กรุงเทพ--6 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนาย Maxime Verhagen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการประชุมในกรอบอาเซมว่าด้วยการหารือระหว่างความเชื่อ ครั้งที่ 4 (the Fourth ASEM Interfaith Dialogue Meeting) ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ภายใต้หัวข้อ “Interfaith Dialogue in Practice: Sharing Best Practices”
โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้ย้ำถึงความจำเป็นในการค้นหาแนวทางในการส่งเสริมความเคารพและการยอมรับต่อความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งจะนำไปสู่วัฒนธรรมแห่งสันติภาพในที่สุด นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงความสำคัญในการแปลงการหารือระหว่างความเชื่อให้เป็นผลในทางปฏิบัติ โดยเน้นที่วิธีการนำการหารือดังกล่าวไปขยายผลอย่างเป็นรูปธรรม และการส่งเสริมการแพร่ขยายของแนวคิด ปรัญชา และประสบการณ์ที่สร้างสรรค์ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เล่าถึงประสบการณ์ของไทยว่า คนไทยต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา ได้อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตลอดมา ซึ่งเสรีภาพในการนับถือศาสนาได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย และที่สำคัญก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกของศาสนาทุกศาสนาในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ซึ่งความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้ถูกนำมาบิดเบือนโดยผู้ที่ต้องการให้เกิดความแตกแยก ในการนี้ รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายที่ เน้นความสมานฉันท์ในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยยึดแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ ได้เน้นถึงประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ 1) ผู้นำการเมือง ผู้นำศาสนา และผู้นำชุมชน มีบทบาทหลักในการส่งเสริมการยอมรับความแตกต่างด้านวัฒนธรรม รวมถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนาและลัทธิความเชื่อต่างๆ 2) การส่งเสริมการหารือระหว่างความเชื่อและความเข้าใจระหว่างกันจำเป็นจะต้องอาศัยความเป็นหุ้นส่วนของทุกภาคส่วน 3) การเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับปรัญชาและคำสอนของแต่ละศาสนา รวมถึงการส่งเสริมความเคารพระหว่างศาสนา ซึ่งต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง 4) การวางระบบการศึกษาและกิจกรรมนอกเวลาเรียน เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักการมีเมตตาและการให้อภัย ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญโดยการจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม the ASEM Interfaith Cultural Youth Camp Project สำหรับเยาวชนจากประเทศสมาชิก ASEM ในเดือนกันยายน ศกนี้ และ 5) การวางรากฐานทางเทคโนโลยี อาทิ ระบบกระจายภาพและเสียงผ่านดาวเทียมและอินเตอร์เน็ต เพื่อสนับสนุนการหารือระหว่างความเชื่อ โดยทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา รวมถึงได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยอันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันได้มากขึ้นด้วย
รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เรียกร้องให้ที่ประชุมแปลงผลของการหารือให้เป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และสามารถก่อให้เกิดผลที่สร้างสรรค์ และเอื้อต่อ “ความเป็นหนึ่งเดียวบนพื้นฐานความแตกต่าง” ในสถานการณ์ของโลกปัจจุบันได้ทั้งนี้ ในคืนก่อนหน้า รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่งนอกจากจะมีอาหารไทยให้บริการแล้ว ผู้เข้าร่วมงานฯ ยังได้เพลิดเพลินไปกับการแสดงทางวัฒนธรรมของไทยด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนาย Maxime Verhagen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการประชุมในกรอบอาเซมว่าด้วยการหารือระหว่างความเชื่อ ครั้งที่ 4 (the Fourth ASEM Interfaith Dialogue Meeting) ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ภายใต้หัวข้อ “Interfaith Dialogue in Practice: Sharing Best Practices”
โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้ย้ำถึงความจำเป็นในการค้นหาแนวทางในการส่งเสริมความเคารพและการยอมรับต่อความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งจะนำไปสู่วัฒนธรรมแห่งสันติภาพในที่สุด นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงความสำคัญในการแปลงการหารือระหว่างความเชื่อให้เป็นผลในทางปฏิบัติ โดยเน้นที่วิธีการนำการหารือดังกล่าวไปขยายผลอย่างเป็นรูปธรรม และการส่งเสริมการแพร่ขยายของแนวคิด ปรัญชา และประสบการณ์ที่สร้างสรรค์ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เล่าถึงประสบการณ์ของไทยว่า คนไทยต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา ได้อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตลอดมา ซึ่งเสรีภาพในการนับถือศาสนาได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย และที่สำคัญก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกของศาสนาทุกศาสนาในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ซึ่งความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้ถูกนำมาบิดเบือนโดยผู้ที่ต้องการให้เกิดความแตกแยก ในการนี้ รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายที่ เน้นความสมานฉันท์ในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยยึดแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ ได้เน้นถึงประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ 1) ผู้นำการเมือง ผู้นำศาสนา และผู้นำชุมชน มีบทบาทหลักในการส่งเสริมการยอมรับความแตกต่างด้านวัฒนธรรม รวมถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนาและลัทธิความเชื่อต่างๆ 2) การส่งเสริมการหารือระหว่างความเชื่อและความเข้าใจระหว่างกันจำเป็นจะต้องอาศัยความเป็นหุ้นส่วนของทุกภาคส่วน 3) การเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับปรัญชาและคำสอนของแต่ละศาสนา รวมถึงการส่งเสริมความเคารพระหว่างศาสนา ซึ่งต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง 4) การวางระบบการศึกษาและกิจกรรมนอกเวลาเรียน เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักการมีเมตตาและการให้อภัย ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญโดยการจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม the ASEM Interfaith Cultural Youth Camp Project สำหรับเยาวชนจากประเทศสมาชิก ASEM ในเดือนกันยายน ศกนี้ และ 5) การวางรากฐานทางเทคโนโลยี อาทิ ระบบกระจายภาพและเสียงผ่านดาวเทียมและอินเตอร์เน็ต เพื่อสนับสนุนการหารือระหว่างความเชื่อ โดยทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา รวมถึงได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยอันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันได้มากขึ้นด้วย
รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เรียกร้องให้ที่ประชุมแปลงผลของการหารือให้เป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และสามารถก่อให้เกิดผลที่สร้างสรรค์ และเอื้อต่อ “ความเป็นหนึ่งเดียวบนพื้นฐานความแตกต่าง” ในสถานการณ์ของโลกปัจจุบันได้ทั้งนี้ ในคืนก่อนหน้า รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่งนอกจากจะมีอาหารไทยให้บริการแล้ว ผู้เข้าร่วมงานฯ ยังได้เพลิดเพลินไปกับการแสดงทางวัฒนธรรมของไทยด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-