กรุงเทพ--29 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม ESCAP และกล่าวถึงหัวข้อการประชุมของปีนี้ คือ “ ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ว่าเป็นหัวข้อที่เหมาะสมและเหมาะกับเวลา ประเด็นสำคัญทั่วโลกในเวลานี้ คือราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น การขาดแคลนพลังงาน การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม การสูญเสียของความหลากหลายทางชีววิทยา การเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจ และราคาอาหารที่พุ่งทะยานขึ้น ซึ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงความเป็นอยู่ของประชากร ดังนั้น เรื่องเหล่านี้จึงสำคัญต่อทุกประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทย
ปัจจุบันไทยกำลังกลับเข้าสู่ภาวะปกติและก้าวไปข้างหน้า ในการนี้ รัฐบาลเร่งฟื้นฟูการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไทยเป็นประเทศเศรษฐกิจตลาดเปิดและเสรี จึงจะต้องสร้างพื้นฐานให้เข้มแข็ง และเป็นส่วนหนึ่งกับเศรษฐกิจทั้งระดับโลกและภูมิภาค ขณะเดียวกัน เพื่อให้การพัฒนามีความยั่งยืน จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการด้อยโอกาส ทั้งนี้ สถานการณ์ราคาอาหารที่สูงขึ้นอาจทำให้ปัญหาความยากจนยิ่งเลวร้ายลง โดยเฉพาะในชุมชนเมือง นโยบายของไทยคือการสร้างรายได้และโอกาสสำหรับภาคเกษตรกรรม ทั้งนี้ เป้าหมายก็เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ประชาชน
ภูมิภาคนี้มีประชากรที่ยากจนกว่า 600 ล้านคน การที่สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงทำให้มีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติและภาวะการกักตุนอาหารเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจในการรักษาสภาพแวดล้อมพร้อมไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด สัตว์และพืชในภูมิภาคแถบเอเชียแปซิฟิกได้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมากอันเป็นผลจากการบริหารจัดการทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ และ การทำลายสิ่งแวดล้อม การรักษาสัตว์และพืชในภูมิภาคจึงต้องรวมอยู่ในแผนพัฒนาประเทศด้วย
ในขณะเดียวกันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคนี้ยังให้ความสำคัญในเรื่องแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงด้วย เพราะเชื้อเพลิงคือศูนย์กลางของเศรษฐกิจ การขึ้นราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทั่วโลก ภูมิภาคของเราได้พยายามแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนโดยการปฏิรูปการบริหารจัดการพลังงาน การสนับสนุนความร่วมมือภาคพลังงาน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การสนับสนุนพลังงานสะอาด โดยเฉพาะการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานที่ไม่มีวันหมด อีกวิธีหนึ่งที่ต้องทำคือการส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสำหรับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ พลังงานทางเลือกที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ พลังงานนิวเคลียร์ ความร่วมมือกับประเทศที่มีความชำนาญการด้านพลังงาน จะทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายในด้านพลังงาน
ประเทศไทยสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี และความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างประเทศ โดยผ่านกรอบความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาค ESCAP สามารถเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้ฝึก อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดของประชาชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
"การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" กำลังมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการเป็นตัวเชื่อมช่องว่างของการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารและสารสนเทศของประชาชน เรามีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงช่องว่างและอุปสรรคเหล่านั้นให้ เป็นการแบ่งปันและจัดสรรข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้ประชาชนสามารถ ที่จะติดต่อเชื่อมโยงกันและกันพร้อมกับ ได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมจากทรัพยากรข้อมูลและความรู้ทางเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้ได้มีผล สะท้อนในการจัดทำวาระการประชุมรอบที่สิบสองของ UNCTAD ในประเทศกานา
