กรุงเทพ--6 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2551 เวลาประเทศ 03.00 น. — 12.00 น. พายุไซโคลนนากิสได้พัดผ่านทางทิศใต้ของกรุงย่างกุ้งด้วยความเร็วสูงสุดประมาณ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้บ้านเรือนและทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก ถนนหลายสายมีต้นไม้ใหญ่หักโค่นขวางเส้นทางการจราจร รวมทั้งเสาไฟฟ้าและเสาโทรศัพท์ ทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าและไม่สามารถติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้ นั้น
วันนี้ ( 6 พฤษภาคม 2551) เวลา 11.45 น. นายนพดพ ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มอบเงินช่วยเหลือในนามรัฐบาลไทยให้แก่นาย Ye Win (U Ye Win) เอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย ณ กระทรวงการต่างประเทศ สำหรับการฟื้นฟูและบูรณะพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายกับเหตุการณ์ภัยพิบัติจากพายุไซโคลนนากิส เป็นจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยก่อนหน้านี้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้ส่งสารถึงนายกรัฐมนตรีพม่า และนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีสารแสดงความเสียใจถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าด้วยแล้ว
นอกจากนี้ ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ เสนาธิการทหาร จะเป็นผู้นำอาหารแห้งและยารักษาโรค ไปมอบให้กับทางการพม่าในนามของรัฐบาลไทย และกระทรวงการต่างประเทศกำลังอยู่ในระหว่างการประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและสภากาชาดไทยเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่พม่าความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน โดยอาจจะพิจารณาส่งน้ำดื่ม อาหารสำเร็จรูป ยารักษาโรค รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น สังกะสี ผ้าพลาสติก เต้นท์ เป็นต้น รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ ตามที่พิจารณาเห็นสมควรให้ฝ่ายพม่าต่อไป
จากเหตุการณ์พายุไซโคลนนากิสส่งผลให้สนามบินกรุงย่างกุ้งปิดให้บริการชั่วคราว และเที่ยวบินของสายการบินต่าง ๆ ถูกยกเลิก ทำให้มีนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวนหนึ่งตกค้างอยู่ในกรุงย่างกุ้ง ทั้งนี้ รัฐบาลพม่าได้ประกาศให้พื้นที่ในภาคย่างกุ้ง ภาคพะโค ภาคอิระวดี รัฐมอญ และรัฐกะเหรี่ยง เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ซึ่งทางการพม่าได้ให้ทหารและตำรวจออกมาให้ความช่วยเหลือแล้ว โดยได้เริ่มเก็บกวาดซากปรักหักพังและตัดต้นไม้ที่ล้มทับสายไฟฟ้าและขวางถนนตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2551
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนรายงานสถานการณ์ในพม่าตามที่ได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้งว่า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2551 สนามบินกรุงย่างกุ้งได้เปิดให้บริการอีกครั้ง ปั๊มน้ำมันและร้านค้าบางส่วนเริ่มเปิดให้บริการ ซึ่งมีรถยนต์รอเติมน้ำมันจำนวนมาก นอกจากนี้ ในช่วงเย็น นาย ญาณ วิน รมว.กต. พม่า และ พล.ต. หม่อง หม่อง ส่วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสวัสดิการสังคมและการโยกย้ายถิ่นฐาน ได้บรรายสรุปให้คณะทูตานุทูตทราบเกี่ยวกับผลกระทบจากพายุไซโคลนดังกล่าว สรุปได้ว่า พายุไซโคลนนากิสได้ขึ้นฝั่งที่ภาคอิระวดีซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ และไม่มีพื้นที่สูงให้สามารถหลบภัย
ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง ในชั้นนี้คาดว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 10,000 คน สูญหายกว่า 3,000 คน และมีประชาชนไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 100,000 คน ระบบไฟฟ้า ระบบประปา และระบบโทรศัพท์ถูกตัดขาด ทั้งนี้ รัฐบาลพม่าได้อนุมัติเงินงบประมาณจำนวน 5,000 ล้านจั๊ต เพื่อช่วยเหลือประชาชน และได้ระดมความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหา โดยขณะนี้ พื้นที่ 1 ใน 3 ของกรุงย่างกุ้ง เริ่มมีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้บ้างแล้ว และทางการพม่าย้ำว่ายินดีรับความช่วยเหลือจากนานาประเทศ โดยเฉพาะอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านเรือน ได้แก่ หลังคากระเบื้อง หลังคาสังกะสี ตะปู น็อต เต๊นท์ แผ่นพลาสติก มุ้ง และอุปกรณ์ที่ช่วยกรองน้ำให้สะอาด
