กรุงเทพ--15 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ที่ พล. ม. 2 ภายหลังเดินทางกลับจากการเยือนราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อร่วมพิธีเปิดเส้นทางหมายเลข 48 โดยได้กล่าวถึงการพบหารือข้อราชการกับนายสก อัน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในโอกาสดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ไทยและกัมพูชาได้หารือใน 2 ประเด็น ได้แก่
1) ประเด็นพื้นที่ไหล่ทวีปที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกัน โดยได้หารือเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทั้งสองส่วน คือ ส่วนเหนือเส้นรุ้งที่ 11 องศาเหนือ ซึ่งเป็นการแบ่งเขตทางทะเล (Delimitation) และส่วนใต้เส้นรุ้งที่ 11 องศาเหนือ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่ให้พัฒนาเพื่อแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลร่วมกัน (Joint Development Area — JDA) ฝ่ายไทยยืนยันจะต้องบรรลุความตกลงในเรื่องทั้งสองนี้ร่วมกันโดยแบ่งแยกไม่ได้ สำหรับเรื่อง พื้นที่พัฒนาร่วม (JDA) นั้น ข้อเสนอของทั้งสองฝ่ายแม้จะแตกต่างกัน แต่ก็มีแนวโน้มว่าน่าจะหาข้อสรุปได้ โดยในสัปดาห์หน้า คณะทำงานและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของฝ่ายกัมพูชา ได้แก่ คณะทำงานว่าด้วยการแบ่งเขตทางทะเล (Working Group on Maritime Delimitation) คณะทำงานว่าด้วยระบอบพัฒนาร่วม (Working Groupon the JDA) และคณะผู้เชี่ยวชาญร่วม (Joint Technical Expert Group) จะเดินทางมาประเทศไทยเพื่อพบหารือกับฝ่ายไทยเป็นการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ต่อไป
2) ประเด็นกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยืนยันท่าทีของไทยในการสนับสนุนในหลักการในการขึ้นทะเบียนดังกล่าว แต่จำเป็นที่จะต้องมีการหารือถึงพื้นที่ทับซ้อนบริเวณรอบตัวปราสาทอันเกิดจากการที่พื้นที่ที่เรียก “Core Zone”, “Buffer Zone” และ “Development Zone” ของการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชานั้นทับซ้อน เข้ามาในพื้นที่ที่ไทยอ้างสิทธิ สาเหตุของปัญหาเกิดจากไทยและกัมพูชาตีความคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศคดีปราสาทพระวิหารเมื่อปี 2505 แตกต่างกัน ฝ่ายกัมพูชาเห็นว่านอกจากศาลตัดสินว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาแล้วแล้วยังตัดสินเรื่องเขตแดนด้วย ส่วนฝ่ายไทยเห็นว่าคำพิพากษาตัดสิน เฉพาะเรื่องอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารแต่มิได้ตัดสินบังคับคดีในเรื่องเขตแดนเนื่องจากศาลไม่มีอำนาจ อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ในการเจรจาครั้งนี้ได้เริ่มเห็น “แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” และอาจเป็นจุดหักเหที่ดี ทั้งนี้ สองฝ่ายได้ทราบท่าทีที่ชัดเจนของกันและกัน บรรยากาศการเจรจาของทั้งสองฝ่ายเป็นไปอย่างฉันมิตร ขอเวลาอีก 2 สัปดาห์จะแจ้งความคืบหน้า
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวย้ำว่าการเจรจาใน 2 ประเด็นดังกล่าวเป็นการเจรจาที่แยกออกจากกันทั้งในเรื่องของประเด็นและกลไกในการเจรจา แต่สามารถดำเนินการคู่ขนานไปพร้อมกันได้ ซึ่งประเด็นสำคัญคือประเทศไทยไม่มีความคิดที่จะเอาพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารไปแลกเปลี่ยนกับน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ไหล่ทวีปที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ที่ พล. ม. 2 ภายหลังเดินทางกลับจากการเยือนราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อร่วมพิธีเปิดเส้นทางหมายเลข 48 โดยได้กล่าวถึงการพบหารือข้อราชการกับนายสก อัน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในโอกาสดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ไทยและกัมพูชาได้หารือใน 2 ประเด็น ได้แก่
1) ประเด็นพื้นที่ไหล่ทวีปที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกัน โดยได้หารือเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทั้งสองส่วน คือ ส่วนเหนือเส้นรุ้งที่ 11 องศาเหนือ ซึ่งเป็นการแบ่งเขตทางทะเล (Delimitation) และส่วนใต้เส้นรุ้งที่ 11 องศาเหนือ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่ให้พัฒนาเพื่อแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลร่วมกัน (Joint Development Area — JDA) ฝ่ายไทยยืนยันจะต้องบรรลุความตกลงในเรื่องทั้งสองนี้ร่วมกันโดยแบ่งแยกไม่ได้ สำหรับเรื่อง พื้นที่พัฒนาร่วม (JDA) นั้น ข้อเสนอของทั้งสองฝ่ายแม้จะแตกต่างกัน แต่ก็มีแนวโน้มว่าน่าจะหาข้อสรุปได้ โดยในสัปดาห์หน้า คณะทำงานและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของฝ่ายกัมพูชา ได้แก่ คณะทำงานว่าด้วยการแบ่งเขตทางทะเล (Working Group on Maritime Delimitation) คณะทำงานว่าด้วยระบอบพัฒนาร่วม (Working Groupon the JDA) และคณะผู้เชี่ยวชาญร่วม (Joint Technical Expert Group) จะเดินทางมาประเทศไทยเพื่อพบหารือกับฝ่ายไทยเป็นการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ต่อไป
2) ประเด็นกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยืนยันท่าทีของไทยในการสนับสนุนในหลักการในการขึ้นทะเบียนดังกล่าว แต่จำเป็นที่จะต้องมีการหารือถึงพื้นที่ทับซ้อนบริเวณรอบตัวปราสาทอันเกิดจากการที่พื้นที่ที่เรียก “Core Zone”, “Buffer Zone” และ “Development Zone” ของการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชานั้นทับซ้อน เข้ามาในพื้นที่ที่ไทยอ้างสิทธิ สาเหตุของปัญหาเกิดจากไทยและกัมพูชาตีความคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศคดีปราสาทพระวิหารเมื่อปี 2505 แตกต่างกัน ฝ่ายกัมพูชาเห็นว่านอกจากศาลตัดสินว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาแล้วแล้วยังตัดสินเรื่องเขตแดนด้วย ส่วนฝ่ายไทยเห็นว่าคำพิพากษาตัดสิน เฉพาะเรื่องอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารแต่มิได้ตัดสินบังคับคดีในเรื่องเขตแดนเนื่องจากศาลไม่มีอำนาจ อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ในการเจรจาครั้งนี้ได้เริ่มเห็น “แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” และอาจเป็นจุดหักเหที่ดี ทั้งนี้ สองฝ่ายได้ทราบท่าทีที่ชัดเจนของกันและกัน บรรยากาศการเจรจาของทั้งสองฝ่ายเป็นไปอย่างฉันมิตร ขอเวลาอีก 2 สัปดาห์จะแจ้งความคืบหน้า
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวย้ำว่าการเจรจาใน 2 ประเด็นดังกล่าวเป็นการเจรจาที่แยกออกจากกันทั้งในเรื่องของประเด็นและกลไกในการเจรจา แต่สามารถดำเนินการคู่ขนานไปพร้อมกันได้ ซึ่งประเด็นสำคัญคือประเทศไทยไม่มีความคิดที่จะเอาพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารไปแลกเปลี่ยนกับน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ไหล่ทวีปที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-