การสื่อสารทางกายภาพระหว่างประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องได้รับการพัฒนา ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะถนนหนทางและระบบ การขนส่ง เราได้มีการลงทุนประมาณ 1 หมื่นล้านบาทสำหรับก่อสร้างถนนในประเทศเพื่อนบ้าน และในระหว่างการประชุม GMS ครั้งล่าสุดนี้ ประเทศไทยได้เสนอเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อเติมเต็มช่องทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้วและแผนงานการร่วมมืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกัน ได้แก่ ดินแดนสามเหลี่ยมมรกต เส้นทางที่ได้รับการนำเสนอนี้จะเชื่อมโยงเมืองหลัก ๆ และ จุดหมายของ นักท่องเที่ยวทั่วอนุภูมิภาค โดยเฉพาะสถานที่อันเป็นมรดกโลกตั้งแต่ดินแดนลานนาโบราณ ในจังหวัดเชียงรายของประเทศไทย เมืองที่ประกอบไปด้วยหลากหลายวัฒนธรรมอย่าง จิ่งหง (Jinghong) ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองประวัติศาสตร์หลวงพระบาง และ Vat Phou รวมถึง สถานที่โบราณในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว จนกระทั่ง ฮอยอัน (Hoi An) เมืองโบราณและฮาลองเบย์อันมหัศจรรย์แห่งเวียดนาม และ นครวัดอังกอร์ในกัมพูชา
เส้นทางนี้จะช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาทิ การค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยว ในขณะเดียวกัน ก็สร้างโอกาสสำหรับประชาชนในชุมชนท้องถิ่นตลอดเส้นทาง ยิ่งไปกว่านั้น เครือข่ายนี้จะช่วยขยายบทบาทของ GMS ในลักษณะของระบบขนส่งสินค้าที่เข้มข้นและเป็น สะพานเชื่อมโยงระหว่างอนุภูมิภาคกับจีนและอินเดีย รวมทั้งประเทศอื่น ๆ
การเชื่อมโยงที่ยิ่งใหญ่ระหว่างผู้คน ผ่านถนนและเส้นทางรถไฟ จะสนับสนุนให้ไทยสามารถดึงศักยภาพของความหลากหลายที่มีอยู่มาใช้ได้ดียิ่งขึ้น มิตรประเทศในอาเซียนต่างมีเจตจำนงค์ร่วมกันที่จะทำให้สิ่งนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา เป็นสิ่งสำคัญที่จะเราจะต้องร่วมมือกันในฐานะคู่คิดกับมิตรประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่าง อนุภูมิภาค และโครงข่ายการขนส่งในภูมิภาค ในการเชื่อมต่อนี้ ESCAP กำลังอยู่ในระหว่างการริเริ่มโครงการ ทางด่วนอาเซียน และทางรถไฟ ซึ่งกำลังเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของภาพรวมที่สำคัญสำหรับการเชื่อมโยงนี้ให้เป็นภาพโดยรวม
แรงขับในการพัฒนาของภูมิภาคต้องการความเห็นพ้องอย่างแข็งขันจากพวกเราทุกคน พร้อมทั้งแรงสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ไทยยินดีกับบทบาทของ ESCAP ในการสร้างความร่วมมืออย่างเข้มแข็งและเป็นแรงผลักดันสำหรับการกินดีอยู่ดีของประชากรในภูมิภาคนี้ ขอให้วางใจว่าประเทศไทย ซึ่งมีประชาธิปไตยและพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งจะยังคงเป็นส่วนสนับสนุนที่มีพลวัตรสำหรับ ESCAP เฉกเช่นสมาชิกอื่นๆ
การประชุมข้อภารกิจได้รับการพิจารณาว่าเป็นการพลิกฟื้นข้อตกลงของภารกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การทบทวนโครงสร้างของการประชุม ข้าพเจ้าใคร่ขอแสดงความยินดีต่อ ท่านผู้หญิง-เลขาธิการฝ่ายบริหารสำหรับความร่วมมืออย่างเข้มแข็งและความตั้งใจในการวางภารกิจให้สามารถ ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและต่อการตอบสนองอย่างสูง ต่อความต้องการของสมาชิกข้าพเจ้าแน่ใจว่าภารกิจนี้จะสามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จและมีผลลัพท์ที่มีประสิทธิภาพอันเนื่องมาจากการริเริ่มนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณและหวังว่าการประชุมครั้งนี้จะเกิดผลสัมฤทธิ์ และได้เปิดงานการประชุมของสหประชาชาติเพื่อภารกิจทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิค ในวาระการประชุมที่ 64