ทั้งนี้สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานงานให้ความช่วยเหลือคนไทยที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ และส่งเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ ไปเยี่ยมคนไทย โดยในชั้นต้น ได้รับแจ้งจากนักท่องเที่ยวไทยที่พำนักอยู่ที่โรงแรมต่าง ๆ จำนวน 18 คน ว่าทุกคนปลอดภัยดี สถานเอกอัครราชทูต ฯ ได้ประสานงานกับโรงแรมและหัวหน้าทัวร์กลุ่มต่าง ๆ เพื่อขอรับรายชื่อนักท่องเที่ยวที่ตกค้างแล้ว ทั้งนี้ ภายหลังจากที่สนามบินกรุงย่างกุ้งได้เปิดให้บริการ สายการบินไทยและแอร์เอเชียได้ให้บริการเที่ยวบินแล้ว รวมทั้งได้เพิ่มเที่ยวบินเพื่อรับผู้โดยสารตกค้าง คนไทยที่ไปทำธุรกิจ / ทำงานในกรุงย่างกุ้งประมาณ 400 คน เท่าที่ตรวจสอบ ทุกคนปลอดภัยดี
นอกจากนี้ กรมการกงสุลได้จัดเจ้าหน้าที่ประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูต ฯ และกับญาติในประเทศไทยที่ต้องการติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูต ฯ และคนไทยที่พม่าในช่วงวันหยุดที่ผ่านมาด้วย สถานเอกอัครราชทูต ฯ ได้ประเมินสถานการณ์เบื้องต้น คาดว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าในกรุงย่างกุ้งอีกอย่างน้อย 1 สัปดาห์เนื่องจากจะต้องซ่อมแซมเสาไฟฟ้าที่หักโค่นและวางสายไฟใหม่ ซึ่งการไม่มีกระแสไฟฟ้าส่งผลให้ไม่สามารถให้บริการน้ำประปาด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชน สำหรับโทรศัพท์นั้น ก็คาดว่าจะต้องใช้เวลาซ่อมแซมอีกไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์เช่นกันจึงจะสามารถให้บริการได้ เนื่องจากพม่าขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์และช่างฝีมือ ส่วนสำหรับสถานการณ์ด้านอาหาร นั้น แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีปัญหาขาดแคลน เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ แต่โดยที่ร้านค้าทั่วไปยังปิด และการสัญจรไม่สะดวกเนื่องจากมีต้นไม้ล้มกีดขวางอยู่ อาจทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหารได้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2551 เวลาประเทศ 03.00 น. — 12.00 น. พายุไซโคลนนากิสได้พัดผ่านทางทิศใต้ของกรุงย่างกุ้งด้วยความเร็วสูงสุดประมาณ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้บ้านเรือนและทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก ถนนหลายสายมีต้นไม้ใหญ่หักโค่นขวางเส้นทางการจราจร รวมทั้งเสาไฟฟ้าและเสาโทรศัพท์ ทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าและไม่สามารถติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้ นั้น
วันนี้ ( 6 พฤษภาคม 2551) เวลา 11.45 น. นายนพดพ ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มอบเงินช่วยเหลือในนามรัฐบาลไทยให้แก่นาย Ye Win (U Ye Win) เอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย ณ กระทรวงการต่างประเทศ สำหรับการฟื้นฟูและบูรณะพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายกับเหตุการณ์ภัยพิบัติจากพายุไซโคลนนากิส เป็นจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยก่อนหน้านี้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้ส่งสารถึงนายกรัฐมนตรีพม่า และนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีสารแสดงความเสียใจถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าด้วยแล้ว
นอกจากนี้ ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ เสนาธิการทหาร จะเป็นผู้นำอาหารแห้งและยารักษาโรค ไปมอบให้กับทางการพม่าในนามของรัฐบาลไทย และกระทรวงการต่างประเทศกำลังอยู่ในระหว่างการประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและสภากาชาดไทยเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่พม่าความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน โดยอาจจะพิจารณาส่งน้ำดื่ม อาหารสำเร็จรูป ยารักษาโรค รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น สังกะสี ผ้าพลาสติก เต้นท์ เป็นต้น รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ ตามที่พิจารณาเห็นสมควรให้ฝ่ายพม่าต่อไป
