กรุงเทพ--2 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2551 คณะผู้แทนสภาธุรกิจอาเซียน-สหรัฐฯ (US-ASEAN Business Council-USABC) นำโดยนาย Matthew P. Daley ประธานสภาฯ เข้าเยี่ยมคารวะนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ณ กระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสเดินทางมาเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดภาคธุรกิจ-ประสบการณ์ความสำเร็จของความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมฉลอง 175 ปีความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2551 ที่กรุงเทพฯ
คณะผู้แทนฯ ได้กล่าวขอบคุณรัฐมนตรีว่าการฯ ที่ให้โอกาสคณะฯ เข้าพบและแสดงความชื่นชมความสำเร็จของกระทรวงการต่างประเทศในการจัดการประชุมสุดยอดภาคธุรกิจ และงานเลี้ยงรับรองในโอกาส 175 ปี ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ
ในโอกาสเดียวกันนี้ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้ตอบคำถามต่างๆ ของคณะผู้แทนฯ จากสหรัฐฯ สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. ความคืบหน้าในการเจรจาพัฒนาพื้นที่ไหล่ทวีปร่วมไทย-กัมพูชา รัฐมนตรีว่าการฯ ยืนยันว่าไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย รวมถึงประเทศกัมพูชา และแสดงความหวังว่าการพัฒนาพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชาจะมีความคืบหน้าและอาจจะประสบผลสำเร็จภายในปลายปีนี้ เพื่อประโยชน์ด้านพลังงานของทั้งสองประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน ไทยก็มีข้อห่วงใยเกี่ยวกับเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกกับทางกัมพูชา โดยไทยมีพื้นที่ทับซ้อนกับกัมพูชาอยู่ 4.6 ตร.กม.จึงอยากให้มีการตกลงเกี่ยวกับการบริหารจัดการร่วมในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวก่อนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
2. ความคืบหน้าเกี่ยวกับกรณีการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา ตัวแทนบริษัท Merck และบริษัท Pfizer จากสหรัฐฯ ได้แจ้งให้รัฐมนตรีว่าการฯ ทราบว่าคณะฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมกันระหว่างสามกระทรวง ได้แก่กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ เห็นด้วยว่าการหารือร่วมกันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมได้ และเชื่อว่าคณะกรรมการร่วมจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในสองเดือนข้างหน้า
3. การพัฒนาทางการเมืองในพม่า รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวกับคณะผู้แทนฯ ว่าไทยให้ความเคารพและชื่นชมความตั้งใจในการผลักดันให้มีการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าของสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป แต่ไทยไม่เห็นด้วยกับมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อพม่า เพราะไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับพม่า จึงต้องเผชิญกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาวะเศรษฐกิจของพม่าโดยตรง อาทิ ปัญหาการขนส่งยาเสพติดข้ามชาติ ปัญหาแรงงานผิดกฏหมาย และปัญหาผู้หนีภัย เป็นต้น ทั้งนี้ ไทยเชื่อว่าความพยายามของไทยในการหารือกับพม่าและการให้การสนับสนุนด้านเศรษฐกิจต่อพม่าตามนโยบาย Neighbour Engagement จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้แสดงความหวังที่จะเห็นการลงประชามติในพม่าประสบผลสำเร็จด้วยดี ซึ่งจะมีผลนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งในพม่าในปี 2553
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2551 คณะผู้แทนสภาธุรกิจอาเซียน-สหรัฐฯ (US-ASEAN Business Council-USABC) นำโดยนาย Matthew P. Daley ประธานสภาฯ เข้าเยี่ยมคารวะนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ณ กระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสเดินทางมาเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดภาคธุรกิจ-ประสบการณ์ความสำเร็จของความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมฉลอง 175 ปีความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2551 ที่กรุงเทพฯ
คณะผู้แทนฯ ได้กล่าวขอบคุณรัฐมนตรีว่าการฯ ที่ให้โอกาสคณะฯ เข้าพบและแสดงความชื่นชมความสำเร็จของกระทรวงการต่างประเทศในการจัดการประชุมสุดยอดภาคธุรกิจ และงานเลี้ยงรับรองในโอกาส 175 ปี ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ
ในโอกาสเดียวกันนี้ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้ตอบคำถามต่างๆ ของคณะผู้แทนฯ จากสหรัฐฯ สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. ความคืบหน้าในการเจรจาพัฒนาพื้นที่ไหล่ทวีปร่วมไทย-กัมพูชา รัฐมนตรีว่าการฯ ยืนยันว่าไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย รวมถึงประเทศกัมพูชา และแสดงความหวังว่าการพัฒนาพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชาจะมีความคืบหน้าและอาจจะประสบผลสำเร็จภายในปลายปีนี้ เพื่อประโยชน์ด้านพลังงานของทั้งสองประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน ไทยก็มีข้อห่วงใยเกี่ยวกับเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกกับทางกัมพูชา โดยไทยมีพื้นที่ทับซ้อนกับกัมพูชาอยู่ 4.6 ตร.กม.จึงอยากให้มีการตกลงเกี่ยวกับการบริหารจัดการร่วมในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวก่อนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
2. ความคืบหน้าเกี่ยวกับกรณีการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา ตัวแทนบริษัท Merck และบริษัท Pfizer จากสหรัฐฯ ได้แจ้งให้รัฐมนตรีว่าการฯ ทราบว่าคณะฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมกันระหว่างสามกระทรวง ได้แก่กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ เห็นด้วยว่าการหารือร่วมกันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมได้ และเชื่อว่าคณะกรรมการร่วมจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในสองเดือนข้างหน้า
3. การพัฒนาทางการเมืองในพม่า รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวกับคณะผู้แทนฯ ว่าไทยให้ความเคารพและชื่นชมความตั้งใจในการผลักดันให้มีการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าของสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป แต่ไทยไม่เห็นด้วยกับมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อพม่า เพราะไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับพม่า จึงต้องเผชิญกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาวะเศรษฐกิจของพม่าโดยตรง อาทิ ปัญหาการขนส่งยาเสพติดข้ามชาติ ปัญหาแรงงานผิดกฏหมาย และปัญหาผู้หนีภัย เป็นต้น ทั้งนี้ ไทยเชื่อว่าความพยายามของไทยในการหารือกับพม่าและการให้การสนับสนุนด้านเศรษฐกิจต่อพม่าตามนโยบาย Neighbour Engagement จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้แสดงความหวังที่จะเห็นการลงประชามติในพม่าประสบผลสำเร็จด้วยดี ซึ่งจะมีผลนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งในพม่าในปี 2553
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-