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม ESCAP และกล่าวถึงหัวข้อการประชุมของปีนี้ คือ “ ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ว่าเป็นหัวข้อที่เหมาะสมและเหมาะกับเวลา ประเด็นสำคัญทั่วโลกในเวลานี้ คือราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น การขาดแคลนพลังงาน การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม การสูญเสียของความหลากหลายทางชีววิทยา การเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจ และราคาอาหารที่พุ่งทะยานขึ้น ซึ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงความเป็นอยู่ของประชากร ดังนั้น เรื่องเหล่านี้จึงสำคัญต่อทุกประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทย
ปัจจุบันไทยกำลังกลับเข้าสู่ภาวะปกติและก้าวไปข้างหน้า ในการนี้ รัฐบาลเร่งฟื้นฟูการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไทยเป็นประเทศเศรษฐกิจตลาดเปิดและเสรี จึงจะต้องสร้างพื้นฐานให้เข้มแข็ง และเป็นส่วนหนึ่งกับเศรษฐกิจทั้งระดับโลกและภูมิภาค ขณะเดียวกัน เพื่อให้การพัฒนามีความยั่งยืน จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการด้อยโอกาส ทั้งนี้ สถานการณ์ราคาอาหารที่สูงขึ้นอาจทำให้ปัญหาความยากจนยิ่งเลวร้ายลง โดยเฉพาะในชุมชนเมือง นโยบายของไทยคือการสร้างรายได้และโอกาสสำหรับภาคเกษตรกรรม ทั้งนี้ เป้าหมายก็เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ประชาชน
ภูมิภาคนี้มีประชากรที่ยากจนกว่า 600 ล้านคน การที่สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงทำให้มีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติและภาวะการกักตุนอาหารเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจในการรักษาสภาพแวดล้อมพร้อมไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด สัตว์และพืชในภูมิภาคแถบเอเชียแปซิฟิกได้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมากอันเป็นผลจากการบริหารจัดการทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ และ การทำลายสิ่งแวดล้อม การรักษาสัตว์และพืชในภูมิภาคจึงต้องรวมอยู่ในแผนพัฒนาประเทศด้วย
ในขณะเดียวกันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคนี้ยังให้ความสำคัญในเรื่องแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงด้วย เพราะเชื้อเพลิงคือศูนย์กลางของเศรษฐกิจ การขึ้นราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทั่วโลก ภูมิภาคของเราได้พยายามแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนโดยการปฏิรูปการบริหารจัดการพลังงาน การสนับสนุนความร่วมมือภาคพลังงาน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การสนับสนุนพลังงานสะอาด โดยเฉพาะการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานที่ไม่มีวันหมด อีกวิธีหนึ่งที่ต้องทำคือการส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสำหรับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ พลังงานทางเลือกที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ พลังงานนิวเคลียร์ ความร่วมมือกับประเทศที่มีความชำนาญการด้านพลังงาน จะทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายในด้านพลังงาน
ประเทศไทยสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี และความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างประเทศ โดยผ่านกรอบความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาค ESCAP สามารถเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้ฝึก อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดของประชาชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
"การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" กำลังมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการเป็นตัวเชื่อมช่องว่างของการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารและสารสนเทศของประชาชน เรามีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงช่องว่างและอุปสรรคเหล่านั้นให้ เป็นการแบ่งปันและจัดสรรข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้ประชาชนสามารถ ที่จะติดต่อเชื่อมโยงกันและกันพร้อมกับ ได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมจากทรัพยากรข้อมูลและความรู้ทางเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้ได้มีผล สะท้อนในการจัดทำวาระการประชุมรอบที่สิบสองของ UNCTAD ในประเทศกานา
