กรุงเทพ--23 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่ รายงาน “The True Cost of Shrimp” จัดทำโดยองค์กร Solidarity Center ภายใต้ American Federation of Labor and Congress of Industrial Organizations (AFL-CIO) ได้กล่าวพาดพิงถึงการบังคับใช้แรงงานและแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมกุ้งของไทย และยกกรณีการบังคับใช้แรงงานต่างด้าวในโรงงานกุ้งแห่งหนึ่งว่าเป็นตัวอย่างของการละเมิดสิทธิแรงงานในอุตสาหกรรมกุ้งของไทยอย่างเป็นระบบ พร้อมระบุว่า ระบบยุติธรรมของไทยไม่เอื้อต่อการแก้ปัญหาแรงงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยรายงานดังกล่าวอาจจะมีผลกระทบต่อการกำหนดรายการสินค้าห้ามนำเข้าอันเนื่องมาจากการใช้แรงงานเด็ก ในรายงานประจำปี The Worst Forms of Child Labor ของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ที่จะมีกำหนดเผยแพร่ในเดือนกันยายน 2551 นั้น
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยนายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ CNN เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2551 ตลอดจนได้มีหนังสือถึงสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ สถานีโทรทัศน์ CNN และ American Federation of Labor and Congress of Industrial Organizations (AFL-CIO) เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับรายงาน “The True Cost of Shrimp” และได้จัดส่งเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เข้าหารือกับเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบการเขียนรายงาน The Worst Forms of Child Labor รวมทั้งจะพิจารณาเข้าร่วมสังเกตการณ์การเปิดรับฟังความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปประกอบการจัดทำรายงานดังกล่าวของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 และใช้ช่องทางต่างๆ ที่เหมาะสมชี้แจงต่อ ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องด้วย
จากการหารือกับภาคเอกชนไทยที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมกุ้งไทยและสมาคมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชนไทยตระหนักเป็นอย่างดีถึงความสำคัญของการคุ้มครองแรงงานต่างชาติตามกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนและการไม่ใช้แรงงานเด็ก และยืนยันว่าสินค้าที่ส่งออกจากสมาชิกทั้งหมดที่ส่งออก ไปยังสหรัฐฯ ผลิตจากโรงงานแปรรูปที่ได้มาตรฐานสากล ไม่มีการใช้แรงงานเด็ก นอกจากนี้ สมาคมฯ ได้ขอให้บริษัทสมาชิกของสมาคมฯ สอดส่องดูแลและควบคุมล้งกุ้ง ให้ใช้แรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนสมาคมฯ ยังได้แสดงความโปร่งใสและความพร้อมที่จะร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยในการเข้าตรวจและเยี่ยมชมโรงงานด้วย
ประเด็นเรื่องแรงงานเด็ก การละเมิดสิทธิแรงงานต่างด้าว และการค้ามนุษย์ เป็นปัญหาที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญและได้พยายามดำเนินการแก้ไข ตลอดจนร่วมมือกับประเทศต้นทางของแรงงานในการจัดมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาในระยะยาวอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด จึงเป็นประเด็นที่กระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญ และได้ดำเนินการชี้แจงกับฝ่ายสหรัฐฯ ในหลายระดับมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ ได้นำคณะผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินทางไปพบหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของฝ่ายสหรัฐฯ ณ กรุงวอชิงตัน เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจในเรื่องการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็ก โดยครั้งล่าสุดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-7 มีนาคม 2551
