แท็ก
กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ
นายสมัคร สุนทรเวช
ทำเนียบรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี
นพดล ปัทมะ
กรุงเทพ--29 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
สุนทรพจน์ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในการประชุมสุดยอดภาคธุรกิจ — ประสบการณ์ความสำเร็จของความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ ณ ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ วันที่ 28 เมษายน 2551
กราบเรียน ฯพณฯ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
นายคริสโตเฟอร์ พาดิลลา ปลัดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ
นายเอริก จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย
นายแมทธิว เดลี่ ประธานสภาธุรกิจอาเซียน-สหรัฐฯ
นายทอม ไวท์ ประธานหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย
แขกผู้มีเกียรติ สุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี ทุกท่าน
ผมขอขอบพระคุณ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีที่ได้ให้เกียรติมาร่วมงานในการประชุมสุดยอดภาคธุรกิจ — ประสบการณ์ความสำเร็จของความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ วันนี้
ผมขอต้อนรับปลัดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ และคณะผู้บริหารภาคธุรกิจระดับสูงที่เดินทางมาจากสหรัฐฯ เพื่อเข้าร่วมการประชุมในวันนี้ และขอขอบคุณสภาธุรกิจอาเซียน-สหรัฐฯ และหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยที่ได้ให้ความร่วมมือในการจัดงานครั้งนี้
การที่ทุกท่านมาอยู่ร่วมกันในการประชุมฯ วันนี้ เป็นการส่งสัญญาณที่สำคัญ กล่าวคือ ประเทศไทยและสหรัฐฯ มีความมุ่งมั่นที่จะแปรความเป็นพันธมิตรที่แน่นแฟ้นไปสู่ผลประโยชน์และความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจร่วมกัน นอกจากนี้ การจัดการประชุมนี้ที่ทำเนียบรัฐบาลยังเป็นสิ่งที่ไม่เคยกระทำมาก่อน ดังนั้น การประชุมในวันนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่รัฐบาลไทยให้ต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ และความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้ความสัมพันธ์นี้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วย
การประชุมในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่สำคัญส่วนหนึ่งของการฉลองครบรอบ 175 ปีของความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐฯ และโดยที่กระแสโลกาภิวัตน์ได้สร้างเปิดและสร้างโอกาสให้มีมากขึ้น ความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐฯ จึงถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ทั้งสองประเทศได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากความร่วมมือที่มีอยู่ระหว่างกัน
เมื่อเดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสพบหารือกับสมาชิกของสภาธุรกิจอาเซียน-สหรัฐฯ ณ กรุงวอชิงตัน
ผมได้ให้คำรับรองเกี่ยวกับความมั่นคงและความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย ผมขอบคุณพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงของไทย ที่ทำให้เราสามารถรับมือกับสภาวะผันผวนทางเศรษฐกิจ เช่น การปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้า และปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยคุณภาพต่ำได้
ผมได้ให้คำรับรอง และผมขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อหลักนิติธรรม และพันธะระหว่างประเทศ ประเทศไทยยึดมั่นที่จะให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และควรจะได้รับการยกระดับสถานะให้เป็นประเทศที่ถูกจับตามอง มากกว่าจะถูกคงสถานะเป็นประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ ผมขอให้คำรับรองแก่เพื่อนชาวอเมริกันของเราว่า ประเทศไทยต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ และรัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อเสริมสร้างภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนสำหรับทั้งนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนภายในประเทศ
ดังนั้น ผมจึงมีความยินดีที่ผู้บริหารของบริษัทชั้นนำที่มีชื่อเสียงได้มารวมกันที่ทำเนียบรัฐบาลแห่งนี้ ซึ่งจะเป็นโอกาสดีที่จะได้รับฟังและแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายต่างๆ ในการเป็นพันธมิตรระหว่างไทยกับสหรัฐฯ และในวันพรุ่งนี้ ณ กระทรวงการต่างประเทศ ผู้เข้าร่วมจะได้มีโอกาสรับฟังและซักถามเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจและโอกาสในการลงทุนของไทยจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงเศรษฐกิจต่างๆ ด้วย
แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างภาคธุรกิจของประเทศไทยและสหรัฐฯ จะมีส่วนส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่ดำเนินมาเป็นเวลา 175 ปี มีความแน่นแฟ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้น และในปัจจุบันนี้ ทั้งสองฝ่ายยังสามารถมองเห็นโอกาสในการพัฒนาความสัมพันธ์ไปนอกขอบเขตของประเทศไทยด้วย
ตัวอย่างหนึ่งก็คือ ความพยายามอย่างต่อเนื่องของประเทศไทยที่จะพัฒนาความร่วมมือในการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งประกอบด้วยกัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และจีนตอนใต้ การเพิ่มความเชื่อมโยงทางคมนาคม และพลังงาน ซึ่งเป็นสาขาหลักที่ประเทศไทยต้องการจะมีบทบาทนำ รวมทั้งการพัฒนาของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และความรวมตัวทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จะนำมาซึ่งโอกาสในด้านต่างๆ ของภาคธุรกิจสหรัฐฯ
แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
โดยที่ท่านเป็นผู้แทนบริษัทที่มีธุรกิจในตลาดโลก ท่านทั้งหลายคงรู้ดีว่าโอกาสอยู่ที่ใด จงคว้าโอกาสนั้นไว้ และเพิ่มเรื่องราวแห่งความสำเร็จของความเป็นพันธมิตรทางภาคธุรกิจระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ประเทศไทยในฐานะมิตรของท่าน ยินดีที่จะร่วมมือและให้ความสนับสนุนท่าน
