กรุงเทพ--26 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นำคณะผู้แทนฝ่ายไทยประกอบด้วยนายเพ็ญศักดิ์ ชลารักษ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนจากส่วนราชการภายในกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งนายธนะ ดวงรัตน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส และผู้แทนจากสำนักงานคณะผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก พบปะกับนายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา พร้อมบุคคลระดับสูงจากรัฐบาลกัมพูชา เพื่อหารือเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยมีนาง Francoise Riviere ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวัฒนธรรมของยูเนสโก และคณะเข้าร่วมด้วย
การประชุมดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีว่าการฯ กับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 ที่ จังหวัดเกาะกง กัมพูชา ที่เห็นชอบร่วมกันให้มีการประชุมหารือระหว่างคณะผู้แทนของทั้งสองประเทศ และมีฝ่ายยูเนสโกเข้าร่วมด้วย
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับการประชุมดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2551 ณ กระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้
1. การหารือเป็นไปด้วยบรรยากาศที่ดี ฉันมิตร และสร้างสรรค์ โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้แทนจากยูเนสโกในการจัดการประชุม และทุกฝ่ายต่างพยายามแสดงความเข้าใจในท่าทีของแต่ละฝ่าย ซึ่งยืนยันถึงความสัมพันธ์ฉันเพื่อนบ้านที่ดีและแน่นแฟ้นระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งยังเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันอีกด้วย
2. ผลการประชุมในครั้งนี้ถือว่าเป็นความสำเร็จและความคืบหน้าครั้งสำคัญ กล่าวคือ กัมพูชายอมรับเปลี่ยนแปลงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร โดยจะขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทเป็นมรดกโลก และได้ให้คำมั่นว่าจะส่งแผนที่ใหม่แสดงขอบเขตขอบตัวปราสาทพระวิหารที่จะขึ้นทะเบียนมาให้ฝ่ายไทยและฝ่ายยูเนสโกพิจารณาภายในวันที่ 6 มิถุนายน 2551
3. การขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทจะช่วยให้ไม่มีปัญหาเรื่องการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ที่เป็นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเป็นมรดกโลก ทำให้ไม่มีการเสียผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย และไทยสามารถรักษาสิทธิทางเขตแดนไว้ได้อย่างสมบูรณ์
4. ฝ่ายไทยได้ยืนยันในการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ โดยจะต้องพิจารณาจากแผนที่ที่ฝ่ายกัมพูชาจะผลิตขึ้นใหม่ด้วยเพื่อใช้แทนแผนที่เดิมที่เคยใช้ประกอบในคำขอขึ้นทะเบียนเมื่อปี พ.ศ. 2551 ด้วย
5. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในครั้งนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของแต่ละฝ่ายในการจัดทำหลักเขตแดนร่วมกันในบริเวณดังกล่าวในอนาคต
6. การเห็นพ้องกันดังกล่าวได้รับการบันทึกไว้เป็นร่างคำแถลงการณ์ร่วม หรือ Joint Communique ซึ่งได้ตกลงกันอย่างชัดเจนว่าแต่ละฝ่ายจะต้องนำกลับไปเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐบาลของตนก่อน และจะต้องพิจารณาดูว่าแผนที่ที่ได้รับการแก้ไขนั้นมีความเหมาะสมแล้วหรือไม่เพียงใด
7. ผู้แทนจากยูเนสโกได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการอำนวยความสะดวกในการจัดการประชุมในครั้งนี้ และได้แสดงความเข้าใจเป็นอย่างดีในท่าทีของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นำคณะผู้แทนฝ่ายไทยประกอบด้วยนายเพ็ญศักดิ์ ชลารักษ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนจากส่วนราชการภายในกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งนายธนะ ดวงรัตน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส และผู้แทนจากสำนักงานคณะผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก พบปะกับนายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา พร้อมบุคคลระดับสูงจากรัฐบาลกัมพูชา เพื่อหารือเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยมีนาง Francoise Riviere ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวัฒนธรรมของยูเนสโก และคณะเข้าร่วมด้วย
การประชุมดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีว่าการฯ กับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 ที่ จังหวัดเกาะกง กัมพูชา ที่เห็นชอบร่วมกันให้มีการประชุมหารือระหว่างคณะผู้แทนของทั้งสองประเทศ และมีฝ่ายยูเนสโกเข้าร่วมด้วย
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับการประชุมดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2551 ณ กระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้
1. การหารือเป็นไปด้วยบรรยากาศที่ดี ฉันมิตร และสร้างสรรค์ โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้แทนจากยูเนสโกในการจัดการประชุม และทุกฝ่ายต่างพยายามแสดงความเข้าใจในท่าทีของแต่ละฝ่าย ซึ่งยืนยันถึงความสัมพันธ์ฉันเพื่อนบ้านที่ดีและแน่นแฟ้นระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งยังเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันอีกด้วย
2. ผลการประชุมในครั้งนี้ถือว่าเป็นความสำเร็จและความคืบหน้าครั้งสำคัญ กล่าวคือ กัมพูชายอมรับเปลี่ยนแปลงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร โดยจะขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทเป็นมรดกโลก และได้ให้คำมั่นว่าจะส่งแผนที่ใหม่แสดงขอบเขตขอบตัวปราสาทพระวิหารที่จะขึ้นทะเบียนมาให้ฝ่ายไทยและฝ่ายยูเนสโกพิจารณาภายในวันที่ 6 มิถุนายน 2551
3. การขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทจะช่วยให้ไม่มีปัญหาเรื่องการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ที่เป็นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเป็นมรดกโลก ทำให้ไม่มีการเสียผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย และไทยสามารถรักษาสิทธิทางเขตแดนไว้ได้อย่างสมบูรณ์
4. ฝ่ายไทยได้ยืนยันในการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ โดยจะต้องพิจารณาจากแผนที่ที่ฝ่ายกัมพูชาจะผลิตขึ้นใหม่ด้วยเพื่อใช้แทนแผนที่เดิมที่เคยใช้ประกอบในคำขอขึ้นทะเบียนเมื่อปี พ.ศ. 2551 ด้วย
5. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในครั้งนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของแต่ละฝ่ายในการจัดทำหลักเขตแดนร่วมกันในบริเวณดังกล่าวในอนาคต
6. การเห็นพ้องกันดังกล่าวได้รับการบันทึกไว้เป็นร่างคำแถลงการณ์ร่วม หรือ Joint Communique ซึ่งได้ตกลงกันอย่างชัดเจนว่าแต่ละฝ่ายจะต้องนำกลับไปเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐบาลของตนก่อน และจะต้องพิจารณาดูว่าแผนที่ที่ได้รับการแก้ไขนั้นมีความเหมาะสมแล้วหรือไม่เพียงใด
7. ผู้แทนจากยูเนสโกได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการอำนวยความสะดวกในการจัดการประชุมในครั้งนี้ และได้แสดงความเข้าใจเป็นอย่างดีในท่าทีของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-