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 มิถุนายน ศกนี้ ยังเป็นก้าวสำคัญของไทยในการปราบปรามการค้ามนุษย์ ปกป้องและคุ้มครองเหยื่อของการค้ามนุษย์และแรงงานเด็ก และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความแน่วแน่ของไทยในการปฏิบัติตามพันธกรณีในฐานะรัฐสมาชิกอนุสัญญาในกรอบองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และในฐานะรัฐภาคีของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 182 ว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก พ.ศ. 2542 ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่ รายงาน “The True Cost of Shrimp” จัดทำโดยองค์กร Solidarity Center ภายใต้ American Federation of Labor and Congress of Industrial Organizations (AFL-CIO) ได้กล่าวพาดพิงถึงการบังคับใช้แรงงานและแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมกุ้งของไทย และยกกรณีการบังคับใช้แรงงานต่างด้าวในโรงงานกุ้งแห่งหนึ่งว่าเป็นตัวอย่างของการละเมิดสิทธิแรงงานในอุตสาหกรรมกุ้งของไทยอย่างเป็นระบบ พร้อมระบุว่า ระบบยุติธรรมของไทยไม่เอื้อต่อการแก้ปัญหาแรงงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยรายงานดังกล่าวอาจจะมีผลกระทบต่อการกำหนดรายการสินค้าห้ามนำเข้าอันเนื่องมาจากการใช้แรงงานเด็ก ในรายงานประจำปี The Worst Forms of Child Labor ของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ที่จะมีกำหนดเผยแพร่ในเดือนกันยายน 2551 นั้น
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยนายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ CNN เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2551 ตลอดจนได้มีหนังสือถึงสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ สถานีโทรทัศน์ CNN และ American Federation of Labor and Congress of Industrial Organizations (AFL-CIO) เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับรายงาน “The True Cost of Shrimp” และได้จัดส่งเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เข้าหารือกับเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบการเขียนรายงาน The Worst Forms of Child Labor รวมทั้งจะพิจารณาเข้าร่วมสังเกตการณ์การเปิดรับฟังความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปประกอบการจัดทำรายงานดังกล่าวของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 และใช้ช่องทางต่างๆ ที่เหมาะสมชี้แจงต่อ ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องด้วย
จากการหารือกับภาคเอกชนไทยที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมกุ้งไทยและสมาคมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชนไทยตระหนักเป็นอย่างดีถึงความสำคัญของการคุ้มครองแรงงานต่างชาติตามกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนและการไม่ใช้แรงงานเด็ก และยืนยันว่าสินค้าที่ส่งออกจากสมาชิกทั้งหมดที่ส่งออก ไปยังสหรัฐฯ ผลิตจากโรงงานแปรรูปที่ได้มาตรฐานสากล ไม่มีการใช้แรงงานเด็ก นอกจากนี้ สมาคมฯ ได้ขอให้บริษัทสมาชิกของสมาคมฯ สอดส่องดูแลและควบคุมล้งกุ้ง ให้ใช้แรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนสมาคมฯ ยังได้แสดงความโปร่งใสและความพร้อมที่จะร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยในการเข้าตรวจและเยี่ยมชมโรงงานด้วย
ประเด็นเรื่องแรงงานเด็ก การละเมิดสิทธิแรงงานต่างด้าว และการค้ามนุษย์ เป็นปัญหาที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญและได้พยายามดำเนินการแก้ไข ตลอดจนร่วมมือกับประเทศต้นทางของแรงงานในการจัดมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาในระยะยาวอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด จึงเป็นประเด็นที่กระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญ และได้ดำเนินการชี้แจงกับฝ่ายสหรัฐฯ ในหลายระดับมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ ได้นำคณะผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินทางไปพบหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของฝ่ายสหรัฐฯ ณ กรุงวอชิงตัน เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจในเรื่องการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็ก โดยครั้งล่าสุดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-7 มีนาคม 2551
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 มิถุนายน ศกนี้ ยังเป็นก้าวสำคัญของไทยในการปราบปรามการค้ามนุษย์ ปกป้องและคุ้มครองเหยื่อของการค้ามนุษย์และแรงงานเด็ก และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความแน่วแน่ของไทยในการปฏิบัติตามพันธกรณีในฐานะรัฐสมาชิกอนุสัญญาในกรอบองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และในฐานะรัฐภาคีของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 182 ว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก พ.ศ. 2542 ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-