แท็ก
กระทรวงการต่างประเทศ
กรุงเทพ--26 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่สื่อมวลชนได้รายงานข่าวสถาบันจัดดัชนีความสงบสุขโลก (Global Peace Index) ที่ได้เปิดเผยรายงานเมื่อ 20 พฤษภาคม 2551 ว่า ในปี ค.ศ. 2008 ไทยอยู่ในอันดับที่ 118 จาก 140 ประเทศ ที่ได้รับการจัดดัชนีความสงบสุข (ลดจากอันดับที่ 105 ในรายงานปี 2007) นั้น เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยได้ตั้งข้อสังเกตต่อความน่าเชื่อถือของ GPI และวิธีการที่ GPI ใช้ในการจัดอันดับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- การจัดอับดับประเทศที่สงบสุขของ GPI เป็นการจัดอันดับโดยอาศัยข้อมูล/สถิติ เป็นตัวชี้วัด ซึ่งไม่แน่ใจว่าใช้ข้อมูลใดและมีความถูกต้องของข้อมูลเพียงใด อีกทั้งมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเป็นข้อมูลล่าสุดจากทั้ง 140 ประเทศ นอกจากนั้น GPI ไม่มีการหาข้อมูลในพื้นที่ (on ground data collection) เช่น ไม่มีการสอบถามข้อคิดเห็น หรือเก็บข้อมูล หรือสำรวจสภาพหรือสถานการณ์ในประเทศนั้นๆ ในพื้นที่ การจัดอันดับฯ ไม่ได้แยกแยะข้อแตกต่างของสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่/ท้องถิ่น ของประเทศ เช่น การนำตัวเลขความเสียหายจากจำนวนการเกิดเหตุการณ์รุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปเป็นฐานในการวัดความรุนแรงทั้งประเทศ ในขณะที่ ข้อเท็จจริงคือประชาชนในส่วนอื่นๆ ทั่วประเทศ กล่าวคือ 73 จาก 76 จังหวัด ใช้ชีวิตอย่างปกติสุข
- สถาบันอื่นๆ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้จัดอันดับประเทศไทยแตกต่างจาก GPI เช่น สถาบัน Institute of Management Development
- IMD ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้จัดอันดับใน The World Competitiveness Yearbook 2008 ให้ไทยอยู่ในอันดับ 27 ของประเทศที่มีอัตราการแข่งขันสูง ดีขึ้นถึง 6 ตำแหน่ง (ไทยอยู่อันดับที่ 33 ในปี 2007) นอกจากนี้ ไทยยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่เป็นสถานที่น่าท่องเที่ยวที่สุดประเทศหนึ่ง จากสถาบันต่างๆ ในยุโรป เช่น ได้รับรางวัล Grand Travel Award 2007 ลำดับที่ 1 World’s Best Tourist Country ติดต่อกันเป็น ปีที่ 5 จาก Travel News Magazine ประเทศสวีเดน และกรุงเทพมหานครได้รับรางวัลลำดับที่ 1 World’s Best Awards 2007 จาก Travel and Leisure Magazine สหรัฐอเมริกา ซึ่งการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นในระดับความปลอดภัยและความสงบสุขที่แท้จริง
- จากรายชื่อประเทศที่ GPI จัดอันดับ พบว่าประชาชนของประเทศที่มีอันดับความสงบสุขมากกว่าไทยต่างได้เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ตัวเลขจาก ททท. ระบุว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เข้าประเทศไทยเพิ่มขึ้น 4.65% ในปี 2007 และชาวต่างชาติในหลายประเทศก็เริ่มมาเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัยระยะยาว ตัวอย่างที่เห็นได้ประการหนึ่ง คือ การมีหมู่บ้าน และโรงเรียนสำหรับชาวสแกนดิเนเวียและญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศ ในประเทศไทยแล้วในหลายจังหวัด เพื่อคนชาติเหล่านี้ ทั้งที่อยู่ในวัยเกษียณ วัยทำงาน และวัยเด็ก ได้เข้ามาใช้ชีวิตระยะยาว
- กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งข้อสังเกตข้างต้นแก่สถาบัน GPI ด้วยแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่สื่อมวลชนได้รายงานข่าวสถาบันจัดดัชนีความสงบสุขโลก (Global Peace Index) ที่ได้เปิดเผยรายงานเมื่อ 20 พฤษภาคม 2551 ว่า ในปี ค.ศ. 2008 ไทยอยู่ในอันดับที่ 118 จาก 140 ประเทศ ที่ได้รับการจัดดัชนีความสงบสุข (ลดจากอันดับที่ 105 ในรายงานปี 2007) นั้น เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยได้ตั้งข้อสังเกตต่อความน่าเชื่อถือของ GPI และวิธีการที่ GPI ใช้ในการจัดอันดับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- การจัดอับดับประเทศที่สงบสุขของ GPI เป็นการจัดอันดับโดยอาศัยข้อมูล/สถิติ เป็นตัวชี้วัด ซึ่งไม่แน่ใจว่าใช้ข้อมูลใดและมีความถูกต้องของข้อมูลเพียงใด อีกทั้งมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเป็นข้อมูลล่าสุดจากทั้ง 140 ประเทศ นอกจากนั้น GPI ไม่มีการหาข้อมูลในพื้นที่ (on ground data collection) เช่น ไม่มีการสอบถามข้อคิดเห็น หรือเก็บข้อมูล หรือสำรวจสภาพหรือสถานการณ์ในประเทศนั้นๆ ในพื้นที่ การจัดอันดับฯ ไม่ได้แยกแยะข้อแตกต่างของสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่/ท้องถิ่น ของประเทศ เช่น การนำตัวเลขความเสียหายจากจำนวนการเกิดเหตุการณ์รุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปเป็นฐานในการวัดความรุนแรงทั้งประเทศ ในขณะที่ ข้อเท็จจริงคือประชาชนในส่วนอื่นๆ ทั่วประเทศ กล่าวคือ 73 จาก 76 จังหวัด ใช้ชีวิตอย่างปกติสุข
- สถาบันอื่นๆ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้จัดอันดับประเทศไทยแตกต่างจาก GPI เช่น สถาบัน Institute of Management Development
- IMD ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้จัดอันดับใน The World Competitiveness Yearbook 2008 ให้ไทยอยู่ในอันดับ 27 ของประเทศที่มีอัตราการแข่งขันสูง ดีขึ้นถึง 6 ตำแหน่ง (ไทยอยู่อันดับที่ 33 ในปี 2007) นอกจากนี้ ไทยยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่เป็นสถานที่น่าท่องเที่ยวที่สุดประเทศหนึ่ง จากสถาบันต่างๆ ในยุโรป เช่น ได้รับรางวัล Grand Travel Award 2007 ลำดับที่ 1 World’s Best Tourist Country ติดต่อกันเป็น ปีที่ 5 จาก Travel News Magazine ประเทศสวีเดน และกรุงเทพมหานครได้รับรางวัลลำดับที่ 1 World’s Best Awards 2007 จาก Travel and Leisure Magazine สหรัฐอเมริกา ซึ่งการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นในระดับความปลอดภัยและความสงบสุขที่แท้จริง
- จากรายชื่อประเทศที่ GPI จัดอันดับ พบว่าประชาชนของประเทศที่มีอันดับความสงบสุขมากกว่าไทยต่างได้เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ตัวเลขจาก ททท. ระบุว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เข้าประเทศไทยเพิ่มขึ้น 4.65% ในปี 2007 และชาวต่างชาติในหลายประเทศก็เริ่มมาเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัยระยะยาว ตัวอย่างที่เห็นได้ประการหนึ่ง คือ การมีหมู่บ้าน และโรงเรียนสำหรับชาวสแกนดิเนเวียและญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศ ในประเทศไทยแล้วในหลายจังหวัด เพื่อคนชาติเหล่านี้ ทั้งที่อยู่ในวัยเกษียณ วัยทำงาน และวัยเด็ก ได้เข้ามาใช้ชีวิตระยะยาว
- กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งข้อสังเกตข้างต้นแก่สถาบัน GPI ด้วยแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-