การสื่อสารทางกายภาพระหว่างประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องได้รับการพัฒนา ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะถนนหนทางและระบบ การขนส่ง เราได้มีการลงทุนประมาณ 1 หมื่นล้านบาทสำหรับก่อสร้างถนนในประเทศเพื่อนบ้าน และในระหว่างการประชุม GMS ครั้งล่าสุดนี้ ประเทศไทยได้เสนอเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อเติมเต็มช่องทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้วและแผนงานการร่วมมืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกัน ได้แก่ ดินแดนสามเหลี่ยมมรกต เส้นทางที่ได้รับการนำเสนอนี้จะเชื่อมโยงเมืองหลัก ๆ และ จุดหมายของ นักท่องเที่ยวทั่วอนุภูมิภาค โดยเฉพาะสถานที่อันเป็นมรดกโลกตั้งแต่ดินแดนลานนาโบราณ ในจังหวัดเชียงรายของประเทศไทย เมืองที่ประกอบไปด้วยหลากหลายวัฒนธรรมอย่าง จิ่งหง (Jinghong) ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองประวัติศาสตร์หลวงพระบาง และ Vat Phou รวมถึง สถานที่โบราณในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว จนกระทั่ง ฮอยอัน (Hoi An) เมืองโบราณและฮาลองเบย์อันมหัศจรรย์แห่งเวียดนาม และ นครวัดอังกอร์ในกัมพูชา
เส้นทางนี้จะช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาทิ การค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยว ในขณะเดียวกัน ก็สร้างโอกาสสำหรับประชาชนในชุมชนท้องถิ่นตลอดเส้นทาง ยิ่งไปกว่านั้น เครือข่ายนี้จะช่วยขยายบทบาทของ GMS ในลักษณะของระบบขนส่งสินค้าที่เข้มข้นและเป็น สะพานเชื่อมโยงระหว่างอนุภูมิภาคกับจีนและอินเดีย รวมทั้งประเทศอื่น ๆ
การเชื่อมโยงที่ยิ่งใหญ่ระหว่างผู้คน ผ่านถนนและเส้นทางรถไฟ จะสนับสนุนให้ไทยสามารถดึงศักยภาพของความหลากหลายที่มีอยู่มาใช้ได้ดียิ่งขึ้น มิตรประเทศในอาเซียนต่างมีเจตจำนงค์ร่วมกันที่จะทำให้สิ่งนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา เป็นสิ่งสำคัญที่จะเราจะต้องร่วมมือกันในฐานะคู่คิดกับมิตรประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่าง อนุภูมิภาค และโครงข่ายการขนส่งในภูมิภาค ในการเชื่อมต่อนี้ ESCAP กำลังอยู่ในระหว่างการริเริ่มโครงการ ทางด่วนอาเซียน และทางรถไฟ ซึ่งกำลังเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของภาพรวมที่สำคัญสำหรับการเชื่อมโยงนี้ให้เป็นภาพโดยรวม
แรงขับในการพัฒนาของภูมิภาคต้องการความเห็นพ้องอย่างแข็งขันจากพวกเราทุกคน พร้อมทั้งแรงสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ไทยยินดีกับบทบาทของ ESCAP ในการสร้างความร่วมมืออย่างเข้มแข็งและเป็นแรงผลักดันสำหรับการกินดีอยู่ดีของประชากรในภูมิภาคนี้ ขอให้วางใจว่าประเทศไทย ซึ่งมีประชาธิปไตยและพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งจะยังคงเป็นส่วนสนับสนุนที่มีพลวัตรสำหรับ ESCAP เฉกเช่นสมาชิกอื่นๆ
การประชุมข้อภารกิจได้รับการพิจารณาว่าเป็นการพลิกฟื้นข้อตกลงของภารกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การทบทวนโครงสร้างของการประชุม ข้าพเจ้าใคร่ขอแสดงความยินดีต่อ ท่านผู้หญิง-เลขาธิการฝ่ายบริหารสำหรับความร่วมมืออย่างเข้มแข็งและความตั้งใจในการวางภารกิจให้สามารถ ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและต่อการตอบสนองอย่างสูง ต่อความต้องการของสมาชิกข้าพเจ้าแน่ใจว่าภารกิจนี้จะสามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จและมีผลลัพท์ที่มีประสิทธิภาพอันเนื่องมาจากการริเริ่มนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณและหวังว่าการประชุมครั้งนี้จะเกิดผลสัมฤทธิ์ และได้เปิดงานการประชุมของสหประชาชาติเพื่อภารกิจทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิค ในวาระการประชุมที่ 64
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-