จากเหตุการณ์พายุไซโคลนนากิสส่งผลให้สนามบินกรุงย่างกุ้งปิดให้บริการชั่วคราว และเที่ยวบินของสายการบินต่าง ๆ ถูกยกเลิก ทำให้มีนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวนหนึ่งตกค้างอยู่ในกรุงย่างกุ้ง ทั้งนี้ รัฐบาลพม่าได้ประกาศให้พื้นที่ในภาคย่างกุ้ง ภาคพะโค ภาคอิระวดี รัฐมอญ และรัฐกะเหรี่ยง เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ซึ่งทางการพม่าได้ให้ทหารและตำรวจออกมาให้ความช่วยเหลือแล้ว โดยได้เริ่มเก็บกวาดซากปรักหักพังและตัดต้นไม้ที่ล้มทับสายไฟฟ้าและขวางถนนตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2551
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนรายงานสถานการณ์ในพม่าตามที่ได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้งว่า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2551 สนามบินกรุงย่างกุ้งได้เปิดให้บริการอีกครั้ง ปั๊มน้ำมันและร้านค้าบางส่วนเริ่มเปิดให้บริการ ซึ่งมีรถยนต์รอเติมน้ำมันจำนวนมาก นอกจากนี้ ในช่วงเย็น นาย ญาณ วิน รมว.กต. พม่า และ พล.ต. หม่อง หม่อง ส่วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสวัสดิการสังคมและการโยกย้ายถิ่นฐาน ได้บรรายสรุปให้คณะทูตานุทูตทราบเกี่ยวกับผลกระทบจากพายุไซโคลนดังกล่าว สรุปได้ว่า พายุไซโคลนนากิสได้ขึ้นฝั่งที่ภาคอิระวดีซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ และไม่มีพื้นที่สูงให้สามารถหลบภัย
ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง ในชั้นนี้คาดว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 10,000 คน สูญหายกว่า 3,000 คน และมีประชาชนไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 100,000 คน ระบบไฟฟ้า ระบบประปา และระบบโทรศัพท์ถูกตัดขาด ทั้งนี้ รัฐบาลพม่าได้อนุมัติเงินงบประมาณจำนวน 5,000 ล้านจั๊ต เพื่อช่วยเหลือประชาชน และได้ระดมความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหา โดยขณะนี้ พื้นที่ 1 ใน 3 ของกรุงย่างกุ้ง เริ่มมีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้บ้างแล้ว และทางการพม่าย้ำว่ายินดีรับความช่วยเหลือจากนานาประเทศ โดยเฉพาะอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านเรือน ได้แก่ หลังคากระเบื้อง หลังคาสังกะสี ตะปู น็อต เต๊นท์ แผ่นพลาสติก มุ้ง และอุปกรณ์ที่ช่วยกรองน้ำให้สะอาด
ทั้งนี้สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานงานให้ความช่วยเหลือคนไทยที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ และส่งเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ ไปเยี่ยมคนไทย โดยในชั้นต้น ได้รับแจ้งจากนักท่องเที่ยวไทยที่พำนักอยู่ที่โรงแรมต่าง ๆ จำนวน 18 คน ว่าทุกคนปลอดภัยดี สถานเอกอัครราชทูต ฯ ได้ประสานงานกับโรงแรมและหัวหน้าทัวร์กลุ่มต่าง ๆ เพื่อขอรับรายชื่อนักท่องเที่ยวที่ตกค้างแล้ว ทั้งนี้ ภายหลังจากที่สนามบินกรุงย่างกุ้งได้เปิดให้บริการ สายการบินไทยและแอร์เอเชียได้ให้บริการเที่ยวบินแล้ว รวมทั้งได้เพิ่มเที่ยวบินเพื่อรับผู้โดยสารตกค้าง คนไทยที่ไปทำธุรกิจ / ทำงานในกรุงย่างกุ้งประมาณ 400 คน เท่าที่ตรวจสอบ ทุกคนปลอดภัยดี
นอกจากนี้ กรมการกงสุลได้จัดเจ้าหน้าที่ประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูต ฯ และกับญาติในประเทศไทยที่ต้องการติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูต ฯ และคนไทยที่พม่าในช่วงวันหยุดที่ผ่านมาด้วย สถานเอกอัครราชทูต ฯ ได้ประเมินสถานการณ์เบื้องต้น คาดว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าในกรุงย่างกุ้งอีกอย่างน้อย 1 สัปดาห์เนื่องจากจะต้องซ่อมแซมเสาไฟฟ้าที่หักโค่นและวางสายไฟใหม่ ซึ่งการไม่มีกระแสไฟฟ้าส่งผลให้ไม่สามารถให้บริการน้ำประปาด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชน สำหรับโทรศัพท์นั้น ก็คาดว่าจะต้องใช้เวลาซ่อมแซมอีกไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์เช่นกันจึงจะสามารถให้บริการได้ เนื่องจากพม่าขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์และช่างฝีมือ ส่วนสำหรับสถานการณ์ด้านอาหาร นั้น แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีปัญหาขาดแคลน เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ แต่โดยที่ร้านค้าทั่วไปยังปิด และการสัญจรไม่สะดวกเนื่องจากมีต้นไม้ล้มกีดขวางอยู่ อาจทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหารได้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-