กรุงเทพ--29 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) ถ้อยแถลงของประเทศไทย โดย ดร. นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้ระเบียบวาระการประชุมที่ 7 เรื่อง ประเด็นด้านนโยบายสำหรับภูมิภาคของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก สำหรับการประชุมประจำปีของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก สมัยที่ 64ในวันที่ 28 เมษายน 2551 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
ท่านประธานและแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ในนามคณะผู้แทนไทย ผมขอแสดงความยินดีต่อท่านประธาน ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานการประชุมประจำปีของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก สมัยที่ 64 ผมมั่นใจว่า ท่านประธานจะสามารถนำการประชุมครั้งนี้ให้ประสบความสำเร็จด้วยดี
ภารกิจหลักของรัฐบาลไทยคือการคุ้มครองประชาชนให้ปลอดจากภัยคุกคามต่างๆ เช่น ความยากจน ความไม่รู้หนังสือ โรคภัยไข้เจ็บ และอันตรายในชีวิตและทรัพย์สิน ในโลกปัจจุบันที่ความมั่นคงขั้นพื้นฐานที่สุดของมนุษย์กำลังถูกคุกคาม
ราคาอาหารที่ปรับสูงขึ้นและการขาดแคลนอาหารได้คุกคาม “อิสรภาพจากความต้องการ” ความไม่สงบที่เกิดจากปัญหาด้านอาหารในหลายแห่งได้คุกคาม “อิสรภาพจากความหวาดกลัว” ซึ่งเป็นสัญญาณว่าภัยพิบัติทางด้านความมั่นคงทางอาหารกำลังจะมาเยือน
วิกฤติการณ์ด้านอาหารมีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาน้ำ และราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น เพื่อพิทักษ์ความมั่นคงของมนุษย์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงควรมีการแก้ไขปัญหาและความท้าทายเหล่านี้แบบองค์รวม
ในการนี้ ผมขอเรียนข้อคิดเห็นดังนี้
หนึ่ง ทุกประเทศและทุกสังคมต้องเดินหน้าอย่างมีความรับผิดชอบ และดำเนินแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับประเทศไทย ได้ยึดถือความพอเพียง การบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบและการมีภูมิคุ้มกันตนเอง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมและส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ควบคู่ไปด้วย
สอง ต้องสร้างความสมดุลระหว่างความมั่นคงทางอาหารและความมั่นคงทางพลังงาน โดยใช้วิธีแบบบูรณาการ
ประเทศไทยได้พยายามดำเนินยุทธศาสตร์และมาตรการเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร มีการจัดการทรัพยากรน้ำที่ดี และส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงาน และเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้อย่างครอบคลุม
นอกจากนี้ ไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น นโยบายการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการจึงได้เปิดให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนร่วมหารือเพื่อวางแผนสำหรับการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำ ให้เพียงพอต่อความต้องการในระยะยาว โดยทั้งการวางแผนและการอนุวัติแผนจะตั้งอยู่บนข้อพิจารณาทางด้านวิทยาศาสตร์และนิเวศวิทยา
สาม โลกปัจจุบันเริ่มขาดแคลนพลังงานสำหรับการอุปโภคบริโภค โดยประชากรกว่าล้านดำรงอยู่โดยไม่มีไฟฟ้า ซึ่งถือว่าขัดต่อความพยายามของประชาคมโลกที่ต้องการจะให้บริการขั้นพื้นฐานและยกระดับประชาชนจากความยากจน พวกเราจึงต้องหาทางออกเพื่อตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้อย่างยั่งยืน
ในขณะที่ลงทุนในแหล่งพลังงานดั้งเดิม เราควรแสวงหาและขยายไปสู่พลังงานทางเลือกใหม่ๆ ควบคู่กับไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยพลังงานหมุนเวียนรูปแบบต่างๆ โดยเน้นแหล่งพลังงานที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น
สี่ โดยที่พลังงานและอาหารมีความเชื่อมโยงกัน ทุกประเทศจำต้องร่วมมือกันทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
การถ่ายทอดเทคโนโลยีและแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ส่งเสริมพลังงานทางเลือก และช่วยให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ความร่วมมือจากประเทศพัฒนาแล้วในเรื่องดังกล่าวจะช่วยเสริมความพยายามของประเทศกำลังพัฒนาได้อย่างดี
อย่างไรก็ดี เราจะต้องเริ่มก่อนจากภูมิภาคของเรา ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีความริเริ่มในระดับท้องถิ่นมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาด คณะกรรมาธิการฯ ควรสะสมแนวคิดและแนวปฏิบัติที่ดีเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้ การระดมทรัพยากรเพื่อการวิจัยและการพัฒนาเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคของเราอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย
ในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยที่กำลังจะมาถึง ประเทศไทยจะเน้นความสำคัญของความมั่นคงทางพลังงานด้วย โดยจะผลักดันความร่วมมือบนพื้นฐานของเจตนารมณ์ของที่ประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asian Summit) ที่จะพยายามส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การอนุรักษ์พลังงาน และการแสวงหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งรวมทั้งการวิจัยและพัฒนาพลังงานชีวภาพ
ท่านประธาน
ประเทศไทยยืนยันความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ และและได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ก่อนกำหนดในปี ค.ศ. 2015 นอกจากนี้ ไทยได้เสนอเป้าหมาย MDG-Plus เพื่อผลักดันความพยายามในการบรรลุเป้าหมายที่ก้าวหน้ายิ่งกว่าเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ
อย่างไรก็ดี ปัญหาและความท้าทายที่ได้กล่าวในข้างต้นเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ และถึงแม้จะพยายามสักเพียงไร บางประเทศในภูมิภาคอาจจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ภายในปี ค.ศ. 2015 สหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมาธิการฯ จะสามารถมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือประเทศเหล่านี้ได้โดยการเป็นสื่อกลางสำหรับการเป็นพันธมิตรในระดับภูมิภาคและระดับโลก
ประเทศไทยจึงมีความยินดีต่อบทบาทนำของเลขาธิการบริหารฯ ในการดำเนินตามแนวทาง System-wide Coherence เพื่อประกันว่าคณะกรรมาธิการฯ จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานสหประชาชาติอื่นๆ และตอบสนองต่อความต้องการของประเทศสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล นอกจากนี้ ไทยยังยินดีต่อความมุ่งมั่นของเลขาธิการบริหารฯ ในการผลักดันการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
คณะผู้แทนไทยหวังว่า การฟื้นฟูคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งรวมทั้งคณะกรรมการย่อย จะส่งเสริมบทบาทของคณะกรรมาธิการฯ ให้เข้มแข็งขึ้น พร้อมเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ท่านประธาน
ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีศักยภาพและทรัพยากรมากมายที่จะสามารถเผชิญความท้าทายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์
พวกเราจักต้องมีความตั้งมั่นที่จะร่วมมือกันทั้งภายในและนอกภูมิภาค ในการใช้ศักยภาพและทรัพยากรเหล่านี้เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม และประเทศไทยขอยืนยันความตั้งใจที่จะร่วมมือกับพันธมิตรทั้งหลายต่อไป
ขอบคุณครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) ถ้อยแถลงของประเทศไทย โดย ดร. นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้ระเบียบวาระการประชุมที่ 7 เรื่อง ประเด็นด้านนโยบายสำหรับภูมิภาคของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก สำหรับการประชุมประจำปีของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก สมัยที่ 64ในวันที่ 28 เมษายน 2551 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
ท่านประธานและแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ในนามคณะผู้แทนไทย ผมขอแสดงความยินดีต่อท่านประธาน ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานการประชุมประจำปีของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก สมัยที่ 64 ผมมั่นใจว่า ท่านประธานจะสามารถนำการประชุมครั้งนี้ให้ประสบความสำเร็จด้วยดี
ภารกิจหลักของรัฐบาลไทยคือการคุ้มครองประชาชนให้ปลอดจากภัยคุกคามต่างๆ เช่น ความยากจน ความไม่รู้หนังสือ โรคภัยไข้เจ็บ และอันตรายในชีวิตและทรัพย์สิน ในโลกปัจจุบันที่ความมั่นคงขั้นพื้นฐานที่สุดของมนุษย์กำลังถูกคุกคาม
ราคาอาหารที่ปรับสูงขึ้นและการขาดแคลนอาหารได้คุกคาม “อิสรภาพจากความต้องการ” ความไม่สงบที่เกิดจากปัญหาด้านอาหารในหลายแห่งได้คุกคาม “อิสรภาพจากความหวาดกลัว” ซึ่งเป็นสัญญาณว่าภัยพิบัติทางด้านความมั่นคงทางอาหารกำลังจะมาเยือน
วิกฤติการณ์ด้านอาหารมีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาน้ำ และราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น เพื่อพิทักษ์ความมั่นคงของมนุษย์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงควรมีการแก้ไขปัญหาและความท้าทายเหล่านี้แบบองค์รวม
ในการนี้ ผมขอเรียนข้อคิดเห็นดังนี้
หนึ่ง ทุกประเทศและทุกสังคมต้องเดินหน้าอย่างมีความรับผิดชอบ และดำเนินแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับประเทศไทย ได้ยึดถือความพอเพียง การบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบและการมีภูมิคุ้มกันตนเอง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมและส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ควบคู่ไปด้วย
สอง ต้องสร้างความสมดุลระหว่างความมั่นคงทางอาหารและความมั่นคงทางพลังงาน โดยใช้วิธีแบบบูรณาการ
ประเทศไทยได้พยายามดำเนินยุทธศาสตร์และมาตรการเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร มีการจัดการทรัพยากรน้ำที่ดี และส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงาน และเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้อย่างครอบคลุม
