กรุงเทพ--29 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ความคืบหน้ากรณีตำรวจสหราชอาณาจักรจับกุมขบวนการค้าโสเภณี
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอนว่า เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2551 เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ไปเยี่ยมผู้ต้องหาหญิงไทย 3 คน ซึ่งถูกกักขังที่เรือนจำ Holloway Prison พบว่าผู้ต้องหาทั้งสามคนมีสภาพจิตใจและสภาพความเป็นอยู่ที่ดี สภาพแวดล้อมในห้องขังก็ดี ทั้งนี้ ผู้ต้องหา ทั้งสามคนแจ้งความประสงค์ว่าไม่ต้องการความช่วยเหลือจากสถานทูตแต่อย่างใด เนื่องจากสามารถติดต่อญาติทั้งในประเทศอังกฤษและเมืองไทยได้ และทางการอังกฤษได้จัดหาทนายความให้แล้วด้วย ส่วนผู้ต้องหาชายไทย 6 ราย สถานเอกอัครราชทูตฯ อยู่ระหว่างรอนัดหมายเจ้าหน้าที่เรือนจำเพื่อขอเข้าเยี่ยมต่อไป ทั้งนี้ ผู้ต้องหาคนไทยทั้ง 9 ราย มีบัตรประชาชนและเอกสารการเดินทางครบถ้วน และมีหนึ่งรายที่เป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ ซึ่งทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้การดูแลเป็นอย่างดี สำหรับหญิงไทยที่ตกเป็นเหยื่อทั้ง 18 คน ที่จะเดินทางกลับประเทศไทยสถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับบัตรโดยสารเครื่องบินเพื่อเดินทางกลับต่อไป
2. สหรัฐฯ คงไทยในรายชื่อประเทศในกลุ่ม Priority Watch List
ประเทศไทยรู้สึกผิดหวังต่อการที่รายงานของสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) กำหนดให้ไทยยังคงเป็นประเทศในกลุ่ม Priority Watch List (PWL) ร่วมกับจีน รัสเซีย อาร์เจนตินา ชิลี อินเดีย อิสราเอล ปากีสถาน และเวเนซูเอลา เนื่องจากในปีที่ผ่านมาไทยได้ให้ความร่วมมือในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญากับทางสหรัฐฯ อย่างแข็งขัน โดยมีการจับกุมผู้กระทำผิดดำเนินคดีกว่า 7,000 ราย และยึดของกลางจำนวนกว่า 6.7 ล้านชิ้น อย่างไรก็ตาม กรณีนี้เกี่ยวข้องกับกฎหมายภายในของสหรัฐฯ ด้วย ซึ่งรัฐบาลไทยจะได้หารือและกำชับเกี่ยวกับกฎหมายและแนวทางในการปราบปรามกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะหารือกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อสรุปแนวทางการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาต่อไปด้วย
3. การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของพลเอกเต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีพม่าในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 29 เมษายน — 1 พฤษภาคม 2551
พลเอกเต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีพม่ามีกำหนดเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลระหว่างวันที่ 29 เมษายน — 1 พฤษภาคม 2551 นับเป็นการเดินทางเยือนไทยครั้งแรกหลังพลเอกเต็ง เส่งรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพม่าเมื่อ 24 ตุลาคม 2550 ในระหว่างการเยือนฯ นายกรัฐมนตรีพม่าจะเดินทางไปถวายสักการะพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวังในวันที่ 29 เมษายน 2551และเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในวันที่ 30 เมษายน 2551 หลังจากนั้นจะมีการหารือกับนายกรัฐมนตรีของไทย โดยประเด็นสำคัญประกอบด้วย 1) การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม 2) ความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติด 3) ความร่วมมือด้านพลังงาน 4) ความร่วมมือแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมายสัญชาติพม่า และ 5) การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายแดน
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีพม่าจะร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามในบันทึกความตกลงระหว่างไทยกับพม่าว่าด้วยเรื่องการทำเกษตรแบบมีสัญญา (contract farming) ซึ่งเป็นความร่วมมือภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ อิรวดี- แม่โขง-เจ้าพระยา (ACMECS) ด้วย การเยือนไทยครั้งนี้ยังเป็นโอกาสอันดีที่จะกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและพม่าที่จะครบรอบ 60 ปีในวันที่ 24 สิงหาคม ศกนี้
4. การประชุมประจำปีเอสแคป สมัยที่ 64
การประชุมประจำปีของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) สมัยที่ 64 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ มีประเทศเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 62 ประเทศ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-30 เมษายน 2551 โดยระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน จะเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี ซึ่งในส่วนของไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทั้งนี้ การประชุมฯ มีประเด็นที่ไทยจะผลักดันคือ 1) การพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 2) ความมั่นคงทางพลังงานและการพัฒนาพลังงานทางเลือก โดยไทยจะเสริมเรื่องวิกฤตการณ์อาหารและการแสดงบทบาทของไทยในการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาดังกล่าว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ความคืบหน้ากรณีตำรวจสหราชอาณาจักรจับกุมขบวนการค้าโสเภณี
