“ต้มยำกุ้ง” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การ UNESCO

ข่าวต่างประเทศ Wednesday December 4, 2024 14:35 —กระทรวงการต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage: ICS-ICH) ครั้งที่ 19 ณ กรุงอาซุนซิออน สาธารณรัฐปารากวัย มีมติให้ขึ้นทะเบียน ?ต้มยำกุ้ง? หรือ ?Tomyum Kung? ในบัญชีรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity ? บัญชี RL) ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 (2003 Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO)

การขึ้นทะเบียน?ต้มยำกุ้ง? ในบัญชี RL ครั้งนี้เป็นความภาคภูมิใจของไทยและถือเป็นการสร้างความตระหนักรู้ในระดับสากลต่อคุณค่าและความสำคัญของ ?ต้มยำกุ้ง? ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งถือเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีการสร้างสรรค์ให้เข้ากับวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างหลากหลาย สะท้อนถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชุมชนเกษตรกรรมริมแม่น้ำลำคลองในภาคกลางของไทยตลอดหลายศตวรรษที่มีวัฒนธรรมการบริโภคอาหารผ่านการสังเกตและเรียนรู้จากธรรมชาติ รวมถึงความเรียบง่ายและการดำเนินชีวิตที่พึ่งพิงธรรมชาติ พึ่งพาตนเอง และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีถ้อยแถลงผ่านวีดิทัศน์กล่าวแสดงความยินดีต่อการขึ้นทะเบียน ?ต้มยำกุ้ง? เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ และย้ำความมุ่งมั่นของไทยที่จะสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ รวมถึงความพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับนานาประเทศในการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ปัจจุบัน ไทยได้ขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในบัญชี RL แล้ว 5 รายการ ได้แก่ โขน (ปี 2561) นวดไทย (ปี 2562) โนรา (ปี 2564) สงกรานต์ในประเทศไทย (ปี 2566) และต้มยำกุ้ง (ปี 2567)

ชมบรรยากาศ

https://www.youtube.com/watch?v=cOxs_Snr88E

ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ


แท็ก ต้มยำกุ้ง   unesco  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