นอกจากนี้ ไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น นโยบายการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการจึงได้เปิดให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนร่วมหารือเพื่อวางแผนสำหรับการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำ ให้เพียงพอต่อความต้องการในระยะยาว โดยทั้งการวางแผนและการอนุวัติแผนจะตั้งอยู่บนข้อพิจารณาทางด้านวิทยาศาสตร์และนิเวศวิทยา
สาม โลกปัจจุบันเริ่มขาดแคลนพลังงานสำหรับการอุปโภคบริโภค โดยประชากรกว่าล้านดำรงอยู่โดยไม่มีไฟฟ้า ซึ่งถือว่าขัดต่อความพยายามของประชาคมโลกที่ต้องการจะให้บริการขั้นพื้นฐานและยกระดับประชาชนจากความยากจน พวกเราจึงต้องหาทางออกเพื่อตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้อย่างยั่งยืน
ในขณะที่ลงทุนในแหล่งพลังงานดั้งเดิม เราควรแสวงหาและขยายไปสู่พลังงานทางเลือกใหม่ๆ ควบคู่กับไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยพลังงานหมุนเวียนรูปแบบต่างๆ โดยเน้นแหล่งพลังงานที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น
สี่ โดยที่พลังงานและอาหารมีความเชื่อมโยงกัน ทุกประเทศจำต้องร่วมมือกันทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
การถ่ายทอดเทคโนโลยีและแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ส่งเสริมพลังงานทางเลือก และช่วยให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ความร่วมมือจากประเทศพัฒนาแล้วในเรื่องดังกล่าวจะช่วยเสริมความพยายามของประเทศกำลังพัฒนาได้อย่างดี
อย่างไรก็ดี เราจะต้องเริ่มก่อนจากภูมิภาคของเรา ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีความริเริ่มในระดับท้องถิ่นมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาด คณะกรรมาธิการฯ ควรสะสมแนวคิดและแนวปฏิบัติที่ดีเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้ การระดมทรัพยากรเพื่อการวิจัยและการพัฒนาเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคของเราอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย
ในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยที่กำลังจะมาถึง ประเทศไทยจะเน้นความสำคัญของความมั่นคงทางพลังงานด้วย โดยจะผลักดันความร่วมมือบนพื้นฐานของเจตนารมณ์ของที่ประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asian Summit) ที่จะพยายามส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การอนุรักษ์พลังงาน และการแสวงหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งรวมทั้งการวิจัยและพัฒนาพลังงานชีวภาพ
ท่านประธาน
ประเทศไทยยืนยันความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ และและได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ก่อนกำหนดในปี ค.ศ. 2015 นอกจากนี้ ไทยได้เสนอเป้าหมาย MDG-Plus เพื่อผลักดันความพยายามในการบรรลุเป้าหมายที่ก้าวหน้ายิ่งกว่าเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ
อย่างไรก็ดี ปัญหาและความท้าทายที่ได้กล่าวในข้างต้นเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ และถึงแม้จะพยายามสักเพียงไร บางประเทศในภูมิภาคอาจจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ภายในปี ค.ศ. 2015 สหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมาธิการฯ จะสามารถมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือประเทศเหล่านี้ได้โดยการเป็นสื่อกลางสำหรับการเป็นพันธมิตรในระดับภูมิภาคและระดับโลก
ประเทศไทยจึงมีความยินดีต่อบทบาทนำของเลขาธิการบริหารฯ ในการดำเนินตามแนวทาง System-wide Coherence เพื่อประกันว่าคณะกรรมาธิการฯ จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานสหประชาชาติอื่นๆ และตอบสนองต่อความต้องการของประเทศสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล นอกจากนี้ ไทยยังยินดีต่อความมุ่งมั่นของเลขาธิการบริหารฯ ในการผลักดันการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
คณะผู้แทนไทยหวังว่า การฟื้นฟูคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งรวมทั้งคณะกรรมการย่อย จะส่งเสริมบทบาทของคณะกรรมาธิการฯ ให้เข้มแข็งขึ้น พร้อมเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ท่านประธาน
ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีศักยภาพและทรัพยากรมากมายที่จะสามารถเผชิญความท้าทายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์
พวกเราจักต้องมีความตั้งมั่นที่จะร่วมมือกันทั้งภายในและนอกภูมิภาค ในการใช้ศักยภาพและทรัพยากรเหล่านี้เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม และประเทศไทยขอยืนยันความตั้งใจที่จะร่วมมือกับพันธมิตรทั้งหลายต่อไป
ขอบคุณครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-