กรุงเทพ--14 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ไทยจะรับตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 41 ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2551 โดยหากทุกประเทศให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียนไทยจะดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 1 ปีครึ่ง จนถึงเดือนธันวาคม 2552 เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎบัตรฯ ที่ให้วาระการดำรงตำแหน่งประธานเป็นไปตามปีปฏิทิน รวมทั้งมีภารกิจต้องจัดประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้ง และต้องเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในช่วงต้นปี 2552
การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญ เนื่องจาก (1) กฎบัตรอาเซียนจะมีผลใช้บังคับ (2) มีการจัดทำแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมเพื่อมุ่งไปสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 (3) อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับที่คนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน (วาระ 5 ปี ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2551-31 ธ.ค. 2555)
นับตั้งแต่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้เข้าบริหารประเทศก็ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างบทบาทของไทยใน การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน โดยได้บรรจุไว้ในคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ว่าจะ ‘เพิ่มบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และผลักดันบทบาทอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในวาระที่ไทยเป็นประธานอาเซียน’
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับการเตรียมการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยเป็นระยะ ๆ โดยในชั้นนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่สิงคโปร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ได้เห็นชอบกับกำหนดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 15-18 ธันวาคม 2551 และได้ขอให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในช่วงต้นปี 2552 ด้วย
ในส่วนของกระบวนการภายในประเทศ กระทรวงการต่างประเทศได้เริ่มเตรียมการสำหรับการเป็นประธานอาเซียนของไทยตั้งแต่ช่วงก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ โดยได้จัดการประชุมหารือกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และนักวิชาการในสาขาต่าง ๆ เพื่อเตรียมการทั้งในด้านสารัตถะและพิธีการแล้ว 4 ครั้ง รวมทั้งได้มีการประชุมหารือกับเลขาธิการนายกรัฐมนตรีด้วยแล้วเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาสังคมเพื่อให้การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด โดยได้จัดการสัมมนา เรื่อง“ประชาคมอาเซียนและการดำเนินงานของไทยในฐานะประธานอาเซียน” เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551
กระทรวงฯ ยังได้ดำเนินการเรื่องการออก พรบ. อนุวัติการเพื่อให้ไทยสามารถให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน และผลักดันให้กฎบัตรฯ มีผลใช้บังคับได้ทันภายในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างบทบาทการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย โดยในชั้นนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการร่าง พรบ. คุ้มครองการดำเนินงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. .... ตามที่ กระทรวงฯ เสนอแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเสนอเรื่องให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนที่ไทยจะยื่นสัตยาบันสารต่อเลขาธิการอาเซียนต่อไป
การเตรียมการด้านสารัตถะ
กระทรวงฯ ได้หารือกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเป็นระยะ ๆ และได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์สำหรับการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย ดังนี้
1. Branding ASEAN ลงสู่ประชาชนรากหญ้า
2. ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทไทยในฐานะประธานอาเซียน
3. เสริมสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคง ภายในปี 2558 และความร่วมมือกับประเทศภายนอก
4. เสริมสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558
5. เสริมสร้างประชาคมสังคมและวัฒนธรรมภายในปี 2558
6. ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้แนวทางในการกำหนดเป้าหมายสำคัญที่ไทยจะผลักดันในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน 3 ประการ ได้แก่
1. การอนุวัติข้อผูกพันภายใต้กฎบัตรอาเซียน (Realising the commitments under the ASEAN Charter) โดยเฉพาะการยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ที่จะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน และคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา เป็นต้น
2. การฟื้นฟูอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นจุดศูนย์กลาง (Revitalising ASEAN as a people-centred Community) ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่ประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคมในการสร้างประชาคมอาเซียน
3. การเสริมสร้างการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์สำหรับประชาชนทุกคนในภูมิภาค (Reinforcing human development and security for all the peoples of the region) โดยส่งเสริมให้ความร่วมมือของอาเซียนตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน การจัดการภัยพิบัติและการเสริมสร้างเสถียรภาพด้านการเงินในภูมิภาค
ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้นำเสนอเป้าหมายหลักทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าวต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ที่สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 5-10 พฤษภาคม ที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งทุกประเทศเห็นชอบและให้นำมาใช้เป็นแนวทางกำหนดหัวข้อหลักสำหรับการหารือในการประชุมสุดยอดอาเซียน การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) ต่อไป
การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
กระทรวงฯ จะใช้โอกาสการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยมีแผนงานจัดกิจกรรมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติ ดังนี้
1. การจัดตั้งสมาคมอาเซียนประเทศไทย
2. การจัดทำเว็บไซด์สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14
