กรุงเทพ--14 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับข่าวที่ว่ามีการโยงการเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนบริเวณปราสาทพระวิหารกับเรื่องพื้นที่ไหล่ทวีปที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกัน ดังมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. การเจรจาเพื่อสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก กับการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ไหล่ทวีปที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกัน เป็นการเจรจาสองกรอบที่แยกออกจากกันอยู่แล้ว ทั้งโดยสารัตถะของเรื่อง และโดยคณะกรรมการผู้รับผิดชอบการเจรจา
2. การเจรจาเพื่อสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตลอดแนว ซึ่งรวมทั้งการเจรจาปัญหาเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร มีกลไกดำเนินการอยู่แล้ว โดยเป็นการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับกัมพูชา พ.ศ. 2543 โดยมีคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือ JBC (Joint Boundary Commission) เป็นกลไกเจรจา ฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานโดยตำแหน่ง (กำลังอยู่ระหว่างขอแต่งตั้งประธานฝ่ายไทยแทนรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ) ฝ่ายกัมพูชามีนายวาร์ คิม ฮง รัฐมนตรีอาวุโส และที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาผู้รับผิดชอบด้านกิจการชายแดน เป็นประธาน เป้าหมายของการเจรจาในกรอบนี้คือ การมีเขตแดนทางบกตลอดแนวที่ชัดเจนเพื่อป้องกันความขัดแย้งอันเกิดจากปัญหาเขตแดน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการดังกล่าวได้ตกลงกำหนดแผนการดำเนินงานโดยแบ่งการดำเนินการในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาออกเป็น 7 บริเวณ โดยปัญหาเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารอยู่ในพื้นที่ตอนที่ 6 อนึ่ง ตามข้อ 5 ของ MOU ดังกล่าวข้างต้น ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันไว้ว่าจะไม่ทำการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศตามธรรมชาติตามแนวชายแดน ดังนั้นไทยจึงจำเป็นต้องยกเรื่องการสำรวจจัดทำหลักเขตแดนทางบกขึ้นย้ำเตือนกับฝ่ายกัมพูชาว่าเมื่อได้ตกลงที่จะดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารไว้ในพื้นที่ตอนที่ 6 รวมทั้งที่ได้ตกลงกันตามข้อ 5 ของ MOU แล้ว จึงไม่ควรมีการดำเนินการใดๆ ในบริเวณนั้นก่อนที่การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนจะแล้วเสร็จ
3. การเจรจาเรื่องพื้นที่ไหล่ทวีปที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกัน หรือการเจรจาเรื่องเขตทับซ้อนทางทะเล เป็นการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชา พ.ศ. 2544 และมีคณะกรรมการเทคนิคร่วม หรือ JTC (Joint Technical Committee) เป็นกรอบการเจรจา ฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานโดยตำแหน่ง ส่วนฝ่ายกัมพูชามีนายสก อาน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทั้งนี้มีกลไลภายใต้การทำงานของ JTC อีก 4 กลไกได้แก่ คณะอนุกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา คณะทำงานไทย-กัมพูชาว่าด้วยการแบ่งเขตทางทะเล คณะทำงานไทย-กัมพูชาว่าด้วยระบอบพัฒนาร่วม และคณะผู้เชี่ยวชาญร่วมไทย-กัมพูชา
เป้าหมายของการเจรจาในกรอบนี้คือการแก้ไขปัญหาการมีพื้นที่ทางทะเลที่เป็นไหล่ทวีปที่ไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิทับซ้อนกันประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงแบ่งพื้นที่ทับซ้อนเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนเหนือเส้นรุ้งที่ 11 องศาเหนือ ให้แบ่งเขตทางทะเล และ 2) ส่วนใต้เส้นรุ้งที่ 11 องศาเหนือ ให้พัฒนาเพื่อแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลร่วมกัน โดยจะต้องบรรลุความตกลงในทั้ง 2 เรื่องนี้ร่วมกันโดยแบ่งแยกไม่ได้ อย่างไรก็ตามในการเจรจาที่ผ่านมาแล้วนั้น กัมพูชาให้ความสำคัญกับการเจรจาเกี่ยวกับพื้นที่พัฒนาร่วมมาโดยตลอด แต่ฝ่ายไทยยังคงยึดมั่นตามข้อตกลงที่ได้ทำกันไว้แล้วว่าการเจรจาเกี่ยวกับการแบ่งเขตทางทะเลและพื้นที่พัฒนาร่วมจะต้องทำควบคู่กันไปโดยแบ่งแยกไม่ได้
4. การเจรจาทั้งสองเรื่องข้างต้นเป็นการเจรจาที่เป็นอิสระแยกออกจากกัน แต่ก็สามารถดำเนินการคู่ขนานกันไปได้ โดยเจรจาเกี่ยวกับเรื่องเขตทางทะเลไปพร้อมกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก โดยมีปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้การเจรจาของทั้งสองประเทศจะดำเนินไปได้ก็คือต้องมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจรจา รัฐบาลไทยจึงได้ดำเนินการทุกอย่างที่จะดำเนินการเจรจาทั้งสองเรื่องโดยสุจริต ซึ่งนอกจากกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ยังมีผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากหลายกระทรวงมาร่วมอยู่ในการเจรจาด้วย ในการเจรจาทั้งสองเรื่องคณะผู้แทนไทยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ ความสุจริตและความเป็นธรรมเป็นหลัก เพราะการดำเนินการทั้งหมดจะต้องสามารถชี้แจงต่อสาธารณชนได้ โดยทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ ล้วนมีความต่อเนื่องทางนโยบายเกี่ยวกับเรื่องเขตแดนกล่าวคือ รักษาสิทธิและผลประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงมีตามกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับข่าวที่ว่ามีการโยงการเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนบริเวณปราสาทพระวิหารกับเรื่องพื้นที่ไหล่ทวีปที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกัน ดังมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. การเจรจาเพื่อสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก กับการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ไหล่ทวีปที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกัน เป็นการเจรจาสองกรอบที่แยกออกจากกันอยู่แล้ว ทั้งโดยสารัตถะของเรื่อง และโดยคณะกรรมการผู้รับผิดชอบการเจรจา
