กรุงเทพ--28 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงพลังงานร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยพลังงานชีวภาพ ในวันที่ 18-20 มิถุนายน 2551 ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี กรุงเทพฯ โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio-fuels) กว่า 100 คน จากประเทศอาเซียนทั้งหมดและประเทศคู่เจรจาที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit — EAS) ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เข้าร่วม และมีผู้เชี่ยวชาญในระดับนานาชาติเข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อแนะนำด้วย
สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 255 ที่สิงคโปร์ ที่ผู้นำทั้งหมด ได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม (Singapore Declaration on Climate Change, Energy, and the Environment) เพื่อประกาศเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนการดำเนินการของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change — UNFCCC) ดังนั้น เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของไทยในการมีส่วนร่วมและสนับสนุนความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงนโยบายการทูตด้านพลังงานของไทย (Energy Diplomacy) กระทรวงการต่างประเทศจึงร่วมกับกระทรวงพลังงานจัดการประชุมดังกล่าวขึ้น
ในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริทดลองและพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ อาทิ เอทานอล และไบโอดีเซล ซึ่งได้ทรงริเริ่มไว้เมื่อประมาณเกือบ 30 ปีก่อน ต่อมารัฐบาลได้น้อมรับมาปฏิบัติและขยายผลเป็นนโยบาย พลังงานทดแทนอย่างจริงจัง
การประชุมครั้งนี้นอกจากจะมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อร่วมกันหาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาพลังงานทดแทนในภาวะที่น้ำมันมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งประเทศที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ต่างมีศักยภาพในการแปรรูปพืชผลทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพ อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์มดิบแล้ว ผู้เชี่ยวชาญยังจะได้หารือกันเกี่ยวกับผลกระทบของการนำเอาผลิตผลทางการเกษตรมาใช้ผลิตพลังงานชีวภาพ ซึ่งจะกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานอาหารสำหรับการบริโภคของมนุษย์โดยตรงด้วย นอกจากนี้ ไทยในฐานะประเทศอาเซียนประเทศเดียวที่มีประสบการณ์ในเรื่องการพัฒนาและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลล์และไบโอดีเซลในขณะนี้ จะได้ร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ และเทคโลยีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพให้สอดรับกับการพัฒนาในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เหมาะสมต่อพลังงานทางเลือก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงพลังงานร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยพลังงานชีวภาพ ในวันที่ 18-20 มิถุนายน 2551 ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี กรุงเทพฯ โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio-fuels) กว่า 100 คน จากประเทศอาเซียนทั้งหมดและประเทศคู่เจรจาที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit — EAS) ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เข้าร่วม และมีผู้เชี่ยวชาญในระดับนานาชาติเข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อแนะนำด้วย
สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 255 ที่สิงคโปร์ ที่ผู้นำทั้งหมด ได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม (Singapore Declaration on Climate Change, Energy, and the Environment) เพื่อประกาศเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนการดำเนินการของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change — UNFCCC) ดังนั้น เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของไทยในการมีส่วนร่วมและสนับสนุนความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงนโยบายการทูตด้านพลังงานของไทย (Energy Diplomacy) กระทรวงการต่างประเทศจึงร่วมกับกระทรวงพลังงานจัดการประชุมดังกล่าวขึ้น
ในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริทดลองและพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ อาทิ เอทานอล และไบโอดีเซล ซึ่งได้ทรงริเริ่มไว้เมื่อประมาณเกือบ 30 ปีก่อน ต่อมารัฐบาลได้น้อมรับมาปฏิบัติและขยายผลเป็นนโยบาย พลังงานทดแทนอย่างจริงจัง
การประชุมครั้งนี้นอกจากจะมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อร่วมกันหาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาพลังงานทดแทนในภาวะที่น้ำมันมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งประเทศที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ต่างมีศักยภาพในการแปรรูปพืชผลทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพ อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์มดิบแล้ว ผู้เชี่ยวชาญยังจะได้หารือกันเกี่ยวกับผลกระทบของการนำเอาผลิตผลทางการเกษตรมาใช้ผลิตพลังงานชีวภาพ ซึ่งจะกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานอาหารสำหรับการบริโภคของมนุษย์โดยตรงด้วย นอกจากนี้ ไทยในฐานะประเทศอาเซียนประเทศเดียวที่มีประสบการณ์ในเรื่องการพัฒนาและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอลล์และไบโอดีเซลในขณะนี้ จะได้ร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ และเทคโลยีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพให้สอดรับกับการพัฒนาในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เหมาะสมต่อพลังงานทางเลือก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-