3. การจัดกิจกรรมตอบคำถามเกี่ยวกับอาเซียนกับโรงเรียนยุวทูตความดี
4. การประกวดเพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem)
5. การจัด High Level Panel Discussion (back-to-back กับการประชุมสุดยอดฯ)
6. การจัดงานเฉลิมฉลองวันครบรอบการก่อตั้งอาเซียน ในวันที่ 8 สิงหาคม
7. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และการจัดการประชุม ASEAN Civil Society Conference ครั้งที่ 4
8. การจัดสัมมนา “ประชาคมอาเซียนและการดำเนินงานของไทยในฐานะประธานอาเซียน” (ดำเนินการแล้ว เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551)
9. การจัดทำสารคดีอาเซียน
10. การจัดทำวีดีทัศน์การ์ตูนเกี่ยวกับอาเซียน
11. การจัดทำหนังสือ “มารู้จักอาเซียนกันเถอะ”
12. การจัดทำหนังสือ “บันทึกการเดินทางของอาเซียน”
13. การจัดทำหนังสือ “Young Faces of ASEAN”
การเตรียมการด้านพิธีการ
กระทรวงฯ ได้ศึกษาประสบการณ์การจัดประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่ฟิลิปปินส์ และ ครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ เพื่อกำหนดเป็นกรอบความต้องการด้านสถานที่สำหรับการจัดประชุมสุดยอดฯ ทั้งในเรื่องห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง ห้องปฏิบัติการสำหรับทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย และประเทศอื่น ๆ ที่จะเข้าร่วมประชุมอีก 15 ประเทศ ห้องศูนย์ข่าว หน่วยแพททย์พยาบาล หน่วยรักษาความปลอดภัย ฯลฯ รวมทั้งได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักข่าวกรองแห่งชาติทำการสำรวจสถานที่ต่าง ๆ เพื่อพิจารณาคัดเลือกสถานที่ที่มีความเหมาะสมในการจัดประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14
นอกจากนี้ กระทรวงฯ โดยกรมพิธีการทูตในฐานะคณะทำงานด้านพิธีการของกระทรวงฯ ก็ได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การกำหนดโรงแรมที่พัก การจัดเลี้ยง การรักษาความปลอดภัย การจัดเตรียมกำหนดการสำหรับคู่สมรส ฯลฯ ด้วยแล้ว
การจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติและคณะอนุกรรมการระดับต่าง ๆ
รัฐมนตรีว่าการฯ ได้มีหนังสือเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2551 เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการต่อร่างองค์ประกอบคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะอนุกรรมการ ได้แก่
(1) คณะอนุกรรมการด้านสารัตถะ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน
(2) คณะอนุกรรมการด้านพิธีการและอำนายการ มีรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน
(3) คณะอนุกรรมการด้านรักษาความปลอดภัยและจราจร มีรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน
(4) คณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์ มีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
(5) คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานฯ มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
ในปัจจุบัน คณะทำงานด้านต่าง ๆ ภายใต้คณะอนุกรรมการทุกคณะได้เริ่มการเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยล่าสุด นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการสำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2551
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ไทยจะรับตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 41 ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2551 โดยหากทุกประเทศให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียนไทยจะดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 1 ปีครึ่ง จนถึงเดือนธันวาคม 2552 เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎบัตรฯ ที่ให้วาระการดำรงตำแหน่งประธานเป็นไปตามปีปฏิทิน รวมทั้งมีภารกิจต้องจัดประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้ง และต้องเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในช่วงต้นปี 2552
การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญ เนื่องจาก (1) กฎบัตรอาเซียนจะมีผลใช้บังคับ (2) มีการจัดทำแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมเพื่อมุ่งไปสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 (3) อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับที่คนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน (วาระ 5 ปี ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2551-31 ธ.ค. 2555)
นับตั้งแต่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้เข้าบริหารประเทศก็ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างบทบาทของไทยใน การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน โดยได้บรรจุไว้ในคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ว่าจะ ‘เพิ่มบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และผลักดันบทบาทอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในวาระที่ไทยเป็นประธานอาเซียน’
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับการเตรียมการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยเป็นระยะ ๆ โดยในชั้นนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่สิงคโปร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ได้เห็นชอบกับกำหนดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 15-18 ธันวาคม 2551 และได้ขอให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในช่วงต้นปี 2552 ด้วย
ในส่วนของกระบวนการภายในประเทศ กระทรวงการต่างประเทศได้เริ่มเตรียมการสำหรับการเป็นประธานอาเซียนของไทยตั้งแต่ช่วงก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ โดยได้จัดการประชุมหารือกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และนักวิชาการในสาขาต่าง ๆ เพื่อเตรียมการทั้งในด้านสารัตถะและพิธีการแล้ว 4 ครั้ง รวมทั้งได้มีการประชุมหารือกับเลขาธิการนายกรัฐมนตรีด้วยแล้วเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาสังคมเพื่อให้การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด โดยได้จัดการสัมมนา เรื่อง“ประชาคมอาเซียนและการดำเนินงานของไทยในฐานะประธานอาเซียน” เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551