2. การเจรจาเพื่อสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตลอดแนว ซึ่งรวมทั้งการเจรจาปัญหาเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร มีกลไกดำเนินการอยู่แล้ว โดยเป็นการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับกัมพูชา พ.ศ. 2543 โดยมีคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือ JBC (Joint Boundary Commission) เป็นกลไกเจรจา ฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานโดยตำแหน่ง (กำลังอยู่ระหว่างขอแต่งตั้งประธานฝ่ายไทยแทนรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ) ฝ่ายกัมพูชามีนายวาร์ คิม ฮง รัฐมนตรีอาวุโส และที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาผู้รับผิดชอบด้านกิจการชายแดน เป็นประธาน เป้าหมายของการเจรจาในกรอบนี้คือ การมีเขตแดนทางบกตลอดแนวที่ชัดเจนเพื่อป้องกันความขัดแย้งอันเกิดจากปัญหาเขตแดน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการดังกล่าวได้ตกลงกำหนดแผนการดำเนินงานโดยแบ่งการดำเนินการในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาออกเป็น 7 บริเวณ โดยปัญหาเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารอยู่ในพื้นที่ตอนที่ 6 อนึ่ง ตามข้อ 5 ของ MOU ดังกล่าวข้างต้น ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันไว้ว่าจะไม่ทำการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศตามธรรมชาติตามแนวชายแดน ดังนั้นไทยจึงจำเป็นต้องยกเรื่องการสำรวจจัดทำหลักเขตแดนทางบกขึ้นย้ำเตือนกับฝ่ายกัมพูชาว่าเมื่อได้ตกลงที่จะดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารไว้ในพื้นที่ตอนที่ 6 รวมทั้งที่ได้ตกลงกันตามข้อ 5 ของ MOU แล้ว จึงไม่ควรมีการดำเนินการใดๆ ในบริเวณนั้นก่อนที่การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนจะแล้วเสร็จ
3. การเจรจาเรื่องพื้นที่ไหล่ทวีปที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกัน หรือการเจรจาเรื่องเขตทับซ้อนทางทะเล เป็นการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชา พ.ศ. 2544 และมีคณะกรรมการเทคนิคร่วม หรือ JTC (Joint Technical Committee) เป็นกรอบการเจรจา ฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานโดยตำแหน่ง ส่วนฝ่ายกัมพูชามีนายสก อาน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทั้งนี้มีกลไลภายใต้การทำงานของ JTC อีก 4 กลไกได้แก่ คณะอนุกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา คณะทำงานไทย-กัมพูชาว่าด้วยการแบ่งเขตทางทะเล คณะทำงานไทย-กัมพูชาว่าด้วยระบอบพัฒนาร่วม และคณะผู้เชี่ยวชาญร่วมไทย-กัมพูชา
เป้าหมายของการเจรจาในกรอบนี้คือการแก้ไขปัญหาการมีพื้นที่ทางทะเลที่เป็นไหล่ทวีปที่ไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิทับซ้อนกันประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงแบ่งพื้นที่ทับซ้อนเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนเหนือเส้นรุ้งที่ 11 องศาเหนือ ให้แบ่งเขตทางทะเล และ 2) ส่วนใต้เส้นรุ้งที่ 11 องศาเหนือ ให้พัฒนาเพื่อแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลร่วมกัน โดยจะต้องบรรลุความตกลงในทั้ง 2 เรื่องนี้ร่วมกันโดยแบ่งแยกไม่ได้ อย่างไรก็ตามในการเจรจาที่ผ่านมาแล้วนั้น กัมพูชาให้ความสำคัญกับการเจรจาเกี่ยวกับพื้นที่พัฒนาร่วมมาโดยตลอด แต่ฝ่ายไทยยังคงยึดมั่นตามข้อตกลงที่ได้ทำกันไว้แล้วว่าการเจรจาเกี่ยวกับการแบ่งเขตทางทะเลและพื้นที่พัฒนาร่วมจะต้องทำควบคู่กันไปโดยแบ่งแยกไม่ได้
4. การเจรจาทั้งสองเรื่องข้างต้นเป็นการเจรจาที่เป็นอิสระแยกออกจากกัน แต่ก็สามารถดำเนินการคู่ขนานกันไปได้ โดยเจรจาเกี่ยวกับเรื่องเขตทางทะเลไปพร้อมกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก โดยมีปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้การเจรจาของทั้งสองประเทศจะดำเนินไปได้ก็คือต้องมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจรจา รัฐบาลไทยจึงได้ดำเนินการทุกอย่างที่จะดำเนินการเจรจาทั้งสองเรื่องโดยสุจริต ซึ่งนอกจากกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ยังมีผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากหลายกระทรวงมาร่วมอยู่ในการเจรจาด้วย ในการเจรจาทั้งสองเรื่องคณะผู้แทนไทยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ ความสุจริตและความเป็นธรรมเป็นหลัก เพราะการดำเนินการทั้งหมดจะต้องสามารถชี้แจงต่อสาธารณชนได้ โดยทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ ล้วนมีความต่อเนื่องทางนโยบายเกี่ยวกับเรื่องเขตแดนกล่าวคือ รักษาสิทธิและผลประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงมีตามกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-