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอนว่า เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2551 เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ไปเยี่ยมผู้ต้องหาหญิงไทย 3 คน ซึ่งถูกกักขังที่เรือนจำ Holloway Prison พบว่าผู้ต้องหาทั้งสามคนมีสภาพจิตใจและสภาพความเป็นอยู่ที่ดี สภาพแวดล้อมในห้องขังก็ดี ทั้งนี้ ผู้ต้องหา ทั้งสามคนแจ้งความประสงค์ว่าไม่ต้องการความช่วยเหลือจากสถานทูตแต่อย่างใด เนื่องจากสามารถติดต่อญาติทั้งในประเทศอังกฤษและเมืองไทยได้ และทางการอังกฤษได้จัดหาทนายความให้แล้วด้วย ส่วนผู้ต้องหาชายไทย 6 ราย สถานเอกอัครราชทูตฯ อยู่ระหว่างรอนัดหมายเจ้าหน้าที่เรือนจำเพื่อขอเข้าเยี่ยมต่อไป ทั้งนี้ ผู้ต้องหาคนไทยทั้ง 9 ราย มีบัตรประชาชนและเอกสารการเดินทางครบถ้วน และมีหนึ่งรายที่เป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ ซึ่งทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้การดูแลเป็นอย่างดี สำหรับหญิงไทยที่ตกเป็นเหยื่อทั้ง 18 คน ที่จะเดินทางกลับประเทศไทยสถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับบัตรโดยสารเครื่องบินเพื่อเดินทางกลับต่อไป
2. สหรัฐฯ คงไทยในรายชื่อประเทศในกลุ่ม Priority Watch List
ประเทศไทยรู้สึกผิดหวังต่อการที่รายงานของสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) กำหนดให้ไทยยังคงเป็นประเทศในกลุ่ม Priority Watch List (PWL) ร่วมกับจีน รัสเซีย อาร์เจนตินา ชิลี อินเดีย อิสราเอล ปากีสถาน และเวเนซูเอลา เนื่องจากในปีที่ผ่านมาไทยได้ให้ความร่วมมือในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญากับทางสหรัฐฯ อย่างแข็งขัน โดยมีการจับกุมผู้กระทำผิดดำเนินคดีกว่า 7,000 ราย และยึดของกลางจำนวนกว่า 6.7 ล้านชิ้น อย่างไรก็ตาม กรณีนี้เกี่ยวข้องกับกฎหมายภายในของสหรัฐฯ ด้วย ซึ่งรัฐบาลไทยจะได้หารือและกำชับเกี่ยวกับกฎหมายและแนวทางในการปราบปรามกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะหารือกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อสรุปแนวทางการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาต่อไปด้วย
3. การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของพลเอกเต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีพม่าในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 29 เมษายน — 1 พฤษภาคม 2551
พลเอกเต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีพม่ามีกำหนดเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลระหว่างวันที่ 29 เมษายน — 1 พฤษภาคม 2551 นับเป็นการเดินทางเยือนไทยครั้งแรกหลังพลเอกเต็ง เส่งรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพม่าเมื่อ 24 ตุลาคม 2550 ในระหว่างการเยือนฯ นายกรัฐมนตรีพม่าจะเดินทางไปถวายสักการะพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวังในวันที่ 29 เมษายน 2551และเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในวันที่ 30 เมษายน 2551 หลังจากนั้นจะมีการหารือกับนายกรัฐมนตรีของไทย โดยประเด็นสำคัญประกอบด้วย 1) การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม 2) ความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติด 3) ความร่วมมือด้านพลังงาน 4) ความร่วมมือแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมายสัญชาติพม่า และ 5) การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายแดน
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีพม่าจะร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามในบันทึกความตกลงระหว่างไทยกับพม่าว่าด้วยเรื่องการทำเกษตรแบบมีสัญญา (contract farming) ซึ่งเป็นความร่วมมือภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ อิรวดี- แม่โขง-เจ้าพระยา (ACMECS) ด้วย การเยือนไทยครั้งนี้ยังเป็นโอกาสอันดีที่จะกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและพม่าที่จะครบรอบ 60 ปีในวันที่ 24 สิงหาคม ศกนี้
4. การประชุมประจำปีเอสแคป สมัยที่ 64
การประชุมประจำปีของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) สมัยที่ 64 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ มีประเทศเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 62 ประเทศ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-30 เมษายน 2551 โดยระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน จะเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี ซึ่งในส่วนของไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทั้งนี้ การประชุมฯ มีประเด็นที่ไทยจะผลักดันคือ 1) การพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 2) ความมั่นคงทางพลังงานและการพัฒนาพลังงานทางเลือก โดยไทยจะเสริมเรื่องวิกฤตการณ์อาหารและการแสดงบทบาทของไทยในการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาดังกล่าว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-