กรุงเทพ--6 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้พบหารือกับ Dr. Frank-Walter Steinmeier รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ที่กรุงเบอร์ลิน ในการนี้ Dr. Steinmeier ได้กล่าวแสดงความยินดีต่อการที่ไทยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลไทยอย่างใกล้ชิด ทั้งสองฝ่ายได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวางทั้งในประเด็นปัญหาภูมิภาค เช่น สถานการณ์ในพม่าและจีน รวมทั้งประเด็นที่ไทยจะผลักดันเมื่อเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนในเดือนกรกฎาคม 2551
ในด้านความร่วมมือสองฝ่าย ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างไทยและเยอรมนีซึ่งครอบคลุมความร่วมมือในทุกด้าน อาทิ การค้า การลงทุน การศึกษา และพลังงาน และได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายหารือร่วมกันเพื่อจัดทำรายละเอียดและขอบเขตของแผนปฏิบัติการร่วมต่อไป นอกจากนี้ รัฐมนตรีนพดลฯ ยังได้เชิญชวนให้บริษัทของเยอรมนีเข้ามาดำเนินโครงการภายใต้ Clean Development Mechanism —CDM ในไทย เนื่องจากเยอรมนีมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (renewable energy) อาทิ พลังงานลม แสงอาทิตย์ และมูลสัตว์ อีกทั้งยังได้แจ้งถึงความประสงค์ของไทยที่จะลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์กับเยอรมนีด้วย ใน
วันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เข้าพบนาย Michael Glos รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสหพันธ์ฯ ซึ่งได้นำคณะนักธุรกิจเยอรมันเยือนไทยเมื่อเร็วๆ นี้ และทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันที่จะจัดการประชุมคุณะกรรมาธิการร่วมด้านเศรษฐกิจไทย-เยอรมนีครั้งที่ 2 (2nd Thai- German Joint Economic Commission) ในโอกาสแรก เพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ รัฐมนตรีนพดลฯ ยังได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือไตรภาคี ร่วมกับนาย Eric Stather รัฐมนตรีกระทรวงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาของสหพันธ์ฯ ซึ่งบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะเป็นกรอบความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนระหว่างไทยและเยอรมนีในการให้ความช่วยเหลือประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงและภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ในช่วงเย็นวันเดียวกัน รัฐมนตรีนพดลฯ ได้เข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมกับนักธุรกิจจากบริษัทชั้นนำของเยอรมนี อาทิ BASF Bayer และ Daimler โดยรัฐมนตรีนพดลฯ ได้ใช้โอกาสดังกล่าวแจ้งให้นักธุรกิจเยอรมันทราบถึงนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยและเชิญชวนให้เข้าไปลงทุนและประกอบธุรกิจในไทยเพิ่มขึ้นด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้พบหารือกับ Dr. Frank-Walter Steinmeier รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ที่กรุงเบอร์ลิน ในการนี้ Dr. Steinmeier ได้กล่าวแสดงความยินดีต่อการที่ไทยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลไทยอย่างใกล้ชิด ทั้งสองฝ่ายได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวางทั้งในประเด็นปัญหาภูมิภาค เช่น สถานการณ์ในพม่าและจีน รวมทั้งประเด็นที่ไทยจะผลักดันเมื่อเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนในเดือนกรกฎาคม 2551
ในด้านความร่วมมือสองฝ่าย ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างไทยและเยอรมนีซึ่งครอบคลุมความร่วมมือในทุกด้าน อาทิ การค้า การลงทุน การศึกษา และพลังงาน และได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายหารือร่วมกันเพื่อจัดทำรายละเอียดและขอบเขตของแผนปฏิบัติการร่วมต่อไป นอกจากนี้ รัฐมนตรีนพดลฯ ยังได้เชิญชวนให้บริษัทของเยอรมนีเข้ามาดำเนินโครงการภายใต้ Clean Development Mechanism —CDM ในไทย เนื่องจากเยอรมนีมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (renewable energy) อาทิ พลังงานลม แสงอาทิตย์ และมูลสัตว์ อีกทั้งยังได้แจ้งถึงความประสงค์ของไทยที่จะลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์กับเยอรมนีด้วย ใน
วันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เข้าพบนาย Michael Glos รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสหพันธ์ฯ ซึ่งได้นำคณะนักธุรกิจเยอรมันเยือนไทยเมื่อเร็วๆ นี้ และทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันที่จะจัดการประชุมคุณะกรรมาธิการร่วมด้านเศรษฐกิจไทย-เยอรมนีครั้งที่ 2 (2nd Thai- German Joint Economic Commission) ในโอกาสแรก เพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ รัฐมนตรีนพดลฯ ยังได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือไตรภาคี ร่วมกับนาย Eric Stather รัฐมนตรีกระทรวงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาของสหพันธ์ฯ ซึ่งบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะเป็นกรอบความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนระหว่างไทยและเยอรมนีในการให้ความช่วยเหลือประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงและภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ในช่วงเย็นวันเดียวกัน รัฐมนตรีนพดลฯ ได้เข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมกับนักธุรกิจจากบริษัทชั้นนำของเยอรมนี อาทิ BASF Bayer และ Daimler โดยรัฐมนตรีนพดลฯ ได้ใช้โอกาสดังกล่าวแจ้งให้นักธุรกิจเยอรมันทราบถึงนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยและเชิญชวนให้เข้าไปลงทุนและประกอบธุรกิจในไทยเพิ่มขึ้นด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-