กรุงเทพ--28 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
พลเอก เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพพม่า มีกำหนดจะเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 29 เมษายน — 1 พฤษภาคม 2551 ในฐานะแขกของรัฐบาล การเยือนครั้งนี้เป็นการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะนายกรัฐมนตรีพม่าครั้งแรก หลังจากที่พลเอกเต็ง เส่ง เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550
นายกรัฐมนตรีพม่าและคณะจะเดินทางถึงประเทศไทยในวันที่ 29 เมษายน 2551 และจะเดินทางไปถวายสักการะพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเยี่ยมชมวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง
ในวันที่ 30 เมษายน 2551 นายกรัฐมนตรีพม่าและคณะมีกำหนดจะหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรี ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล และเข้าร่วมพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการทำเกษตรแบบมีสัญญา (contract farming) ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีพม่าได้ขอเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีพม่าและคณะ
ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 นายกรัฐมนตรีพม่ามีกำหนดเดินทางไปเยี่ยมชมโครงการพัฒนาดอยตุงของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ณ จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาดูงานโครงการปลูกพืชทดแทนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านที่เคยปลูกฝิ่น ทั้งนี้ ไทยและพม่ามีโครงการที่จะร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่ในเขตรัฐฉาน ประเทศพม่า ซึ่งในอดีตเคยเป็นพื้นที่เพาะปลูกฝิ่น และเมื่อรัฐบาลพม่าประกาศนโยบายยุติการปลูกฝิ่น ทำให้ประชาชนขาดรายได้ รัฐบาลพม่าจึงจะให้ความช่วยเหลือในโครงการปลูกพืชทดแทนเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไป
การเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีพม่าครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่ฝ่ายไทยจะได้ติดตามความคืบหน้าในโครงการและความร่วมมือในสาขาต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ความร่วมมือด้านพลังงาน ความร่วมมือในการต่อต้านและปราบปรามยาเสพติดและโครงการพัฒนาทางเลือก ความร่วมมือด้านแรงงาน การเปิดจุดผ่านแดน การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายแดน เป็นต้น ทั้งนี้ ฝ่ายพม่าให้ความสำคัญต่อการเยือนครั้งนี้มาก และมีรัฐมนตรีที่รับผิดชอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องของฝ่ายพม่าร่วมเดินทางด้วย 6 คน ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนแห่งชาติและพัฒนาเศรษฐกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงขนส่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงก่อสร้าง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปัจจุบันความสัมพันธ์ไทยกับพม่าอยู่ในระดับดี โดยไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับพม่าเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2491 และในปี 2551 นี้จะเป็นปีครบรอบ 60 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหภาพพม่า ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งในระดับรัฐบาล กองทัพ และประชาชน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ ไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของพม่า โดยในปี 2550 มีมูลค่าการค้ารวม จำนวน 109,619 ล้านบาท โดยไทยนำเข้า 79,520 ล้านบาท และส่งออกไปพม่า 30,100 ล้านบาท สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก สำหรับสินค้าที่ไทยนำเข้าจากพม่า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ไม้ซุง ไม้แปรรูป ถ่านหิน สินแร่โลหะและเศษโลหะ เหล็กและเหล็กกล้า ปัจจุบันหน่วยงานราชการไทยและพม่าประสานงานผ่านกลไกความร่วมมือทวิภาคีต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมาธิการร่วมไทย-พม่า คณะกรรมการ เขตแดนร่วม คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค และความร่วมมือภายใต้กรอบ ACMECS เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
พลเอก เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพพม่า มีกำหนดจะเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 29 เมษายน — 1 พฤษภาคม 2551 ในฐานะแขกของรัฐบาล การเยือนครั้งนี้เป็นการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะนายกรัฐมนตรีพม่าครั้งแรก หลังจากที่พลเอกเต็ง เส่ง เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550
นายกรัฐมนตรีพม่าและคณะจะเดินทางถึงประเทศไทยในวันที่ 29 เมษายน 2551 และจะเดินทางไปถวายสักการะพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเยี่ยมชมวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง
ในวันที่ 30 เมษายน 2551 นายกรัฐมนตรีพม่าและคณะมีกำหนดจะหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรี ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล และเข้าร่วมพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการทำเกษตรแบบมีสัญญา (contract farming) ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีพม่าได้ขอเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีพม่าและคณะ
ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 นายกรัฐมนตรีพม่ามีกำหนดเดินทางไปเยี่ยมชมโครงการพัฒนาดอยตุงของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ณ จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาดูงานโครงการปลูกพืชทดแทนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านที่เคยปลูกฝิ่น ทั้งนี้ ไทยและพม่ามีโครงการที่จะร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่ในเขตรัฐฉาน ประเทศพม่า ซึ่งในอดีตเคยเป็นพื้นที่เพาะปลูกฝิ่น และเมื่อรัฐบาลพม่าประกาศนโยบายยุติการปลูกฝิ่น ทำให้ประชาชนขาดรายได้ รัฐบาลพม่าจึงจะให้ความช่วยเหลือในโครงการปลูกพืชทดแทนเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไป
การเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีพม่าครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่ฝ่ายไทยจะได้ติดตามความคืบหน้าในโครงการและความร่วมมือในสาขาต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ความร่วมมือด้านพลังงาน ความร่วมมือในการต่อต้านและปราบปรามยาเสพติดและโครงการพัฒนาทางเลือก ความร่วมมือด้านแรงงาน การเปิดจุดผ่านแดน การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายแดน เป็นต้น ทั้งนี้ ฝ่ายพม่าให้ความสำคัญต่อการเยือนครั้งนี้มาก และมีรัฐมนตรีที่รับผิดชอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องของฝ่ายพม่าร่วมเดินทางด้วย 6 คน ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนแห่งชาติและพัฒนาเศรษฐกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงขนส่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงก่อสร้าง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปัจจุบันความสัมพันธ์ไทยกับพม่าอยู่ในระดับดี โดยไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับพม่าเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2491 และในปี 2551 นี้จะเป็นปีครบรอบ 60 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหภาพพม่า ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งในระดับรัฐบาล กองทัพ และประชาชน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ ไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของพม่า โดยในปี 2550 มีมูลค่าการค้ารวม จำนวน 109,619 ล้านบาท โดยไทยนำเข้า 79,520 ล้านบาท และส่งออกไปพม่า 30,100 ล้านบาท สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก สำหรับสินค้าที่ไทยนำเข้าจากพม่า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ไม้ซุง ไม้แปรรูป ถ่านหิน สินแร่โลหะและเศษโลหะ เหล็กและเหล็กกล้า ปัจจุบันหน่วยงานราชการไทยและพม่าประสานงานผ่านกลไกความร่วมมือทวิภาคีต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมาธิการร่วมไทย-พม่า คณะกรรมการ เขตแดนร่วม คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค และความร่วมมือภายใต้กรอบ ACMECS เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-