กระทรวงฯ ยังได้ดำเนินการเรื่องการออก พรบ. อนุวัติการเพื่อให้ไทยสามารถให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน และผลักดันให้กฎบัตรฯ มีผลใช้บังคับได้ทันภายในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างบทบาทการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย โดยในชั้นนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการร่าง พรบ. คุ้มครองการดำเนินงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. .... ตามที่ กระทรวงฯ เสนอแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเสนอเรื่องให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนที่ไทยจะยื่นสัตยาบันสารต่อเลขาธิการอาเซียนต่อไป
การเตรียมการด้านสารัตถะ
กระทรวงฯ ได้หารือกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเป็นระยะ ๆ และได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์สำหรับการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย ดังนี้
1. Branding ASEAN ลงสู่ประชาชนรากหญ้า
2. ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทไทยในฐานะประธานอาเซียน
3. เสริมสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคง ภายในปี 2558 และความร่วมมือกับประเทศภายนอก
4. เสริมสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558
5. เสริมสร้างประชาคมสังคมและวัฒนธรรมภายในปี 2558
6. ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้แนวทางในการกำหนดเป้าหมายสำคัญที่ไทยจะผลักดันในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน 3 ประการ ได้แก่
1. การอนุวัติข้อผูกพันภายใต้กฎบัตรอาเซียน (Realising the commitments under the ASEAN Charter) โดยเฉพาะการยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ที่จะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน และคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา เป็นต้น
2. การฟื้นฟูอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นจุดศูนย์กลาง (Revitalising ASEAN as a people-centred Community) ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่ประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคมในการสร้างประชาคมอาเซียน
3. การเสริมสร้างการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์สำหรับประชาชนทุกคนในภูมิภาค (Reinforcing human development and security for all the peoples of the region) โดยส่งเสริมให้ความร่วมมือของอาเซียนตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน การจัดการภัยพิบัติและการเสริมสร้างเสถียรภาพด้านการเงินในภูมิภาค
ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้นำเสนอเป้าหมายหลักทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าวต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ที่สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 5-10 พฤษภาคม ที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งทุกประเทศเห็นชอบและให้นำมาใช้เป็นแนวทางกำหนดหัวข้อหลักสำหรับการหารือในการประชุมสุดยอดอาเซียน การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) ต่อไป
การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
กระทรวงฯ จะใช้โอกาสการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยมีแผนงานจัดกิจกรรมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติ ดังนี้
1. การจัดตั้งสมาคมอาเซียนประเทศไทย
2. การจัดทำเว็บไซด์สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14
3. การจัดกิจกรรมตอบคำถามเกี่ยวกับอาเซียนกับโรงเรียนยุวทูตความดี
4. การประกวดเพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem)
5. การจัด High Level Panel Discussion (back-to-back กับการประชุมสุดยอดฯ)
6. การจัดงานเฉลิมฉลองวันครบรอบการก่อตั้งอาเซียน ในวันที่ 8 สิงหาคม
7. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และการจัดการประชุม ASEAN Civil Society Conference ครั้งที่ 4
8. การจัดสัมมนา “ประชาคมอาเซียนและการดำเนินงานของไทยในฐานะประธานอาเซียน” (ดำเนินการแล้ว เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551)
9. การจัดทำสารคดีอาเซียน
10. การจัดทำวีดีทัศน์การ์ตูนเกี่ยวกับอาเซียน
11. การจัดทำหนังสือ “มารู้จักอาเซียนกันเถอะ”
12. การจัดทำหนังสือ “บันทึกการเดินทางของอาเซียน”
13. การจัดทำหนังสือ “Young Faces of ASEAN”
การเตรียมการด้านพิธีการ
กระทรวงฯ ได้ศึกษาประสบการณ์การจัดประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่ฟิลิปปินส์ และ ครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ เพื่อกำหนดเป็นกรอบความต้องการด้านสถานที่สำหรับการจัดประชุมสุดยอดฯ ทั้งในเรื่องห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง ห้องปฏิบัติการสำหรับทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย และประเทศอื่น ๆ ที่จะเข้าร่วมประชุมอีก 15 ประเทศ ห้องศูนย์ข่าว หน่วยแพททย์พยาบาล หน่วยรักษาความปลอดภัย ฯลฯ รวมทั้งได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักข่าวกรองแห่งชาติทำการสำรวจสถานที่ต่าง ๆ เพื่อพิจารณาคัดเลือกสถานที่ที่มีความเหมาะสมในการจัดประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14
นอกจากนี้ กระทรวงฯ โดยกรมพิธีการทูตในฐานะคณะทำงานด้านพิธีการของกระทรวงฯ ก็ได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การกำหนดโรงแรมที่พัก การจัดเลี้ยง การรักษาความปลอดภัย การจัดเตรียมกำหนดการสำหรับคู่สมรส ฯลฯ ด้วยแล้ว
การจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติและคณะอนุกรรมการระดับต่าง ๆ
รัฐมนตรีว่าการฯ ได้มีหนังสือเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2551 เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการต่อร่างองค์ประกอบคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะอนุกรรมการ ได้แก่
(1) คณะอนุกรรมการด้านสารัตถะ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน
(2) คณะอนุกรรมการด้านพิธีการและอำนายการ มีรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน
(3) คณะอนุกรรมการด้านรักษาความปลอดภัยและจราจร มีรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน
(4) คณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์ มีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
(5) คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานฯ มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
ในปัจจุบัน คณะทำงานด้านต่าง ๆ ภายใต้คณะอนุกรรมการทุกคณะได้เริ่มการเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยล่าสุด นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการสำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2551
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-