค้า และอุตสาหกรรม นาย Alfredo Pires รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ และนาย Pedro Lay รัฐมนตรีว่าการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของติมอร์-เลสเตเป็นวิทยากร และนายวิวัฒน์ กุลธรเธียร เอกอัครราชทูต ณ กรุงดิลี เป็นผู้ดำเนินรายการ
ในการนี้ นายวิวัฒน์ฯ เอกอัครราชทูต ณ กรุงดิลี ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับลู่ทางในการลงทุนของไทยในติมอร์-เลสเต ซึ่งประกอบด้วย
1. การลงทุนเพื่อไปสร้างสิ่งใหม่ โดยที่ติมอร์ฯ เป็นประเทศเกิดใหม่ แยกตัวเป็นเอกราชสำเร็จเมื่อ 20 พ.ค. 2545 ประเทศเตียนโล่ง ต้องสร้างสิ่งใหม่ขึ้นทั้งทดแทนของเก่าและเป็นของใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น ตึกรามบ้านช่อง ถนน สะพาน อุโมงค์ สนามบิน เขื่อน สถานีจ่ายไฟฟ้าและประปา ท่อน้ำประปา เสาไฟฟ้า บ้านพัก และอื่นๆ
2. การลงทุนเพื่อเป็นแหล่งป้อนไทย โดยที่ติมอร์ฯ มีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาลโดยเฉพาะก๊าซและน้ำมัน หากธุรกิจไทยไปสำรวจขุดเจาะ ไปซื้อไปสำรองทั้งก๊าซและน้ำมัน หรือไปทำธุรกิจก๊าซน้ำมัน ร่วมกับติมอร์ฯ หรือร่วมกับกลุ่มธุรกิจประเทศอื่นในลักษณะ Consortium ก็สามารถทำได้ เพื่อติมอร์ฯ จะเป็นแหล่งป้อนพลังงานให้ไทย
3. การลงทุนเพื่อร่วมผลิตและ re-export โดยติมอร์ฯ มีพื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ทั้งบนบกและในน้ำมหาศาลซึ่งธุรกิจไทยสามารถไปเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์หรือจับสัตว์น้ำรอบๆ ประเทศป้อนโรงงานแปรรูปแล้วส่งออก โดยในอนาคตอันใกล้ติมอร์ฯ จะทำความตกลงการค้ากับประเทศต่างๆ ที่เป็นตลาดสำคัญของโลก ซึ่งสินค้าที่ผลิตในติมอร์ฯ จะเข้าตลาดเหล่านั้นได้โดยไม่เสียภาษี
4. การลงทุนเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ โดยไทยนำความรู้ประสบการณ์ในธุรกิจสำคัญๆ โดยเฉพาะด้านบริการไปลงทุนในติมอร์ฯ เช่น ด้านท่องเที่ยว โรงแรม OTOP หรือธุรกิจการบินและสนามบิน ซึ่งสอดคล้องกับศักยภาพของติมอร์ฯ ที่เป็นประเทศมีพร้อมทั้งทะเล ทราย ภูเขา และธรรมชาติที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคพื้นแปซิฟิก
5. การลงทุนเพื่อขายสินค้าไทย โดยติมอร์ฯ ต้องการอาหารและสิ่งจำเป็นมากมาย แต่ที่ผ่านมาซื้อผ่านประเทศที่สาม ซึ่งหากซื้อตรงย่อมลดค่าใช้จ่ายและได้ของคุณภาพดี เช่น ข้าว สินค้าอุปโภค บริโภค เครื่องใช้ต่างๆ อุปกรณ์จำเป็นเพื่อครัวเรือนในพื้นที่ต่างๆ เช่นเครื่องทำไฟฟ้า Solar หรือสินค้าอื่นๆ ซึ่งการค้าจะเติบโตเป็นลำดับเพราะติมอร์ฯ จะมีรายได้มากขึ้นและจะมีประชากรรวมทั้งนักธุรกิจนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
6. การลงทุนเพื่อนำเทคโนโลยีของไทยไปตั้งฐาน โดยไทยมีความรู้วิชาการและเทคโนโลยีสูงในด้านการเกษตรและมีความเชี่ยวชาญด้านการตลาด จึงสามารถเข้าไปตั้งแปลงสัมปทานเพาะปลูกในลักษณะ plantation ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด กาแฟ ตลอดจนพืชเศรษฐกิจต่างๆ ที่เวลานี้มีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของโลก
สำหรับแนวทางการไปลงทุนในติมอร์ฯ ในด้านต่างๆ ตามความต้องการดังกล่าวข้างต้นนั้น นายวิวัฒน์ฯ แนะนำว่า หน่วยงานหรือบริษัทของไทยสามารถดำเนินการบน 3 แนวทางคือ 1) ดำเนินการตรงไปจากประเทศไทย กล่าวคือหน่วยงานหรือธุรกิจเอกชนไทยนำทุนและการจัดการไปลงในติมอร์ฯ ใหม่ทั้งหมด หรือ 2) ดำเนินการโดย “สยายปีก” ธุรกิจไทยที่ทำอยู่แล้วในประเทศรอบบ้านติมอร์ฯ เข้าไปครอบคลุมหรือตั้งสาขาลูกในติมอร์ฯ หรือ 3) หาผู้ลงทุนร่วมหรือไปร่วมลงทุนกับบริษัทของประเทศที่สามและเข้าไปทำธุรกิจในติมอร์ฯ ซึ่งแนวนี้มักเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ใช้ทุนและเทคโนโลยีสูง
ผู้ที่สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลภาษาไทยเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://timor-leste-dili.blogspot.com
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2551 นายพิทยา พุกกะมาน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้รับมอบหมายจากนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการฯ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง “ลู่ทางการค้าและการลงทุนในติมอร์-เลสเต: Small Country-Big Opportunity” ณ โรงแรมสยามซิตี้
การสัมมนาในครั้งนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อขยายลู่ทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับติมอร์-เลสเตในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะสาขาพลังงาน การท่องเที่ยว และโครงสร้างขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นการสร้างความมั่นใจแก่นักธุรกิจไทยในศักยภาพและความมั่นคงทางการเมืองของติมอร์-เลสเต โดยมีนาย Gil da Costa A.N. Alves รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว การค้า และอุตสาหกรรม นาย Alfredo Pires รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ และนาย Pedro Lay รัฐมนตรีว่าการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของติมอร์-เลสเตเป็นวิทยากร และนายวิวัฒน์ กุลธรเธียร เอกอัครราชทูต ณ กรุงดิลี เป็นผู้ดำเนินรายการ
ในการนี้ นายวิวัฒน์ฯ เอกอัครราชทูต ณ กรุงดิลี ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับลู่ทางในการลงทุนของไทยในติมอร์-เลสเต ซึ่งประกอบด้วย
1. การลงทุนเพื่อไปสร้างสิ่งใหม่ โดยที่ติมอร์ฯ เป็นประเทศเกิดใหม่ แยกตัวเป็นเอกราชสำเร็จเมื่อ 20 พ.ค. 2545 ประเทศเตียนโล่ง ต้องสร้างสิ่งใหม่ขึ้นทั้งทดแทนของเก่าและเป็นของใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น ตึกรามบ้านช่อง ถนน สะพาน อุโมงค์ สนามบิน เขื่อน สถานีจ่ายไฟฟ้าและประปา ท่อน้ำประปา เสาไฟฟ้า บ้านพัก และอื่นๆ