ในโอกาสนี้ ผมขอกราบเรียนเชิญ ฯพณฯ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดการประชุม ณ บัดนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
สุนทรพจน์ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในการประชุมสุดยอดภาคธุรกิจ — ประสบการณ์ความสำเร็จของความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ ณ ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ วันที่ 28 เมษายน 2551
กราบเรียน ฯพณฯ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
นายคริสโตเฟอร์ พาดิลลา ปลัดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ
นายเอริก จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย
นายแมทธิว เดลี่ ประธานสภาธุรกิจอาเซียน-สหรัฐฯ
นายทอม ไวท์ ประธานหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย
แขกผู้มีเกียรติ สุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี ทุกท่าน
ผมขอขอบพระคุณ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีที่ได้ให้เกียรติมาร่วมงานในการประชุมสุดยอดภาคธุรกิจ — ประสบการณ์ความสำเร็จของความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ วันนี้
ผมขอต้อนรับปลัดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ และคณะผู้บริหารภาคธุรกิจระดับสูงที่เดินทางมาจากสหรัฐฯ เพื่อเข้าร่วมการประชุมในวันนี้ และขอขอบคุณสภาธุรกิจอาเซียน-สหรัฐฯ และหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยที่ได้ให้ความร่วมมือในการจัดงานครั้งนี้
การที่ทุกท่านมาอยู่ร่วมกันในการประชุมฯ วันนี้ เป็นการส่งสัญญาณที่สำคัญ กล่าวคือ ประเทศไทยและสหรัฐฯ มีความมุ่งมั่นที่จะแปรความเป็นพันธมิตรที่แน่นแฟ้นไปสู่ผลประโยชน์และความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจร่วมกัน นอกจากนี้ การจัดการประชุมนี้ที่ทำเนียบรัฐบาลยังเป็นสิ่งที่ไม่เคยกระทำมาก่อน ดังนั้น การประชุมในวันนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่รัฐบาลไทยให้ต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ และความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้ความสัมพันธ์นี้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วย
การประชุมในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่สำคัญส่วนหนึ่งของการฉลองครบรอบ 175 ปีของความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐฯ และโดยที่กระแสโลกาภิวัตน์ได้สร้างเปิดและสร้างโอกาสให้มีมากขึ้น ความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐฯ จึงถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ทั้งสองประเทศได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากความร่วมมือที่มีอยู่ระหว่างกัน
เมื่อเดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสพบหารือกับสมาชิกของสภาธุรกิจอาเซียน-สหรัฐฯ ณ กรุงวอชิงตัน
ผมได้ให้คำรับรองเกี่ยวกับความมั่นคงและความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย ผมขอบคุณพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงของไทย ที่ทำให้เราสามารถรับมือกับสภาวะผันผวนทางเศรษฐกิจ เช่น การปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้า และปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยคุณภาพต่ำได้
ผมได้ให้คำรับรอง และผมขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อหลักนิติธรรม และพันธะระหว่างประเทศ ประเทศไทยยึดมั่นที่จะให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และควรจะได้รับการยกระดับสถานะให้เป็นประเทศที่ถูกจับตามอง มากกว่าจะถูกคงสถานะเป็นประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ ผมขอให้คำรับรองแก่เพื่อนชาวอเมริกันของเราว่า ประเทศไทยต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ และรัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อเสริมสร้างภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนสำหรับทั้งนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนภายในประเทศ
ดังนั้น ผมจึงมีความยินดีที่ผู้บริหารของบริษัทชั้นนำที่มีชื่อเสียงได้มารวมกันที่ทำเนียบรัฐบาลแห่งนี้ ซึ่งจะเป็นโอกาสดีที่จะได้รับฟังและแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายต่างๆ ในการเป็นพันธมิตรระหว่างไทยกับสหรัฐฯ และในวันพรุ่งนี้ ณ กระทรวงการต่างประเทศ ผู้เข้าร่วมจะได้มีโอกาสรับฟังและซักถามเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจและโอกาสในการลงทุนของไทยจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงเศรษฐกิจต่างๆ ด้วย
แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างภาคธุรกิจของประเทศไทยและสหรัฐฯ จะมีส่วนส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่ดำเนินมาเป็นเวลา 175 ปี มีความแน่นแฟ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้น และในปัจจุบันนี้ ทั้งสองฝ่ายยังสามารถมองเห็นโอกาสในการพัฒนาความสัมพันธ์ไปนอกขอบเขตของประเทศไทยด้วย
ตัวอย่างหนึ่งก็คือ ความพยายามอย่างต่อเนื่องของประเทศไทยที่จะพัฒนาความร่วมมือในการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งประกอบด้วยกัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และจีนตอนใต้ การเพิ่มความเชื่อมโยงทางคมนาคม และพลังงาน ซึ่งเป็นสาขาหลักที่ประเทศไทยต้องการจะมีบทบาทนำ รวมทั้งการพัฒนาของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และความรวมตัวทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จะนำมาซึ่งโอกาสในด้านต่างๆ ของภาคธุรกิจสหรัฐฯ
แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
โดยที่ท่านเป็นผู้แทนบริษัทที่มีธุรกิจในตลาดโลก ท่านทั้งหลายคงรู้ดีว่าโอกาสอยู่ที่ใด จงคว้าโอกาสนั้นไว้ และเพิ่มเรื่องราวแห่งความสำเร็จของความเป็นพันธมิตรทางภาคธุรกิจระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ประเทศไทยในฐานะมิตรของท่าน ยินดีที่จะร่วมมือและให้ความสนับสนุนท่าน
ในโอกาสนี้ ผมขอกราบเรียนเชิญ ฯพณฯ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดการประชุม ณ บัดนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-