กรุงเทพ--2 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2551 คณะกรรมธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก(Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และกองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม จัดกิจกรรมเพื่อระลึกถึงบทบาทของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ของปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ และวันเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (Observance of the 60th Anniversary of UN Peacekeeping and the International Day of United Nations Peacekeepers) ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ (ESCAP) ถนนราชดำเนินนอก โดยมีพิธีวางพวงมาลา การกล่าวสุนทรพจน์โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด รวมทั้งการสัมมนาในหัวข้อ “60 Years of UN Peacekeeping — Lesson Learnt and Challenge Ahead” โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง
วันที่ 29 พฤษภาคมของทุกปี สหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นวันเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (International Day of United Nations Peacekeepers) เพื่อระลึกถึงบทบาทของเจ้าหน้าที่ซึ่งได้อุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่ในปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ ความมั่นคงและการแก้ไขความขัดแย้งในประชาคมโลกตามบทบัญญัติของกฏบัตรสหประชาชาติ ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (United Nations Peacekeeping Operations) เป็นบทบาทและภารกิจของสหประชาชาติที่ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเคารพและบรรลุตามข้อตกลงที่ได้จัดทำร่วมกัน เพื่อสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนด้วยการส่งเจ้าหน้าที่พลเรือน ตำรวจและ/หรือกองกำลังปฏิบัติการรักษาสันติภาพฯ เข้าไปสังเกตการณ์ ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ที่เกิดหรือเพิ่งผ่านพ้นความขัดแย้งภายใต้อาณัติของข้อมติที่เกี่ยวข้องของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council) ที่เกี่ยวข้อง
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา สหประชาชาติได้ส่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติทั้งหมด 63 ภารกิจ ในมากกว่า 45 ประเทศ และภารกิจด้านนี้ได้ขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการจัดตั้งปฏิบัติการสันติภาพของสหประชาชาติ (United Nations Peace Operations) จำนวน 20 ภารกิจ กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก และมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติภารกิจอยู่จำนวนมากกว่า 104,000 คน จาก 119 ประเทศ และเจ้าหน้าที่พลเรือนจากประเทศต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และอาสาสมัครมากกว่า 21,300 คน ที่มาจากกว่า 160 ประเทศทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทยได้มีนโยบายสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติในด้านการรักษาและเสริมสร้างสันติภาพมาโดยตลอด และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการส่งบุคลากร และ/หรือกองกำลังเข้าร่วมภารกิจปฏิบัติการสันติภาพของสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ เสริมสร้างสันติภาพในประเทศที่เพิ่งผ่านพ้นความขัดแย้ง เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพและการพัฒนาที่จะนำไปสู่สันติภาพที่ถาวร ทั้งนี้ ไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมในปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 จำนวนทั้งสิ้น 18 ภารกิจ และปัจจุบัน ไทยส่งเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเข้าร่วมในภารกิจสันติภาพ จำนวน 3 ภารกิจ ได้แก่ ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในเนปาล (United Nation Political Mission in Nepal: UNMIN) ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในติมอร์เลสเต (United Nations Integrated Mission in Timor-Leste: UNMIT) ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในซูดาน (United Nations Mission in Sudan: UNMIS) และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2550 อนุมัติให้ส่งกองกำลังไทยเข้าร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพผสมระหว่างสหภาพแอฟริกาและสหประชาชาติในดาร์ฟูร์ (African Union/United Nations Hybrid Operation in Darfur: UNAMID) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมและรอการยืนยันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2551 คณะกรรมธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก(Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และกองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม จัดกิจกรรมเพื่อระลึกถึงบทบาทของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ของปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ และวันเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (Observance of the 60th Anniversary of UN Peacekeeping and the International Day of United Nations Peacekeepers) ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ (ESCAP) ถนนราชดำเนินนอก โดยมีพิธีวางพวงมาลา การกล่าวสุนทรพจน์โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด รวมทั้งการสัมมนาในหัวข้อ “60 Years of UN Peacekeeping — Lesson Learnt and Challenge Ahead” โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง
วันที่ 29 พฤษภาคมของทุกปี สหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นวันเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (International Day of United Nations Peacekeepers) เพื่อระลึกถึงบทบาทของเจ้าหน้าที่ซึ่งได้อุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่ในปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ ความมั่นคงและการแก้ไขความขัดแย้งในประชาคมโลกตามบทบัญญัติของกฏบัตรสหประชาชาติ ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (United Nations Peacekeeping Operations) เป็นบทบาทและภารกิจของสหประชาชาติที่ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเคารพและบรรลุตามข้อตกลงที่ได้จัดทำร่วมกัน เพื่อสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนด้วยการส่งเจ้าหน้าที่พลเรือน ตำรวจและ/หรือกองกำลังปฏิบัติการรักษาสันติภาพฯ เข้าไปสังเกตการณ์ ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ที่เกิดหรือเพิ่งผ่านพ้นความขัดแย้งภายใต้อาณัติของข้อมติที่เกี่ยวข้องของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council) ที่เกี่ยวข้อง
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา สหประชาชาติได้ส่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติทั้งหมด 63 ภารกิจ ในมากกว่า 45 ประเทศ และภารกิจด้านนี้ได้ขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการจัดตั้งปฏิบัติการสันติภาพของสหประชาชาติ (United Nations Peace Operations) จำนวน 20 ภารกิจ กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก และมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติภารกิจอยู่จำนวนมากกว่า 104,000 คน จาก 119 ประเทศ และเจ้าหน้าที่พลเรือนจากประเทศต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และอาสาสมัครมากกว่า 21,300 คน ที่มาจากกว่า 160 ประเทศทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทยได้มีนโยบายสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติในด้านการรักษาและเสริมสร้างสันติภาพมาโดยตลอด และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการส่งบุคลากร และ/หรือกองกำลังเข้าร่วมภารกิจปฏิบัติการสันติภาพของสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ เสริมสร้างสันติภาพในประเทศที่เพิ่งผ่านพ้นความขัดแย้ง เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพและการพัฒนาที่จะนำไปสู่สันติภาพที่ถาวร ทั้งนี้ ไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมในปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 จำนวนทั้งสิ้น 18 ภารกิจ และปัจจุบัน ไทยส่งเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเข้าร่วมในภารกิจสันติภาพ จำนวน 3 ภารกิจ ได้แก่ ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในเนปาล (United Nation Political Mission in Nepal: UNMIN) ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในติมอร์เลสเต (United Nations Integrated Mission in Timor-Leste: UNMIT) ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในซูดาน (United Nations Mission in Sudan: UNMIS) และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2550 อนุมัติให้ส่งกองกำลังไทยเข้าร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพผสมระหว่างสหภาพแอฟริกาและสหประชาชาติในดาร์ฟูร์ (African Union/United Nations Hybrid Operation in Darfur: UNAMID) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมและรอการยืนยันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-