2. การลงทุนเพื่อเป็นแหล่งป้อนไทย โดยที่ติมอร์ฯ มีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาลโดยเฉพาะก๊าซและน้ำมัน หากธุรกิจไทยไปสำรวจขุดเจาะ ไปซื้อไปสำรองทั้งก๊าซและน้ำมัน หรือไปทำธุรกิจก๊าซน้ำมัน ร่วมกับติมอร์ฯ หรือร่วมกับกลุ่มธุรกิจประเทศอื่นในลักษณะ Consortium ก็สามารถทำได้ เพื่อติมอร์ฯ จะเป็นแหล่งป้อนพลังงานให้ไทย
3. การลงทุนเพื่อร่วมผลิตและ re-export โดยติมอร์ฯ มีพื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ทั้งบนบกและในน้ำมหาศาลซึ่งธุรกิจไทยสามารถไปเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์หรือจับสัตว์น้ำรอบๆ ประเทศป้อนโรงงานแปรรูปแล้วส่งออก โดยในอนาคตอันใกล้ติมอร์ฯ จะทำความตกลงการค้ากับประเทศต่างๆ ที่เป็นตลาดสำคัญของโลก ซึ่งสินค้าที่ผลิตในติมอร์ฯ จะเข้าตลาดเหล่านั้นได้โดยไม่เสียภาษี
4. การลงทุนเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ โดยไทยนำความรู้ประสบการณ์ในธุรกิจสำคัญๆ โดยเฉพาะด้านบริการไปลงทุนในติมอร์ฯ เช่น ด้านท่องเที่ยว โรงแรม OTOP หรือธุรกิจการบินและสนามบิน ซึ่งสอดคล้องกับศักยภาพของติมอร์ฯ ที่เป็นประเทศมีพร้อมทั้งทะเล ทราย ภูเขา และธรรมชาติที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคพื้นแปซิฟิก
5. การลงทุนเพื่อขายสินค้าไทย โดยติมอร์ฯ ต้องการอาหารและสิ่งจำเป็นมากมาย แต่ที่ผ่านมาซื้อผ่านประเทศที่สาม ซึ่งหากซื้อตรงย่อมลดค่าใช้จ่ายและได้ของคุณภาพดี เช่น ข้าว สินค้าอุปโภค บริโภค เครื่องใช้ต่างๆ อุปกรณ์จำเป็นเพื่อครัวเรือนในพื้นที่ต่างๆ เช่นเครื่องทำไฟฟ้า Solar หรือสินค้าอื่นๆ ซึ่งการค้าจะเติบโตเป็นลำดับเพราะติมอร์ฯ จะมีรายได้มากขึ้นและจะมีประชากรรวมทั้งนักธุรกิจนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
6. การลงทุนเพื่อนำเทคโนโลยีของไทยไปตั้งฐาน โดยไทยมีความรู้วิชาการและเทคโนโลยีสูงในด้านการเกษตรและมีความเชี่ยวชาญด้านการตลาด จึงสามารถเข้าไปตั้งแปลงสัมปทานเพาะปลูกในลักษณะ plantation ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด กาแฟ ตลอดจนพืชเศรษฐกิจต่างๆ ที่เวลานี้มีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของโลก
สำหรับแนวทางการไปลงทุนในติมอร์ฯ ในด้านต่างๆ ตามความต้องการดังกล่าวข้างต้นนั้น นายวิวัฒน์ฯ แนะนำว่า หน่วยงานหรือบริษัทของไทยสามารถดำเนินการบน 3 แนวทางคือ 1) ดำเนินการตรงไปจากประเทศไทย กล่าวคือหน่วยงานหรือธุรกิจเอกชนไทยนำทุนและการจัดการไปลงในติมอร์ฯ ใหม่ทั้งหมด หรือ 2) ดำเนินการโดย “สยายปีก” ธุรกิจไทยที่ทำอยู่แล้วในประเทศรอบบ้านติมอร์ฯ เข้าไปครอบคลุมหรือตั้งสาขาลูกในติมอร์ฯ หรือ 3) หาผู้ลงทุนร่วมหรือไปร่วมลงทุนกับบริษัทของประเทศที่สามและเข้าไปทำธุรกิจในติมอร์ฯ ซึ่งแนวนี้มักเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ใช้ทุนและเทคโนโลยีสูง
ผู้ที่สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลภาษาไทยเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://timor-leste-dili.blogspot.com
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-